![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhXE8-ZYGkw2p3AGiPaGfEyaCVSW70qOFDsteurDfz6cIY4BM4iqY2Gu7lksjH4yyNxYPgQnd5YCWthLRHo83Lgdg21wOjDCFLqsa95DipMX_vydwqoZfrQS-6xG-6adHHy-02e105AvnJP/s400/%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%881.jpg)
แนวคิด ดับข้อพิพาท การใช้พื้นที่ในเมืองด้วยการออกแบบ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjp1vZg932weBV_dbnLrzi-mfjtMEaYdd-6A9IsOFvYEUIXQmxWThQYb47ZU0klUGiO_3VdHZUJjnP-imsiEFebIyvrNDBEjtv5xCzwG_2AsrvNNupwv9Q3vIoborxvjHvmKG7Y1uzYW3VZ/s320/%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%883.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgd0RHJdBs1Ygbe5r5Qrke7XwE5-cDonCMQAchgj4RFwT4U7CDCozS8LnyFTCf1NsVBIl1K_2xHCfUSyyUQt61TIxPuCVriyHZgPJFFkVPNCSzozHt6w9Ww2EovoOXtuVraXrmmD_UW58yR/s320/%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%882.jpg)
ในประเทศที่มีพื้นที่ไม่มาก
เช่น ประเทศในแถบยุโรป การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นเรื่องจำเป็น ดังนั้น การออกแบบอาคารจึงต้องผ่านกระบวนการคิด และวางแผนเป็นอย่างดียกตัวอย่างเช่น ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีพื้นที่เป็นเกาะแก่งล้อมรอบด้วยทะเลบอลติกและทะเลเหนือ การจัดสรรทรัพยากรพื้นที่ทั้งทางน้ำและทางบกอย่างเหมาะสมเป็นเรื่องที่ท้าทายนักออกแบบท้องถิ่นเสมอมา
ล่าสุดมีการออกแบบให้อู่จอดเรือและศูนย์เยาวชนใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างผสมกลมกลืน
โดยฝีมือของ 2 สถาปนิกนาม Bjarke Ingels จาก BIG (http://www.big.dk/) และ Julien de Smedt จาก JDS (http://www.jdsarchitects.com/) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยร่วมงานกันภายใต้ชื่อ plot (แต่ปิดตัวลงเมื่อปี ค.ศ. 2006 ก่อนจะแยกเป็น BIG และ JDS) ทั้งสองได้ร่วมกันออกแบบศูนย์เยาวชนริมฝั่งน้ำชื่อ ‘Maritime Youth House’ ด้วยพื้นที่ใช้สอยขนาด 2,000 ตร.ม. ณ กรุงโคเปนเฮเกน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjp1vZg932weBV_dbnLrzi-mfjtMEaYdd-6A9IsOFvYEUIXQmxWThQYb47ZU0klUGiO_3VdHZUJjnP-imsiEFebIyvrNDBEjtv5xCzwG_2AsrvNNupwv9Q3vIoborxvjHvmKG7Y1uzYW3VZ/s320/%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%883.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgd0RHJdBs1Ygbe5r5Qrke7XwE5-cDonCMQAchgj4RFwT4U7CDCozS8LnyFTCf1NsVBIl1K_2xHCfUSyyUQt61TIxPuCVriyHZgPJFFkVPNCSzozHt6w9Ww2EovoOXtuVraXrmmD_UW58yR/s320/%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%882.jpg)
แต่เดิม
ศูนย์เยาวชนและสโมสรแล่นเรือมีปัญหาแก่งแย่งการใช้พื้นที่ดังกล่าวมาโดยตลอด จนกระทั่งการออกแบบสถาปัตยกรรมอันชาญฉลาดนี้สามารถเข้าแก้ข้อพิพาทให้สงบลงได้ ตัวอาคารของศูนย์เยาวชน ‘Maritime Youth House’ เป็นอาคารไม้ที่ถูกออกแบบให้มีประโยชน์ใช้สอยแบบยกกำลังสอง คือ เป็นอู่จอดเรือของสโมสรแล่นเรือ และเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลางแจ้งของศูนย์เยาวชน
สถาปนิกออกแบบให้ตัวอาคารมีหลังคาสูงลดหลั่นกัน เพื่อให้สามารถจอดเรือได้ ขณะเดียวกัน ก็ออกแบบให้หลังคาที่ครอบคลุมอาคารนั้นเป็นดาดฟ้าให้เด็กๆ ขึ้นไปเล่นได้ด้วย โดยเลือกใช้วัสดุที่มีพื้นผิวเอื้อต่อการทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว อาคาร Maritime Youth House ยังมีห้องเอนกประสงค์สำหรับการเฝ้าสังเกตการณ์ สามารถมองเห็นทั้งกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในบริเวณ และภายนอกชายฝั่งได้
อาจกล่าวได้ว่า การออกแบบครั้งนี้ช่วยแก้ไขปัญหาของคนทั้งสองกลุ่มได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะต่อกลุ่มเยาวชน (ในเมืองใหญ่) ที่มักจะตกเป็นผู้เสียผลประโยชน์ ถูกมนุษย์ผู้ใหญ่เบียดบังเอาพื้นที่ในการทำกิจกรรมไปใช้สร้างผลกำไรเชิงพาณิชย์(ส่วนตัว) กันอยู่บ่อยๆ
ศูนย์เยาวชนริมฝั่งในเดนมาร์กนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบเพื่อส่วนรวม (public design) ทำให้คนจำนวนมากขึ้นสามารถใช้ประโยชน์ “ร่วมกัน” จากทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้ แน่นอนว่าแนวคิดนี้จะช่วยลดการรื้อทิ้ง - สร้างใหม่ ช่วยประหยัดงบประมาณ ประหยัดทรัพยากรได้ในระยะยาว
นี่คือหนึ่งในตัวอย่างอันดี ของการพัฒนาเมือง โดยหลีกเลี่ยงปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณภาพชีวิตของประชากรในเมือง ที่ huahinhub ต้องขอชื่นชม และหยิบยกมาไว้เป็นข้อคิด กับชาวหัวหิน โดยทั่วกัน
เรื่องภาพและข้อมูลเพิ่มเติม
huahinhub Thanks
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น