1.08.2553

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๓๕ (rพุทธธรรม พุทธศิลป์ เพื่อแผ่นดินไทย)


งานเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “พุทธธรรม พุทธศิลป์ เพื่อแผ่นดินไทย” ซึ่งจัดโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ได้รวมเอาพระนักคิด และศิลปินชั้นนำและศิลปินแห่งชาติ รวม 6 ท่าน ได้แก่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ศ.เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ, ดร.ถวัลย์ ดัชนี, อ.จักร์พันธุ์ โปษยกฤต, อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และ อ.วัลลภิศร์ สดประเสริฐ มาร่วมเสวนา ศ.เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติปี 2541 สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)
เggg
ได้ให้ความหมายของศิลปะกับศีลธรรม ว่า ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้นประดิษฐ์ขึ้น ในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และควรจะทำให้จิตใจคนที่เสพศิลปะนั้นสูงขึ้น นอกจากนี้ศิลปินแห่งชาติปี 2541 ยังเชื่อว่าศิลปะกับศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ามีศิลปะหลายชิ้นที่ศิลปินสร้างขึ้น ไม่ได้ช่วยยกระดับจิตใจของผู้ชมให้สูงขึ้น
hhhh
“อาจจะเป็นเพราะสภาวะความเป็นอยู่ของบ้านเมืองเรามันเป็นอย่างนี้หรือเปล่า จึงทำให้จิตใจของเราไม่พยายามคิดและสื่อออกมาในเรื่องที่มันสูงส่งดีงาม ไม่ใช่ว่าศิลปินทุกท่านนะครับ แต่บางครั้งที่ผมไปชมงานศิลปะ งานศิลปะมันทำให้ผมรู้สึกว่าโลกนี้มันไม่น่าอยู่เลย ทำไมศิลปินไม่สร้างสรรค์อะไรที่ทำให้ผู้ชมดูแล้วรู้สึกอยากจะมีชีวิตอยู่ หรือสร้างสรรค์ความดีความงามให้มันเกิดขึ้น ไม่ใช่ดูแล้วท้อใจ อยากฆ่าตัวตาย”
ggg
ด้าน ดร.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2544 สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ให้ความหมายของศิลปะว่า คือการทำงานที่เกิดจากความรัก มุ่งมั่น ศรัทธา ประสบการณ์ หลอมรวมออกมาเป็นพลังขับเคลื่อนที่เป็นรูปลิ่มของมนุษย์ในทางสุนทรียภาพ “ถ้าเกิดให้ความจำกัดความ ผมคิดว่างานศิลปะไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรมและนาฎกรรม ต้องมีองค์คุณง่ายๆสัก 6 อย่าง
ggg
1. งานศิลปะต้องมีความคิดคำนึง
2. ต้องมีการแสดงออกของรูปอารมณ์ของความสะเทือนใจ นั้นๆ
3. มีท่วงท่าของจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ และร้อนเร่าด้วยเพลิงปรารถนาหรือความ ก่ำไหม้ของอารมณ์ ซึ่งจะโศกเศร้าหรือปีติยินดีหรือกำหนัดก็ตามที จะต้องหลอมรวมอยู่ในนั้น
4. จะต้องมีปัจเจกลักษณะส่วนตัวของบุคคลผู้ซึ่งสร้างทำ
5. มีความประสาน กลมกลืน
6. เป็นสุดยอดของเทคนิค
ถ้ายังไม่ถึงองค์คุณทั้ง 6 อย่างแล้ว ไม่อาจเรียกว่า เป็นศิลปะ จึงเป็นได้แค่งานตกแต่งประดับประดา”
gggg
ส่วนพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของการขาดความเข้าใจในศิลปะของพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ มีผลทำให้งานพุทธศิลป์ในรั้ววัดขาดความงดงาม ท่าน ว.วชิรเมธี เห็นว่าสิ่งสำคัญคือต้องพัฒนาการศึกษาให้กับพระสงฆ์ “ถ้าเรามีพระสงฆ์ที่ดีที่สุด ความรู้ทางโลกดี ความรู้ทางธรรมดี ความรู้ทางจิตใจดี พุทธศิลป์ที่กษัตริย์ทั้งหลายสร้างไว้ ที่ศิลปินสร้างไว้ จะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด แต่ถ้าพระไม่มีความรู้นะ ก็จะเป็นเช่นที่อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ เคยเล่าให้อาตมาฟัง วันหนึ่งอาจารย์อังคารไปเขียนรูปที่พระนครศรีอยุธยา มีอุโบสถหลังหนึ่งหลังเล็กๆอายุ กว่า 400 ปี พอจะไปนอน จะกลางมุ้ง พระลูกวัดเอาค้อนไปตอกตะปูที่ผนังอุโบสถ อาจารย์ อังคารช็อก ขนของออกจากโบสถ์ไปเลย น้ำตาไหล ผนังโบสถ์จะพังต่อหน้าต่อตา นี่คือพระไม่มีความรู้ ถ้าท่านมีความรู้ท่านจะทำไหม ท่านไม่ทำ
hhh
เพราะฉะนั้น พุทธศิลป์ เป็นเรื่องในพุทธธรรม หมายความว่าศิลปินสร้างพุทธศิลป์เพราะการศึกษาในพุทธธรรม พุทธธรรมจะปรากฏก็เพราะอาศัยศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์ แล้วใครจะรักษาพุทธศิลป์ไว้ ก็ต้องเป็นพระที่มีการศึกษาอย่างดีที่สุดถึงจะรักษาไว้ได้ เพราะฉะนั้นพุทธธรรมและพุทธศิลป์เชื่อมโยงโดยพระสงฆ์ที่เป็นผู้รู้ธรรม” เพื่อให้ประเทศไทยของเราซึ่งเป็นเมืองพุทธ มีงานพุทธศิลป์ที่งดงามเหลือไว้เป็นมรดกของชาติ และเป็นที่น่าชื่นชมในสายตาชาวโลก
gggg
อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้สร้างวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย ให้เป็นศิลปะประจำรัชกาลที่ 9 อย่างแท้จริง ได้แนะว่า “ผมพูดเสมอว่าให้เอาพระเอาเจ้าอาวาสมาทั้งประเทศ มาอบรม อธิบายให้ท่านฟังว่า ศิลปะของชาติมันมีความงามอย่างไร ยุคสมัยไหนมันมีความงามอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร เวลาสร้างอะไรควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพ เราจะต้องอธิบายสุนทรียภาพให้พระท่านเข้าใจ เวลาที่ท่านสร้างอะไรจะได้ไม่สร้างมั่วๆ ดูแล้วไม่มีค่า เดี๋ยวนี้วัดสวยๆหลายวัด กลายเป็นสลัมกลายเป็นที่อยู่ของขอทาน คนขี้เหล้า เมายา ติดยาเสพติด นอนอยู่เต็มไปหมด ขี้หมา ขี้แมว และขยะ ก็เยอะ เวลาฝรั่งเข้าไปดู ทนดูไม่ได้ โบสถ์เก่าๆสวยๆก็ไม่ได้รับการบูรณะ กรมศิลปากรก็ไม่มีเงิน รัฐบาลก็ไม่เคยเอาเงินมาสนับสนุน ยกเว้นที่เป็นวัดหลวงจริงๆ ส่วนวัดที่สวยงามรองๆลงไป มีเยอะแยะที่ถูกทำลาย จนเสียหายยับเยิน”
ggg
ปิดท้ายการเสวนาด้วย อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต และ อ.วัลลภิศร์ สดประเสริฐ สองกำลังสำคัญในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดเขาสุกิม, วัดตรีทศเทพ ในนามมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต อ.จักรพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ ปี 2543 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ได้บอกเล่าถึงความ ศักดิ์สิทธิ์ของการอธิษฐานขอ เพื่อให้สิ่งดีๆที่ตั้งใจทำ เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ผ่านพ้นไปจากอุปสรรคทั้งปวง “มันมีเรื่องของสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น มันเป็นความสะดวก สิ่งที่ไม่คิดว่าจะได้ก็ได้ โดยที่ผมถือว่าเทวดา หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรต่างๆช่วยให้เราได้ในสิ่งที่ไม่คิดว่าจะได้”
gggg
ขณะที่ อ.วัลลภิศร์ เสริมว่า “เวลาเราอธิษฐาน เราขอในสิ่งที่เราอับจน หรือแก้ปัญหาไม่ตก เป็นเรื่องของศิลปวัฒนธรรมที่จะทิ้งไว้เป็นมรดกของชาติของประเทศ เราขอพึ่งคุณพระรัตนตรัยเป็นอันดับแรก แล้วเทพยดาทั้งหลายท่านก็มาช่วยปกปักรักษา ซึ่งถามว่าได้ผลไหม ถ้าอยู่ในข่ายเหล่านี้ได้ผลทุกครั้ง”
ggg
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 109 ธันวาคม 2552 โดยมิลิน
huahinhub thnaks
hhh

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น