3.31.2552

| หัวหินประดามี ๘ (เฟอร์นิเจอนร์ไม้ไผ่ระดับโลก ก็มี ณ หัวหิน)



h
h
h
h
h
h
h
h
hh
There’s Something About Bamboo

“ในศตวรรษที่ 21 ไม้ไผ่จะกลายมาเป็นวัสดุสำหรับผู้มั่งมีทั้งหลาย”เจอราร์ด โดเพลย์ เจ้าของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่แถวหน้า กล่าวถึงแนวโน้มที่ดูจะกลายเป็นจริงไปแล้ว สำหรับความนิยมที่เพิ่มขึ้นในการนำไม้ไผ่มาทำเฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงการตกแต่งอย่างร่วมสมัย วันนี้ผู้คนได้เปลี่ยนมุมมองต่อภาพลักษณ์ของไม้ไผ่เสียใหม่ จากภาพที่คุ้นเคยเพียงกระต๊อบขัดแตะกับแคร่นั่งเล่นแบบพื้นบ้าน ในปัจจุบันไม้ไผ่ได้กลายเป็นองค์ประกอบที่แสนเท่อย่างหนึ่งสำหรับการตกแต่งบ้าน หรือวิลล่าหรูในเมืองตากอากาศชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว นับจากเริ่มต้นจับไม้ไผ่ลำแรกเพื่อสร้างเก้าอี้รับแขกใช้เอง จนวันนี้เฟอร์นิเจอร์ของเจอราร์ดเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ผลงานของเขาอยู่ในรายการสั่งซื้อสำหรับการตกแต่งบ้านของทั้งนักออกแบบตกแต่งภายในไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเจอราร์ด คอลเลกชั่นคือผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่และของตกแต่งบ้านที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์และส่งขายให้กับทั้งลูกค้ารายย่อยและแบรนด์ดังระดับโลก

“ถามผมดีกว่าว่าวันนี้ไม่ได้ส่งขายให้กับประเทศใดบ้าง” เจอราร์ด โดเพลย์ หนุ่มใหญ่วัย 67 ลูกครึ่งลาว – ฝรั่งเศส แห่งเจอราร์ด คอลเลคชั่น กล่าวพร้อมกับรอยยิ้มอย่างอารมณ์ดี

เขาเริ่มต้นจากการทำชุดรับแขกไม้ไผ่เพื่อใช้เองโดยมีคนสวนเป็นลูกมือ “วันหนึ่ง อาจารย์นคร (นคร พงศ์น้อย) จากไร่แม่ฟ้าหลวงมาเห็นที่บ้านแล้วชอบ เลยขอให้ผมทำให้สี่ชุด ผมมารู้จากคนขับรถส่งของทีหลังว่าเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นถูกนำไปถวายสมเด็จย่า ณ พระตำหนักดอยตุงที่เชียงราย” เจอราร์ดย้อนความหลังไปถึงจุดเริ่มต้นการเข้ามาสู่โลกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ของเขา
hhh
ใช้เวลาไม่นานหลังจากนั้น ชื่อเสียงของเจอราร์ด ฝรั่งช่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ผู้นี้ก็เป็นที่ถามหาของใครๆ เริ่มจากวงแคบๆ ในหมู่คนมีฐานะที่เข้าแถวเป็นลูกค้า รวมถึงการให้สัมภาษณ์ในหนังสือตกแต่งบ้านต่างๆ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
hhh
“จากที่คนไทยนิยมแต่เฟอร์นิเจอร์ไม้สักแผ่นหนาเท่านั้น แต่เมื่อคนในสังคมชั้นสูงหันมาใช้ไม้ไผ่ ไม้ไผ่ก็เปลี่ยนจากไม้คนจนกลายเป็นไม้ของคนรวยได้ หลายคนก็อยากใช้ตาม เหมือนในอเมริกาซึ่งคนมักมองคนรวยว่าขับรถอะไร ก็อยากใช้บ้าง”

เจอราร์ดยืนยันว่าเขาเป็นคนแรกที่ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ขึ้นในเชียงใหม่ จากความไม่รู้อะไรเลยจนกระทั่งได้ศึกษาค้นคว้า ลองผิดลองถูกจนชำนาญด้วยตนเอง โดยเปิดโชว์รูมขึ้นเป็นร้านแรกๆ บนถนนนิมมานเหมินทร์ ตามคำชวนของวิชิต ไชยวงศ์ แห่งกองดี แกลเลอรี่ ผู้ที่ชมชอบเฟอร์นิเจอร์ของเขา และเห็นว่าเจอราร์ดสามารถสร้างความสำเร็จทางธุรกิจขึ้นได้ ซึ่งก็เป็นจริง

“หลังจากนั้นผมไปออกงานแสดงเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดที่อเมริกา ตอนนั้นคนอเมริกันคิดว่าไม้ไผ่คือคันเบ็ดที่ตกปลาลำเล็กๆ อย่างเดียว ไม่เคยเห็นไผ่ลำใหญ่ๆ อย่างของเรา ปรากฏว่าเที่ยวนั้นกลับขายดีในหมู่ลูกค้าสเปนและฮอลแลนด์มากกว่า”

หลังจากได้พิสูจน์คุณภาพจนเป็นที่มั่นใจในตลาดสากล เจอราร์ดเห็นถึงโอกาสความเป็นไปได้และเริ่มขยับเข้าไปหาตลาดใหญ่มากขึ้น “เราเรียนรู้ไป แก้ปัญหาไปเรื่อย ซ้ายไม่ได้ก็ต้องไปขวา สีดำขายไม่ดีต้องลองสีขาว ไม้แตกหรือมอดกิน เพราะเราไม่ได้อบหรือทรีตไม้ ทุกขั้นตอนเป็นประสบการณ์ของเรา ครั้งหนึ่งผมส่งไม้ไผ่ไปศึกษาที่แคนาดา ทั้งเรื่องความชื้นและระยะเวลาการอบที่เหมาะสม”

ในการทำเฟอร์นิเจอร์ของเขานั้น เจอราร์ดเล่าว่าเลือกใช้เฉพาะ “ไม้ไผ่ซางมูล” อันเป็นไม้ไผ่ที่มีคุณภาพ ขนาดและความหนาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะมีอยู่เฉพาะในแถบเชียงใหม่เท่านั้น

ทุกวันนี้เฟอร์นิเจอร์ของเจอราร์ด คอลเลกชั่น สามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลกจากร้อยละแปดสิบของกำลังการผลิตในโรงงานของเขาและหุ้นส่วนไทย ซึ่งมีคนงานมากกว่า 150 คน โดยที่ตลาดใหญ่ของเขายังได้แก่ตลาดต่างประเทศ นั่นคือญี่ปุ่น อเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส และหลายประเทศในยุโรป

”เมื่อก่อนผมไปหาลูกค้า เดี๋ยวนี้ลูกค้ามาหาเราเอง วันหนึ่งมีลูกค้ามาบอกว่า เห็นโต๊ะไม้ไผ่ในร้านบนถนนแห่งหนึ่งกลางกรุงปารีสที่แพงกว่าถึงสิบสองเท่าของที่นี่ ถามว่าใช่ของเราหรือเปล่า ผมบอกว่าใช่ ผมโชคดีที่ได้ลูกค้าดังมากหลายราย เป็นต้นว่า Armani ที่เป็นลูกค้าเราเจ็ดปีแล้วจนทุกวันนี้ เขาสั่งไปขายที่นิวยอร์ก โดยใช้แบรนด์ของเขาขายดีมาก”

เจอราร์ดให้ความเห็นว่า เฟอร์นิเจอร์ของไทยจัดว่ามีคุณภาพดี เมื่อเทียบกับงานของประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แม้ว่างานของเมืองไทยจะมีราคาสูงกว่าเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีลูกค้าบางรายลองไปสั่งที่อื่นแล้วก็กลับมาอีกเนื่องจากเห็นแล้วว่าคุณภาพนั้นต่างกัน

“ถ้าเราทำงานคุณภาพสูงเป็นเรื่องดี แต่ถ้าทำงานคุณภาพต่ำนั้นจะทำให้ไม้ไผ่เสียชื่อ โดยเฉพาะในต่างประเทศ เราต้องส่งถึงบ้านลูกค้า แล้วคุณภาพได้ 100 % ถ้าอยากกินยาวต้องรักษาคุณภาพสูงสุดเสมอ”
ในปัจจุบันมีผู้หันมาทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นเรื่องดีเพราะการใช้ไม้ไผ่ช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก ด้วยไม้ไผ่เป็นพืชที่เติบโตเร็วพร้อมใช้งานในเวลาสองปี ผิดกับไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลาหลายสิบปี โดยเจอราร์ดมีแหล่งปลูกไม่ไผ่ของเขาเอง รวมทั้งมีชาวบ้านใกล้เคียงหันมาปลูกไผ่เพื่อส่งให้โรงงานของเขาแทนการปลูกผลไม้ เนื่องจากไม้ไผ่ดูแลง่ายและแทบไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแล

ในด้านของธุรกิจ แม้ทุกวันนี้จะมีการแข่งขันมากขึ้น รวมไปถึงการลอกเลียนแบบในตลาด แต่เจอราร์ดเห็นว่านั่นคือเครื่องบ่งชี้ถึงความเป็นผู้นำของเขาอยู่ “หากวันไหนไม่มีใครก็อบปี้ผม แสดงว่าแบบผมไม่สวย ยิ่งมีผู้ผลิต มีการแข่งขันมากยิ่งดี เมื่อก่อนผมมีคนเดียวไม่มีการแข่งขันนั้นขายยากกว่า ตอนนี้มีการเปรียบเทียบเรื่องราคาและคุณภาพ รวมทั้งความสามารถในการผลิตของโรงงานให้ลูกค้าเลือก”

ทุกวันนี้เจอราร์ดยังคงสนุกกับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของเขา โดยเน้นที่ความเป็นเอกซ์คลูซีฟมากกว่า ซึ่งเจอราร์ดกล่าวว่า แนวทางการออกแบบจะเป็นสไตล์คลาสสิคถึงร้อยละ 65 ซึ่งจะอยู่ได้นานกว่างานแบบโมเดิร์น ทั้งนี้บางครั้งลูกค้าของเขาก็ต้องการมีส่วนร่วมในการออกแบบด้วย เช่น การเพิ่มหรือลดขนาด จำนวนชั้นวางหรือประตู หรือหลายครั้งที่เจอราร์ดได้รับคำแนะนำที่มีค่าจากทีมนักออกแบบของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่เข้ามาเป็นลูกค้า

“Roche-bobois จากฝรั่งเศส เป็นกลุ่มดีไซน์เนอร์เฮ้าส์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปมาที่ร้าน และให้คำแนะนำว่าบางครั้งคนเบื่อสีธรรมชาติแล้ว ต่อไปต้องเป็นสีที่เข้ากับทะเลมากกว่าสำหรับห้องพักริมทะเล ผมก็ลองทำสีฟ้าและขาวบ้าง แล้วส่งให้เขาดู”

เจอราร์ดมีมุมมองที่แตกต่างในเรื่องการออกแบบว่า การออกแบบนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่ใครๆ คิดและเป็นเรื่องสนุก ที่ผ่านมาเขาใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองมาตลอด โดยอธิบายว่าทั่วไปนั้นแนวโน้มแฟชั่นของเฟอร์นิเจอร์จะเริ่มต้นที่อิตาลี เข้ามาสู่ฝรั่งเศส และจะมาถึงอเมริกาอีกราวๆ สามปี ก่อนที่จะแพร่ไปทั่วโลก
hhh
“ทุกคนคิดว่าดีไซน์คือเรื่องของการต้องคิดขึ้นมาเองทั้งหมด มันไม่ใช่ มันเกิดจากการที่เราเห็นมาก อ่านมาก ผมอ่านหนังสือแต่งบ้านของอิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกาและญี่ปุ่นนิดหน่อย เราก็รู้แล้วว่าแนวโน้มของโลกจะเป็นอย่างไร แล้วนำมาปรับเปลี่ยนนิดหน่อย ผมเรียกมันว่าดีไซน์
hhh
ไม่มีใครพูดได้หรอกว่าตนเองเริ่มต้นออกแบบจากศูนย์ ถ้าคุณอยู่ในคุก 20 ปีแล้วดีไซน์ขึ้นมาเลย มันไม่มีทางหรอก ต้องได้เห็นที่อื่นก่อนว่าเขาใช้กันอย่างไร หรือคนในแต่ละระดับ เช่นคนรวย คนชั้นกลาง และตลาดส่วนใหญ่นั้นเป็นอย่างไร”
hhh
“ที่สำคัญที่สุดนั้น คนออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ต้องรู้จักไม้ไผ่ ต้องยอมรับว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุที่แม้ว่าดูง่ายแต่ทำยาก ต้องมีเลือดไม้ไผ่เหมือนผม” เจอราร์ดในชุดม่อฮ่อมแบบชาวเหนือ ผู้เห็นถึงความงามและโอกาสมากมายในกอไผ่ซางมูลกล่าว

เร็วๆ นี้ เจอราร์ดกำลังจะบุกกรุงเทพฯ ด้วยการเปิดโชว์รูมในย่านหลังสวน เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าเชียงใหม่ โดยเฉพาะสำหรับคอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นหลายหมื่นยูนิต เพื่อตอบสนองคนในเมืองและชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศกว่าสามหมื่นคนในแต่ละปี
hhh
ในขณะที่ร้านตัวแทนของเขาที่ หัวหิน ภูเก็ต รวมทั้งสาขาในแคนาดาที่มีลูกชายเป็นผู้ดูแลนั้นได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากลูกค้าที่เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ในการตกแต่ง

hhh
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://www.tcdcconnect.com
huahinhub Thanks

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น