3.31.2552

| หัวหิน Retro ๕ (เอกสารเก่า โรงแรมรถไฟ จากหอจดหมายเหตุฯ)

เพื่อจารึกไว้เป็นเกียรติประวัติแก่ชาวหัวหิน ทุกท่านสืบไป
huahinhub จึงอาสานำพาเอกสารเก่า จากหอจดหมายเหตุเห่งชาติ มาแสดงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อนำเสนอสู่สายตาเราชาวหัวหินร่วมกัน สืบไป

ทั้งนี้ มิได้มีประสงค์เพื่อการอ่านเอาเรื่อง แต่อย่างได โดยชาวหัวหินสามารถ ติดตามเอกสาร และ download เอกสารดังกล่าวได้จาก www.nat.go.th ซึ่งจัดเก็บเอกสารตัวจริงดังกล่าวไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ต่อไป







ขอบคุณข้อมูลจาก หอจดมายเหตุแห่งชาติ
huainhub Thanks

| หัวหินประดามี ๘ (เฟอร์นิเจอนร์ไม้ไผ่ระดับโลก ก็มี ณ หัวหิน)



h
h
h
h
h
h
h
h
hh
There’s Something About Bamboo

“ในศตวรรษที่ 21 ไม้ไผ่จะกลายมาเป็นวัสดุสำหรับผู้มั่งมีทั้งหลาย”เจอราร์ด โดเพลย์ เจ้าของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่แถวหน้า กล่าวถึงแนวโน้มที่ดูจะกลายเป็นจริงไปแล้ว สำหรับความนิยมที่เพิ่มขึ้นในการนำไม้ไผ่มาทำเฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงการตกแต่งอย่างร่วมสมัย วันนี้ผู้คนได้เปลี่ยนมุมมองต่อภาพลักษณ์ของไม้ไผ่เสียใหม่ จากภาพที่คุ้นเคยเพียงกระต๊อบขัดแตะกับแคร่นั่งเล่นแบบพื้นบ้าน ในปัจจุบันไม้ไผ่ได้กลายเป็นองค์ประกอบที่แสนเท่อย่างหนึ่งสำหรับการตกแต่งบ้าน หรือวิลล่าหรูในเมืองตากอากาศชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว นับจากเริ่มต้นจับไม้ไผ่ลำแรกเพื่อสร้างเก้าอี้รับแขกใช้เอง จนวันนี้เฟอร์นิเจอร์ของเจอราร์ดเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ผลงานของเขาอยู่ในรายการสั่งซื้อสำหรับการตกแต่งบ้านของทั้งนักออกแบบตกแต่งภายในไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเจอราร์ด คอลเลกชั่นคือผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่และของตกแต่งบ้านที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์และส่งขายให้กับทั้งลูกค้ารายย่อยและแบรนด์ดังระดับโลก

“ถามผมดีกว่าว่าวันนี้ไม่ได้ส่งขายให้กับประเทศใดบ้าง” เจอราร์ด โดเพลย์ หนุ่มใหญ่วัย 67 ลูกครึ่งลาว – ฝรั่งเศส แห่งเจอราร์ด คอลเลคชั่น กล่าวพร้อมกับรอยยิ้มอย่างอารมณ์ดี

เขาเริ่มต้นจากการทำชุดรับแขกไม้ไผ่เพื่อใช้เองโดยมีคนสวนเป็นลูกมือ “วันหนึ่ง อาจารย์นคร (นคร พงศ์น้อย) จากไร่แม่ฟ้าหลวงมาเห็นที่บ้านแล้วชอบ เลยขอให้ผมทำให้สี่ชุด ผมมารู้จากคนขับรถส่งของทีหลังว่าเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นถูกนำไปถวายสมเด็จย่า ณ พระตำหนักดอยตุงที่เชียงราย” เจอราร์ดย้อนความหลังไปถึงจุดเริ่มต้นการเข้ามาสู่โลกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ของเขา
hhh
ใช้เวลาไม่นานหลังจากนั้น ชื่อเสียงของเจอราร์ด ฝรั่งช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ผู้นี้ก็เป็นที่ถามหาของใครๆ เริ่มจากวงแคบๆ ในหมู่คนมีฐานะที่เข้าแถวเป็นลูกค้า รวมถึงการให้สัมภาษณ์ในหนังสือตกแต่งบ้านต่างๆ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
hhh
“จากที่คนไทยนิยมแต่เฟอร์นิเจอร์ไม้สักแผ่นหนาเท่านั้น แต่เมื่อคนในสังคมชั้นสูงหันมาใช้ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ก็เปลี่ยนจากไม้คนจนกลายเป็นไม้ของคนรวยได้ หลายคนก็อยากใช้ตาม เหมือนในอเมริกาซึ่งคนมักมองคนรวยว่าขับรถอะไร ก็อยากใช้บ้าง”

เจอราร์ดยืนยันว่าเขาเป็นคนแรกที่ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ขึ้นในเชียงใหม่ จากความไม่รู้อะไรเลยจนกระทั่งได้ศึกษาค้นคว้า ลองผิดลองถูกจนชำนาญด้วยตนเอง โดยเปิดโชว์รูมขึ้นเป็นร้านแรกๆ บนถนนนิมมานเหมินทร์ ตามคำชวนของวิชิต ไชยวงศ์ แห่งกองดี แกลเลอรี่ ผู้ที่ชมชอบเฟอร์นิเจอร์ของเขา และเห็นว่าเจอราร์ดสามารถสร้างความสำเร็จทางธุรกิจขึ้นได้ ซึ่งก็เป็นจริง

“หลังจากนั้นผมไปออกงานแสดงเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดที่อเมริกา ตอนนั้นคนอเมริกันคิดว่าไม้ไผ่คือคันเบ็ดที่ตกปลาลำเล็กๆ อย่างเดียว ไม่เคยเห็นไผ่ลำใหญ่ๆ อย่างของเรา ปรากฏว่าเที่ยวนั้นกลับขายดีในหมู่ลูกค้าสเปนและฮอลแลนด์มากกว่า”

หลังจากได้พิสูจน์คุณภาพจนเป็นที่มั่นใจในตลาดสากล เจอราร์ดเห็นถึงโอกาสความเป็นไปได้และเริ่มขยับเข้าไปหาตลาดใหญ่มากขึ้น “เราเรียนรู้ไป แก้ปัญหาไปเรื่อย ซ้ายไม่ได้ก็ต้องไปขวา สีดำขายไม่ดีต้องลองสีขาว ไม้แตกหรือมอดกิน เพราะเราไม่ได้อบหรือทรีตไม้ ทุกขั้นตอนเป็นประสบการณ์ของเรา ครั้งหนึ่งผมส่งไม้ไผ่ไปศึกษาที่แคนาดา ทั้งเรื่องความชื้นและระยะเวลาการอบที่เหมาะสม”

ในการทำเฟอร์นิเจอร์ของเขานั้น เจอราร์ดเล่าว่าเลือกใช้เฉพาะ “ไม้ไผ่ซางมูล” อันเป็นไม้ไผ่ที่มีคุณภาพ ขนาดและความหนาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะมีอยู่เฉพาะในแถบเชียงใหม่เท่านั้น

ทุกวันนี้เฟอร์นิเจอร์ของเจอราร์ด คอลเลกชั่น สามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลกจากร้อยละแปดสิบของกำลังการผลิตในโรงงานของเขาและหุ้นส่วนไทย ซึ่งมีคนงานมากกว่า 150 คน โดยที่ตลาดใหญ่ของเขายังได้แก่ตลาดต่างประเทศ นั่นคือญี่ปุ่น อเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส และหลายประเทศในยุโรป

”เมื่อก่อนผมไปหาลูกค้า เดี๋ยวนี้ลูกค้ามาหาเราเอง วันหนึ่งมีลูกค้ามาบอกว่า เห็นโต๊ะไม้ไผ่ในร้านบนถนนแห่งหนึ่งกลางกรุงปารีสที่แพงกว่าถึงสิบสองเท่าของที่นี่ ถามว่าใช่ของเราหรือเปล่า ผมบอกว่าใช่ ผมโชคดีที่ได้ลูกค้าดังมากหลายราย เป็นต้นว่า Armani ที่เป็นลูกค้าเราเจ็ดปีแล้วจนทุกวันนี้ เขาสั่งไปขายที่นิวยอร์ก โดยใช้แบรนด์ของเขาขายดีมาก”

เจอราร์ดให้ความเห็นว่า เฟอร์นิเจอร์ของไทยจัดว่ามีคุณภาพดี เมื่อเทียบกับงานของประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แม้ว่างานของเมืองไทยจะมีราคาสูงกว่าเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีลูกค้าบางรายลองไปสั่งที่อื่นแล้วก็กลับมาอีกเนื่องจากเห็นแล้วว่าคุณภาพนั้นต่างกัน

“ถ้าเราทำงานคุณภาพสูงเป็นเรื่องดี แต่ถ้าทำงานคุณภาพต่ำนั้นจะทำให้ไม้ไผ่เสียชื่อ โดยเฉพาะในต่างประเทศ เราต้องส่งถึงบ้านลูกค้า แล้วคุณภาพได้ 100 % ถ้าอยากกินยาวต้องรักษาคุณภาพสูงสุดเสมอ”
ในปัจจุบันมีผู้หันมาทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นเรื่องดีเพราะการใช้ไม้ไผ่ช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก ด้วยไม้ไผ่เป็นพืชที่เติบโตเร็วพร้อมใช้งานในเวลาสองปี ผิดกับไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลาหลายสิบปี โดยเจอราร์ดมีแหล่งปลูกไม่ไผ่ของเขาเอง รวมทั้งมีชาวบ้านใกล้เคียงหันมาปลูกไผ่เพื่อส่งให้โรงงานของเขาแทนการปลูกผลไม้ เนื่องจากไม้ไผ่ดูแลง่ายและแทบไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแล

ในด้านของธุรกิจ แม้ทุกวันนี้จะมีการแข่งขันมากขึ้น รวมไปถึงการลอกเลียนแบบในตลาด แต่เจอราร์ดเห็นว่านั่นคือเครื่องบ่งชี้ถึงความเป็นผู้นำของเขาอยู่ “หากวันไหนไม่มีใครก็อบปี้ผม แสดงว่าแบบผมไม่สวย ยิ่งมีผู้ผลิต มีการแข่งขันมากยิ่งดี เมื่อก่อนผมมีคนเดียวไม่มีการแข่งขันนั้นขายยากกว่า ตอนนี้มีการเปรียบเทียบเรื่องราคาและคุณภาพ รวมทั้งความสามารถในการผลิตของโรงงานให้ลูกค้าเลือก”

ทุกวันนี้เจอราร์ดยังคงสนุกกับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของเขา โดยเน้นที่ความเป็นเอกซ์คลูซีฟมากกว่า ซึ่งเจอราร์ดกล่าวว่า แนวทางการออกแบบจะเป็นสไตล์คลาสสิคถึงร้อยละ 65 ซึ่งจะอยู่ได้นานกว่างานแบบโมเดิร์น ทั้งนี้บางครั้งลูกค้าของเขาก็ต้องการมีส่วนร่วมในการออกแบบด้วย เช่น การเพิ่มหรือลดขนาด จำนวนชั้นวางหรือประตู หรือหลายครั้งที่เจอราร์ดได้รับคำแนะนำที่มีค่าจากทีมนักออกแบบของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่เข้ามาเป็นลูกค้า

“Roche-bobois จากฝรั่งเศส เป็นกลุ่มดีไซน์เนอร์เฮ้าส์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปมาที่ร้าน และให้คำแนะนำว่าบางครั้งคนเบื่อสีธรรมชาติแล้ว ต่อไปต้องเป็นสีที่เข้ากับทะเลมากกว่าสำหรับห้องพักริมทะเล ผมก็ลองทำสีฟ้าและขาวบ้าง แล้วส่งให้เขาดู”

เจอราร์ดมีมุมมองที่แตกต่างในเรื่องการออกแบบว่า การออกแบบนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่ใครๆ คิดและเป็นเรื่องสนุก ที่ผ่านมาเขาใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองมาตลอด โดยอธิบายว่าทั่วไปนั้นแนวโน้มแฟชั่นของเฟอร์นิเจอร์จะเริ่มต้นที่อิตาลี เข้ามาสู่ฝรั่งเศส และจะมาถึงอเมริกาอีกราวๆ สามปี ก่อนที่จะแพร่ไปทั่วโลก
hhh
“ทุกคนคิดว่าดีไซน์คือเรื่องของการต้องคิดขึ้นมาเองทั้งหมด มันไม่ใช่ มันเกิดจากการที่เราเห็นมาก อ่านมาก ผมอ่านหนังสือแต่งบ้านของอิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกาและญี่ปุ่นนิดหน่อย เราก็รู้แล้วว่าแนวโน้มของโลกจะเป็นอย่างไร แล้วนำมาปรับเปลี่ยนนิดหน่อย ผมเรียกมันว่าดีไซน์
hhh
ไม่มีใครพูดได้หรอกว่าตนเองเริ่มต้นออกแบบจากศูนย์ ถ้าคุณอยู่ในคุก 20 ปีแล้วดีไซน์ขึ้นมาเลย มันไม่มีทางหรอก ต้องได้เห็นที่อื่นก่อนว่าเขาใช้กันอย่างไร หรือคนในแต่ละระดับ เช่นคนรวย คนชั้นกลาง และตลาดส่วนใหญ่นั้นเป็นอย่างไร”
hhh
“ที่สำคัญที่สุดนั้น คนออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ต้องรู้จักไม้ไผ่ ต้องยอมรับว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุที่แม้ว่าดูง่ายแต่ทำยาก ต้องมีเลือดไม้ไผ่เหมือนผม” เจอราร์ดในชุดม่อฮ่อมแบบชาวเหนือ ผู้เห็นถึงความงามและโอกาสมากมายในกอไผ่ซางมูลกล่าว

เร็วๆ นี้ เจอราร์ดกำลังจะบุกกรุงเทพฯ ด้วยการเปิดโชว์รูมในย่านหลังสวน เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าเชียงใหม่ โดยเฉพาะสำหรับคอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นหลายหมื่นยูนิต เพื่อตอบสนองคนในเมืองและชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศกว่าสามหมื่นคนในแต่ละปี
hhh
ในขณะที่ร้านตัวแทนของเขาที่ หัวหิน ภูเก็ต รวมทั้งสาขาในแคนาดาที่มีลูกชายเป็นผู้ดูแลนั้นได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากลูกค้าที่เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ในการตกแต่ง

hhh
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://www.tcdcconnect.com
huahinhub Thanks

| หัวหิน Retro ๔ (ชื่อนั้น สำคัญฉะนี้)


ชื่อถนน ลักษณะเฉพาะในแบบ หัวหินหัวหิน

หัวหินเมืองเก่าแก่ หากย้อนไปถึงยุค เริ่มต้นสร้างบ้านเรือนของราษฎรกลุ่มแรกก็ย้อนไปได้ถึง 170 ปี และหากนับเริ่มก่อตั้งเป็นเมืองตากอากาศแห่งสยามประเทศของเจ้านายในยุคแรก ก็จะมีอายุครบ 100 ปี ในเดือนตุลาคม 2552 ที่จะถึงนี้

ด้วยความเป็นเมืองเก่า ที่ไม่เล็กไม่ใหญ่ พื้นที่ทุกหย่อมของแผ่นดิน ล้วนมีที่มาที่ไป ให้ได้เล่าขานสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ให้ได้ยินได้ฟัง หลายต่อหลายครั้งที่เจ้านายทรงโปรดมาประทับ นับตั้งแต่รัชการที่ 6 ถึง รัชการปัจจุบัน ยิ่งนำพาความเจริญทั้งทางวัตถุและวัฒนธรรมมาสู่เมืองและประชาชนชาวหัวหิน

สิ่งที่หลงเหลืออยู่กับหัวหิน และเป็นสิ่งบ่งบอกถึง 'ลักษณะแบบหัวหิน' เรื่องหนึ่งคือ (ชื่อ) ของสถานที่ต่างๆ ที่ทำให้หัวหิน มีความเป็นเฉพาะ และแตกต่างกันกับ เมืองตากอากาศหรือชายทะเลอื่นๆ อย่างที่ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกัน ในที่นี้ huahinhub จะอาสาหยิบยกเรื่องราวของชื่อถนน มาบอกเล่าแก่ พี่น้องชาวหัวหิน ไว้ให้ภาคภูมิในเกียรติประวัติ ของหัวหิน ร่วมกัน

ชื่อถนน ในหนังสือ 'ประวัติหัวหิน' อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของ คุณอรุณ กระแสสินธุ์ จัดพิมพ์เมื่อปีพ.ศ. 2527 เรียบเรียงโดย คุณประจันต์ กระแสสินธุ์ ลูกหลานของบรรพชนผู้สร้างบ้านเมืองหัวหิน ยุคแรกตระกูลหนึ่ง บอกเล่าเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า "หลังจากที่ได้จัดตั้งเทศบาลหัวหินขึ้น โดยเฉพาะยุคสมัยของ คุณฟื้น กระแสสินธุ์ บิดาของคุณประจันต์ กระแสสินธุ์ เป็นนายกทศมนตรี สภาเทศบาลตำบลหัวหิน ได้พิจารณาตั้งชื่อถนนหลายสาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นชื่อที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับบุคลหรือสถานที่สำคัญของท้องถิ่น อยู่เป็นอันมาก"


๐ ถนนกำเนิดวิถี
เป็นถนนสายแรกของหัวหิน เมื่อทางราชการได้สร้างทางรถไฟและเปิดเดินรถมาถึงหัวหิน เมื่อปี พ.ศ. 2454 ในสมัยรัชการที่ 6 โดยหยุดพักขบวนรถที่ตรงปลายสุดถนนสายนี้ ต่อมาได้ย้ายสถานที่ตั้งสถานีรถไฟใหม่ เลื่อนไปทางทิศใต้อีก 50 เมตร เพื่อให้การคมนาคมสู่เส้นทางสถานที่ตากอากาศ สะดวกสบายแก่ผู้ดินทาง 'กำเนิดวิถี' จึงมีความหมายตรงตัวตามชื่อ เพราะถือกำเนิดขึ้น เป็นวิถีแรกของเมืองหัวหิน และยังคงทอดยาวอยู่ ณ ตำแหน่งที่ตั้งเดิมจวบจนปัจจุบัน

๐ ถนนดำเนินเกษม
สืบเนื่องมาจากเมื่อครั้ง สมเด็จพระศรีพัชรินทร์ทราบรมราชินี พระพันปีหลวง ได้โปรดให้สร้างตำหนักตากอากาศ ณ ริมชายหาดหัวหิน (บริเวณส่วนวิลลาของโรงแรมโซฟิเทลปัจจุบัน) ในเวลานั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่พระองค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากฎษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ทรงได้จัดสร้างเส้นทาง ตัดตรงจากสถานีรถไฟหัวหิน และวางรางรถไฟขนาดเล็ก เพื่อรับส่งเสด็จ พระพันปีหลวงสู่พระตำหนัก พร้อมกับความสะดวกในการขนย้ายสัมภาระ จึงได้เกิดเส้นทางนี้ขึ้น ในปี พ.ศ. 2454 เช่นกัน

ต่อมาได้มีการรื้อรางรถไฟเล็กออกและปรับสร้างเส้นทางเป็นถนน เพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการเดินทาง จากสถานีรถไฟตรงไปยังที่พักตากอากาศ คือโรงแรมรถไฟหัวหินซึ่งเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวเมื่อปี พ.ศ. 2465 อีกทั้งยังตรงถึงตำหนักพระราชวงศ์ ที่ตั้งอยู่ละแวกใกล้เคียงโรงแรมรถไฟหัวหิน ถนนสายนี้จึงอำนวยความเกษมสำราญแก่เจ้านายและนักท่องเที่ยว สมกับนาม ดำเนินเกษม จากนั้นเรื่อยมา

๐ ถนนนเรศดำริ
ถนนสายนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากฎษดาภินิหาร กรมพระนเรศวรฤทธิ์ (ต้นราชสกุล กฤดากร) เจ้านายพระองค์แรกที่สร้างพระตำหนัก 'แสนสำราญสุขเวศน์' ขึ้นที่หัวหิน อีกทั้งยังทรงเป็นพระองค์แรกที่ใช้ชื่อ 'หัวหิน' แทนชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกขานในเวลานั้น จนผู้มาเยือนและอยู่อาศัยต่างพากันเปลี่ยนมาใช้ชื่อหัวหินถึงทุกวันนี้ อีกทั้งยังทรงเป็นผู้ชักชวนเจ้านายและผู้มีชื่อเสียงอื่นๆ มาสร้างบ้านพักตากอาศ ณ ที่หัวหินเรื่อยไป
ถนนสายนี้เริ่มต้นจาก สะพานปลายาวไปจรดเขตตำหนักของท่าน ปัจจุบันเป็นแนวรั้วของโรงแรมโซฟิเทล ตัดออกสู่ถนนเพชรเกษม

๐ ถนนแนบเคหาสน์
ถนนสายนี้สร้างขึ้นในยุคที่พระราชวงศ์เสด็จฯ ลงมาสร้างพระตำหนักที่หัวหินในยุคแรก บ้านพักตากอากาศที่สร้างขึ้นบนถนนสายนี้ จึงเป็ฯของบุคคลสำคัญในรัฐบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอยู่ใกล้พระราชวังสวนไกลกังวล เดิมถนนเส้นนี้สามารถวิ่งต่อไปถึงพระราชวังได้ เพื่อเป็นเส้นทางเสด็จฯ ไปเข้าเฝ้าฯ แต่เวลานี้วิ่งตัดออกไปที่ถนนเพชรเกษม

บ้านเลขที่ 1 ของถนนสายนี้เป็นบ้านของท่านปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างประเทศ ส่วนบ้านเลขที่ 31 ก็เป็ฯตำหนักดิศกุลของสมเด็จฯ กรมพระยาดำนงราชานุภาพ ชื่อของถนนนั้นฟังดูสอดคล้องกับความเป็นจริงในยุคนั้นอย่างมิต้องสงสัย ดังว่าแนบไปกับ เคหาสน์ของพระเจ้าอยู่หัว เลยที่เดียว

๐ ถนนเดชานุชิต
เพื่อเป็นการระลึกแด่พระยาเดชานุชิต (หนา บุญนาค) ผู้แทนสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก บุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่ง ที่นำความเจริญมายังเมืองหัวหิน ท่านเป็นผู้ดำริให้สร้างถนนสายนี้เข้าสู่หมู่บ้านดอนกลาง (บริเวณร้านกาแฟเจ๊กเปี๊ยะ) ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนของชาวบ้านไปยังชายทะเล อำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้านซึ่งทำการประมง ณ บริเวณนั้นเรื่อยมา

๐ ถนนชมสินธุ์
เพื่อเป็นการยกย่องบุคคลในตระกูล กระแสสินธุ์ ผู้มีส่วนสร้างวามเจริญให้กับเมืองหัวหิน มาหลายชั่วอายุคน บุคคลในตระกูลนี้ได้สร้างถนนสายนี้ผ่านหมู่บ้านดอนอีกึ้งไปยังทะเล คำว่าสินธุ์ ตัดมาจากท้ายนามสกุล แปลว่าน้ำทะเล ถนนสายนี้จึงมรความหมายถึงการนำพา 'ผู้เดินทาง' ออกไปชมน้ำทะเลที่สุดปลายของเส้นทาง

๐ ถนนเสละคาม
เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ ขุนศรีเสละคาม (พลอย กระแสสินธุ์) ทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูล หมู่บ้านสมอเรียง ขุนศรีเสละคามเป็ฯกำนันผู้สร้างความเจริญแก่หัวหินอย่างมากมาย อีกทั้งยังมีโอกาสรับใช้งานสนองพระเดชพระคุณเจ้านายหลายพระองค์ ที่เสด็จมาประทับ ณ หัวหิน แห่งนี้

๐ ถนนพูลสุข
เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ นายพลและนายพิมพ์ วัดขนาด อีกหนึ่งในตระกูลที่ร่วมกันพัฒนาเมืองหัวหินให้เจริญเติบโตและมั่นคง ซึ่งท่านเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหัวหินร่วมกับ นายฟื้น กระแสสินธุ์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรี ผู้มีบทาทในการนำความเจริญมาสู่หัวหิน เช่นกัน

๐ ถนนบิณฑบาต
เป็นถนนที่พระจากวัดหัวหินออกบิณฑบาตทุกวันในตอนเช้า เพราะสมัยนั้นเส้นทางที่พระภิกษุจะออกบิณฑบาตในหมู่บ้าน ต้องออกทางประตูวัดด้านถนนสายนี้ จึงเรยขานนามถนน ให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น

๐ ถนนสระสรง
เดิมเป็นถนนที่มุ่งตรงไปยังหนองมอญ สระน้ำจืดขนาดใหญ่ เส้นเลือดสำคัญของพระภิกษุและชาวหัวหิน ที่ต่างต้งใช้เป็นเส้นทางเดินไปตักน้ำกินน้ำใช้ จากสระน้ำจืดแห่งนี้


ขอบคุณข้อมูลจาก เที่ยวหัวหิน ถิ่นผู้ดี 100 ปีเมืองตากอากาศสยาม/คุณสุกัญญา ไชยภาษี
huahinhub Thanks

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๐ (สหราชอาณาจักร กับศิลป์เปลียนเมือง)


Inspiring ways to work with Arts 11-09-08
สหราชอาณาจักรได้นำเอาศิลปะแขนงต่างๆ เข้ามาช่วยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมืองในหลายๆ ด้าน เราได้รวบรวมตัวอย่างโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจ ซึ่งอาจนำมาดัดแปลงใช้กับ เมืองใหญ่ เช่นกรุงเทพฯ และหัวหิน ของเราได้ ไม่เลวทีเดียว




๐ สถาปัตยกรรม แน่นอนว่าถ้าพูดถึงการเปลี่ยนแปลงเมืองด้วยศิลปะแล้ว หลายคนจะนึกถึงสถาปัตยกรรมเป็นอันดับแรก นี่คือตัวอย่างโปรเจ็กต์จากสหราชอาณาจักรที่เลือกใช้สถาปัตยกรรมปรับปรุงเมือง Deptford Project ตลาดขายงานศิลปะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่บรรดาร้านค้าและห้องแสดงภาพต่าง ๆ จะมารวมตัวกันเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ที่ Deptford High Street โดยใช้อุโมงค์รถไฟที่มีมาแต่เดิม และซ่อมแซมตู้โดยสารรถไฟจนนำกลับมาใช้การได้ ระยะแรกที่ Deptford Project ได้เริ่มดำเนินการเมื่อต้นปีนี้มีการนำตู้โดยสารรถไฟกลับมาใช้การใหม่ในรูปแบบอื่น ตู้โดยสารรถไฟสาย South East ซึ่งมีน้ำหนัก 35 ตันได้ถูกดัดแปลงเป็นคาเฟ่ขายอาหารขนาดเล็ก และให้บริการอาหารโดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่นภายนอกของตู้โดยสารยังถูกเปลี่ยนให้เป็นบิลบอร์ดโฆษณาโครงการนี้ โดยทำเป็น กราฟิตี้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชนแห่งนี้



๐ ทัศนศิลป์ Visual Arts หรือทัศนศิลป์เป็นอีกหนึ่งแขนงศิลปะที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงหน้าตาของเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกราฟฟิตี้ซึ่งบางครั้งถูกมองว่าเป็นศิลปะ แต่บางครั้งก็ถูกจัดว่าเป็นการขีดเขียนทำลายทรัพย์สินสาธารณะ กราฟิตี้หรือภาพขีดเขียนบนฝาผนังไม่จำเป็นต้องผิดกฎหมายและถูกมองข้ามเสมอไป หลายครั้งที่กราฟิตี้ได้รับยกย่องให้เป็นศิลปะแห่งท้องถนน นิทรรศการขนาดใหญ่ครั้งแรกที่จัดขึ้นบริเวณด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Tate Modern คือนิทรรศการแสดงผลงานของศิลปินชื่อดัง 6 คนซึ่งเกี่ยวข้องกับเมือง โดยมีการเสวนา ฉายภาพยนตร์ และนิทรรศการต่าง ๆ นอกจากนี้เว็บไซต์ที่จัดโดยช่องโทรทัศน์ Channel 4 ยังเชิญชวนให้คนทั่วไปนำภาพถ่ายงานศิลปะที่ Tate Modern ตลอดจนงานของศิลปินคนอื่น ๆ และงานศิลปะบนท้องถนนทั่ว ๆ ไป มาดาวน์โหลดแลกเปลี่ยนกันดูผ่านเว็บไซต์อีกด้วย เราอาจให้ศิลปินร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะที่สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นความสนใจจากคนทั่วไป หรืออาจจะเป็นกราฟิตี้บนอาคารซึ่งสามารถลบออกได้หลังจากเสร็จงานแล้วอย่างที่ Tate Modern ทำ


๐ วรรณกรรม ใครจะคิดว่าวรรณกรรมก็มีบทบาททำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้ นี่คือตัวอย่างกิจกรรมที่นำบทกวีและวรรณกรรมมาใช้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในเมือง การเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณะ Urban Words เป็นองค์กรที่ดำเนินการจัดการโครงการต่าง ๆ ทั่วลอนดอน โดยเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างงานเขียนและสถานที่ โดยเอื้อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับผู้วางแผนงานและการเสนอแผนต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และเพื่อเป็นการฉลองการเปิดสถานีรถไฟ St. Pancras International และต้อนรับรถไฟยูโรสตาร์ที่จะเปลี่ยนมาใช้สถานีนี้เป็นครั้งแรก กวีท่านหนึ่งได้เขียนงานโดยใช้ระยะเวลา 3 เดือนร่วมกับกลุ่มเยาวชน 3 กลุ่มในพื้นที่ เพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวต่าง ๆ ของ Foundling Museum และการฟื้นฟูพื้นที่บริเวณ King’s Cross นอกจากนี้ยังมีการจัดงานอื่น ๆ รวมถึงนิทรรศการในแกลเลอรี่ที่พิพิธภัณฑ์ด้วยวรรณกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณะได้โดยการนำบทกวีมาเขียนไว้ตามสิ่งก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น ทางเท้า หรืออาคารต่าง ๆ กวีหลายคน รวมถึงกวีชื่อดังอย่างแอนดรูว์ โมชั่น ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณะด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ประติมากรและศิลปินได้ทำงานผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อทำให้โคลงกลอนต่าง ๆ ที่เขาเขียนได้เผยแพร่สู่สายตาประชาชน



๐ แฟชั่น บางกิจกรรมไม่ถือว่านำศิลปะแขนงใดแขนงหนึ่งมาใช้โดยเฉพาะ หากเป็นการจับเอาศิลปะสองแขนงมาใช้ร่วมกันอย่างลงตัว เรามีตัวอย่างจากอังกฤษมาให้ดูกันโรงเหล้า The Old Truman Brewery บนถนน Brick Lane ในแถบตะวันออกของกรุงลอนดอน เป็นผู้ก่อตั้งและให้เงินทุนสนับสนุนหลักของโครงการ Fashion East โรงเหล้าแห่งนี้มีบทบาทในการเป็นเจ้าภาพจัดงานแฟชั่นโชว์หลายครั้งในช่วงปี 1997-2000 และยังคงสนับสนุนนักออกแบบหน้าใหม่ในโครงการ Fashion East จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันโครงการนี้เป็นจัดแฟชั่นโชว์ 3 งานระหว่างสัปดาห์แฟชั่นโชว์ London Fashion Week ประจำฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โรงเหล้านี้ตั้งอยู่ในชุมชนที่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของลอนดอน แต่หลังจากงาน Fashion East บริเวณนี้ก็กลายเป็นศูนย์กลางแฟชั่นระดับสูงที่โดดเด่นจนคนในวงการแฟชั่นต้องไม่พลาดมาเยี่ยมชมระหว่างแฟชั่นวีค


๐ งาน Fashion East มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้วงการแฟชั่นฟื้นตัวขึ้นมาใหม่หลังจากซบเซาไปแล้วครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ปัจจุบันมีศิลปินนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยพรสวรรค์เกิดขึ้นมากมายลองนึกถึงการทำงานข้ามสาขาเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่นอกเหนือความคาดหมายในพื้นที่สาธารณะ Hairywood Tower สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างแฟชั่นดีไซเนอร์และสถาปนิก ลวดลายงานไม้ที่ตัดด้วยเลเซอร์ออกแบบโดยเอลี่ คิชิโมโตะ ซึ่งทำงานร่วมกับสถาปนิก 6a ตึก Hairywood Tower ดังกล่าวได้ถูกนำไปจัดแสดงที่ลาน Covent Garden Piazza ระหว่างเทศกาล London Festival of Architecture

๐ ดนตรี กิจกรรมดนตรีอย่างคอนเสิร์ตหรืองานซาวน์ดอาร์ตที่จัดขึ้นในสถานที่สาธารณะในเมืองและเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมนั้นสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปินและคนทั่วไปได้หัีนกลับมามองดูสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา และ คิดหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วย ในแต่ละปีตามเมืองต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร กลุ่ม Sonic Arts Network ได้จัดคอนเสิร์ต งานศิลปะ เวิร์คช็อป การประชุม และนิทรรศการในพื้นที่สาธารณะ โดยพยายามไม่จัดงานในสถานที่ทั่วๆ ไป แต่จะจัดงานในพื้นที่ที่ถือเป็นหัวใจของชุมชนนั้น ๆ

เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินและคนทั่วไปได้หันมาคิดทบทวนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตน ที่เมืองแมนเชสเตอร์พวกเขาจัดงาน ‘No Petting, No Running, No Bombing’ ที่สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองอย่าง Victoria Baths โดยได้จัดงานศิลปะเกี่ยวกับซาวน์ดและการแสดงสมัยใหม่ โดยให้ศิลปินลงไปแสดงในสระว่ายน้ำอันว่างเปล่า และพื้นที่ที่เคยเป็นอ่างอาบน้ำโบราณก็ถูกแทนที่ด้วยซาวน์ดแปลกๆ



๐ Silent Disco หรือ ดิสโก้เงียบ เป็นปรากฏการณ์น่าทึ่งที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่สาธารณชนได้ โดยแต่ละคนจะได้รับหูฟังซึ่งสามารถเลือกรับฟังเพลงสองชุดจากดีเจสองคน และเต้นไปตามจังหวะเพลงที่ตัวเองเลือก นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนเพลงระหว่างเพลงและเปลี่ยนไปเต้นกับอีกกลุ่มเมื่อไหร่ก็ได้อีกด้วย แม้แต่ดีเจและพนักงานที่บาร์ก็สวมหูฟังเช่นกัน ดิสโก้เงียบสามารถจัดได้ในพื้นที่หลายหลายทั้งในอาคารและกลางแจ้ง

๐ โครงการ Peripheral ของแอลัสเตอร์ ดานท์, ทอม เดวิส และเดวิด กันน์ (แห่ง The Folk Songs Project) ที่ Piccadilly Gardens ในเมืองแมนเชสเตอร์ เป็นการแสดงงานศิลปะที่ผสมผสานและรีมิกซ์เสียงต่าง ๆ ในเมืองแมนเชสเตอร์ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายถ่ายทอดเสียงสดที่เชื่อมโยงใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์เข้ากับแถบชานเมือง และทำให้ผู้คนแถบชานเมืองสามารถควบคุมการผสมผสานของดนตรี, เสียง และเสียงแ็บ็กกราวนด์ Manchester: Peripheral ครั้งแรกจัดโดย Futuresonic ในปี 2006 จากนั้น Futuresonic ได้พัฒนาโปรเจ็กต์นี้อีกครั้งโดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Manchester International Festival และร่วมงานกับทีมศิลปินหลายคนเป็นเวลากว่า 18 เดือน

๐ อื่นๆ นอกจากศิลปะแขนงต่างๆ แล้ว ยังมีอีกมากมายหลายวิธีในการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหน้าตาของเมือง ไม่ว่าจะเป็นโปรเจ็กต์ที่ใช้ศิลปะแบบต่างๆ, เทศกาลศิลปะและวัฒนธรรมในเมือง, ทัวร์ศิลปะ, การร่วมกันของศิลปินและคนในชุมชน, จัดประชุมสัมมนา และกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ทุกอย่างเป็นไปได้เสมอ มาร่วมมือกันทำให้หัวหิน เป็นเมืองที่น่าอยู่ขึ้นดีกว่า!
๐ ทัวร์เดินชมศิลปะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการทำให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมในชุมชน ในเทศกาล Edinburgh Festival เมื่อปีที่แล้ว ปีเตอร์ เรเดอร์ได้พาผู้คนเดินเยี่ยมชมอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยปีเตอร์อธิบายว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ที่ไม่ชอบงานศิลปะมีโอกาสได้รับประสบการณ์การท่องเที่ยวชมงานศิลปะ ปีเตอร์ร่วมงานกับศิลปินในท้องถิ่นและสมาชิกของชุมชนเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจและประวัติของอาคารต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียงร้อยถ้อยคำออกมาเป็นคำพูด

ปีเตอร์จะเล่าเรื่องราวและยกตัวอย่างโดยใช้สิ่งของและ ‘ของมีค่า’ ประกอบการเล่า คุณจึงไม่อาจแน่ใจได้ว่าสิ่งที่เขาเล่านั้นเป็นความจริงหรือเป็นเพียงเรื่องเล่า ทัวร์เดินชมศิลปะนี้มักจะจบลงด้วยการดื่มเครื่องดื่มหรือน้ำชา จึงเป็นการจบทัวร์แบบที่ผู้คนไม่ได้คาดคิดและเปิดโอกาสให้สังสรรค์และสนุกสนานกัน ทัวร์เดินชมศิลปะนี้อาจจัดในอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอาคารที่คนทั่วไปไม่มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม เพื่อจะได้เกิดบรรยากาศแบบลึกลับจากการได้เห็นพื้นที่ที่ปกติไม่เปิดให้คนได้เข้าชม แนวคิดในการจัดทัวร์เดินชมศิลปะนี้อาจนำไปใช้กับชุมชนเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองที่คนทั่วไปมักจะไม่เดินผ่าน ทัวร์เดินชมศิลปะนี้อาจเป็นการพากลุ่ม ‘นักท่องเที่ยว’ (ผู้ชม) ไปเดินชมสถานที่ในชุมชนโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่นั้น ๆ ข้อมูลว่าชุมชนได้เข้าไปตั้งรกรากในพื้นที่นั้น ๆ ได้อย่างไร ตลอดจนให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของชุมชนนั้น ๆ




๐ Further Up In The Air & Hotel Ballymun เป็นโครงการศิลปะข้ามสาขา 2 โครงการที่ดำเนินงานในอาคารที่พักอาศัยที่รกร้างว่างเปล่าในเมืองลิเวอร์พูลและดับลิน ทั้งสองโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือกันของศิลปินทัศนศิลป์ นักออกแบบ ผู้สร้างภาพยนตร์ นักเขียน และนักแสดงเป็นระยะเวลา 1-2 ปี เพื่อสร้างสรรค์งานชิ้นใหม่ที่ถ่ายทอดประสบการณ์ในการอาศัยอยู่ในอาคารรกร้างแห่งนั้น การพักอาศัยในอาคารที่รกร้างว่างเปล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการจัดงาน นิทรรศการ และการตีพิมพ์งานเขียนที่ว่าด้วยตัวตนของชุมชนนั้นๆ และยังเน้นความยุ่งยากซับซ้อนของการฟื้นฟูเมืองและการอาศัยอยู่ในเมืองด้วย

เห็นอย่างนี้แล้ว อยากให้ใหญ่ใจดี ลุกขึ้นมาเปิดพื้นที่ เพื่อการพัฒนาเมืองด้วยศิลปะ ให้กับ เยาวชนคนรุ่นใหม่ แห่งเมืองหัวหิน ไม่ให้หันเหความสนใจไปยัง สิ่งจูงใจไม่สร้างสรรค์ทั้งหลาย กันบ้างนะ ว่ามั๊ย !!

ขอบคุณเรื่องและภาพจาก http://www.changebangkok.com/
huahinhub Thanks

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๙ (ศิลปะ กับการเปลียนเมือง)



ในรอบปี 2551 ที่ผ่านพ้นไปนั้น เกิดกระแสตื่นตัวเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง

กรุงเทพฯ เองก็มีโครงการดีๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลายโครงการด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ Change Bangkok หรือกรุงเทพหัวเป็นหาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Transforming Public Spaces ภายใต้โครงการใหญ่ Creative Cities ที่มีบริติช เคานซิล (องค์กรจากอังกฤษที่ทำงานเพื่อการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม) เป็นหัวเรือใหญ่

Change Bangkok มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นโดยใช้ศิลปะเข้าไปช่วยในการพัฒนาพื้นที่ โครงการนี้เริ่มจากการเฟ้นหาสถานที่ที่ควรจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกัน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเสนอสถานที่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงได้ในเว็บไซต์ www.changebangkok.com พร้อมกับมีการโหวตและแสดงความคิดเห็นเพื่อหาสถานที่ที่ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมากที่สุด 10 แห่งของกรุงเทพมหานคร

ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ มีการจัดเทศกาลออกแบบบางกอก 2551 ขึ้นตามพื้นที่ใจกลางเมืองหลายๆ แห่ง อาทิ ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามพารากอน และสยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นต้น โครงการ Transforming Public Spaces: Change Bangkok ก็ร่วมในเทศกาลนี้เช่นกัน โดยจัดแสดงนิทรรศการบริเวณชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดแสดงแผนที่กรุงเทพฯ ขนาดใหญ่ พร้อมกับภาพที่ประชาชนส่งเข้ามาชิงความน่าเกลียดกันในเว็บไซต์ ซึ่งผู้ชมงานสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น โดยใช้ post - it เขียนแปะลงบนผนังและกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการไป

ภาพกว่า 100 ภาพที่ส่งเข้ามาในช่วงแรกบ่งบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และผู้ส่งได้รับผลกระทบจริงๆ ไม่ใช่ส่งรูปถ่ายสวยๆ เพื่อหวังชิงเงินรางวัล 7,000 บาท 10 รางวัลที่ทางบริติช เคานซิลตั้งเอาไว้ เราได้เห็นทางเท้าที่ทรุดโทรมบนสุขุมวิท ถนนที่เรียกว่ามีความเจริญสายหนึ่งของกรุงเทพ สายไฟห้อยระโยงระยางแถวอนุสาวรีย์ชัยฯ พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ที่มีมวลชนสัญจรไปมาวันละจำนวนมาก

แต่ดูเหมือนทุกคนจะเพิกเฉยหรือชินชากับสภาพอุจาดเหล่านี้ไปเสียแล้ว ตึกร้างหลายๆ หลังถูกส่งเข้ามาในมุมมองที่แตกต่างกันไป

บางตึกอยู่ในละแวกที่มีความเจริญมากๆ ด้วยซ้ำไป หรือบรรยากาศของถนนที่มีรถไฟฟ้าผ่านที่ควรจะดูเป็นความศิวิไลซ์ในชีวิต แต่ภาพมันฟ้องว่าสิ่งที่ผ่านเข้ามานั้นมันไร้ชีวิตสิ้นดี
ความใหญ่โตของเสาคอนกรีต สีสันที่ดูแห้งแล้ง ภาพคลองเน่าๆ ใต้สถานีรถไฟฟ้าตากสิน ภาพเหล่านี้เป็นเรื่องจริงใกล้ๆ ตัวที่เราจำยอมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมัน

แม้ลึกๆ ยังแอบตั้งคำถามว่าทำไมไม่มีใครหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเหล่านี้ให้มันดีขึ้นกว่าเดิมเสียทีหนอ

ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเลือกพื้นที่อย่างน้อย 1 แห่ง เพื่อนำมาเป็นพื้นที่ที่ทางบริติช เคานซิลจะเชิญศิลปินนักสร้างสรรค์จากประเทศอังกฤษมาทำงานร่วมกับศิลปินไทยในการเปลี่ยนแปลงให้ดูดีขึ้น โดยใช้ศิลปะเป็นตัวกระตุ้นให้คนกรุงเทพฯ ตระหนักถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงเมือง ซึ่งเป้าหมายของการเปลี่ยนกรุงเทพครั้งนี้ตั้งเอาไว้ในเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของเทศกาลออกแบบบางกอกครั้งต่อไปนั่นเอง
ส่วนความคืบหน้าของโครงการ ตลอดจนความคิดเห็นต่างๆ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนเมืองกรุงเทพฯ ผ่านศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ เราจะรายงานให้ทราบอย่างต่อเนื่อง ระหว่างนี้ลองช่วยกันดูภาพเหล่านี้และคิดดูสิว่าจุดไหนควรเปลี่ยนแปลงที่สุดในใจคุณ

บริติช เคานซิล (British Council) หัวเรือใหญ่ในการจัดโครงการ Transforming Public Spaces ที่จุดกระแสตื่นตัวเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ทั่วโลก
พัฒนาการของความเป็นเมือง อย่างกรุงเทพฯ เป็นอนาคตกาลที่สัมผัสถึงได้ ขณะที่ความเจริญ การพัฒนา ความทันสมัย ที่กำลังถาโถมเข้าสู่หัวหิน บ้านเรา ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ชาวเมืองหัวหินเอง ต้องพึงตระหนัก และรักษาความสมดุลย์ ระหว่าง ความเป็นเอกลักษณ์ และความเจริญ (ที่อาจเปลี่ยนเราไปเป็นอย่างอื่น) อย่างที่ ปู่ย่าตายาย-ผู้เฒ่าผู้แก่-บรรพชนในอดีต เคยร่วมก่อร่างสร้าง บ้านเมืองนี้ไว้ กระทั่งเป็นหัวหินที่เราพึ่งพงอาศัย ในปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.changebangkok.com/
huahinhub Thanks

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๙ (หว่านเมล็ดพันธ์แท้กัน)



จำได้ว่า เคยรับประทานข้าวผัดกะเพรากลิ่นหอมฉุย แต่ปัจจุบันกะเพราใบโตปราศจากกลิ่น ส่วนมะเขือเทศรู้จักกันแค่พันธุ์สีดา

ทั้งๆ ที่มีพันธุ์อื่นๆ มีอีกมากมาย พืชพันธุ์เหล่านี้หายไปไหน โจน จันได กำลังตามหาพันธุ์แท้ในโลกใบนี้
ปัจจุบันเราได้รับประทานมะเขือเทศไม่กี่สายพันธุ์และเป็นพันธุ์ผสม เรารู้จักแค่พันธุ์สีดา ท้อหรือเชอร์รีเท่านั้น ใบกะเพราแดงพื้นบ้านกลิ่นแรงๆ หายไปไหน ไม่ต่างจากกระเทียมกลีบเล็กๆ กลิ่นฉุนหรือหอมลูกเล็กปอกครั้งใดน้ำตาไหล ปัจจุบันมีเพียงหอมกระเทียมจีนกลีบใหญ่ๆ และกลิ่นไม่สมกับเป็นกระเทียม หรือมะละกอฮอลแลนด์เข้ามาแทนที่พันธุ์แขกดำ....ถ้าจะให้บรรยายถึงพืชผักที่หายไปคงมีอีกนับไม่ถ้วน

เมล็ดพันธุ์แท้อยู่ไหน
“เราเริ่มมองเห็นว่าอาหารที่เรากิน อยู่ในภาวะวิกฤติ เหมือนคนป่วยที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร” โจน จันได กล่าวและเขากลายเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศในเรื่องการสร้างบ้านดิน ตอนนี้เขากำลังตามหาเมล็ดพันธุ์แท้จากทั่วโลกเพื่อเก็บไว้ให้คนรุ่นหลัง เขาบุกเบิกซื้อพื้นที่กว่ายี่สิบไร่ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่เพื่อทำเป็นศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์พันพรรณ

ทั้งๆ ที่ผืนดินบนเนินเขาที่เขาตั้งเป็นศูนย์บัญชาการปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านแทบจะปลูกอะไรไม่ได้เลย แต่เขาปล่อยให้หญ้าหางหมาขึ้นแล้วฝังกลบเป็นปุ๋ยใช้เวลาสองปีในการปรับหน้าดิน จนเริ่มเห็นผลในปีที่สาม ปัจจุบันเข้าปีที่ห้าพืชผักเริ่มออกผลให้เก็บเมล็ดพันธุ์

"คุณรู้ไหม 90% ของเมล็ดพันธุ์เติบโตจากการใช้สารเคมี มันพัฒนามาเพื่อผูกขาดทางการค้า บางพันธุ์จำกัดการงอก นั่นเป็นการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เพื่อครอบครองอาหาร"



เรื่องที่ โจน จันได กล่าวไม่ได้เกินเลยความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ วิกฤติของอาหารในเรื่องเมล็ดพันธุ์แท้ที่หายไปจำนวนมาก โจนบอกว่า เรามีทางเลือก แต่เราไม่เลือก เมื่อก่อนทุกครอบครัวในสังคมไทยจะมีเมล็ดพันธุ์ห้าชนิดในบ้าน แต่ปัจจุบันเรามีไม่กี่ชนิด

“เกษตรกรยิ่งปลูกพืช ยิ่งเป็นหนี้ เพราะทุกครั้งต้องลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ รวมทั้งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนจากบริษัทที่นำมาให้ปลูกและรับซื้อคืน แต่สุดท้ายก็ไม่มีกำไร” โจนตั้งข้อสังเกตและบอกว่า ทำไมคนทำงานหนักแล้วไม่พอกิน ทั้งๆ ที่สมัยปู่ย่าตายายไม่มีใครทำงานวันละแปดชั่วโมง ไม่มีใครใช้คำว่า ทำงาน มีแต่ไปดำนาเกี่ยวข้าว

ทำตัวขี้เกียจแต่มีความสุข
“คนสมัยก่อนมีความสุข มีเวลาว่างมาก ทำให้ได้อยู่กับตัวเองมาก คนที่อยู่กับตัวเองคือคนที่เห็นตัวเอง เมื่อเห็นตัวเองก็รู้ว่า ชีวิตเกิดมาทำไม และคนคนสมัยก่อนนอนกลางวันกันมาก ตื่นขึ้นมาก็นินทากัน หัวเราะตลกกันตลอด ชีวิตน่าจะเป็นอย่างนั้นมากกว่าที่จะมาเป็นหุ่นยนต์ในเมือง” โจน บอกเช่นนั้น เพราะเขาไม่อยากเป็นหุ่นยนต์ในเมืองหลวง จึงต้องกลับมาทำการเกษตร

"ผมเคยไปอยู่กรุงเทพฯเจ็ดปีไม่เคยกินอิ่มเลย และถามตัวเองว่า ชีวิตเราทำงานให้ใคร ผมก็เลยกลับบ้านไปเป็นชาวบ้าน แต่ผมก็ไม่ได้อยู่อย่างชาวบ้าน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ปลูกผักเพื่อขาย ยิ่งปลูกยิ่งไม่เหลืออะไร ทั้งๆ ที่ชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ทำให้ชีวิตซับซ้อน จนไม่มีเวลาคิดถึงตัวเอง คิดถึงแต่งาน งาน หาเงินและใช้เงิน ทำงานหนักขนาดนี้แล้วไม่พอกิน ก็ต้องคิดแล้ว"

โจนเปรียบชีวิตลักษณะนั้นเหมือนน้ำในตุ่มที่มีรูรั่วเต็มไปหมด เติมเท่าไรก็ไม่เต็ม จึงต้องหาทางเลือก ลดการซื้ออาหารก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงอยากทำเป็นตัวอย่าง แต่ก็ไม่ได้บอกชาวบ้านว่า ต้องทำแบบนี้ ถ้าพวกเขาเห็นด้วยกับความคิดก็มาดูเอง ปลูกพืชผักพริกหอมกระเทียมอย่างละไม่เกินห้าต้น ก็อยู่ได้แล้ว

"อย่างเมื่อก่อนแม่ผมเคยเก็บผักไปขายได้วันละห้าสิบบาท บางคนอาจจะคิดว่าน้อยมาก แต่บ้านผมไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นจึงอยู่ได้ ขณะที่ครูเงินเดือนหมื่นกว่าแต่เป็นหนี้ นั่นแสดงให้เห็นว่า มีเงินน้อยสามารถมีเงินมากได้ ถ้าอยากรวยแต่จน ถ้าอยากจนจะมีเงินเหลือใช้ ทั้งๆ ที่ชีวิตมีทางเลือก แต่เกษตรกรก็เป็นทาสในผืนนาตัวเอง"

เมล็ดพันธุ์เพื่อความยั่งยืน
“ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อความยั่งยืน บนเนินเขาที่ผมทำเกษตร ที่นี่ดินไม่ดี แต่น้ำเยอะ ตอนนี้ผมเก็บพันธุ์แตงโมได้ 20 ชนิด มะเขือเทศกว่า100 ชนิด แต่ค่อยๆ ปลูกได้ไม่ถึง 50 ชนิด ปัญหาคือ ขาดแรงงาน” โจน เล่าให้ฟัง และอยากให้ช่วยกันปลูกพืชผักเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ เพราะพืชผักที่เรากินทุกวันนี้ไม่ใช่พันธุ์ไทย ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ผสมจากต่างประเทศ อาทิเช่น ผักบุ้งจีน

โจน เล่าว่า เคยรับประทานแตงโมหมอนอร่อยมาก แต่พันธุ์นี้ได้หายไปแล้ว ปัจจุบันเกษตรกรปลูกแตงโมจินตหรา ส่วนพวกใบแมงลัก โหระพาเป็นพันธุ์ผสมใบใหญ่ รสชาติไม่ดี

“ที่นี่จะพัฒนาพันธุ์แท้และพันธุ์พื้นบ้าน อย่างพันธุ์แตงโมกว่าพัฒนาเป็นพันธุ์แท้ได้ต้องปลูกถึง 7 รุ่น”

นอกจากพาไปดูแปลงปลูกผักและมะเขือเทศที่ปล่อยให้ต้นแก่เต็มที่ เพื่อจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อไป รวมถึงแจกเกษตรกรที่มีความตั้งใจที่จะปลูกจริงจัง เมล็ดพันธุ์ที่เขาเก็บจึงมีทั้งเมล็ดที่มีเนื้อเยื่อหุ้ม จะเก็บไว้ในตู้เย็น ส่วนเมล็ดเปียกไม่มีเมือก ก็ไม่ยากในการเก็บรักษา ส่วนเมล็ดอีกพวกเก็บได้ทันทีเลยคือ เมล็ดผักกาด ผักสลัด กะหล่ำ

"ที่นี่จะไม่เก็บเมล็ดพันธุ์แบบนักวิชาการ พวกเขาเก็บไว้เป็นสิบๆ ปีเพื่อที่จะปลูกใหม่ ทำให้ไม่พัฒนาตัวเอง และไม่อยู่ในอุณหภูมิธรรมชาติ ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และต้องใช้เทคโนโลยีสูง แต่เราเก็บเมล็ดพันธุ์ในฐานะอาหาร ปลูกไปกินไป พืชทุกอย่างจึงปลูกคัดเลือกแจกจ่ายพันธุ์ต่างๆ ที่ต้องปลูกภายในสองปี ทั้งเก็บและปลูกด้วย"

โจน เชื่อว่า ถ้าเขาไม่รีบปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านหรือพันธุ์แท้ จะมีบริษัทไม่กี่รายผูกขาดในเรื่องอาหาร และปัจจุบันก็ไม่รู้ว่า คนรับประทานพืชจากเมล็ดพันธุ์ตัดต่อพันธุกรรมมากน้อยเพียงใด

“สังเกตได้ว่า เดี๋ยวนี้คนเป็นภูมิแพ้มากขึ้น โดยเฉพาะคนอเมริกัน พวกเขากินพืชตัดต่อยีนมาหลายศตวรรษ พวกข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วลิสง ส่วนผสมในของหวานหลายชนิดมาจากน้ำตาลแป้งข้าวโพด และไม่รู้ว่าเป็นพืชตัดต่อพันธุกรรมไหม ตรงนี้ซับซ้อนมาก และปัจจุบันคนเก็บเมล็ดพันธุ์ผักน้อยมาก มีไม่กี่กลุ่มก็มีการแลกเปลี่ยนกัน ปัจจุบันมะเขือเทศไทยขนาดแท้ไม่มีเหลือแล้ว ผมตามหาไม่ได้เลย ส่วนใหญ่ได้มาจากพม่า อินเดีย อเมริกา อย่างสีดาเป็นพันธุ์ผสม”

พันธุ์แท้ปลูกได้หลายครั้ง
ถ้าเป็นพันธุ์แท้จะอยู่ได้นานและลูกดก แต่ถ้าเป็นพันธุ์ผสมจะออกลูกเยอะในครั้งเดียวแล้วก็ตายเลย จึงต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ โจนยกตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิพันธุ์ 105 จะเก็บได้นานและเวลาปลูกต้องใช้สารเคมี ต่างจากข้าวอินทรีย์ที่ชาวบ้านปลูกจะเก็บได้ไม่นาน เพราะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่า ทำให้เกิดมอดได้ง่าย

อีกเรื่องหนึ่งที่โจนกล่าวถึง คือ ผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดคนปลูก ถ้ามีคนบริโภคพืชผักปลอดสารมากขึ้นก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วคนเราเกิดมาครั้งเดียว ถ้าเราไม่ดูแลตัวเองจะเกิดมาทำไม ชีวิตมีทางเลือก ถ้าไม่มั่นใจว่า ผักในห้างสรรพสินค้าปลอดสารพิษจริงไหม ก็รวมกลุ่มกันเชื่อมโยงกับคนปลูกพืชผักอินทรีย์

“ศูนย์แห่งนี้เราไม่ได้ทำเพื่อการค้า อยากให้ชาวบ้านพัฒนาพันธุ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น” โจนกล่าว และบอกว่า ศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์พันพรรณเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์จากทั่วโลกที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิม และให้คนมาเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดสารพิษเพื่อเก็บและหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน สืบสานสายพันธุ์แท้จากธรรมชาติ ถ้าเป็นคนเอเชียหรือคนไทยเข้ามาเรียนรู้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนคนในประเทศพัฒนาแล้ว หากมาเรียนรู้การเกษตรทั้งหมดและเรื่องการสร้างบ้านดินช่วงสองเดือนครึ่ง ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1,200- 1,400 ดอลลาร์

"อยู่ที่นี่กินและนอนถูกมาก เรียนเกษตรทุกอย่าง อยู่ในอเมริกาแค่ไปฝึกทำบ้านดินวันหนึ่งก็สองร้อยกว่าดอลลาร์ ต้องเช่าบ้านอยู่เอง การเรียนรู้เรื่องบ้านดินในอเมริกาไม่ได้เรียนมากเหมือนที่นี่ อย่างมากก็ทำได้แค่เตาอบขนมปัง ม้านั่งเล็กๆ แต่ที่นี่ทำบ้านทั้งหลัง" โจน เล่า

นอกจากสอนทำบ้านดิน และการเกษตรแล้ว ยังสอนเรื่องการดูแลสุขภาพง่ายๆ แบบพื้นบ้าน อย่างการทำดีท็อกซ์ หรือดื่มน้ำปัสสาวะรักษาโรคภูมิแพ้

“ฝรั่งที่มาเรียนรู้ บางคนเป็นสถาปนิก ผู้พิพากษา นักเขียน บางคนตกงานแต่สับสนในชีวิต ไม่ชอบวิถีชีวิตแบบเดิม ไม่รู้จะไปไหน หลายคนมาก็เปลี่ยนแปลงชีวิต” โจนเล่าให้ฟัง เพราะรายได้หลักของศูนย์มาจากคนที่ฝึกงานจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ถ้าเป็นคนเอเชียหรือคนไทยก็ทำงานแลกเพื่อเรียนรู้ที่นี่

"คนไทยมาฝึกฝนเรื่องเกษตรน้อย เพราะมองว่าการเกษตรเป็นเรื่องต่ำต้อย คนที่มาเป็นชนชั้นกลาง ไม่ใช่ชาวนาหรือเกษตรกร เพราะกลุ่มนี้อยากหนีจากการเป็นเกษตรกร การเป็นเกษตรกรทำให้ผมมีเวลา ทำอะไรก็ได้อย่างอิสระ ผมจะไม่กลับไปทำงานแบบเดิม ตอนนี้ผมตายได้แล้ว พอใจกับสิ่งที่ได้ประสบในชีวิตแล้ว ก็ใช้ชีวิตที่เหลือให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ไม่มีอะไรกังวล"


ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
huahinhub Thanks

| หัวหินประดามี ๗ (ที่ดินหาดหัวหินทรงตัว)





เก็บมาฝากเพิ่มเติม huahinhub นำเสนอต่อเนื่องจากครั้งก่อน ถึงราคาที่ดินชายหาดเมืองหัวหิน ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ถึงอย่างไร ก็ยังอยู่ในภาวะ 'ทรงตัว' ตามมาดูรายละเอียดกัน ในกรุงเทพธุรกิจ 31/03/52


แม้เศรษฐกิจทรุด แต่ราคาที่ดินหัวหินไม่ตก ยังคงทรงตัว ด้านคอนโดฯ แข่งเดือด ตัดราคา ปลุกกำลังซื้อ
หลังจากนำเสนอภาพรวม การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน
หัวหิน ในหน้าแรก "กรุงเทพธุรกิจสำรวจ" ไปเมื่อวานนี้ (30 มี.ค.) ยังคงมีประเด็นต่อเนื่องที่สะท้อนภาพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในหัวหินได้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องความเคลื่อนไหวของราคาที่ดิน ในทำเลการพัฒนาเดิมโดยเฉพาะที่ดินบริเวณ ริมชายหาด ซึ่งไม่เหลือพื้นที่แปลงใหญ่ ให้มีการซื้อ-ขาย เพื่อนำไปพัฒนาใหม่ได้อีก
ความร้อนแรงการซื้อ-ขายเปลี่ยนมือที่ดิน ในทำเลเก่าเริ่มชะลอตัวลง หลังจากช่วง 2-3 ปีที่ก่อน“หัวหิน”นับว่าคึกคักมาก แต่เมื่อมีหลากหลายปัจจัยลบเข้ามากระทบ ทั้งเหตุการณ์รัฐประหาร และกฎเหล็กที่ภาครัฐหันมาคุมเข้มเรื่องกฎหมายนอมินี และล่าสุดวิกฤติการเงินโลก ที่ทำให้กำลังซื้อต่างชาติหดหาย ขณะที่ลูกค้าคนไทยก็ขาดความเชื่อมั่น มาในวันนี้การลงทุนอสังหาฯ ใน "หัวหิน" คลายความร้อนแรงลง แม้ยังคงเห็นบรรยากาศการก่อสร้างที่เป็นสีสันต่อเนื่อง แต่การซื้อขายเปลี่ยนมือที่ดิน ในทำเลหลักริมชายทะเล ลดความร้อนแรงลง เช่นเดียวกันราคาที่ดินก็เริ่มทรงตัว ไม่ปรับขึ้นหวือหวาเหมือนช่วงก่อน

ราคาที่ดินแตะเบรกไม่ขึ้น-ไม่ลง
นายสุรินทร์ องค์วาสิฏฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส.แอล.เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนาโครงการอมารา (AMARA) เขาเต่า เผยว่า แม้ปัจจัยลบจะเข้ามากระทบตลาดเมืองท่องเที่ยวหลายแห่งรวมถึง
หัวหิน แต่ความต้องการที่อยู่อาศัย บ้านพักตากอากาศของทั้งคนไทยและต่างชาติยังคงมี จึงส่งผลให้ราคาที่ดินไม่ได้ปรับตัวลดลง อย่างที่หลายคนคาดคิด ปัจจุบันราคาที่ดินในหัวหินไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ปรับขึ้นและไม่ลดลง โดยเฉพาะที่ดินบริเวณริมทะเล โซนชายหาดซึ่งไม่ค่อยมีที่ดินแปลงใหญ่ให้พัฒนาได้ ทำให้การซื้อขายใหม่ไม่เกิดขึ้น และการพัฒนาเริ่มขยับทำเลมาทางโซนเขาเต่าติดริมทะเลกันจนเรียกได้ว่าบริเวณดังกล่าวรองรับการเติบโตจากตัวเมืองหัวหินมาในระดับที่เกือบจะเต็มพื้นที่แล้ว

“ในมุมมองของนักลงทุนแล้ว การชะลอตัวของตลาดถือว่ามีข้อดี ในแง่ที่ช่วยลดความร้อนแรงด้านราคาลงได้พอควร เพราะก่อนหน้านี้ แม้แต่ราคาที่ดินย่านเขาเต่ายังปรับตัวขึ้นไปสูง จนเรียกว่าเป็นน้องๆ หัวหินก็ไม่ผิดนัก” นายสุรินทร์ กล่าว

บรรยากาศล่าสุดสอดคล้องคำบอกเล่าของผู้ประกอบการ เนื่องจากสภาพปัจจุบัน พื้นที่บริเวณชายหาดหัวหิน ยังคงมีการก่อสร้างเดินหน้าต่อเนื่อง ซึ่งหากมองผิวเผินหลายคนอาจคิดวาหัวหินยังคึกคัก แต่สำหรับคนพื้นที่กลับมองในมุมที่แตกต่าง

นายสมบูรณ์ ภู่พันธ์ หัวหน้าฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง เทศบาลหัวหิน ที่ระบุว่า ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในหัวหิน ทั้งที่อยู่อาศัย อาคารชุด โรงแรม หากวัดจากจำนวนการขออนุญาตก่อสร้างใหม่ สำหรับปี 2552 ถือว่าชะลอตัวลงมาก ไม่มีการขออนุญาตก่อสร้างโครงการใหญ่เพิ่มเติม มีเพียงโครงการที่สร้างอยู่ปัจจุบัน เช่น โรงแรมขนาดใหญ่ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ที่ดึงเชน อินเตอร์คอนติเนนตัลเข้ามาบริหาร โครงการนี้ได้ใบอนุญาตสร้างก่อนปี 2551

คอนโดฯ ตากอากาศตัดราคา
นอกจากราคาที่ดินโซนชายหาด
หัวหินไม่เคลื่อนไหวมากแล้ว การแข่งขันในการทำตลาดคอนโดฯตากอากาศทำเลหัวหิน ก็สะท้อนภาพ ชะลอตัวได้ชัดเช่นกัน ล่าสุดพบโครงการออกมาจัดแคมเปญ ที่เป็นการลดราคาทางอ้อม เช่นเดียวกับกลยุทธ์การทำตลาดคอนโดฯหลายแห่งในกรุงเทพฯ

จากคำยืนยันของ นายกฤดิ วิบูลย์ประพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โบ๊ทเฮ้าส์หัวหิน จำกัด ที่ระบุว่า ภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมพักอาศัยตากอากาศในวหิน มีภาวะชะลอตัวเช่นเดียวกับหลายทำเล โบ๊ทเฮ้าส์จึงจัดแคมเปญการเงินใหม่ให้ลูกค้าเลือก สำหรับการซื้อโครงการโบ๊ทเฮ้าส์หัวหิน ทั้งโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมโอน และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง

สินค้าที่สร้างเสร็จแล้วของโบ๊ทเฮ้าส์ฯมีกว่า 100 ยูนิต เสนอขายด้วยข้อเสนอเปิดให้ลูกค้าจองโดยวางเงิน 5% ของราคาบ้านหรือคอนโดฯ จากนั้นโครงการรับภาระการผ่อนกับธ.ไทยพาณิชย์ 2 ปีแทนลูกค้า ระหว่างนี้ลูกค้าสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ทันที หรือหากต้องการให้เช่าก็เปิดให้มีผู้เช่าได้ทันทีเช่นกัน เมื่อครบ 2 ปี ก้าวสู่ปีที่ 3 ทางโครงการจะเปิดให้ลูกค้าตัดสินใจได้อีกครั้งว่า จะขายต่อโดยฝากให้โครงการช่วยขาย หรือเก็บไว้เองตามเดิม

ภาพการแข่งขันตลาดทำนองนี้ ในโครงการอสังหาฯหัวหิน คาดว่าจะมีให้เห็นเพิ่มขึ้นในปี 2552....


ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพ 31/03/52
huahinhub Thanks

| หัวหินประดามี ๖ (พัฒนาการ-พื้นที่เมือง)



อสังหาฯ หัวหิน ยังไม่สิ้นยุคทอง หลังทุนไทยปักหลักผุดคอนโดและวิลล่าหรูริมหาดจนไม่เหลือพื้นที่ว่าง ยึดทำเลเนินเขา ขึ้นหมู่บ้านจัดสรรต่างชาติ

กรุงเทพธุรกิจ 30 มีนาคม 52 เสนอข่าว ทุนต่างชาติ แห่ปักธง 'หัวหิน' เนื้อความว่า

กลุ่มสแกนฯ-นอร์เวย์-ฟินแลนด์ รุกหนัก ใช้ สนง.ใหญ่ขายตรง นายกเล็กหัวหินเผยเมืองโตเร็ว ขยายตัวไม่หยุด หวั่นสาธารณูปโภครับไม่ทัน เร่งแผนพัฒนาแหล่งน้ำและสาธารณูปโภคพื้นฐาน

"กรุงเทพธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจการพัฒนาพื้นที่หัวหินล่าสุด พบว่า จากวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้กำลังซื้อต่างชาติหดหายไปบางส่วน แต่หัวหินก็ยังคงมีการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมและบ้านพักตากอากาศ ซึ่งยังมีการเปิดขายและก่อสร้างบนพื้นริมชายทะเล ด้านตะวันออกของถนนเพชรเกษม

แต่หัวหินเป็นเมืองตากอากาศที่โด่งดังมานาน ทำให้ปัจจุบันพื้นที่ว่างเลียบชายหาดแทบไม่เหลือที่ดินผืนใหญ่ ให้การพัฒนาใหม่เข้าไปได้อีก ตลอดเส้นทางรอยต่อระหว่างชายหาดชะอำต่อเนื่องสู่หาดหัวหิน ทำเลพัฒนาเดิมถูกจับจองเป็นแหล่งคอนโดตากอากาศ ที่คึกคักมาตั้งแต่ช่วงปี 2538-2540 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจครั้งก่อน

การพัฒนาเปลี่ยนสู่ทำเลเนินเขา
ปัจจุบันการพัฒนาใหม่ยังคงทยอยเข้าสู่
หัวหิน แต่ทำเลการพัฒนาได้เปลี่ยนโซนจากย่านริมหาดไปสู่ทำเลใหม่ บริเวณที่ดินชานเมือง ออกนอกเขตเทศบาล สู่พื้นที่ฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษม ที่คนในพื้นที่มักเรียกว่า “ฝั่งเนินเขา” โดยมีถนนตัดผ่านเปิดพื้นที่ว่างผืนใหญ่ที่เคยเป็นไร่สับปะรด ไร่อ้อย มาเป็นย่านที่อยู่อาศัยใหม่ หลังจากที่ดินแถบนี้ถูกซื้อเปลี่ยนมือนำมาพัฒนาเป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดย่อม จำนวนบ้านต่อโครงการไม่เกิน 50-100 ยูนิต

เส้นทางการสำรวจทำเลหมู่บ้านจัดสรรใหม่นี้ คือ ถนนที่ตัดจากเมือง
หัวหิน มุ่งหน้าสู่น้ำตกป่าละอู เข้าสู่เขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หินเหล็กไฟ ซึ่งกินพื้นที่บริเวณกว้าง ต่อเนื่องกับเขตเทศบาลหัวหิน มุ่งหน้าสู่รอยต่ออุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จากเมืองหัวหินสู่น้ำตกป่าละอู ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอุทยานฯ ระยะทางห่างจากอำเภอหัวหิน 60 กิโลเมตร
๐ นายวิจารณ์ปรีดา อิสรารีย์ รองประธานหอการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจหัวหิน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่า ยังคงขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการลงทุนที่เข้ามาค่อนข้างหลากหลาย ไม่เพียงกลุ่มทุนในประเทศเท่านั้น ยังมีกลุ่มทุนจากต่างชาติหลายราย เข้ามาพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ เช่น โรงแรมบันยันทรี กลุ่มทุนสิงคโปร์ เข้ามาพัฒนาสนามกอล์ฟ แบล็ค เมาน์เทน
“ต่างชาติที่เข้ามาอยู่ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสแกนฯ พวกนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เป็นตลาดรีไทเมนท์ เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองไทย เป็นพวกที่รักความสงบ ชอบธรรมชาติ ชอบบรรยากาศหัวหิน เข้ามาโดยพรรคพวกชักชวนกันซื้อ มาจากต่างประเทศโดยตรง” นายวิจารณ์ปรีดาระบุ

กลุ่มต่างชาติที่เข้ามาซื้อบ้านในทำเลรอบนอกหัวหิน เป็นกลุ่มระดับกลางลงมา ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง บางรายก็ซื้อแบบ Lease Hold คือเป็นสัญญา เช่าตามกฎหมายไทย ที่ระบุให้ 30 ปีต่อได้ 30 ปี

"หมู่บ้านต่างชาติ" เริ่มแตะเบรก ๐ ด้าน นายพันธุ์ชัย กิจชระโยธิน ประธาน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และผู้พัฒนาโครงการจัดสรร เล่าถึงภาวะตลาดบ้านและคอนโด สำหรับชาวต่างชาติว่า ขณะนี้เริ่มชะลอการก่อสร้างชั่วคราว เพราะลูกค้าหลักเป็นกลุ่มต่างชาติ ช่วงนี้เศรษฐกิจโลกไม่สู้ดี หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ บางรายก็มีความเป็นไปได้ว่าจะต้องปล่อยให้เป็นโครงการร้าง


กลุ่มบ้านพักอาศัย ที่เป็นหมู่บ้านเพื่อชาวต่างชาติ ในหัวหินหลายแห่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโดยตรง จึงต้องรอให้สหรัฐอเมริกา ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นผลสำเร็จอีกรอบ ภาวะการซื้อขายบ้านในหัวหินที่สร้างไว้จึงกลับมาคึกคักอีกรอบ

ระดับราคาบ้านที่ซื้อขายกัน ในตลาดขณะนี้พบว่า บ้านเดี่ยวริมชายหาดหัวหิน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 17 ล้านบาท ขณะที่บ้านเดี่ยว บริเวณเนินเขา ออกนอกเขตเมืองไป ราคาเริ่มต้นที่ 7 ล้านบาท

จากการสำรวจล่าสุด ยังพบร่องรอยโครงการจัดสรรหมู่บ้านต่างชาติให้เห็น เช่น โครงการ University Garden โดย ThaiLiving ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองท่องเที่ยวของไทยหลายแห่ง โครงการภายใต้ชื่อดังกล่าวพัฒนามาแล้ว 3-4 โครงการในหัวหิน โดยบางแห่งคนท้องถิ่นเรียกกันง่ายๆ ว่า หมู่บ้านนอร์เวย์ โครงการนี้เจ้าของเป็นนอร์เวย์ มีบริษัทอยู่ที่นอร์เวย์ ทำตลาดโดยขายที่ต่างประเทศ ดึงชาวนอร์เวย์เข้ามาซื้อโดยตรง

นอกจากนี้ยังมีโครงการของผู้ประกอบการ อื่นๆ เช่น หัวหินเบอรี่ฮิลล์, Blue Mountain Private Resident, The Height ซึ่งในบริเวณนี้ยังอยู่ในขอบเขตการดูแลของอำเภอเมืองหัวหิน แต่หลังจากเลยวัดเพชราวุธขึ้นไปแล้ว เริ่มเข้าสู่อบต.หินเหล็กไฟ มีจำนวนโครงการเปิดใหม่ไม่น้อยเช่นกัน เช่น โครงการหรู Kiri Nakara The Mountain โครงการ 7Dee คอนโดมิเนียม ฯลฯ


ที่ดินริมหาดการพัฒนาเริ่มอิ่มตัว
ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะที่ดินริมชายหาดหัวหิน การพัฒนาใหม่มีประปราย เป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ เช่น โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีราว 400 ห้องพัก ก่อสร้างคืบหน้าเกินกว่า 60% จะเปิดบริการได้ใน 1 ปี

คอนโดและวิลล่าตากอากาศ ริมหาดยังพอมีให้เห็น เช่น โครงการของโบ๊ทเฮ้าส์ หัวหิน ที่ยังคงพัฒนาต่อเนื่อง มาตลอด 4 ปี ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จบางส่วน ภาพรวมการพัฒนาเดินมาเกิน 50% ของโครงการแล้ว นอกจากนี้ก็มีโครงการมาราเกรส หัวหิน ของกลุ่มเมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์

ทางตอนใต้ของหัวหิน บริเวณเขาตะเกียบ เขาเต่า นอกจากมีโครงการคอนโดมิเนียมใหม่หลายแห่งแล้ว ยังเป็นทำเลที่คนดัง เข้ามาซื้อบ้านพักตากอากาศกันอย่างคึกคัก

ยอดขออนุญาติก่อสร้างพุ่ง
นายสมบูรณ์ พู่พันธ์ หัวหน้าฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง เทศบลหัวหิน เผยว่าปัจจุบันการขออนุญาติก่อสร้างใหม่เริ่มชะลอตัวลงแล้ว จากช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา โดยในเดือนธันวาคม 2551 มีการขออนุญาตอก่อสร้างอาคารชุด 48,957 ตารางเมตร สูงกว่าเดือนอื่นๆ หลายเท่าตัว โดยเฉพาะการขออนุญาติก่อสร้างบ้านเดี่ยว ในเเดอนมกราคม อยู่ที่ 6,888 ตารางเมตร และเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้อยู่ที่ 61,139 ตารางเมตร

เทศบาลหัวหินเร่งแผนพัฒนา
นายจิระ พงษ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน เผยว่า การพัฒนาเข้ามาค่อนข้างเร็ว โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีชาวต่างชาติ เข้ามาอยู่ในพื้นที่มากขึ้น ทำให้การวางแผนสาธรณูปโภค รองรับแทบไม่ทัน เพราะโตขึ้นมากกว่าปีละ 15% จึงเตรียมแผนจัดระเบียบและเพิ่มสาธารณูปโภครองรับให้มากขึ้น

ส่วนแผนงานเร่งด่วน จะขยายความพร้อมด้านสาธารณูปโภคไปในพื้นที่เนินเขาตะวันตก โดยอีก 2 ปี จะเพิ่มบริการน้ำประปา จากเดิม 4 หมื่นคิวต่วัน เป็น 8 หมื่นคิวต่อวัน และสร้างอาคารจอดรถ 7 ชั้นรองรับรถยนต์ 600-700คัน โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาพัฒนา สัญญา 30 ปี


huahinhub ก็ได้แต่หวังว่า ชาวเมืองหัวหิน คนหัวหิน และผู้ใหญ่ใจดีของเมืองหัวหิน ทุกๆท่าน จะสามารถ ซ่อม-สร้าง-พัฒนา-รักษา-ฟื้นฟู ความสมดุลย์ของ เอกลักษณ์ และความเจริญ ของเมือง ไว้เพื่อลูกหลานเมืองหัวหิน และพี่น้องชาวไทย ไว้ได้นานแสนนาน เพื่อคงความเป็น อมตะของเมืองตากอากาศสุดแสนคลาสสิค ของสยามประเทศนี้ไว้ สืบไป : เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน.. ที่รักหัวหิน เช่นกัน


ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ 30/03/52
huahinhub Thanks

3.29.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๘ (การตลาดใหม่ ในตลาดเก่า)

การตลาดใหม่ ใน 'ตลาดเก่า'
ตอนนี้กระแส “ตลาด” กำลังมา ตลาดที่ว่าหมายถึงตลาดจริงๆ นะ เชื่อว่า หลายท่านคงเคยได้ไปสัมผัสกับ บรรยากาศ“เก่าๆ ใหม่ๆ” ของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์กันบ้างแล้วไม่มากก็น้อย ตลาดเก่าที่เรานำเสนอคราวนี้กำลังฮิต ไม่แพ้ตลาดน้ำอัมพวาเลย เพราะถ้าจะว่ากันตามเกณฑ์อายุแล้ว ก็ถือว่าเกิดในยุคสมัยเดียวกัน แม้จะอยู่กันคนละจังหวัด แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี จากนักท่องเที่ยวทุกสารทิศ กระนั้นความเจริญจาก ห้างร้านสมัยใหม่ และวิถีชีวิตจากโลกภายนอก ก็กำลังสร้างผลกระทบอย่างสำคัญ กับวิถีความเป็นชุมชนตาดเก่า อย่างหนักหนา มิได้หยุดหย่อน ซึ่งเราชาวหัวหินเอง ก็จะได้เก็บเรื่องราวเหล่านี้ ไว้ตระหนัก และคิดให้มาก ว่าเราจะอยู่กับหัวหินในกระแสความเจริญ ที่ถาโถม เข้าสู่หัวหิน อย่างมิได้พักหายใจ กันอย่างไร ต่อไป

ต่อไปนี้คือหลากหลายตัวอย่าง ของกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ ที่นำมาใช้กับ ตลาดย่านเก่า หลากหลายมุมเมือง ที่กำลังเฟื่อง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของแต่ละชุมชน ได้อย่างน่าชื่มชม และเรียนรู้ไว้เป็น ตัวอย่าง เพื่อปรับใช้กับ ตลาดเก่า เมืองหัวหิน ของเรา ที่ใกล้มีอายุครบ 100 ปีกับเค้า ในเดือนตุลาคม ที่กำลังจะมาถึงนี้ อย่าให้เสียเวลา huahinhub ขออาสาพาไป ชมกัน


1) ตลาดคลองสวนตลาดเก่า อายุกว่าร้อยปี เป็นเรือนไม้แถวยาวเลียบคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งเชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ (สภาพน้ำจึงเหมือนกันอย่างแยกไม่ออก) ในอดีตชาวบ้านแถบนี้สัญจรทางน้ำเป็นหลัก ตลาดเลียบคลองแห่งนี้จึงมีการค้าขายคึกคัก

แต่เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น มีถนนตัดใหม่หลายสาย ผู้คนมีทางเลือกมากขึ้น จึงพากันเดินทางออกไปยังที่อื่นๆ ส่งผลให้ตลาดริมน้ำเงียบเหงาซบเซาไปถนัดตา ทุกวันนี้ตลาดคลองสวนยังคงความเป็นตลาดที่ชาวบ้านมาจับจ่ายซื้อของกันจริงๆ อย่างสินค้าประเภทเครื่องจักสาน อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เครื่องใช้อะลูมิเนียมหรือหมอนปักแบบโบราณสำหรับงานมงคลก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ ร้านค้าเกือบทั้งหมดเป็นลูกหลานของบรรพบุรุษเจ้าของร้านรุ่นแรกไม่ค่อยมีใครย้ายไปไหน


เมื่อบรรยากาศซบเซาลงเช่นนี้ ทางเทศบาลและลูกหลานพ่อค้าในชุมชนจึงคิดหาทางฟื้นฟูตลาดขึ้นมาใหม่ โดยหยิบยกการท่องเที่ยว ชื่นชมบรรยากาศแบบไทยโบราณขึ้นมาเป็นจุดขาย บนพื้นฐานการค้าแบบเดิม เราจะเห็นว่าร้านค้าส่วนมากยังคงสภาพเดิมไว้เหมือนดังเช่นเมื่อหลายสิบปีก่อน ป้ายชื่อร้าน โปสเตอร์โฆษณา เครื่องเรือนตกยุคถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่ ดูคล้ายเป็นของประดับมากกว่าของใช้ที่เคยเป็นมาแต่เดิม







2) ตลาดร้อยปีสามชุก The Designed Market ปลุกความหลังสร้างคุณค่าใหม่ ในกระแสบริโภคนิยม
ตลาดสามชุกตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี เคยเป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าในอดีตราว 100 กว่าปีก่อน แต่เมื่อมีการตัดถนน มีการจราจรทางบุกที่เข้ามาแทนที่การสัญจรทางน้ำ ผู้คนก็หันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีนความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ บรรยากาศการค้าขายในตลาดเริ่มซบเซา และยิ่งเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้า ขนาดยักษ์และตลาดนัดอื่นๆที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ตลาดสามชุกจำต้องหาทาง “ปรับเพื่ออยู่รอด”


จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าทำกินมายาวนาน เกิดดำริจะรื้อตลาดเก่าเพื่อสร้างเป็นตึกใหม่ ทำให้ครูอาจารย์และชาวบ้านในตลาดกลุ่มหนึ่ง (ที่ยังมองเห็นคุณค่าของตลาดเก่า) รวมตัวขึ้นเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ ระดมความคิดหาทางรักษาตลาดและที่อยู่ของตนไว้ นี่คือที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “เที่ยวตลาดสามชุก ตลาดมีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวา” ที่หวังใช้เม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมืออนุรักษ์และพัฒนาชุมชน พวกเรารู้จักกับตลาดสามชุกได้ก็ด้วยเหตุนี้

บรรยากาศเดิมเดิมอาคารไม้เก่าแก่ในตลาดที่สร้างเป็นแนวฉากกับแม่น้ำบอกชัดถึงลักษณะของตลาดจีน
โบราณ ที่นี่เป็นชุมชนชาวไทย-จีน- มอญ ที่ยังคงอยู่มาจนปัจจุบัน ลวดลายฉลุไม้ที่เรียกว่าลายขนมปังขิง (เท่าที่ศึกษามา มีอยูู่ถึง 19 ลาย) คือศิลปะตกแต่งอาคารไม้โบราณที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน หากไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ ก็คงสูญหายไปสักวันเช่นเดียวกับศิลปะในชุมชนโบราณอื่นๆ

นอกเหนือจากสถาปัตยกรรม อาคารไม้โบราณที่เห็นได้ทั่วไปตลอดทางเดิน บรรยากาศการค้าในตลาดนี้ก็ยังคงรักษาวิถีดั้งเดิมเช่นในอดีตไว้ ไม่ว่าจะเป็นอัธยาศัยไมตรีของพ่อค้าแม่ค้า ข้าวของเครื่องใช้ ของเล่นต่างๆ ขนมและอาหารหน้าตาแปลกที่หาบริโภคไม่ค่อยได้แล้วในชุมชนที่พัฒนาใหม่ เดินปราดเดียวก็สัมผัสได้ว่าสามชุกไม่ใช่การจำลองความเก่าเพื่อให้ผู้ชมได้ตื่นเต้นชั่วครั้งชั่วคราว สิ่งที่เห็นนั้นมันอยู่ ณ ตรงนี้มานานแล้วนับแต่อดีต

ได้ยินว่าถ้ามาเที่ยววันเสาร์-อาทิตย์ ที่ตลาดจะมีมัคคุเทศก์น้อย (เด็กนักเรียน) ทำหน้าที่ให้ข้อมูล และพานักท่องเที่ยวเดินชมตลาดด้วย เป็นความกลมกลืนระหว่างการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและคุณค่าชุมชนเก่าที่ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวสมัยใหม่ เด็กชาวบ้านได้ค่าขนมจากการทำงานพิเศษในขณะเดียวกันก็ซึมทราบจิตสำนึกดีต่อชุมชนบ้านเกิดไปด้วย (เมื่อผู้มาเยือนให้ความชื่นชม เจ้าบ้านย่อมภาคภูมิใจเป็นธรรมดา) คิดและทำอย่างนี้ได้ก็น่าจะอยู่ด้วยกันต่อไปได้แบบยั่งยืน ไม่ต้องบีบให้คนท้องที่ออกจากชุมชน เหมือนกับงานอนุรักษ์ย่านเก่าบางแห่งในกรุงเทพ


แต่บางอย่างไม่เหมือนเดิม ถ้ามีโอกาสไปเยี่ยมสามชุกในวันธรรมดาที่นักท่องเที่ยวน้อย มีโอกาสพูดคุยกับคนในตลาดถึงเรื่องราวต่างๆที่เกินไปกว่า “อันนี้มีกี่สีกี่แบบ ราคาเท่าไหร่” คุณจะรู้ได้ว่าตลาดอนุรักษ์อายุ 100 ปี ก็ไม่ใช่จะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลย ถูกที่ว่าสถาปัตยกรรมเก่ายังคงอยู่ แต่วิถีชีวิต (ลึกๆ) ของคนเรานั้น ยากที่จะคงอยู่อย่างเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปในตลาดสามชุกคือสิ่งที่นักท่องเที่ยวไม่มีวันมองเห็น

“จ๋อม” คนสุพรรณ เล่าให้ฟังว่า ตลาดสามชุกเปลี่ยนไปมากหลังจากถูกโปรโมทเป็นโครงการตัวอย่าง โดยเฉพาะช่วงวันเสาร์อาทิตย์ มีคนจากนอกตลาดเข้ามาขายของ ข้างทางกันเต็มไปหมด ไม่เหมือนตลาดเก่าอื่นๆในสุพรรณ ที่ทุกวันนี้เงียบวังเวง มีแต่คนแก่กับแมว (มักถูกใช้เป็นโลเคชั่นถ่ายหนัง/ละครย้อนยุค) ส่วนที่สามชุกมีนักท่องเที่ยวมากจนอึดอัด แย่งกันกินแย่งกันซื้อ สูญเสียบรรยากาศเดิมๆไปพอควร คนสุพรรณเองจะรู้

ร้านนาฬิกาในซอย ๑ ชื่อว่า “บุญช่วยหัตถกิจ” ขายนาฬิกาสไตล์โบราณ มีคุณป้าสายบัวนั่งเป็นเจ้าของร้าน แกได้รับมรดกร้านนี้จากบิดาของสามี คุณป้าเล่าถึงความหลังในตลาดว่า เมื่อก่อนบ้านแถบนี้เป็นดงต้นกำปัด ไม่มีถนนที่ตัดตรงเข้ามา บ้านขุนจำนงฯเคยเป็นร้านขายฝิ่น และมีร้านเถ้าแก่เบี้ยวที่เปิดเป็นบ่อน (เรานึกภาพตามแล้วก็คิดอิจฉาไลฟ์สไตล์คนรุ่นปู่ ว่างก็สูบฝิ่นเข้าบ่อนไปเพลินๆ) สมัยก่อนนั้นคนที่รวยจริง คือพวกชาวบ้านชาวนา มีทองคำเก็บกันไว้เป็นกำปั่นๆ (ฟังดูเป็นเรื่องโกหกของคนสมัยนี้ใช่มั้ย) “เตี่ย” (บิดาของสามี - ป้าแกเรียกอย่างนั้น) ไปซื้อไม้เก่าจากท่าช้างมาสร้างเป็นห้องแถวได้ ๘ ห้อง เปิดเป็นร้านขายยา ร้านขายนาฬิกา ร้านขายเครื่องบวช ฯลฯ ตั้งใจสร้างไว้ให้ลูกๆสืบทอดปัจจุบันนี้สามีของป้าสายบัวเสียชีวิตไปแล้ว คุณป้ารักษากิจการร้านนาฬิกานี้ไว้เพียงลำพัง (ป้ามีลูก 8 คน แต่ย้ายไปทำงานมีครอบครัวอยู่กรุงเทพกันหมด) รายได้ของคุณป้านั้นไม่มากเหมือนอดีต แต่อยู่ได้เพราะมีลูกๆที่ส่งเงินกลับมาบ้านกันทุกคน ที่ยังเปิดร้านอยู่ทุกวันนี้เพราะด้วยเหตุผลเดียวคือ …กลัวเหงา

ไม่ไกลจากร้านนาฬิกา มีร้านขายยา “สามชุกโอสถ” อีกร้านที่เป็นมรดกตกทอดของ”เตี่ย” ร้านนี้ขายพวกยาบด สมุนไพรไทย สมุนไพรจีน ป้าสายบัวบอกว่า เตี่ยแกนั้นมีความรู้ทั้งด้านยาไทยและยาจีน ซึ่งยาโบราณพวกนี้ก็ได้มาจากพวกชาวบ้านนี่แหละ เมื่อก่อนนั้นสมุนไพรต่างๆหาง่ายมาก จะเอาอะไรก็มีหมด ชาวบ้านเข้าไปเก็บมาจากป่าแล้วมาขายให้เตี่ย แต่ถ้าเป็นยาจีน เตี่ยจะไปหาซื้อจากแถวสำเพ็ง ที่นั่นเป็นแหล่งสมุนไพรจีน ร้านสามชุกโอสถนี้ สมัยก่อนมีตู้ยาประดับประดาสวยงามมาก …แต่ตอนนี้ลูกหลานขายทิ้งไปหมดแล้ว


อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคณะกรรมการของตลาดสามชุกทำโครงการได้ดี มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ และคงเพราะเม็ดเงินมันสะพัดอย่างนี้นี่เอง เราจึงได้เห็นป้ายผ้ารณรงค์ต่อต้าน “ห้างฝรั่งติดแอร์” ที่เตรียมบุกเข้ายึดพื้นที่ในตลาดสุดคึกคักนี้ (ทั้งๆที่ขับรถออกจากตลาดไม่เท่าไหร่ ก็จะเจออีกสาขาหนึ่งแล้ว) เป็นภาพที่เห็นแล้วสะเทือนใจไม่น้อย

อันตรายจากทุนนิยม มันเป็นดาบสองคมจริงๆ จะเลี่ยงก็ไม่ได้ แต่จะให้รับทั้งหมดก็ลำบากใจ ลูกหลานของคนสามชุกในอดีต (ยุคที่โตมาพร้อมแนวคิดทุนนิยม) ก็เปิดท้ายทิ้งบ้านเข้าไปทำงานในกรุงกันหมด แม้จะส่งเงินกลับมาให้พ่อแม่จริง แต่ความเจริญของบ้านเกิดมันก็ชะงักไปเห็นๆ พอตอนนี้มีคนคิดดีพยายามทำให้ตลาดเก่าได้กลับมาหายใจอีกครั้ง พวกนายทุนยักษ์ก็มาเร็วเหลือใจ ได้กลิ่นเงินเข้าหน่อยเป็นต้องขอร่วมโกยด้วยทันที ถ้าห้างติดแอร์ดังกล่าวเข้าเหยียบสามชุกได้จริง ความงามของตลาดเก่า 100 ปีนี้ก็จะจางลงไปทันตา พร้อมกันกับที่พ่อค้าแม่ค้าเจ้าถิ่น (รายย่อยๆ) ที่อาจต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน หรือไม่ก็ไปสมัครเป็นพนักงานขายในห้างเขาเถอะ!


หน้าร้านเท่านั้นที่เพิ่มสินค้าเอาใจนักท่องเที่ยวขึ้นมา เช่น อาหาร ขนม และเครื่องดื่มที่ต่อท้ายว่า “สูตรโบราณ100 ปี” (ประมาณนั้น) ขนมในวัยเด็กที่ไม่เคยเปลี่ยนหีบห่อ (และห้ามเปลี่ยน มิฉะนั้นจะไม่ “โบราณ”) รวมถึงของเล่นสังกะสี ของเล่นไม้แบบเก่าๆ ตุ๊กตากระดาษ เกมส์น้ำเต้าปูปลา เกมส์บันไดงู (ถ้าใครไม่รู้จัก เห็นทีจะไม่อินกับการ-เที่ยวตลาดแบบนี้แน่) น่าเสียดายว่า หลายร้านขายสินค้าซ้ำๆกันเกินไป ทำให้ไม่มีเอกลักษณ์ (และแน่นอนว่าสินค้าลักษณะนี้ก็มีขายที่ตลาดเก่าอื่นๆด้วยเหมือนกัน)

ขอบคุณข้อมูลจาก www.tcdcconnect.com huahinhub Thanks