4.23.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๓ (ฟาร์มหมู-คาร์บอนเครดิต)







ไอเดียเด็ดวันนี้ huhinhub เก็บเรื่องราว การปรับเปลี่ยนของเสียจาก 'ฟาร์มเกษตร'สู่ (คาร์บอนเครดิต-แนวคิดการสร้างก๊าซชีวภาพ) มาฝากชาวหัวหินกัน...

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับแผนทำโครงการกลไกสะอาด (ซีดีเอ็ม) รวมกลุ่มฟาร์มหมูขนาดเล็ก นำร่องเปลี่ยนมูลสัตว์เป็นคาร์บอนเครดิตพร้อมประกาศขาย

ของเสียจากอุจจาระหมูคือตัวการของกลิ่นไม่พึงประสงค์ ขณะเดียวกันมันสามารถแปลงกลับมาเป็นก๊าซชีวภาพสำหรับใช้แทนก๊าซหุงต้มใช้ในฟาร์มได้เหมือนกัน แต่ยังมีโชคอีกชั้นที่เจ้าของ
ฟาร์มหมูสามารถได้รับจากการขึ้นทะเบียนโครงการกลไกสะอาด หรือซีดีเอ็ม

นายปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

พลังงานทดแทน สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าใจดีว่า การนำฟาร์มหมูเข้าโครงการซีดีเอ็มไม่ใช่เรื่องง่ายนัก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงริเริ่มโครงการซีดีเอ็มขนาดเล็กสำหรับฟาร์มสุกรในประเทศไทย ผลักดันให้ฟาร์มสุกรขนาดเล็กสามารถขึ้นทะเบียนโครงการกลไกสะอาด สำหรับขอใบรับรองการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้
hhh
"โครงการซีดีเอ็มขนาดเล็กฯ เป็นกลยุทธ์ใหม่ เราใช้แผนที่เรียกว่า โปรแกรมเมติกซีดีเอ็ม โดยนำ
ฟาร์มหมูขนาดกลางที่มีหมูตั้งแต่ 2,000 ตัวขึ้นไป จากฉะเชิงเทรา อยุธยาและนครราชสีมา มารวมกลุ่มกันแทนการทำงานแบบตัวใครตัวมัน ” นายปุ่น หัวหน้าโครงการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว

ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการต้องผ่านหลักเกณฑ์พิจารณา อาทิเช่น เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเปิดที่ลึกมากกว่า 1 เมตร ไม่เคยนำก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์ หรือเผาทิ้ง ไม่เคยก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ ที่สำคัญ พื้นที่ตั้งต้องไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ หวงห้ามหรือเขตป่าสงวน และเจ้า ของฟาร์มต้องมีกรรมสิทธิ์ มีพื้นที่พอสำหรับก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ โดยไม่มีถูกไล่ที่หรือเวนคืนที่ดินภายหลัง

เมื่อผ่านหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ฟาร์มหมูก็จะต้องลงเงิน 2 ส่วน ได้แก่ ก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ และลงทุนติดตั้งระบบตรวจติดตามการลดการปลด ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น มิเตอร์วัดปริมาณก๊าซและอุปกรณ์เผาก๊าซ ในส่วนของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน จะทำหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนของ การจัดเตรียมเอกสารการขอรับรองโครงการ และการขอขึ้นทะเบียนโครงการภายในประเทศ ส่วนธนาคารโลกหรือเวิลด์แบงก์ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการจัดเตรียมเอกสาร และการดำเนินการที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ
hhh
“ปัจจุบัน
ฟาร์มหมูนำร่องทั้ง 3 แห่งผ่านการตรวจสอบและจะเริ่มก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพในเดือนเม.ย. และจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน มิ.ย. จากนั้นจะใช้เวลา 1 ปีในการเก็บข้อมูล และเมื่อผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบจากคณะกรรมการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะได้รับเงินค่าขายคาร์บอนเครดิต โดยทางธนาคารโลกประกันราคาขายที่ 8 ยูโรหรือ 400 บาทต่อ 1 ตันคาร์บอนเครดิต จนถึงปี 2557” นายปุ่นอธิบาย
หมูขนาด 60 กิโลกรัมจะสามารถสร้าง 0.3 ตัน คาร์บอนเครดิต ซึ่งก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ ทีมวิจัยจะเข้าไปศึกษาข้อมูลในฟาร์ม พร้อมทั้ง วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับเจ้าของฟาร์มก่อนที่จะดำเนินการ

นอกจากนี้ยังมี ฟาร์มหมูอีก 5 แห่งสนใจเข้าร่วมโครงการและอยู่ระหว่างรอตรวจสอบคุณสมบัติดังกล่าว จากนั้นถึงแยกเป็นกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มย่อย ต้องมีความสามารถในการขายคาร์บอนเครดิตได้ไม่เกิน 6 หมื่นตันคาร์บอนเครดิตต่อปี
hhh
“เจ้าของฟาร์มลงทุนไม่เกิน 3 หมื่นสำหรับระบบก๊าซชีวภาพ และอีก 5 แสนบาทสำหรับระบบตรวจติดตามการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยที่มีผู้รับซื้ออย่างแน่นอน ขณะที่หากฟาร์มดำเนินการเองต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท สำหรับรายย่อยที่ผลิต
hh
คาร์บอนเครดิตได้ในปริมาณน้อย ก็อาจจะประสบปัญหาขาดตลาดรับซื้อ และทำให้เราเสียโอกาสที่จะขายได้” หัวหน้าโครงการกล่าว
hhh
ก็ต้องฝากไว้เป็นไอเดียแก่ชาวหัวหิน และสถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายในพื้นที่หัวหินบ้านเรา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อการทำมาหากินแก่ชาวหัวหิน ต่อไป

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
huahinhub Thanks

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น