4.30.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๘ (Phonix-สื่อรัก-มช.)



huahinhub ได้รับ mail VDO นี้ มาระยะหนึ่ง หลังค่อนข้างแน่ใจว่า ปฏิบัติการของ Phonix-29 กลุ่มนักศึกษา ม.ช. กลุ่มนี้ น่าจะไม่เป็นพิษภัย โดยล่าสุด VDO ตอนนี้นำมาเสนอนี้ ยังได้ On air ในรายการ ข่าวข้น คนข่าว ทาง Modern nine tv อีกด้วย ดังใหญ่แล้วนะ มามา huahinhub อาสาเล่าให้น้องๆนักเรียน นักศึกษา ชาวหัวหินฟังกัน เรื่องมีอยู่ว่า

นักศึกษา มช. กลุ่มหนึ่ง ในนาม Phoenix-29 เพื่ออาสาส่งความสุขให้ผู้คนได้บันเทิงกัน

โดยกลุ่ม Phoenix-29 มีภารกิจในการส่งมอบความสุขให้กับทุกคน เพียงแต่ติดต่อมาที่ Hi5 ประจำกลุ่มที่ชื่อว่า http://phoenix-29.hi5.com ซึ่งทุกเช้าจะมีสมาชิกตื่นขึ้นมารับ Add และยินดีรับส่ง มอบความสุขให้ทุกท่าน ที่ติดต่อมา

กระบวนการส่งมอบความสุขของพวกเขา โด่งดังขึ้นมาในช่วงไม่กี่วัน จาก clip video ที่ไปโพสต์ไวใน Youtube.com ก่อนที่หลายๆ คนได้ไปพบเห็นจะนำมา โพสต์ไว้อีกทีในเว็บไซต์ pantip.com ซึ่งแน่นอนว่า clip ของพวกเขา ถูกส่งต่อไปกันอีกมากมาย ผ่านสายตานับพันคู่ ภายในเวลาไม่นานนัก

เนื้อหาใน clip วิดิโอนั้นก็คือ การที่กลุ่มฟินิกซ์ได้เดินทางไปมอบดอกไม้วันวาเลนไทน์ ให้กับ คนแปลกหน้าที่กำลังทำภารกิจอยู่ใน บริเวณของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น clip video ข้างต้นนี้ ก็จะเป็นการนำดอกกุหลาบไปมอบให้ เด็กๆ ที่กำลังอ่านหนังสืออยู่ใต้ตึก ก่อนจะอ่านจดหมายเล็กๆว่า นอกจากดอกไม้นี้ ยังมีเพลงฝากมาให้ ทั้งเพลงไทย เพลงเกาหลี ซึ่งไม่มีแค่เพียงเนื้อร้องทำนอง แต่ยังมีท่าเต้นประกอบ

สุดลื่นไหล ชวนฮา กับการออกอาการ "เสต็ปเทพ" แน่นอนว่าเป็นใครก็คงต้องฮา และ เซอร์ไพรส์ สุดๆ ไปกับหนุ่มคนนี้ กับหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม Phonix-29 (-29 มาจาก ค่าบริการครั้งละ 29 บาท ซึ่งมีที่มาจาก การรวมกลุ่มกะน ในวันที่ 29 นั่นเอง)

เห็นอะไร สร้างสรรค์ๆ อย่างนี้แล้ว น้องๆชาวหัวหินบ้านเรา ก็สามารถเก็บไว้เป็นไอเดีย ในการทำดีเพื่อสังคมหัวหินเราได้ นะ......สวัสดี

4.28.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๗ (สร้างสรรค์สื่อเพื่อพื้นถิ่น)

การสร้างสรรค์วัฒนธรรมพื้นถิ่น ผ่านสื่อชนิดต่างๆ เริ่มมีให้เห็นกันหลากหลายขึ้น อย่าง VDO จาก www.youtube.com ที่ huahinhub หยิบมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ เป็นอีกหนึ่งเรื่อง ที่ศิลปินชาวเพชรบุรีท่านหนึ่ง นามว่า 'โส อานนท์' แต่งเองร้องเอง ถึงเรื่องของ การละเล่นพื้นถิ่นของชาวเพชรบุรี ที่เรีกกันว่า 'วัวลาน' หรือ cows racing ที่กำลังโด่งดัง เป็นที่กล่าวขาน ในหมู่ผู้ฟังวิทยุชุมชนชาวเพชรบุรี เอ...พี่น้องชาวหัวหิน ว่ามั๊ย ถ้ามีเพลงอะรดีดี ที่กล่าวถึง ความเป็นหัวหิน เอกลักษณืของเมืองหัวหิน อย่างนี้บ้าง คงน่าดีใจ ไม่น้อยดีทีเดียว....ว่าม๊า

ข้อมูลเพิ่มเติม

๐ โส อานนท์ ยังมีเพลงอื่นๆ ที่ทั้งร้องและพูดเพลง เป็นสำเนียงเพชรบุรีและมีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าเพลง เด็ดดอกชะโอน เช่น เพลง 'รู้เรื่อง' และเพลง 'รู้เรื่องเมืองเพชร' หาฟังได้จาก http://www.imeem.com/

๐ ศิลปิน พื้นถิ่นที่ทำและร้องเพลงภาษาถิ่นของตนได้อย่างน่าภาคภูมใจ ยังมีอีกหลายท่าน เช่น 'วิฑูรย์ ใจพรหม' ที่ร้องและพูดเพลง ภาษาพื้นถิ่นภาคเหนือ ได้สนุกสนาน เป็นที่ประทับใจผู้ฟัง มากมายอีกด้วย ลองหาฟังหลายเพลงได้จาก http://www.imeem.com/ เช่นกัน

๐ นอกจากนี้ ยังมี Music VDO เล่าเรื่องพื้นที่ที่น่าสนใจมากๆๆๆๆๆๆ และ huahinhub อยากเห็นเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นซะทีจริงๆ ที่เมืองหัวกิน บ้านเรา ลองหาดู Music VDO ที่ว่าได้จาก Link http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=593 โดย พิสุทธิ์ ศรีหมอก อย่าให้ช้า ไปไป ตามเราไปดูกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.youtube.com/ และ http://www.tcdcconnect.com/ huahinhub Thanks

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๒๐ (มังสวิรัติจัดเลี้ยง)


“ป้าตา” นักจัดเลี้ยงมังสวิรัติสไตล์ล้านนา กับความสำเร็จของชีวิตและธุรกิจบนแนวคิดพอเพียง

การใช้ชีวิตแบบพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ตั้งตัวทำมาหากินให้ได้ คือปรัชญาการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืนและน่าจะปลอดภัยที่สุดในสภาพสังคมและเศรษฐกิจอย่างเช่นทุกวันนี้ คุณจำเนียร เอี่ยมเจริญ หรือที่ใครๆ เรียกว่า “ป้าตา” แห่งเมืองเชียงใหม่ เป็นตัวอย่างของผู้ที่สร้างวิถีชีวิตและการทำกินแบบเรียบง่ายแต่ได้คุณภาพ

ทุกวันนี้ธุรกิจของเธอประสบความสำเร็จจากแนวคิด “ความพอเพียง” แล้วอย่างสวยงาม ป้าตาเป็นเจ้าของฝีมือและสูตรอาหารมังสวิรัติอันเลื่องชื่อของเชียงใหม่ เธอผ่านประสบการณ์ชีวิตมามาก เคยค้าขายทำธุรกิจส่งออกมาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งเธอได้พบกับสัจธรรมแห่งชีวิต จึงตัดสินใจย้อนวิถีชีวิตของตัวเองมาอิงกับธรรมชาติและพึ่งพาสิ่งธรรมดารอบตัว

ทุกวันนี้ป้าตารับประทานอาหารมังสวิรัติ ปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี งานหลักคือการปฏิบัติธรรม ทำอาหารไปวัด ส่วนงานรองที่ทำเลี้ยงชีพ (และสนับสนุนงานหลักไปด้วย) ก็คือ “การรับจัดเลี้ยงอาหารมังสวิรัติ” ซึ่งป้าตาทำแบบ “พอเพียงแต่เต็มที่” ของดีมีคุณภาพเช่นนี้จึงไม่ต้องโฆษณา แค่ลูกค้าบอกกันปากต่อปาก ป้าตาก็เลี้ยงตัว เลี้ยงคน ออมเงินทำบุญและใช้ชีวิตอยู่ได้แบบสบายๆ


ธุรกิจคุณภาพของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน
ป้าตารับงานจัดเลี้ยงในอีเวนท์น้อยใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานเทศกาลระดับอำเภอ ระดับจังหวัด งานของรายการโทรทัศน์ งาน APEC งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ งานเลี้ยงรับรองศิลปินแห่งชาติ และงาน 40 ปีโครงการหลวง (พ.ศ. 2552) ฯลฯ

ตัวป้าตาเองนั้นถนัดอาหารมังสวิรัติ แต่ใช่ว่าป้าตาจะรับทำแต่ซุ้มอาหารมังสวิรัติเท่านั้น ทีมงานของเธอสามารถรองรับงานเลี้ยงขนาดใหญ่ที่มีความต้องการหลากหลายได้ด้วย เช่น หากงานนั้นต้องการทั้งซุ้มอาหารมังสวิรัติ อาหารเนื้อสัตว์ อาหารหวาน เครื่องดื่ม และการตกแต่งสถานที่ (จัดดอกไม้) เธอก็จะจัดทีมที่มีความถนัดเฉพาะทางต่างๆ มาเสริม โดยตัวป้าจะเป็นผู้คุมคอนเซ็ปท์งานทั้งหมดให้เข้ากัน (แน่นอนว่าต้องเป็นแบบพื้นบ้านเมืองเหนือ) ซึ่งทีมงานดังกล่าวก็หาใช่พนักงานที่ผูกพันกันในรูปแบบบริษัทไม่ หากแต่เป็นคนทำอาหารคาวหวาน คนทำมาค้าขายที่รู้จักมักคุ้นกันดีในชุมชน (รู้ฝีมือกันดี) ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ป้าตาบอกว่า “รายได้ของธุรกิจนี้ก็จะกระจายและวนเวียนอยู่ในชุมชนนั่นเอง”

ยึดมั่นเอกลักษณ์ - ประยุกต์ตามกลุ่มผู้บริโภคเมื่อมีลูกค้าติดต่อเข้ามา ป้าตาจะถามคอนเซ็ปท์งานก่อนเป็นอันดับแรกว่างานนี้กลุ่มลูกค้าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นกลุ่มชาวต่างชาติ ป้าก็จะทำอาหารให้หน้าตาดูสากลหน่อย เช่น ถ้าจะทำไส้อั่ว ก็จะนำข้าวเหนียวมาห่อไส้อั่วแล้วตัดเป็นคำๆ เหมือนอาหารญี่ปุ่น หรือถ้าจะทำออเดิร์ฟเมือง ก็จะจัดเป็นคำๆ แบบคานาเป้ อย่างไรก็ตามป้าตาจะยึดมั่นในเอกลักษณ์ของตนเสมอ นั่นก็คือการจัดงานใน “บรรยากาศล้านนา” โดยนำข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านและของจากธรรมชาติมาใช้ เช่น เสื่อ เก้าอี้ไม้ไผ่ กระบุง กระจาด จานไผ่สาน โตก ภาชนะใบตอง กระบอกไม้ไผ่ (แทนแก้วน้ำ) เป็นต้น ซึ่งเธอเล่าว่า “จัดงานคราวใดก็มีคนติดใจขอภาชนะกลับบ้านไปทุกที”

สมาธิจิต + การเดินทาง ที่มาของสูตรอาหารและรสชาติเฉพาะตัวป้าตาเล่าว่าเวลาเธอทำอาหารก็จะฝึกสมาธิกับการทำอาหาร มันเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เมื่อมีสมาธิดี มีจิตดี ความอิสระในการสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้นเอง ทีนี้พอลองทำอะไรก็ทำได้อร่อย

“อาหารมังสวิรัติเป็นอาหารที่สะอาดทั้งกายและใจ และเป็นได้ทุกอย่าง ทุกรส ทุกสัมผัส ไม่ใช่ว่าไม่มีเนื้อสัตว์แล้วจะทำให้เราถูกจำกัดจากความอร่อย” ป้าตาว่าอย่างนั้น พร้อมยกตัวอย่างวิธีทดแทนความอร่อยจากเนื้อสัตว์ 2-3 วิธี“เป็ดพะโล้ เราใช้ฟองเต้าหู้มาทาน้ำพะโล้ สลับกับเห็ดหอมซอย ทำแบบนี้ 4-5 ชั้น ม้วน ห่อผ้า เชือกมัด แล้วตุ๋นในน้ำพะโล้ พอระหว่างชั้นสมานกันดีก็นำขึ้นไปทอด หั่น ราดน้ำ วางเครื่องเคียง ก็เป็นอันใช้ได้”“ปลาดุกฟู ใช้เต้าหู้ขูดฝอย เห็ดหั่นละเอียดและสาหร่าย ผสมกันเพื่อให้ได้กลิ่นรสที่ใกล้เคียงแล้วนำไปทอดกรอบ“น้ำพริกกะปิ ใช้ไข่เค็มแทนกะปิแล้วทำทุกอย่างเหมือนน้ำพริกกะปิ แต่ใส่ซีอิ๊วขาวหรือเกลือแทนน้ำปลา เติมน้ำตาลเพื่อเรียกความกลมกล่อมออกมา”

ส่วนสูตรอาหารแปลกๆ นั้นได้มาจากประสบการณ์ท่องเที่ยว ป้าตานำสิ่งที่พบเห็นเวลาเดินทางมาประยุกต์ทำเป็นสูตรอาหารของตน ปรุงรสได้ถูกปากถูกใจ กระทั่งนิตยสาร Health & Cuisine ยังติดต่อให้ลงสูตรเป็นประจำในนิตยสาร“ป้าชอบเที่ยวตลาด ไปแถบชายแดนพม่าบ้าง ไทใหญ่ เชียงตุง หรือแถบอีสานบ้าง ได้เห็นอาหารเขาที่ดีต่อสุขภาพ วิธีทำก็เรียบง่าย ป้าก็รู้สึกสนใจ อย่างเช่น ข้าวพันผักของบ้านลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ป้าตาไปเห็นก็จำมาทำเอง ใส่ผัก ใส่ไข่ ใช้แป้งละเลงเหมือนแผ่นก๋วยเตี๋ยว แล้วก็ใส่ผักนึ่งห่อเป็นสี่เหลี่ยม ราดน้ำซอส 3 ชนิด แนมแคบหมู (เจ) โรยกระเทียมเจียว แค่นี้ก็อร่อยแล้ว

หรืออย่างตอนที่ไปสิบสองปันนา เห็นเขาทำข้าวแลงฟืน เราก็ลองทำดู สูตรนี้ทำจากถั่วลันเตา นำมาโม่เติมน้ำ ทิ้งให้ตกตะกอนแล้วนำแป้งที่ได้มากวน ชิมรส เทใส่ถาดทิ้งไว้ให้เย็น ส่วนรสชาติเราก็ปรุงเอาให้ถูกปากคนบ้านเรา”“มังสวิรัติที่รับประทานแล้วอร่อยอยู่ที่การปรุง พอเราทำบ่อยๆ ก็จะคิดออกว่าถ้าอยากให้ได้รสนี้สัมผัสนี้ ควรต้องมีอะไรและทำอย่างไร” อาหารของป้าตาเป็นอาหารที่มีไว้เพื่อเอาชนะอาหารเนื้อสัตว์ เพราะมีรสชาติที่อาหารเนื้อไม่มี แต่ก็มีรสชาติที่อาหารมังสวิรัติทั่วไปไม่มี หลายคนว่าไว้อย่างนั้น


ฝ่าความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับอาหารมังสวิรัติการทำอาหารมังสวิรัติจัดเลี้ยงของป้าตาประสบความสำเร็จด้วยการฝ่าความเชื่อเดิมๆ ที่คนมักว่ากันว่า
1. อร่อยสู้เนื้อสัตว์ไม่ได้ ป้าตาบอกว่า “ถ้าคนไหนทานอาหารมังสวิรัติแล้วไม่อร่อย แสดงว่าคนทำยังตระหนี่อยู่ คือไม่ทำให้ถึงเครื่องถึงรส คนจะทำอาหารมังสวิรัติให้ดีต้องฝึกใจไม่ให้ตระหนี่ ใส่ของให้เต็มที่และใช้ของดีๆ
2. คนเขาไม่กินกันหรอก ป้าตาบอกว่า “ไม่จริง ตั้งแต่มาทำอาหารมังสวิรัติมีคนตามตัวไปทำงานเยอะมาก เพราะเขาอยากได้อาหารอย่างที่เราทำ แต่ไม่รู้จะหาจากที่ไหน”
3. ทำดีไปกำไรหด ป้าตาบอกว่า “แค่คุณคิดอย่างนี้ก็ขาดทุนแล้ว ลองทำออกมาขายก่อนเถอะ ได้ขายเมื่อไหร่ กำไรรออยู่ คุณต้องสร้างความศรัทธาในตัวเอง แล้วลูกค้าถึงจะศรัทธาในตัวคุณ เมื่อเขาได้ทานของดีแล้วเขาก็จะติดใจและกลับมาอีก เราต้องได้ใจคนก่อนแล้วกำไรจะตามมา ของไม่ดีขายถูกแค่ไหนก็ไม่มีใครอยากกิน ขาดทุนอยู่ดี”

จะเห็นว่าการคิดต่างเป็นที่มาของธุรกิจที่มีความเฉพาะตัวสูงเสมอ แต่ที่สำคัญความต่างนั้นต้องมาพร้อมกับคุณภาพ จึงจะพาให้ธุรกิจเดินสู่ความสำเร็จได้ สุดท้ายต้องขออภัยสำหรับท่านที่ต้องการติดต่อป้าตาเพื่องานเลี้ยงครั้งต่อไป เราไม่สามารถลงเบอร์ติดต่อให้ได้ เพราะป้าตายืนยันว่า “เพื่อเน้นคุณภาพ ขอรับลูกค้าแบบปากต่อปากเท่านั้น” …แค่นี้ป้าตาก็พอใจแล้ว
hhhhhhhhh

ภาพบรรยากาศในงาน 40 ปีโครงการหลวง ลานน้ำพุหน้าสยามพารากอน วันนี้ - 1 มีนาคม 2552
จับประเด็นเด่นกับอาหารมังสวิรัติจัดเลี้ยง
1. ประสบการณ์(ที่ดี)ของลูกค้า คือการตลาดที่มีพลังที่สุด เพราะความประทับใจเป็นที่มาของโฆษณาแบบปากต่อปากซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูง
2. การลงทุนในตัวเองให้ประโยชน์ในระยะยาว นอกเหนือจากการลงทุนด้านอื่นๆ อย่าลืมเพิ่มเติมทักษะเฉพาะด้านให้กับตัวเอง เช่น ทำอาหาร เย็บปักถักร้อย จัดสวน ฯลฯ ถือเป็นการลงทุนในตัวเอง เป็นฝีมือติดตัวที่ไม่สูญหาย และยังนำมาใช้สร้างอาชีพให้กับตัวเองได้
hhhhhhhhhhhhh
บรรยายไม่ถูกละ...หวัวว่าพี่น้องชาวหัวหินคงได้รับอะไรดีดี จาก 'ป้าตา' ที่ huahinhub หยิบยกมาฝากกัน....สวัสดี
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://www.tcdcconnect.com huahinhub Thanks

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๙ (บทสรุป อร่อยริมทาง)




ตอนนี้ huahinhub เสนอบทสรุป การจัดนิทรรศการ 'กินไปเรื่อย อร่อยริมทาง' ซึ่งจัดแสดงดดย TCDC ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ มาฝากพี่อน้องชาวหัวหินที่เคารพรักกัน

เรื่องของเรื่อ ได้ความว่าอย่างไร ไปติดตามกันนะ.....


กินอย่างไทยจะไปไหนต่อ?
เจาะลึกแนวคิดทีมภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ Quick Bites: Design for Better Eating April 27th, 2009



เหตุที่TCDC เลือก “วิถีอร่อยริมทาง” มาจัดเป็นนิทรรศการ
มุมหนึ่ง เนื่องว่า วิกฤตเศรษฐกิจทำให้ผู้คนต้องการจะ get back to basics หลายคนที่เคยตกเป็นทาสของอุตสาหกรรมการเงิน ก็อยากกลับมาพึ่งวิถีใกล้ตัว นอกจากนั้น ยังสังเกตได้ว่า มีแรงงานต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อยที่พอว่างจากการทำนา ก็หันมาเป็นแม่ค้าหาบเร่ แสดงว่า วิถีตรงนี้เชื่อมต่อถึงกลุ่มรากหญ้าได้

ส่วนในอีกมุมหนึ่ง วัฒนธรรมการกินเป็นจุดบวกของสังคมไทยอยู่แล้ว เป็น habit หนึ่งของคนไทย ฉะนั้น มันมีโอกาสที่จะต่อยอดออกไปได้ทั้งในเชิงความคิดสร้างสรรค์ ดีไซน์ นวัตกรรม ธุรกิจ และการจัดการ มีหลากหลายประเด็นในวิถีการกินริมทางของไทย ที่เราอยากให้คนได้คิดพัฒนาต่อ เราจะทำอะไรได้บ้างให้ประสบการณ์การบริโภคของผู้คน และความสะดวกสบายของผู้ค้ามีคุณภาพยิ่งขึ้นกว่าในปัจจุบัน

นี่คือ ที่มาของนิทรรศการนี้ครับแน่นอนว่าเรื่องปากท้องสำคัญกับมนุษย์ทุกชาติพันธุ์แต่กับคนไทยคุณเห็นความสัมพันธ์พิเศษอะไรระหว่าง “การดำเนินชีวิต” กับ “วิถีการกิน” ตรงนี้คนไทยกินกันทั้งวัน เราสื่อสัมพันธ์กันด้วยการกิน อยากเจอกันก็นัดกินข้าว เปียแชร์ก็นัดกินข้าว อะไรๆ ก็นัดกินข้าว ไปเที่ยวไหนก็ต้องเตรียมอาหารไปด้วย หาเรื่องกินกันตลอด ลองสังเกตคนไทยที่ไปเที่ยวน้ำตก ไปเที่ยวชายหาด เขาต้องเตรียมเสื่อไปปูนั่งกินข้าวด้วยเสมอ

ส่วนหนึ่งอาจมาจากความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศเขตร้อนด้วย คือ มันมีของให้กินได้เยอะ แต่ด้วยความที่อากาศร้อนเราจึงกินกันครั้งละน้อย ก็ทำให้เกิดเป็นพฤติกรรม เป็นวิถีการกินของไทยเราขึ้นมา


ส่วนเอกลักษณ์ของหาบเร่แผงลอยไทยที่ชาติอื่นไม่มี คือ
แม่ค้าไทยมีวิญญาณนักประดิษฐ์ รู้จักผสานวิถีดั้งเดิมเข้ากับสิ่งละอันพันละน้อยจากยุคผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ออกมาเป็นของแปลกๆ ที่จะเห็นได้ในนิทรรศการนี้ เช่น วิธีการหิ้วที่เริ่มจากการใช้เชือกกล้วยหิ้วของทุกอย่าง ตั้งแต่ผลไม้ยันน้ำอ้อยในกระบอกไม้ไผ่ ต่อมาก็พลิกแพลงมาหิ้วกระป๋องนม หิ้วโจ๊ก ฯลฯ เขาจะเอาของอย่างหนึ่งมาประยุกต์ใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ

จะว่าไปก็คือ Reuse หรือ Adapting concept ในยุคแรกๆ นั่นเอง เห็นมั้ยว่าฝรั่งก็ไม่ได้เก๋ไก๋อะไรหรอก เรื่อง Reuse นี่แม่ค้าไทยเราทำกันมานานแล้ว

แต่ที่น่าเจ็บใจคือ “ทำไมเราไม่คิดต่อ” อย่างเรื่องการหิ้วที่เราพัฒนาจากยุค “กระป๋องกับเชือกกล้วย” มาสู่ยุค “ถุงพลาสติกกับหนังสติ๊ก” ได้แล้ว ทำไมจึงไม่มีใครคิดตีความและต่อยอดวิวัฒนาการนี้ออกไปอีก เช่น อาจทำ Bag Cup ขึ้นมา (ที่ไม่ใช่ Bag with a cup) แค่นั้นก็จะเป็นอีกก้าวเล็กๆ ของนวัตกรรมไทย ที่ไม่ต้องมี “ถุงกับถ้วย” แต่ทำ “ถุงที่เป็นถ้วย” ขึ้นมาเลย เพิ่มขีดความสามารถมันขึ้นอีก คือ จะแขวนก็ได้ จะตั้งให้ยืนเองก็ได้ อะไรแบบนี้เป็นต้น


ความคาดหวังอยากให้ผูู้ชมคิดหรือทำอะไรต่อไปหลังจากชมนิทรรศการ

อยากให้คนไทยระลึกได้ว่า “ขุมทรัพย์อยู่รอบตัว” ถ้าเรารู้จักที่จะตีความมัน อันดับแรกต้องเริ่มจากการเปลี่ยนทัศนคติก่อน อย่าไปเบื่อหน่ายของเก่าๆ เดิมๆ เราควรจะมองมันด้วย passion ใหม่ๆ บ้าง

ในฐานะดีไซน์เซ็นเตอร์ TCDC อยากส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนา ซึ่งคงต้องไปทำการสำรวจเบื้องต้นกันก่อน มองหาจุดแข็งจุดอ่อนและความเป็นไปได้ต่างๆ บางทีการพัฒนาต่อยอดมันเป็นไปได้สองทาง จะเดินหน้าพัฒนาของเดิมๆ ให้ตอบโจทย์สมัยใหม่มากขึ้น หรือจะเอาแรงบันดาลใจจากของเก่ามาใส่ในของใหม่ก็ได้ เช่น ถ้าพูดถึง “ข้าวเหนียว” แล้ว ระหว่างกระบอกไม้ไผ่ กระติ๊บ กับกระติก Ice Cooler อันไหนจะทำให้ข้าวเหนียวอยู่ได้นานกว่า อร่อยกว่า เก็บความชื้นได้ดีกว่า แล้วก็เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตด้วย


TCDC มีกลยุทธ์การเสาะหาและเลือกสรรผลงานมาประกอบนิทรรศการอย่างไร
เราจะตั้งสมมติฐานขึ้นก่อน ทำโครงของนิทรรศการให้รู้ว่า เราต้องการให้คนได้สัมผัสอะไรบ้าง ถึงจะตัดสินได้ว่าเราต้องนำเสนอเนื้อหาในแง่มุมใด เช่น Historical aspect, Social phenomena, Creative economy เสร็จแล้วก็ไปค้นคว้า กระจายโจทย์ออกไป ถึงได้มาเป็นเรื่องของแดงแหนมเนือง ชายสี่หมี่เกี๊ยว และอื่นๆ
ทำไมหาบเร่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงต้องเป็นรถเข็นมีล้อเหตุผลข้อแรกคือ ความสะดวก เป็นตัวช่วยที่ง่ายที่สุดในต้นทุนที่แม่ค้ารับได้ในตอนนี้ (จากการสำรวจ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 8400 บาท ต่ำสุด 2400 บาท) แม่ค้าสามารถเตรียมของสดที่บ้าน ทำ food prep อะไรๆ เสร็จแล้วก็เข็นมาขาย ขายเสร็จก็เข็นกลับบ้าน ซึ่งถ้าเขารวยขึ้นเขาก็จะปรับให้รถเข็นมีออพชั่นที่มากขึ้น

ข้อสองคือ บ้านเรือนคนไทยอยู่ในตรอกซอกซอยกันมาก รถยนต์ไปไม่ถึงบ้าง ไม่สะดวกบ้าง แต่รถเข็นไปได้หมด สามารถสร้างเครือข่ายลูกค้าได้ลึกกว่า ถึงหน้าบ้านจริงๆ


แนวโน้มของหาบเร่ในอนาคต ?
TCDC คิดว่า แนวโน้มรูปแบบของหาบเร่คงยังไม่เปลี่ยนตราบใดที่ลักษณะสังคม ที่อยู่อาศัย ถนนหนทางยังเป็นแบบนี้อยู่ แต่รถเข็นในอนาคตจะมีฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้น อาจมีแผงลอยแบบ backpack เก็บหนีเทศกิจได้เร็ว

ฝันอยากเห็นรถเข็นพัฒนาไปอย่างไรอยากเห็นฟังก์ชั่นหรือวัสดุใหม่ๆ อาจมีรถเข็นที่ต่อประกอบแบบเลโก้ เป็น modular system ที่ต่อได้เองตามความต้องการของแม่ค้า เพิ่ม-ลดฟังก์ชั่นได้เรื่อยๆ จัดแบ่งขายเป็น catergory ก็ได้ หรือมีวัสดุใหม่ๆ ที่น้ำหนักเบาแต่ราคาไม่แพง ทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องทำการวิจัยกันให้มากๆ ก่อน ทำเวิร์คชอปกัน พัฒนารถเข็นให้มีทั้งฟังก์ชั่นและลุคที่เข้ากับสภาพแวดล้อมของเมืองไทย

ฝันอีกอย่างคือ อยากให้คนไทยสร้างชื่อจากรถเข็นขึ้นมาได้ แต่ไม่ให้มันกลายเป็นธุรกิจใหญ่ที่มีพ่อค้าครองตลาด อยากให้เป็นในสไตล์ Social Entrepreneurship (ผู้ประกอบการสังคม) พัฒนานวัตกรรมในแบบ Open source เหมือนกับ Linux system คือช่วยกันคิด ช่วยกันทำ คนทุกระดับเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์จากมันได้


วิถีอร่อยแบบไหนน่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต
คิดว่า วิถีอร่อยข้างถนนคงเป็นคลื่นที่ซัดต่อไปอีกนาน ตราบใดที่เมืองยังคงเป็นเมือง และคนยังต้องออกมาทำงานนอกบ้าน นอกจากว่าโลกหรือโมเดลสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างรุนแรงจากทุกวันนี้

แต่สิ่งที่คิดว่าเป็นเทรนด์หลักในอนาคตก็คือ ผู้คนจะบริโภคอย่างมีคุณภาพมากขึ้น จะย้อนกลับไปตั้งคำถามหลายๆ อย่าง ย้อนสู่วิถีการผลิต ย้อนสู่วิธีการเกษตร ย้อนสู่การดูแลชาวไร่ชาวนา ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องกันหมด ต่อไปเราต้องคิดถึงคุณภาพกันในทุกมิติ ต้องออกแบบกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบให้ดี

ท้ายสุดอยากฝากข้อคิดอะไรกับผู้ชมนิทรรศการในฐานะที่เราเป็นพลเมืองคนหนึ่งของประเทศ เป็นประชากรคนหนึ่งของโลก เราทุกคนต้องอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งของกระบวนการบริโภคนี้ เราสร้างผลกระทบกับคนอื่นได้ และรับผลกระทบจากคนอื่นด้วย ฉะนั้น อยากให้ทุกคนลองมองดูว่าตนจะมีส่วนสร้างสรรค์ มีส่วนรับผิดชอบ มีส่วนทำให้คุณภาพชีวิต คุณภาพสังคม หรือคุณภาพของโลกใบนี้มันดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง





และนี้คือบทสรุป จากนิทรรศการ 'กินไปเรื่อย อร่อนริมทาง' นิทรรรศการสำหรับชาวบ้านร้านตลาด ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม รวมทั้งการเป็นข้อมูลชั้นดี ของการต่อยอดเพื่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์ มารังสรรค์การทำมาหากิน ของพี่น้องชาวไทย ได้อย่างน่าชื่นชม

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.TCDCCONNECT.COM
huahinhub Thanks

4.27.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๘ (DRIVETIME)



huahinhub เก็บมาฝาก เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ชาวหัวหินกัน กับ 'DRIVETIME' แนวคิดสุดเจ๋งกับการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

Ravijain หนุ่มชาวเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา คือเจ้าของแนวคิด กับไอเดียการสร้างและเขียนเว็บบล็อก สุดบรรเจิด ดังกล่าว เรื่องมีอยู่ว่า

ภายหลัง Ravi ต้องขับรถไปกลับ ที่ทำงานโดยใช้เวลากว่า 30 นาทีขึ้นไปต่อเที่ยว ในแต่ละวัน (ตามภาพเส้นทางเดินรถ ช่วงเช้า-เย็น) ซึ่ง Ravi เห็นว่าเป็นการเสียเวลาไปโดยใช่เหตุจริงๆ น่าจะทำอะไรได้บ้างมั๊ยนะ

ในเวลาที่เปล่าประโยชน์ อย่างนั้น คิดไปคิดมาประกอบกับการเป็นคนหนึ่งที่ติดตามข่าวสาร ทางสื่ออินเทอร์เน็ต และเว็บบล็อก เป็นทุน Ravi ก็ปิ๊ง ไอเดีย ที่ว่าน่าจะติดตั้งกล้อง ถ่าย VDO ไปกับรถที่ตนขับทุกเมื่อเชื่อวัน

โดยคิดต่อไปว่า ในรถของตนนั้น เป็นเหมือน 'สตูดิโอ' เก็บเรื่องราวการดำเนินชีวิต ปรกติธรรมดา ในทุกๆวันของชาวเมืองบอสตัน และการถ่ายทำดังกล่าว ก็จะเปิดสตูดิโอ เอ๊ย 'รถ' ให้ชาวเมืองบอสตัน ทั่วไป สามารถ ขึ้นมาบนรถ เพื่อ เดินทางร่วมกันและพูดคุยกันในทุกๆเรื่องที่แสนจะปรกติธรรมดาเกี่ยวกับชีวิต ในแต่ละวันของแขกรับเชิญ ในเส้นทางที่ Ravi ขับรถเดินทางไปทำงานนั่นเอง ว้าวๆๆๆๆๆ (คิดได้ไง)

ภายหลังขับรถกลับบ้านในทุกๆเย็น Ravi ก็จะกลับมา Download VDO 2 ตอนในแต่ละวัน ตัดต่อเพื่อความเหมาะสมกับการนำเสนอทางเว็บบล็อก จากนั้นก็ Zip File ที่ได้ ส่งไปที่ Web Host เพื่อขึ้นเว็บ ต่อไป

ผลตอบรับของแนวคิดสุดบรรเจิด ที่มีเนื้อหาสุดแสนจะธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ครั้งนี้ ปรากฏเป็นข่าว ไปทั่วอเมริกา และมีผู้ติดตามและชื่นชม ความคิดสร้างสรรค์ ครั้งนี้ ไปทั่วโลก โดย Ravi ยังได้เปิดรับคำติชมจากผู้ชมทั่วไปเพื่อมาปรับปรุงการ 'ถ่ายทำบทสนทนาระหว่างขับรถไปทำงาน' ระหว่างเขาและแขกรับเชิญ อีกด้วย เช่น บางคนบอกว่าผมพูดมาก เปิดโอกาสให้แขกรับเชิญพูดน้อยเกินไป เป็นต้น Ravi กล่าว

ในภาพข้างต้นคือ ผู้สื่อข่าวสาวจาก ออสเตรเลีย ที่บินข้ามน้ำข้ามทะเล มาทำข่าว ถึงสตูดิโอส่วนตัวของ Ravi ในบอสตัน (ซึ่งเป็นตอนที่ 6 หลังทำรายการเท่านั้น-ปี 2005) ดังจริงๆใช่มั๊ยล่ะ

เห็นอย่างนี้แล้ว เพื่อนพี่น้องชาวหัวหิน ทั้งหลาย จะได้มีไอเดียในการใช้ชีวิต ที่แม้จะแสนธรรมดา แต่ถ้าแค่คิดต่าง มันก็ไม่ธรรมดาได้เหมือนกัน ว่ามั๊ย.... สวัสดี


(เส้นทางเดินรถ ระหว่างไป-กลับ จากบ้านและที่ทำงานของ Ravi)
ติดตาม ภาพ VDO ของRavi ได้ใน http://drivetime.ravijain.org/
Good Luck

ขอบคุณภาพจาก DRIVETIME
hiahinhub Thanks

4.25.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๗ (ปล่อยแสง #๓)



เป็นอีกงานที่ huahinhub ไม่อยากให้น้องๆชาวหัวหิน โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา
พลาดโอกาสดีดีอย่างนี้ เป็นอย่างไร ไปชมกัน..................
เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ (Creative Showcase)
17-28 June 2009 10:30-21:00 แกลลอรี่ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ


เทศกาลปล่อยแสง เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “Creative Thailand
สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” ซึ่งจัดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศด้วยการมุ่งพัฒนาไปสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้จัดงานเทศกาล “ปล่อยแสง: คิด/ทำ/กิน” ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสสำหรับทุกคนในการนำเสนอความคิดและผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถผลิตเป็นชิ้นงานได้จริง และสร้างบรรยากาศแห่งการพบปะ แลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าของผลงานและผู้ที่สนใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการสร้างรายได้ต่อไป

ไอเดียตั้งต้นเทศกาลปล่อยแสงเทศกาลปล่อยแสงเป็นพื้นที่อิสระที่เปิดสำหรับทุกคนที่มีไอเดียทำมาหากินได้ ให้สามารถเข้ามานำเสนอผลงานของตนเองตามแนวคิดหลัก 3 หัวข้อ
1.การคิด (Inspiration) – why
2.การทำ (Practical process) – how
3.จุดขาย (Attraction) – wow

โดยเป้าหมายหลักของการนำเสนองานก็คือ การนำเสนอผลงานตั้งแต่สาเหตุในการคิดไอเดียตอบโจทย์ พร้อมด้วยกรรมวิธีหรือกระบวนการผลิตที่ทำได้จริง ก่อนงอกเงยเป็นผลงานสุดว้าว!

เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญเพราะเด็กในวันนี้ จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า ดังนั้นหากพลังทางความคิดสร้างสรรค์อันไร้ขีดจำกัดของพวกเขาได้รับการสนับสนุนให้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างเต็มที่ อนาคตที่เด็กฉลาดเหล่านี้จะก้าวขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติย่อมไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน


ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
ทำหน้าที่ผู้ใหญ่ใจดี เปิดเวทีสร้างสรรค์ มอบโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ค้นพบหนทางสู่การเป็นผู้ใหญ่มืออาชีพใน เทศกาลปล่อยแสง 3 ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ กิจกรรมเด่นภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” ที่จะช่วยให้นิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศได้พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้จากมันสมองและสองมือ พร้อมเปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจได้รู้จักกับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ไฟแรงจากทุกสาขาวิชา เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ธุรกิจที่แข็งแกร่งพร้อมขับเคลื่อนสังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ลานปล่อยแสง นิสิต นักศึกษาวันที่ 17 – 28 มิถุนายน 2552ห้องแกลลอรี่ 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
ลานปล่อยแสง คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เจ้าของผลงานสร้างสรรค์จากทุกสาขาอาชีพที่กำลังมองหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ร่วมแสดงผลงานของตนเอง พร้อมทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนความคิดและทัศนะ ตลอดจนสามารถต่อยอดและพัฒนาธุรกิจระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในครั้งนี้ ลานปล่อยแสงเปิดโอกาสให้เฉพาะนิสิต นักศึกษา ระดับปวช. ปวส. ปริญญาตรี และปริญญาโท ที่กำลังจะจบการศึกษาในปีนี้ (พ.ศ. 2552) มาร่วมวงคนมีของ นำเสนอผลงานจบการศึกษา ที่มีจุดขาย เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญต้องมีโอกาสต่อยอดทางธุรกิจ บนพื้นที่อิสระที่ไม่จำกัดแวดวงและชนิดของผลงาน TCDC พร้อมเปิดพื้นที่อิสระแบบใครมาก่อนได้ก่อน ให้คุณนำเสนอตนเองพร้อมผลงาน (Portfolio) ได้โดยไม่จำกัดรูปแบบภายในพื้นที่บูธออกงาน 1 ตารางเมตร* แบบไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ เพื่อเป็นก้าวแรกในการเปิดเส้นทางธุรกิจที่แข็งแกร่งต่อไป

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของลานปล่อยแสง: พื้นที่อิสระสำหรับคนมีของ หากคุณเป็นนิสิต นักศึกษา ระดับปวช. ปวส. ปริญญาตรี และปริญญาโท ที่กำลังจะจบการศึกษาในปีนี้ (2552) มีความคิดทำ/กิน/ได้ และกำลังมองหาเวทีในการแสดงผลงานเพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจของคุณ TCDC พร้อมแล้วที่จะสนับสนุนผลงานสร้างสรรค์ของคุณสู่สายตาสาธารณชน โดยสามารถส่งผลงานเข้ามายัง www.tcdc.or.th/ploy-saeng ได้ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 10 เมษายน – วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2552

หากผลงานจบการศึกษาสร้างสรรค์ของคุณมีความน่าสนใจและมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาต่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาด คุณจะได้รับสิทธิ์เป็น 1 ใน 150 เจ้าของพื้นที่แสดงผลงานกับเราแบบฟรีๆ โดยสามารถติดตามการประกาศผลผู้ได้รับสิทธิ์พื้นที่การจัดแสดงได้ทางเว็บไซต์
www.tcdc.or.th/ploy-saeng ในวันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552
โอกาสสำคัญเพื่อต่อยอดผลงานของคุณสู่ความสำเร็จTCDC จะทำการคัดเลือก 30 ผลงานที่โดดเด่นและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดสู่ตลาดธุรกิจได้จริง เพื่อทำการประชาสัมพันธ์และตีพิมพ์ผลงานผ่านทางนิตยสาร a day ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม 2552 ตลอดจนสื่อต่างๆ และช่องทางการสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ของ TCDC อาทิ เว็บไซต์ www.tcdc.or.th, www.creativethailand.org และการส่งข่าวประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-News) เป็นต้น เพื่อเผยแพร่ผลงานของคุณสู่ผู้คนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-664-7667 ต่อ 134หรือคลิกดูรายละเอียดที่
www.tcdc.or.th/ploy-saeng และ อ่านคุณสมบัติและกติกาการส่งผลงาน เข้าร่วมคัดเลือกเพื่อจับจองสิทธิ์พื้นที่บนลานปล่อยแสงและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทศกาลปล่อยแสง @ TCDC ได้ที่ www.tcdc.or.th/ploy-saeng



*หมายเหตุ
1. ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในพื้นที่การจัดแสดงจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดๆ ในการจัดแสดงผลงานของตนเองนอกเหนือจากพื้นที่ที่ทางผู้จัดงานเตรียมไว้ให้
2. ขอสงวนสิทธิ์ในการเพิกถอนการจัดแสดง ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าผลงานที่นำเสนอขาดความพร้อมในการจัดแสดง
3. ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในพื้นที่การจัดแสดง จะต้องเตรียมนามบัตรจำนวน 150 ใบมาส่งให้ทางผู้จัดงาน เพื่อที่จะนำไปใช้ประชาสัมพันธ์ในเทศกาลนามบัตร และอีก 150 ใบ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ที่หน้าบูธของท่านเอง
4. ผู้จัดงานจะจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดฉายผลงานประเภทภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นจอฉายภาพกลางให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับจัดฉายมาเอง
5. ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในพื้นที่การจัดแสดงจะต้องเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบขั้นตอน รายละเอียด และกฎข้อห้ามต่างๆ หากท่านใดไม่เข้าร่วมประชุมตามที่ได้รับการนัดหมายจะถือว่าสละสิทธิ์
6. ประเภทของงานที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมปล่อยแสงได้ครอบคลุมคณะและสาขาวิชาต่างๆ มากมาย อาทิ
แพทยศาสตร์,ทันตแพทยศาสตร์, เภสัชศาสตร์, พยาบาลศาสตร์, สหเวชศาสตร์, จิตวิทยา, กายภาพบำบัด, เทคนิคการแพทย์, วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, โลจิสติกส์, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ศิลปกรรมศาสตร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, นิเทศศาสตร์, มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, บริหารธุรกิจ, ครุศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, อักษรศาสตร์, ศิลปศาสตร์, นิติศาสตร์, รัฐศาสตร์, ประมง, วนศาสตร์, เกษตรศาสตร์, นิเทศศิลป์, ทัศนศิลป์, วิจิตรศิลป์, มัณฑนศิลป์, ประยุกต์ศิลป์, ดุริยางคศาสตร์ ฯลฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.okmd.or.th
huahinhub Thamks

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๖ (หลากกิจกรรม ค่าย-ปิดเทอม)


huahinhub เก็บเรื่องราวดีดีมาฝากน้องๆหนู ขอพวกเราชาวหัวหินกัน ...
เป็นอย่างไรตามไปดูกันเลย.................


๐ TK day camp @เขายี่สาร “เยือนยี่สาร..ชุมชนแห่งสายน้ำ”
วันที่ : 29 เมษายน 2552 เวลา 7.00 - 18.00 น. ค่าลงทะเบียน : 800 บาท (รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง ค่าเดินทางและอุปกรณ์ต่าง ๆ)

TK park ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดกิจกรรมต้อนรับปิดเทอม พาน้อง ๆ ออกเดินทางสู่ชุมชนเขายี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำมายาวนานหลายชั่วอายุคน พร้อมเปิดโลกการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่หาไม่ได้ในห้องเรียนการรับสมัคร • รับสมัครน้อง ๆ อายุ 10-15 ปี เพียง 40 คนเท่านั้น • กิจกรรมนี้เป็นค่าย 1 วัน (เช้าไป – เย็นกลับ)• สำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 02-257-4300 ต่อ 124 (พี่ต๊ะ) • รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 18 เมษายน 2552


๐ TK Band “ปฏิบัติการสานฝันคนดนตรี”
วันที่ : เดือนพฤษภาคม 2552 ค่าลงทะเบียน : ไม่มีค่าใช้จ่าย

หากฝันของคุณคือการเป็นนักดนตรีรุ่นใหม่ที่แรงทั้งฝีมือและเพลง อย่ารอช้ากับเส้นทางสร้างฝันนี้ เชิญเข้าร่วมเวิร์คช้อปทางดนตรีกับ TK Band “ปฏิบัติการสานฝันคนดนตรี”

โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบเข้มข้นครบสูตร ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรี การแต่งเพลง การผลิตผลงานและการแสดงดนตรี โดย คุณศุ บุญเลี้ยง นักดนตรีและนักแต่งเพลงมือฉมัง ร่วมกับวิทยากรคนดนตรีผู้มากประสบการณ์อีกมากมาย และมีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ TK Band วงดนตรีรูปแบบใหม่ที่พร้อมโชว์ความสามารถทางดนตรีในแบบฉบับของตัวเอง

การรับสมัคร • รับสมัครน้อง ๆ อายุ 15-25 ปี ที่มีใจรักและสนใจดนตรีไม่จำกัดรูปแบบ• มีความตั้งใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามวันเวลาที่กำหนด• กรอกใบสมัคร เขียนเล่าความสนใจและประสบการณ์ทางดนตรีแบบสั้น ๆ ส่งมาที่ premkiat@tkpark.or.th ดาวน์โหลดใบสมัครได้ ที่นี่• ประกาศผลผู้มีสิทธิ์ได้รับการสัมภาษณ์คัดเลือกรอบแรก วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ทาง www.tkpark.or.th • รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน 2552


๐ เขียนให้ได้ ถ่ายให้เป็น
วันที่ : 12 – 15 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.00 – 17.00 น. ณ อุทยานการเรียนรู้ TK park ค่าลงทะเบียน : คนละ 800 บาท (รวมอาหารว่างวันละ 2 มื้อ)

3 – 2 – 1 แอ๊คชั่น! ได้เวลาเดินตามฝันกับการก้าวสู่เส้นทางคนเบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ นักเขียนบท คนตัดต่อ หรือโปรดิวเซอร์ กับกิจกรรม “เขียนให้ได้ ถ่ายให้เป็น” ที่จะได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ จาก วิทยากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทั้งการเขียนบท (คุณรสิกา สวนสม), ถ่ายภาพ (คุณอุรุพงศ์ รักษาสัตย์), ตัดต่อ (คุณศิโรตม์ ตุลสุข ประธานชมรมหนังสั้นแห่งประเทศไทย) และบริหารกองถ่าย (คุณโสฬส สุขุม และ คุณพันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ จาก มะหมา 4 ขาครับ)

โดยหลังจากการอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วม จะได้ลงมือผลิตภาพยนตร์สั้นด้วยตนเองการรับสมัคร • รับสมัครน้อง ๆ อายุ 15-28 ปี เพียง 40 คนเท่านั้น (ถ้ามีกล้องวีดีโอ กรุณานำมาด้วย)• เขียนตัวอย่างเรื่องที่อยากจะเล่า ขนาด 1 หน้ากระดาษ A4 ส่งมาที่ sutee@tkpark.or.th ดาวน์โหลดใบสมัครได้ ที่นี่• รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 7 พฤษภาคม 2552


รู้อะไรดีดีอย่างนี้แล้ว หากมีเวลามีโอกาส ก็ขอเชิญชวนพี่น้องชาวหัวหินเรา สนับสนุนให้ลูกหลานชาวเมืองหัวหิน ได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถกัน ได้ตามที่อยู่และเบอร์ไทรศัพท์ดังกล่าวต่อไปนะ


ขอบคุณข้อมูลจาก www.tkpark.or.th
huahinhub Thanks

4.24.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๖ (เศรษฐกิจสร้างสรรค์)




หนังสือดีดีอีกเล่มที่ huahinhub อยากให้ชาวหัวหินได้อ่านกัน..

เศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออะไร สำคัญอย่างไรกับประเทศไทย และเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตคุณ
เมื่อลิขสิทธิ์กลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดของสหรัฐอเมริกา และอุตสาหกรรมดนตรีของอังกฤษสร้างรายได้สูงกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก หรือสิ่งทอ ตลอดจนรายชื่อสิทธิบัตรใหม่เข้าไปปรากฏในตารางความสามารถด้านการแข่งขันของชาติต่างๆ ซึ่งเคยแสดงปริมาณผลผลิตทางเกษตรกรรมหรือความยาวของรางรถไฟ ปรากฏการณ์เหล่านี้นอกจากจะสะกิดให้คิดว่า การสร้างความมั่งคั่งของประเทศซึ่งอยู่บนพื้นฐานของอุตสาหกรรมการผลิตนั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว มันยังแสดงให้เห็นถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจอันมหาศาลของความคิดสร้างสรรค์


หนังสือ THE CREATIVE ECONOMY: How people make money from ideas หรือในชื่อภาษาไทยว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์: เขามั่งคั่งจากความคิดกันอย่างไร โดยจอห์น ฮาวกินส์ จะพาคุณสำรวจแนวคิด "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ประเทศชั้นนำต่างๆอย่างสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา จีน รวมถึงประเทศต่างๆ ในยุโรป ให้ความสำคัญถึงขั้นผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศ



ประวัติผู้เขียน
จอห์น ฮาวกินส์ จัดพิมพ์หนังสือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์: เขามั่งคั่งจากความคิดกันอย่างไร ครั้งแรกในปี 2001 เพื่อเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานของ BOP Consulting บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ที่กรุงลอนดอน และประธานของ Howkins &Associates บริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบชุมชนเมืองและนิเวศน์ของความคิดสร้างสรรค์ที่กรุงปักกิ่ง

ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ องค์กรระหว่างประเทศ และรัฐบาลในประเทศต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส กรีซ อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น โปแลนด์ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

เขาสนใจศึกษาเรื่องการใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนมีผลงานมากมายในด้านการบริหารจัดการลิขสิทธิ์

นอกจากนี้จอห์น ฮาวกินส์ ยังดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานของ British Screen Advisory Councilและเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประจำ UNDP อีกด้วย ผลงานเล่มล่าสุดของเขาในชื่อ CreativeEcologies ออกวางจำหน่ายแล้วในปี 2009

ขอบคุณข้อมูลจาก TCDC huahinhub Thanks

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๕ (บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก)





huahinhub เชิญชวนชาวหัวหิน เยี่ยมชมนิทรรศการ กระตุ้นความคิด ที่ TCDC กัน
hhhh

เบื้องหลังรูปทรงสีสันของหีบห่อที่เชิญชวนให้ผู้บริโภคหยิบจับและตัดสินใจซื้อสินค้านั้น h
hh
บรรจุภัณฑ์ต้องทำหน้าที่อีกหลากหลาย ตั้งแต่การปกป้องสินค้าระหว่างการจัดเก็บ การขนส่ง และการจัดจำหน่าย ไปจนถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการใช้งานให้กับผู้บริโภคก่อนจะถูกนำไปทิ้งเมื่อหมดประโยชน์

อย่างไรก็ตามบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลับต้องใช้เวลานานมากในการย่อยสลายกลับสู่ธรรมชาติ ซึ่งเป็นภาระและยังสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย แน่นอนว่าในการผลิตและการบริโภคทุกวันนี้เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ในปริมาณมาก

ปัจจุบันจึงมีการนำแนวคิดสีเขียวมาใช้ พร้อมทั้งพยายามพัฒนาวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ผู้ผลิต นักออกแบบ ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้บริโภค สามารถเลือกจัดการบรรจุภัณฑ์ด้วยความรู้และเอาใจใส่ต่อโลกให้มากขึ้น

ทางเลือกที่นำเสนอในนิทรรศการนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามในการทำให้บรรจุภัณฑ์ "รก" โลก กลายเป็นบรรจุภัณฑ์ "รัก" โลก อย่างไรก็ตาม ทางเลือกอาจจะแตกต่างกันได้แล้วแต่บุคคล แต่ไม่ว่าจะเลือกอย่างไร อนาคตของโลกเป็นความรับผิดชอบของเราทุกคน


เข้าชมฟรี
TCDC, ดิ เอ็มโพเรียม ชั้น 610.30 - 21.00
(ปิดวันจันทร์)สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 664 8448

ขอบคุณข้อมูลจาก www.tcdc.or.th
huahinhub Thanks

4.23.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๔ (กระตุ้นเมล็ดพันธ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้า)






ไอเดียเด็ดเพื่อการทำมาหากินของพี่น้องชาวหัวหิน อีกเรื่อง มาติดตามกัน huahinhub จัดไป...

สจล.คิดค้นเครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้า ระบุเปอร์เซนต์งอกสูง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เกษตรกร ทดลองปลูกที่สุรินทร์ผลผลิตเพิ่ม 30%

ข้าว ถือเป็นธัญญาหารหลักของชาวโลก และมีความหลากหลายทางชีวภาพสามารถปลูกขึ้นได้ง่ายมีความทนทานต่อทุกสภาพภูมิประเทศในโลก ไม่ว่าจะเป็นถิ่นแห้งแล้ง พื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง หรือแม้กระทั่งบนเทือกเขาที่อากาศหนาวเย็น ข้าวก็ยังสามารถงอกขึ้นมาได้
สำหรับประเทศไทย ข้าวเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน และในอดีตประเทศไทยนับว่าเป็นผู้ส่งออกข้าวที่มีความสำคัญในอันดับต้นๆ แต่ปัจจุบันสถานการณ์กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยจากข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย พบว่า ในเดือน พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกข้าวได้เพียง 422,156 ตัน ต่ำสุดในรอบ 3 ปี หรือลดลง 63% เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 50 ที่ส่งออกได้ถึง 1.16 ล้านตัน

เนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูงกว่าเวียดนาม และปากีสถานมากถึงตันละประมาณ 100 ดอลลาร์ โดยข้าวไทยมีราคาส่งออกตันละ 550 ดอลลาร์ ขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวในราคาตันละ 450 ดอลลาร์ เท่านั้น

ทั้งนี้ ปัญหาการส่งออก
ข้าวไทยที่มีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะเวียดนาม สาเหตุหนึ่งมาจาก จำนวนผลผลิตต่อไร่ต่ำ จึงทำให้ต้นทุนสูง ขึ้น และอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดส่งออกข้าวของไทย

จากสาเหตุดังกล่าว ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ.ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล และ ผศ.นรเศรษฐ พัฒนเดช จึงได้คิดค้นเครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้าขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเปอร์เซนต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น


นายบัญชา แย้มสอาด นักศึกษาจาก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. หนึ่งในทีมศึกษาเครื่องดังกล่าว เปิดเผยว่า เครื่องกระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสนามไฟฟ้า ได้รับการออกแบบโดยใช้สนามไฟฟ้าที่มีความเข้มสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอเข้ากระตุ้นเมล็ดพันธุ์ข้าวในเวลาที่เหมาะสม โดยอาศัยทฤษฎีที่ใช้ในการเพิ่มประจุไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงคุณภาพเมล็ดข้าว ผ่าน 3 องค์ประกอบหลักคือ

เปอร์เซนต์การงอกของต้นกล้า ความยาวของรากต้น
ข้าว และดัชนีการงอก ความแข็งแรงของลำต้น อันเป็นผลสืบเนื่องต่อความสมบูรณ์ของต้นข้าวทำให้มีผลผลิตและคุณภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มมูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

จากการศึกษาพบว่าเมล็ดพันธุ์
ข้าวที่นำมาผ่านสนามไฟฟ้าที่มีความเข้มของสนามไฟฟ้า 3 กิโลโวลต์ต่อเซนติเมตร จะได้ความยาวรากเฉลี่ยสูงที่สุด โดยเมล็ดพันธุ์ที่พึ่งเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลาในการกระตุ้น 20 นาที และเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมปลูกจะใช้ระยะเวลาในการกระตุ้น 30 นาที และในกรณีอัตราการงอกไม่แตกต่างกันมากระหว่างเมล็ดพันธุ์พร้อมปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่พึ่งเก็บเกี่ยว เนื่องจากนำเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์มาทำการเพาะนั่นเอง

“ จากการศึกษาพบว่า การกระตุ้นเมล็ดพันธุ์
ข้าวด้วยสนามไฟฟ้ามีผลต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ โดยส่งผลให้ทำให้ความยาวของราก และจำนวนรากแขนงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านสนามไฟฟ้า และเมื่อความยาวของรากเพิ่มขึ้นมีรากแขนงมากขึ้นจะส่งผลต่อการดูดซับแร่ภายในดิน ทำให้ต้นข้าวมีความแข็งแรงทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นในทางปฏิบัติ โดยยิ่งรากยาวยิ่งดูดซับอาหารได้ดี อัตรารอดสูง จากการที่กรมการข้าวนำไปทดลองปลูกที่จังหวัดสุรินทร์พบว่าปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20-30 เปอร์เซนต์ ” นายบัญชากล่าว


นักศึกษาจากรั้วลาดกระบัง กล่าวในตอนท้ายว่า ขณะนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.กำลังนำแนวคิดจากเครื่องต้นแบบดังกล่าวไปพัฒนาสู่เครื่องที่มีขนาดใหญ่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เลขที่ 3 หมู่ 2 ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โทร. 02-7392359 หรือ e-mail : kpsiriwa@kmitl.ac.th

ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
huahinhub Thanks

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๓ (ฟาร์มหมู-คาร์บอนเครดิต)







ไอเดียเด็ดวันนี้ huhinhub เก็บเรื่องราว การปรับเปลี่ยนของเสียจาก 'ฟาร์มเกษตร'สู่ (คาร์บอนเครดิต-แนวคิดการสร้างก๊าซชีวภาพ) มาฝากชาวหัวหินกัน...

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับแผนทำโครงการกลไกสะอาด (ซีดีเอ็ม) รวมกลุ่มฟาร์มหมูขนาดเล็ก นำร่องเปลี่ยนมูลสัตว์เป็นคาร์บอนเครดิตพร้อมประกาศขาย

ของเสียจากอุจจาระหมูคือตัวการของกลิ่นไม่พึงประสงค์ ขณะเดียวกันมันสามารถแปลงกลับมาเป็นก๊าซชีวภาพสำหรับใช้แทนก๊าซหุงต้มใช้ในฟาร์มได้เหมือนกัน แต่ยังมีโชคอีกชั้นที่เจ้าของ
ฟาร์มหมูสามารถได้รับจากการขึ้นทะเบียนโครงการกลไกสะอาด หรือซีดีเอ็ม

นายปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

พลังงานทดแทน สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าใจดีว่า การนำฟาร์มหมูเข้าโครงการซีดีเอ็มไม่ใช่เรื่องง่ายนัก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงริเริ่มโครงการซีดีเอ็มขนาดเล็กสำหรับฟาร์มสุกรในประเทศไทย ผลักดันให้ฟาร์มสุกรขนาดเล็กสามารถขึ้นทะเบียนโครงการกลไกสะอาด สำหรับขอใบรับรองการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้
hhh
"โครงการซีดีเอ็มขนาดเล็กฯ เป็นกลยุทธ์ใหม่ เราใช้แผนที่เรียกว่า โปรแกรมเมติกซีดีเอ็ม โดยนำ
ฟาร์มหมูขนาดกลางที่มีหมูตั้งแต่ 2,000 ตัวขึ้นไป จากฉะเชิงเทรา อยุธยาและนครราชสีมา มารวมกลุ่มกันแทนการทำงานแบบตัวใครตัวมัน ” นายปุ่น หัวหน้าโครงการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว

ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการต้องผ่านหลักเกณฑ์พิจารณา อาทิเช่น เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเปิดที่ลึกมากกว่า 1 เมตร ไม่เคยนำก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์ หรือเผาทิ้ง ไม่เคยก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ ที่สำคัญ พื้นที่ตั้งต้องไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ หวงห้ามหรือเขตป่าสงวน และเจ้า ของฟาร์มต้องมีกรรมสิทธิ์ มีพื้นที่พอสำหรับก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ โดยไม่มีถูกไล่ที่หรือเวนคืนที่ดินภายหลัง

เมื่อผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ฟาร์มหมูก็จะต้องลงเงิน 2 ส่วน ได้แก่ ก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ และลงทุนติดตั้งระบบตรวจติดตามการลดการปลด ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น มิเตอร์วัดปริมาณก๊าซและอุปกรณ์เผาก๊าซ ในส่วนของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน จะทำหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนของ การจัดเตรียมเอกสารการขอรับรองโครงการ และการขอขึ้นทะเบียนโครงการภายในประเทศ ส่วนธนาคารโลกหรือเวิลด์แบงก์ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการจัดเตรียมเอกสาร และการดำเนินการที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ
hhh
“ปัจจุบัน
ฟาร์มหมูนำร่องทั้ง 3 แห่งผ่านการตรวจสอบและจะเริ่มก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพในเดือนเม.ย. และจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน มิ.ย. จากนั้นจะใช้เวลา 1 ปีในการเก็บข้อมูล และเมื่อผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบจากคณะกรรมการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะได้รับเงินค่าขายคาร์บอนเครดิต โดยทางธนาคารโลกประกันราคาขายที่ 8 ยูโรหรือ 400 บาทต่อ 1 ตันคาร์บอนเครดิต จนถึงปี 2557” นายปุ่นอธิบาย
หมูขนาด 60 กิโลกรัมจะสามารถสร้าง 0.3 ตัน คาร์บอนเครดิต ซึ่งก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ ทีมวิจัยจะเข้าไปศึกษาข้อมูลในฟาร์ม พร้อมทั้ง วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับเจ้าของฟาร์มก่อนที่จะดำเนินการ

นอกจากนี้ยังมี ฟาร์มหมูอีก 5 แห่งสนใจเข้าร่วมโครงการและอยู่ระหว่างรอตรวจสอบคุณสมบัติดังกล่าว จากนั้นถึงแยกเป็นกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มย่อย ต้องมีความสามารถในการขายคาร์บอนเครดิตได้ไม่เกิน 6 หมื่นตันคาร์บอนเครดิตต่อปี
hhh
“เจ้าของฟาร์มลงทุนไม่เกิน 3 หมื่นสำหรับระบบก๊าซชีวภาพ และอีก 5 แสนบาทสำหรับระบบตรวจติดตามการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยที่มีผู้รับซื้ออย่างแน่นอน ขณะที่หากฟาร์มดำเนินการเองต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท สำหรับรายย่อยที่ผลิต
hh
คาร์บอนเครดิตได้ในปริมาณน้อย ก็อาจจะประสบปัญหาขาดตลาดรับซื้อ และทำให้เราเสียโอกาสที่จะขายได้” หัวหน้าโครงการกล่าว
hhh
ก็ต้องฝากไว้เป็นไอเดียแก่ชาวหัวหิน และสถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายในพื้นที่หัวหินบ้านเรา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อการทำมาหากินแก่ชาวหัวหิน ต่อไป

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
huahinhub Thanks

4.22.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๒ (อย่าดูแค่เปลือก)

Susan Boyle's : I Dreamed A Dream

เป็นข่าวดังฮือฮาไปทั่วโลก เมื่อคุณป้า Susan Boyle วัย 47 ปีอาศัยอยู่ตามลำพังกับแมวคู่ใจในเมือง Lothian ใกล้ๆ สก๊อตแลนด์ เข้าประกวด Britain's Got Talent ของชาวอังกฤษ และได้กลายเป็นดาวดวงใหม่ประดับฟ้าวงการบันเทิงของอังกฤษ โดยอาศัยความสามารถล้วนๆ หลังจากเข้าประกวดในรายการทีวี Britain's Got Talent เอาชนะใจกรรมการปากร้ายและผู้คนในห้องส่งทุกคน

ที่ก่อนหน้าคุณป้าจะโชว์พลังเสียงบอกว่าอยากเป็นเหมือน Elaine Paige (นักร้องดังของอังกฤษ ได้รับรางวัลมากมายและได้รับสมญา "สุภาพสตรีอันดับหนึ่งของวงการละครเพลงอังกฤษ") ไม่มีใครเชื่อแถมถูกหัวเราะเยาะอีก แต่เมื่อคุณป้าร้องเพลงแค่ประโยคเดียวทำคนดูอึ้งตกตะลึงกันไปหมด และก็ได้เปลี่ยนเป็นน้ำตาเป็นความประทับใจยืนขึ้นปรบมือให้กับเสียงร้องราวเสียงสวรรค์

มาฟังคุณป้าร้องเพลง I Dreamed A Dream (จากละครเวทีชื่อดัง Les Miserables) กัน คลิปของคุณป้าทุกสถิติทุกคลิปใน youtube มีคนเข้าไปฟังมากที่สุดถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2552 มีคนดูกว่า 85 ล้านครั้ง สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาใน youtub

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๕ (หุ่นกระบอก ตะเลงพ่าย)







huahinhub เก็บมาฝากชาวหัวหินกันอีกเรื่อง กับการแสดงหุ่นละครเล็ก เรื่อง 'ตะเลงผ่าย' โดย อาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต ๆปติดตามกันเลย...


'จักรพันธ์ โปษยกฤต' สืบสานศิลปะไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน
วันอาทิตย์สิ้นเดือน ใครที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณกลางซอยเอกมัย ถนนสุขุมวิท คงจะนึกว่ามีงานมหกรรมอะไรแต่เช้า เนื่องจากมีผู้คนเป็นร้อยมาเข้าแถวต่อคิวเข้าไปในบ้าน “มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต” แต่สำหรับคนละแวกนั้นอาจจะเป็นภาพที่คุ้นตา เพราะเห็น บรรยากาศแบบนี้มาเนิ่นนานหลายปี ที่มีคนมายืนรอเพื่อเข้าไปดู การซ้อมแสดงหุ่นกระบอก เรื่อง “ตะเลงพ่าย” ของ “อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต”

ชื่อ “จักรพันธุ์ โปษยกฤต” ย่อมเป็นที่รู้กันถึงความสามารถทางด้านศิลปะไทยหลากหลายแขนง เพราะนับตั้งแต่จบคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์จักรพันธุ์ได้ใช้ความรู้ความสามารถ ทำงานทางด้านศิลปะ เริ่มตั้งแต่เป็นอาจารย์ พิเศษสอนวิชาศิลปะไทย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมีผลงานทางด้านทัศนศิลป์มากมาย อาทิ ภาพจิตรกรรมไทยเรื่อง มโนราห์ และพระลอ ในพระตำหนัก ภูพิงคราชนิเวศน์ ออกแบบม่านทอ เป็นภาพจิตรกรรมไทยประเพณี ที่เวทีหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย ออกแบบการ สร้างประติมากรรมสำริดขนาดเท่าคนจริง รูปไกรทองสู้กับชาละวัน จากเรื่องไกรทอง ที่อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ฯลฯ

ไม่นับรวมผลงานภาพจิตรกรรมแบบไทย ที่วาดภาพนางวรรณคดีและประเพณีไทยได้อ่อนช้อยงดงามมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และด้วยผลงานมากมายที่ฝากไว้บนแผ่นดิน อาจารย์จักรพันธุ์จึงได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในปี 2543 ได้รับการเชิดชูเกียรติ เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)

ดังนั้น แค่ได้ยินว่าอาจารย์จักรพันธุ์กำลังเตรียมการแสดงหุ่นกระบอก เรื่อง “ตะเลงพ่าย” บรรดา “แฟนคลับ” ทั่วสารทิศ เลยขอมาดูให้เป็นบุญตา ซึ่งจุดเริ่มต้นของการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องนี้ อาจารย์จักรพันธุ์เล่าให้ฟังว่า มาจากความสำเร็จของการแสดงละครหุ่น เรื่องสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ ที่แสดงในปี 2532 โดยแสดงทั้งหมด 15 รอบ ทั้งคนดูและคนเล่นต่างสนุกด้วยกันทั้งหมด และตอนนั้นทุกคนที่ร่วมทีมเหมือนไฟกำลังแรง จึงคิดอยากจะเล่นเรื่องต่อไปกัน

ตอนนั้นผมเพิ่งอายุ 45 ปี ครูแอ๋ว-อรชุมา ยุทธวงศ์ อายุ 30 ปี มีไฟกันทั้งนั้น แต่เราไม่รู้ว่าจะเล่นเรื่องอะไรดีให้ยิ่งใหญ่เท่าเรื่องสามก๊ก เพราะ ในสามก๊กมีฉากรบ ฉากเรียกลม เผาเรือ ยิ่งใหญ่ แล้วอยู่ๆนักดนตรีของครู บุญยงค์ เกตุคง ชื่อพี่จ่าไก่-ประยงค์ กิจนิเทศ เป็นคนตีตะโพน บอกมาว่า ให้เล่นเรื่องตะเลงพ่าย ทั้งที่แกไม่รู้จักเรื่องนี้เลยว่าเป็นอย่างไร ก็เหมือนกับบรรพบุรุษดลบันดาลให้เล่นเรื่องนี้”

แล้วในปี 2533 หุ่นกระบอกเรื่อง ตะเลงพ่าย ของอาจารย์จักรพันธุ์ก็ได้เริ่มขึ้นจากการแต่งเรื่องโดย คุณต๋อง-วัลลภิศร์ สดประเสริฐ แล้วครูบุญยงค์ เกตุคง ทำการบรรจุเพลง ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไข จนกระทั่ง ครูบุญยงค์ล่วงลับ จนตกมาถึงรุ่นลูกศิษย์ช่วยกันทำ ซึ่งการทำเพลงมีทั้งเพลง ไทยที่มีอยู่เดิมและเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่และเมื่อได้บทได้เพลงแล้วจึงได้มีการฝึกหัดการเชิดหุ่น ส่วนหุ่นองค์แรกที่เสร็จเป็นตัวนาง “พระสุพรรณกัลยา” เมื่อ 5 ปีที่แล้ว จากนั้นก็สร้างองค์ต่อมาคือพระนเรศวร และบุเรงนอง ซึ่งตัวเอกเสร็จหมดแล้ว เหลือแต่ตัวประกอบชาวคณะหุ่นกระบอก ที่คัดสรรกันอย่างไร อาจารย์จักพันธ์ เล่าว่า..

“คนที่มาเล่นให้ก็เป็นมือสมัครเล่นทั้งหมด ตั้งแต่ที่แสดงเรื่อง “สามก๊ก” แล้ว เป็นทีมนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างครูแอ๋วชวนลูกศิษย์จากอักษรศาสตร์ จุฬาฯ มา ส่วน ม.เกษตรฯ ก็มาจากคณะมนุษยศาสตร์ เป็นนักศึกษาปี 1 ปี 2 มาเริ่มหัด พวกนี้เป็นกำลังสำคัญ พอมาเล่นเรื่องตะเลงพ่ายก็ต้องสร้างคนใหม่ ตอนนี้เหลือคนเก่าจากจุฬาฯเพียงคนเดียว จากเกษตรฯเหลือ 2 คน พักหลังเป็นแบบชักชวนกันมารู้จักกัน เป็นภรรยานักร้อง นักดนตรีบ้าง มีที่มาที่ไป มีคนแนะนำชวนกันมา หมักหมมจนเกิดความรักในการแสดงหุ่นกระบอก บางคนอยากสนุกก็มาร่วม เพราะรู้ว่าคณะนี้สนุกแน่ บางคนอยากมาเพราะ ได้ความรู้ พอได้ก็ไป ตอนนี้ทั้งคณะมีคนที่เชิดได้ รำได้เพียง ไม่กี่คน แล้วเราได้นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาช่วยเชิดหุ่นทหาร บางคนเชิดทั้งคนไทยและพม่า”

ด้วยความเป็นมือสมัครเล่น คณะหุ่นกระบอกของอาจารย์จักรพันธุ์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 กว่าคน จึงมีความ หลากหลายทั้งผู้คน และวิชาชีพ โดยอาจารย์จักรพันธุ์บอกว่า คนในคณะมีทั้งเซลส์ขายยา ส่วนคนพากย์เสียงพระเจ้าบุเรงนอง และเถรคันฉ่อง เป็นสรรพากร ซี 9 คนพากย์เสียงพระนเรศวรเป็นกัปตันหนุ่มการบินไทย ถ้าอาทิตย์ไหนไปบินก็ต้องให้คนอื่นพากย์แทน หรืออีกคนหนึ่งเป็นนักประดาน้ำ เป็นนักเรียนนอก มีสำนักฟันดาบมาร่วมแสดงเป็นตัวประกอบแล้วการเชิดหุ่นกระบอก ส่วนความยากง่าย อาจารย์เล่าให้ฟังว่า

“ไม่ง่ายเลย ต้องหัดเชิดหุ่นก่อนแล้วค่อยผสมโรง ซึ่งตอนหลังต้องเกณฑ์ให้ไปเรียนที่วัดตรีทศเทพวรวิหาร เพราะต้องทำงานจิตรกรรมฝาผนังที่นั่น ไปหัดที่นั่นก่อนช่วยกันหัด จนกระทั่งพอใช้ได้จึงค่อยมาหัดกันที่บ้านผม ซึ่งเด็กๆท้อกันก็เยอะ ที่อยู่ต้องใจรักชอบจริงๆ”

จากนั้นการซ้อมหุ่นกระบอกเรื่องตะเลงพ่ายก็เริ่มขึ้นที่บ้านไม้หลังงามของอาจารย์จักรพันธุ์ ในซอยเอกมัย โดยใช้พื้นที่บริเวณใต้ถุนบ้านเป็นลานซ้อมทั้งดนตรีและการเชิดหุ่น และนั่นจึงเป็นที่มาของการเปิดให้ชมการซ้อมการแสดง

“เริ่มแรกก็มาดูร้องเพลงก่อน มีคนมานั่งฟัง 5-6 คน ส่วนใหญ่เป็นคนรู้จัก จากนั้นก็เพิ่มขึ้น มีผู้ใหญ่ที่รู้จักมา นั่งดู พอดนตรีได้แล้วก็ต้องเชิดไหว้ครูเอาตัวหุ่นออกมารำเปิดไหว้ครูอย่างเดียวก่อน ตอนหลังก็เอาเด็กๆออกมาซ้อมทีละนิด ยังไม่ใช้หุ่นตัวจริง เพราะยังไม่เสร็จ ก็เอา หุ่นเรื่องโน้นเรื่องนี้มาซ้อมก่อน มารำก่อน จนตอนหลัง 5-6 ปีที่แล้วคนดูมากขึ้น จนตอนนี้มีคนมาดูครั้งละหลายร้อยคน”

จากปากต่อปากที่พูดถึงการแสดงหุ่นกระบอกที่สวยงามผนวกกับเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ทำให้มีคนติดอกติดใจเข้าชมการแสดงกันคนละหลายรอบ จนจำนวนคนเข้าดูแต่ละครั้งมีประมาณ 400-500 คน ซึ่งแต่ละคนที่เข้ามาดูต้องจองตั๋วกันล่วงหน้า โดยโทร.เข้าไปที่ 0-2391-3701 หรือเข้าไปในเว็บไซต์ http://www.chakrabhand.org/ จากนั้นก็มารับบัตรกันตอน 09.00 น. ใครมาก่อนก็จะได้ที่นั่ง ส่วนพวกที่มาที่หลังต้องหาที่ปักหลักยืนกันเอาเอง
แฟนคลับที่มาดู มาจากไหน

“มาจากเชียงใหม่บ้าง ลพบุรีบ้าง แถบจะทุกสารทิศ ส่วนใหญ่ 80% ของคนดูเป็นคนมาใหม่ ส่วนอีก 20% เป็นพวกดูซ้ำซาก ดูทุกเดือน คนที่เข้ามาดูจะมีเด็กๆคอยช่วยบันทึกกรอกรายละเอียดว่ารู้ได้อย่างไร ใครเป็นคนแนะนำ ซึ่งมีทั้งอายุ 85 ปี 93 ปีก็มี รวมถึงเด็กเล็ก ซึ่งถ้าเป็นเด็กเล็กผมจะขอให้ดูแลอย่ารบกวนคนอื่น แต่ไม่ห้ามให้พามา เพราะเราต้องปลูกฝังให้เด็กๆได้เห็นได้ เรียนรู้วัฒนธรรมรากเหง้าของเรา อย่างผมที่ชอบหุ่นกระบอก เพราะเห็นในโทรทัศน์ตั้งแต่เล็กๆ ทำให้ชอบ เลยไม่ห้ามให้พาเด็กมา เราจะเปิดบ้านตอน 9 โมงเช้า เมื่อก่อนมีบางคนมารอตั้งแต่ 8 โมงเช้า ยังไม่ทำอะไรเลยวุ่นวายกันหมด ต้องมีการประชุมทีมงาน ตอนหลังเลยเปิดบ้านตอน 9 โมง จะเริ่มเล่นตอน 10 โมงกว่าจนถึงเที่ยง ให้รับประทานอาหารกัน จากนั้นตอนบ่ายกว่าก็ซ้อมต่อจนถึงเย็นประมาณ 4 โมงจึงเลิก”

ดังนั้น คนที่มาดูหุ่นกระบอกของคณะนี้ นอกจากจะได้ อรรถรสของการแสดงแล้ว ยังอิ่มท้องจาก อาหารอร่อยๆ ที่บรรดาคนดูที่เป็นแฟนทั้งขาประจำและขาจรต่างขนกับข้าวกับปลามาเลี้ยงกัน ให้ได้อิ่มเอมทั้งคนเล่นและคนดู จนกลายเป็นวัฒนธรรมเอื้ออาทรที่มีต่อกัน

“ตอนแรกๆเราเลี้ยงอาหารคนดูเอง โดยเอาเงินจากมูลนิธิจักรพันธุ์โปษยกฤต ซึ่งตอนนั้นเราจะดำเนินรอยตามครูชื้น สกุลแก้ว ที่ท่านใจดีจะตั้งโรงทานปีละครั้งในวันเกิดท่าน พอมาตอนหลังคนมาดูก็เอามาช่วยกัน เพราะมาดูกันบ่อยจนสนิทเหมือนญาติกันไปแล้ว บางคนเลยมาดูเพราะติดใจอาหารก็เป็นได้”

นับจากปีที่เริ่มต้นจนปัจจุบันเป็นเวลา 18 ปีแล้ว หุ่นกระบอกตะเลงพ่าย ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์นั้นอาจารย์จักรพันธุ์บอกว่า
hhh
“เพราะเราต้องทำงานอย่างอื่นไปด้วย ช่วงแรกๆ ที่เริ่มต้นเราก็ต้องเร่งทำจิตรกรรมฝาผนังที่วัดตรีทศเทพวรวิหารและวัดเขาสุกิม จันทบุรี และตอนนี้ก็มีงานหลวงคือต้องออกแบบ เขียนแบบลวดลายปัก สำหรับโขนเรื่องรามเกียรติ์ ที่จะเปิดแสดงปฐมฤกษ์โรงละคร แห่งชาติกลางปีหน้า เราจึงไม่รีบ ไม่เร่ง ตอนนี้ก็เสร็จไปประมาณ 60% แล้ว ไม่ อยากกำหนดว่าจะเสร็จพร้อมแสดงเมื่อไหร่ เดี๋ยวเหนื่อย เพราะหุ่นแต่ละตัว ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เรามีหุ่นตั้งแต่มือยังกระดิกไม่ได้จนพัฒนาให้มือจับได้ กระดิกได้ มีหุ่นไก่ที่แสดงจิกตีกันได้ ตอนนี้กำลังทำช้างอยู่”

นอกจากนี้ อาจารย์จักรพันธุ์ยังกล่าวถึงอุปสรรคใหญ่ต่อการซ้อมหุ่น กระบอกในครั้งนี้ คือโครงการคอนโดมิเนียมที่จะสร้างขึ้นข้างๆบ้าน ซึ่งมีผลต่อการซ้อมมากว่า “คงต้องหยุดเลยเพราะเสียงต้องดังมาก แล้วไหนจะฝุ่นอีก เราจะทำอย่างไรกับหุ่น แล้วก็ตั้งใจว่าจะให้บ้านเป็นพิพิธภัณฑ์แบบไลฟ์ มิวเซียม ที่สามารถเข้ามาเรียนงานเป็นเหมือนอาศรมศึกษา รวมไปถึงผลงานเด็ดๆ อีกมากมายอีกเยอะแยะ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ตอนนี้เจ้าของโครงการชะลอการก่อสร้างอยู่”

และแม้จะมีอุปสรรคอย่างไร อาจารย์จักรพันธุ์ก็ยังคงทำงานและสืบสาน เจตนารมณ์ของตนเองที่ว่า ขอทำงานให้ดีที่สุด เพื่อสืบทอดสิ่งที่ดีงามของไทยให้ลูกหลานไทยได้เห็น..... ซึ่งเชื่อว่าทุกคนได้ประจักษ์ถึงฝีมือของนายช่างเอกในรอบ 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้แล้ว.
hhh

บทหุ่นกระบอกเรื่อง ‘ตะเลงพ่าย’
ไม่ใช่ ‘ลิลิตตะเลงพ่าย’
ภายหลังเริ่มรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์จาก ‘พระราชพงศาวดาร’ ฉบับพระราชหัตถเลขา ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ แลคำให้การชาวกรุงเก่า
hhh
สรุปเอาโดยวิจารณญาณของตนเองเป็นที่ตั้ง ด้วยต้องการดำเนินเรื่องในทำนอง ตำนานอันปู่ย่าตายาย เล่าสืบทอดต่อกันมา โดยใช้เพลงหุ่นกระบอกขับบรรยาย คล้ายพ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังจนหลับแล้วฝันไป เห็นเหตุการณ์บ้านเมืองความเป็นไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลังเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒
hhh
เมื่อแต่งบทเกริ่นนำเรื่องเสร็จ เรามีความรู้สึกว่า การพ้นจากสถานภาพตัวประกัน กลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยาของพระองค์ดำมกุฎราชกุมารนั้น คงมิใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่มีตัวประกันแลกเปลี่ยน เชื่อตามมโนสำนึกว่า พระสุพรรณกัลยาราชธิดา ต้องจำเสด็จจากบ้านเกิดเมืองนอน สู่หงสาวดี ตกเป็นบาทบริจาริกาของมังเอิงราชบุตร ผู้รัชทายาทของพระเจ้าบุเรงนอง รับสนองวิเทโศบายแห่งพระราชบิดา เพื่อไถ่คืนเอาพระอนุชาคือพระนเรศวร ซึ่งเป็นพระราชโอรส ควรแก่การสงครามกอบกู้แผ่นดินสืบไปภายหน้า คือปฐมวีรกรรมความเสียสละอันยิ่งใหญ่ ของพระวีรกษัตรีพระองค์นั้น
hhh
ซึ่งมิได้เคยมีใครเห็นพระคุณอันปรากฏขจรกำจายดุจดั่งมาลี ครั้นบานคลี่สิ้นประโยชน์คือ ความงามและกลิ่นหอมแล้ว ก็รังแต่เหี่ยวเฉาร่วงโรย เลือนหายไปกับกาลเวลา
ดอกเอ๋ยดอกแก้ว ร่วงแล้วก็โรยรา แดดลมฝนปราย เลือนหายใต้พสุธา
บทร้องเพลงเร็วสาวสวย ที่ว่า
พระเอยพระบุตรีจะจากธานีไปเมืองพม่า จะไปทางไหนจะไปหงสาไปอยู่พาราหงสาวดี
hhh
นี้เราผูกขึ้นร้องทำนองเนื้อเต็ม ลำลองตามทางเครื่องดนตรี เพื่อให้ได้ชีวิตลีลาอย่างอยุธยา ดุจดั่งเป็นเพลงอันเด็กๆร้องเล่นกันโดยไร้เดียงสา สืบทอดมาจนทุกวันนี้ คำขับขานเรื่องพระสุพรรณกัลยาไปหงสาวดี จึงนับเป็นปฐมบทของเรื่อง ‘ตะเลงพ่าย’
hhh
ส่วนโครงเรื่องนั้น วางตามคำแนะของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ว่าน่าจักมีฉากชนไก่ กับทรงพระสุบินสู้กับจระเข้ เพราะสนุกตื่นเต้นเป็นละครดี เราจึงดำเนินเรื่องตามสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าพระมหาอุปราชา คงจักท้าสมเด็จพระนเรศวรเล่นชนไก่กัน หลังจากตีเมืองคังแล้ว
hhh
เพื่อรวบรัดเนื้อเรื่อง โดยไม่ต้องย้อนความจับมาแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ หากก็มิได้ค้านขัดคำให้การชาวกรุงเก่า ด้วยเห็นว่าธรรมดานักเลงไก่ทั้งหลายไม่มีใครเล่นประลองเดิมพันกันแค่ครั้งเดียว
hhh
สมเด็จพระนเรศวร กับพระมหาอุปราชา เติบโต เล่นคลุกคลีกันมาในเมืองหงสาวดี จึงน่าที่จักเล่นชนไก่กันอยู่เนืองๆ ส่วนเรื่องบุคลิกภาพของพระมหาอุปราชนั้น เราเห็นขัดกับ ‘ลิลิตตะเลงพ่าย’ ของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส แลประวัติศาสตร์ไทยหลายฉบับที่ว่าวิสัยเป็นคนขลาด รักแต่เรื่องโลกีย์ ไม่ประสาการศึก จนถึงกับพระบิดาตรัสประชดให้ไปเอาอาภรณ์อิสตรีมานุ่งห่ม
hhh
ข้อนี้เป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาด ความในประวัติศาสตร์กลับค้านกันเอง เพราะปรากฏชื่อพระมหาอุปราชาผู้นี้อยู่ในสงครามเชิงรุกทุกครั้ง ก่อนแต่การขาดคอช้างสิ้นพระชนม์ จากนั้นมา พม่าก็ตกเป็นฝ่ายรับอย่างบอบช้ำยับเยินมาโดยตลอด จนเสียกรุงหงสาวดี แก่สมเด็จพระนเรศวร
hhh
สำมะหาขัตติยมานะ ละอายพระทัยโดยส่วนเดียว คงไม่มีแรงพอที่จักชักจูง คนขลาด อันกำลังบัญชาการมีชัยการรบอยู่กลางสัตรงคเสนาทั้งห้าแสนให้สงบพลลง แล้วไสพระพัทธกอคชาชาร ออกกระทำยุทธหัตถีโดยลำพังสองกับสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งเสียเปรียบมากกว่ามากนัก ด้วยพลัดตกอยู่กลางทัพพม่า เพียงพระองค์กับพระอนุชาแลพลจตุลังคบาท รักษาสี่เท้าช้างเท่านั้น
hhh
แท้จริงแล้วเราต้องยอมรับและยกย่อง ความทรนงองอาจ ถือดีในฝีมือการรบของพระมหาอุปราชาเช่นกัน พระมหาอุปราชา รับคำท้าของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยความมั่นใจในชัยชนะ แลตะลุยรบด้วยเชิงบุกกระหน่ำอย่างเหนือชั้น จนย่ามใจ อันเป็นเชิงรบตามกลยุทธปกติของนานาชาติ หากตกต้องลูกไม้กล ย้อนเกล็ดนาคราช ของพิชัยยุทธข้างไทย
hhh
ในขณะสมเด็จพระนเรศวรทรงเพลี่ยงพล้ำจนพระมาลาเบี่ยง ต้องคมง้าวขาดลินั้น คือจังหวะที่ทรงตลบพระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ฟันสอดสะพายใต้แล่งพระพาหาพระมหาอุปราชา ขาดคอช้างสิ้นพระชนม์
hhh
เหตุการณ์นี้เราเขียนขึ้นจากเหตุผลที่เคยได้ยินท่านปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย ตั้งข้อสังเกตไว้ตามชื่อแลท่าเตะแก้หมัด อันสอดคล้องของมวยไชยาคือ ‘อุปราชขาดคอช้าง’เราจบเนื้อเรื่อง ‘ตะเลงพ่าย’ ลงเพียงนี้
hhh
ด้วยมิได้มุ่งแสดงเพียงประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างละเอียด แต่แต่งขึ้นด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ แลบูรพกษัตราธิราชกับเหล่าวีรบรรพชนไทยในอดีต ผู้สละพลีร่างกายโลหิตแลชีวิต ธารทรงแผ่นดินสยามประเทศนี้ไว้ เพื่อความดำรงอยู่จนตราบเท่าปัจจุบันสมัย มีเหตุอัศจรรย์ อันแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระกฤดาภินิหารของสมเด็จพระนเรศวร ให้ประจักษ์แก่เราในพระประสงค์ให้แต่งบทหุ่นเรื่องนี้ขึ้นมา
hhh
ซึ่งขอบันทึกไว้เป็นหลักฐานตามสัจจริง ก็คือ ครั้นล่วงกาลผ่านมา จ่าไก่(ประยงค์ กิจนิเทศ) ได้ยินเราให้สัมภาษณ์หรือบอกแก่ใครๆว่าท่านเป็นผู้แนะ ให้เอาเรื่อง ‘ตะเลงพ่าย’ มาทำบทหุ่น จึงถามเราต่อหน้าอาจารย์จักรพันธุ์อย่างสงสัยว่า “พ่อต๋อง ผมเป็นคนพูดอย่างนั้นจริงๆเหรอ”
hhh
“จริงซีจ่า อาจารย์จักรพันธุ์ก็นั่งอยู่ด้วย”เราตอบพร้อมกับอาจารย์จักรพันธุ์ ช่วยเสริมเพื่อความมั่นใจ แต่จ่าไก่กลับพูดว่า “เอ...ไม่รู้ผมไปเอาที่ไหนมาพูด...ผมไม่เคยรู้จักเรื่องตะเลงพ่าย มาได้ยินก็ที่บ้านนี้
hhh
ที่พ่อต๋องแต่งนี่แหละ” ขอนอบน้อมถวายบทรจนากวีคีตดุริยางค์ ทั้งศิลปกรรมอันเลือกสรรสร้างอย่างประณีตบรรจงแล้วนี้ ด้วยศรัทธาแลวิริยพละ เป็นเทวตาสักการะบูชาพระคุณแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า กับทั้งเหล่าบูรพกษัตรา บรรดาวีรบรรพชนไทยทั้งหลาย แล้วเทอญ วัลลภิศร์ สดประเสริฐ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑
hhh
hhh
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.chakrabhand.org/ และ นสพ.ไทยรัฐ
huahinhub thanks
hhh