![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjcCmkHXZDzZyveTedw50LTZQYBtaQdfBWVG2GUm_wjAO_vcwf086WSAXdldrWcEODp4Q8w3m0GTJmlr5k62mdrn5HLXF8XcSkrvQhHzbeJDAGj-41F7BzKoK7D-xWt5zzPJKZZO1ur0xo/s400/news_img_93714_2.jpg)
ร้านเล็ก แต่ใจใหญ่
โดย : วิภานี กาญจนาถิญโญกุล
พูดถึงการค้าแบบเป็นธรรม หรือที่เรียกทับศัพท์กันอย่างคุ้นเคยว่า แฟร์เทรด (Fairtrade) ทีไร หลายคนที่รู้จักแนวคิดนี้ก็มักจะนึกไปถึง--> สินค้าราคาแพงจากเมืองนอก หรือร้านแฟร์เทรดที่เคยพบเห็นเวลาเดินทางไปต่างประเทศ
hhh
วันนี้ ร้านแฟร์เทรดเต็มรูปแบบก็ได้เกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย หรือจะว่าไปก็มีมานานกว่า 20 ปีแล้วจากคำบอกเล่าของ ‘แนน’ ณัฐกฤตา พงษ์ธนานิกร 1 ใน 2 หุ้นส่วนแห่งร้าน The Curious Oyster ย่านสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ซึ่งอธิบายหลักการแฟร์เทรดของร้านให้ฟังว่า
hhhh
โดย : วิภานี กาญจนาถิญโญกุล
พูดถึงการค้าแบบเป็นธรรม หรือที่เรียกทับศัพท์กันอย่างคุ้นเคยว่า แฟร์เทรด (Fairtrade) ทีไร หลายคนที่รู้จักแนวคิดนี้ก็มักจะนึกไปถึง--> สินค้าราคาแพงจากเมืองนอก หรือร้านแฟร์เทรดที่เคยพบเห็นเวลาเดินทางไปต่างประเทศ
hhh
วันนี้ ร้านแฟร์เทรดเต็มรูปแบบก็ได้เกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย หรือจะว่าไปก็มีมานานกว่า 20 ปีแล้วจากคำบอกเล่าของ ‘แนน’ ณัฐกฤตา พงษ์ธนานิกร 1 ใน 2 หุ้นส่วนแห่งร้าน The Curious Oyster ย่านสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ซึ่งอธิบายหลักการแฟร์เทรดของร้านให้ฟังว่า
hhhh
“หลักการของแฟร์เทรดจะต่างกับการทำการกุศล เรานำอาชีพไปให้ชาวบ้าน ช่วยสนับสนุน หาตลาดขายสินค้า และพัฒนาสินค้าไปพร้อมกัน โดยทำการค้าอย่างยุติธรรมต่อผู้ผลิตที่เป็นผู้ด้อยโอกาส เราจะไม่กดราคา ไม่ผลิตแบบระบบอุตสาหกรรม ไม่ใช้ระบบพ่อค้าคนกลาง ไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก การกดขี่ทางเพศ แต่ใช้การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้คน”
hhhh
hhhh
ถึงแม้ร้านจะเพิ่งเปิดมาได้เพียง 1 เดือน แต่พ่อของ มาร์ค แซล์มอน หุ้นส่วนอีกคนซึ่งทำธุรกิจด้านนี้มานานถึง 2 ทศวรรษก็คลุกคลีอยู่ในแวดวงนี้มาก่อน โดยที่ผ่านมาจะเน้นการขายตามงานแฟร์ซึ่งทางบริษัทจัดขึ้นเดือนละครั้ง อันเป็นการนำผู้ผลิตจากหมู่บ้านต่างๆ ให้มาออกร้าน พบกับลูกค้าโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย รวมทั้งส่งออกต่างประเทศบ้าง
แตกต่างไปจากการแยกมาเปิดร้านของทั้งสองที่ตั้งใจว่า อยากมีร้านขายปลีก เพราะผู้ผลิตบางรายอยู่ไกลมาก มาร่วมงานไม่สะดวก การมีหน้าร้านยังช่วยให้ได้รู้จักลูกค้า รู้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร
hhhh
แตกต่างไปจากการแยกมาเปิดร้านของทั้งสองที่ตั้งใจว่า อยากมีร้านขายปลีก เพราะผู้ผลิตบางรายอยู่ไกลมาก มาร่วมงานไม่สะดวก การมีหน้าร้านยังช่วยให้ได้รู้จักลูกค้า รู้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร
hhhh
ร้านเล็กๆ ภายในพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรนี้ จึงเป็นฝีมือการปลุกปั้นช่วยกันดูแลของทั้งคู่ แต่ก็มีการแบ่งงานกันทำ โดยมาร์คจะออกไปพบผู้ผลิตตามต่างจังหวัดมากกว่าแนนซึ่งจะเน้นการดูแลร้านที่สวนลุมมากกว่า ส่วนสินค้าภายในร้านนั้นก็มีมากมายหลายประเภทอาทิ เมล็ดกาแฟจากเชียงใหม่ ไม้กวาดชนเผ่า ตะกร้าจากกาน่า ฯลฯ ซึ่งทางร้านรู้จักแหล่งผลิตมาจากการสั่งสมประสบการณ์ยาวนานในธุรกิจประเภทนี้ มีบ้างบางรายที่เข้ามาติดต่อบริษัทเอง สินค้าที่วางหลากหลายอยู่ในพื้นที่เล็กๆ นี้จึงมาจากทั่วสารทิศ อาทิ งานไม้จากบ้านแฮนดี้คราฟท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ HIV และผู้พิการให้มีอาชีพ งานศิลปะเด็กจากมูลนิธิ ณ กิตติคุณ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนเด็กออทิสติก ที่ในโรงเรียนจะมีผลงานศิลปะเด็กมาขาย อย่างสมุดทำมือปกเป็นการวาดรูปบนผ้าใบสีสวยๆ ของเด็ก งานปั้นชิ้นเล็กๆ เอามาติดแม่เหล็กสำหรับติดตู้เย็น
hhhh
hhhh
“สินค้ามีทั้งแบบที่ชาวบ้านทำเอง แล้วเราหาตลาดให้ กับมีแบบที่เราเข้าไปช่วยออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์
บางทีก็มีดีไซเนอร์อาสาสมัครจากต่างประเทศ เขาก็ติดต่อเข้ามาที่บริษัท แล้วไปอยู่ตามหมู่บ้านช่วยออกแบบและทำผลิตภัณฑ์ออกมา”
hhh
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi7lnH7k0ar8NSfKczUjsKdJMSE-s6R9dM5ojhiMKJJZh2tHkI-6Zr6SPDGQHZ95JTIAgm0mXfzwIiVjfr151SOM76x757zlZ5_XQ8kD2j6ytRfKEgzoElMBTKk03UMN8zO5bD3sCXSLWA/s320/news_img_93714_3.jpg)
hhh
สำหรับดีเจ คลื่นแฟตเรดิโออย่างแนน การแบ่งเวลามาทำธุรกิจด้านแฟร์เทรดเป็นสิ่งที่เธอเพิ่งเข้ามาสัมผัส ซึ่งได้เปิดมุมมองและความรู้สึกใหม่ให้กับเธอ รวมไปถึงลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้าน
hhhh
hhhh
“คิดว่าการทำธุรกิจมันก็มีความยาก-ง่ายไม่ต่างจากการทำธุรกิจประเภทอื่นอยู่แล้ว แต่พอเราเข้ามาทำตรงนี้ เราก็ได้รู้ว่า ชาวบ้านไทยเก่งจัง! แล้วก็ได้ความรู้สึกดีๆ เวลาที่ทำงาน ส่วนที่ต้องคอยอธิบายให้คนมาร้านเข้าใจเรื่องแฟร์เทรดก็เป็นเจตนารมณ์ของเราอยู่แล้วที่จะบอกไอเดียนี้ให้คนได้รู้จัก”
ggg
ggg
อนาคตของร้านเล็กๆ แห่งนี้ เธอจึงตั้งเป้าเอาไว้แบบที่สอดคล้องกับความเป็นจริงว่า
“เราทำธุรกิจ เราก็ต้องให้มันอยู่ได้ด้วยตัวเอง เมื่อร้านเราอยู่ได้ ผู้ผลิตก็อยู่ได้ อย่างที่บอกว่าเราไม่ใช่มูลนิธิ เราก็ต้องทำแบบนี้เพื่อให้มันอยู่ได้ในโลกปัจจุบัน”
jjjj
“เราทำธุรกิจ เราก็ต้องให้มันอยู่ได้ด้วยตัวเอง เมื่อร้านเราอยู่ได้ ผู้ผลิตก็อยู่ได้ อย่างที่บอกว่าเราไม่ใช่มูลนิธิ เราก็ต้องทำแบบนี้เพื่อให้มันอยู่ได้ในโลกปัจจุบัน”
jjjj
ggg
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
huahinhub thnaks
ggg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น