สวัสดี ชาวหัวหินทีรัก อีกแล้วที่ huahinhub หยิบเรื่องราว ของความคิดเด็ดๆ และไอเดียดีๆ มาฝากพี่น้องชาวหัวหินกัน ไม่พูดพร่ำ ใดใด ไปติดตามกันดีกว่าเล้ย !!
ภายหลัง รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนด 'วันเบนโตะ' หนุนเยาวชนทำข้าวกล่องกินเอง พบกระแสตอบรับดี เด็กมีสุขภาพ ได้ฝึกทำอาหาร และเรียนรู้โภชนาการที่ถูกต้อง
เออิจิ ฟุคัตสุ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนวากามัตสุฮาระ ในเมืองอุตสุโนมิยา ตื่นตั้งแต่ตี 5 ครึ่งเพื่อเข้าครัวทำอาหาร ท่ามกลางสภาวะอากาศหนาว และน้ำจากก๊อกน้ำก็เย็นจัด
แต่ที่ต้องตื่นแต่เช้า เพราะวันนี้เป็น "วันข้าวกล่อง" หรือ "วันเบนโตะ" ซึ่งนักเรียนในโรงเรียนเดียวกันกับฟุคัตสุ ทั้งหมด 684 คน ต้องตื่นแต่เช้าตรู่เช่นกัน เพื่อทำอาหารกล่องไว้เป็นมื้อกลางวันที่โรงเรียน โดยนักเรียนทุกคนจะได้คิดเมนูอาหารและเตรียมอาหารด้วยตัวเอง แทนที่จะนำข้าวกล่องที่พ่อแม่จัดเตรียมไว้ให้ไปโรงเรียน
"วันเบนโตะ" เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดคากาวา และได้แพร่กระจายไปยังโรงเรียนประถมศึกษาแห่งอื่นๆ อีกเกือบ 300 แห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ โดยโรงเรียนเหล่านี้รายงานผลว่า ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการทำอาหาร กินข้าวเหลือทิ้งน้อยลง อีกทั้งยังทำให้ภายในครอบครัวมีเรื่องใหม่ๆ พูดคุยกัน
สำหรับเบนโตะของฟุคัตสุนั้น มีทั้งไก่ทอดคาราเกะ ไข่ม้วน ผัดผักขม และข้าวโรยด้วยผงปรุงรส โดยมีซายูมิ ผู้เป็นแม่คอยให้ความช่วยเหลือเพียงเล็ก น้อย ขณะที่ลูกชายจะเป็นผู้คำนวณคุณค่าทางอาหารด้วยตัวเอง ออกแบบสีสันและจัดวางอาหารใส่กล่องว่าจะให้ออกมาหน้าตาอย่างไร
ทั้งนี้เทศบาลเมืองอุตสุโนมิยามีนโยบายที่จะให้โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาลที่มีทั้งหมด 68 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้นอีก 25 แห่งจัดให้มีวันเบนโตะในเดือนมีนาคม ซึ่งอุตสุโนมิยาถือเมืองแรกที่จัดให้มีโครงการแบบนี้
โดยภายใต้โครงการวันเบนโตะ เด็กๆ จะยังไม่ได้ถูกคาดหวังให้ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งทางโรงเรียนจะกำหนดเป้าหมายให้กับนักเรียนแต่ละชั้นเรียนที่แตกต่างกันออกไป เช่น เด็กอนุบาล ยังจะต้องขอให้พ่อแม่หรือคนในครอบครัวช่วยคิดเมนูอาหาร ซื้อวัตถุดิบและเครื่องปรุง เด็กที่โตขึ้นมาหน่อยจะช่วยกันตัดสินใจร่วมกับพ่อแม่ และเมื่อโตขึ้นมาอีกระดับหนึ่งจะคิดเมนูอาหารได้ด้วยตัวเอง จนถึงเด็กระดับมัธยมต้นจะสามารถคิดเมนูอาหารที่เหมาะกับความต้องการของพวกเขาได้
คาซุโอะ ทาเคชิตะ ผู้บริหารโรงเรียนวัย 59 ปี คือผู้ที่ริเริ่มวันเบนโตะขึ้นมา ตั้งแต่สมัยเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนประถมทากิโนมิยา ในเมืองอายากาวา จังหวัดคากาวา ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมต้นอายากามิ
ในตอนนั้นทาเคชิตะเป็นห่วงว่าเด็กและพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาอยู่ร่วมกัน หรือใช้เวลาร่วมกันน้อยมาก ก็เลยคิดว่าการทำเบนโตะร่วมกันนี่แหละที่จะเยียวยาปัญหานี้ได้
“ในเวลาที่ลูกกำลังทำอาหารนี่แหละที่จะดึงให้ทั้งพ่อแม่และลูกมาพูดคุยกัน อีกทั้งจะทำให้ลูกได้สำนึกในบุญคุณของพ่อแม่ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันพ่อกับแม่ก็จะได้คอยดูแลลูกๆ ที่กำลังเติบโตขึ้น" ทาเคชิตะกล่าวและบอกอีกว่า การทำเบนโตะเองยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และเพิ่มความมั่นใจในตัวเองได้อีกด้วย
hhh
hhh
hhh
อย่างไรก็ตาม แนวคิดเริ่มแรกของทาเคชิตะ นั่นคือจะให้เด็กๆ ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่การคิดเมนูอาหารไปจนถึงการทำความสะอาดเครื่องครัวหลังจัดข้าวกล่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยทางโรงเรียนจะร้องขอผู้ปกครองไม่ให้ช่วยเหลือ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้และเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
ทั้งนี้แนวคิดเรื่องวันเบนโตะ ได้รับความนิยมมากขึ้น ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โรงเรียนคุโรซากิในคิตา-คิวชู กำหนดให้มีขึ้นเดือนละหนึ่งครั้ง ซึ่งทางโรงเรียนจะไม่จัดเตรียมอาหารกลางวันไว้ แต่จะให้ทุกคนนำอาหารกล่องที่ผู้ปกครองจัดเตรียมไว้ให้มาแทน และจากการสำรวจความคิดเห็นหลังจากวันเบนโตะแล้ว พบว่านักเรียนเกือบ 90% ได้เรียนรู้และชื่นชมในตัวพ่อแม่ที่ช่วยเหลือและทำเพื่อพวกเขา
จากข้อมูลของทาเคชิตะ ผู้ริเริ่มวันข้าวกล่องพบว่าโรงเรียน 291 แห่งทั้งในกรุงโตเกียวและ 28 จังหวัดทั่วประเทศ กำหนดให้มีวันเบนโตะแล้ว ในจำนวนนี้จำนวนประมาณ 257 แห่งเป็นโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเขตฝั่งตะวันตกของประเทศ ขณะที่ในโตเกียวมีวันเบนโตะในมหาวิทยาลัยเพียง 3 แห่ง โรงเรียนประถม 1 แห่งและโรงเรียนเอกชนอีก 1 แห่งเท่านั้น
ด้าน โกชิ ซาโตะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยคิวชู ในฟูกุโอกะ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่มีวันเบนโตะ แสดงความเห็นไว้ว่า การจะเปลี่ยนแปลงประเทศญี่ปุ่นได้นั้น คงจะต้องเปลี่ยนโตเกียวให้ได้ก่อน ซึ่งซาโตะ ต้องการขยายแนวความคิดวันเบนโตะให้ทั่วเมืองหลวงแห่งนี้ จึงจัดเสวนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยมีผู้คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากเกิน 300 ที่นั่ง
และหนึ่งในวิทยากรที่เข้าร่วมพูดคุยมีเด็กอายุ 12 ปีรวมอยู่ด้วย ชื่อว่า รินโตะ ทาเคตสุ ผู้มีประสบการณ์ในวันเบนโตะครั้งแรกเมื่ออยู่ชั้น ป.4 ในเมืองฟูกุโอกะ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า "การได้ลงมือด้วยตัวเอง ทำให้ผมมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งผมก็เริ่มทำอาหารแบบธรรมดาๆ จนปัจจุบันแล่เนื้อปลาเป็นแล้ว ทำไข่ม้วนเองได้ด้วย"
hhh
และหนึ่งในวิทยากรที่เข้าร่วมพูดคุยมีเด็กอายุ 12 ปีรวมอยู่ด้วย ชื่อว่า รินโตะ ทาเคตสุ ผู้มีประสบการณ์ในวันเบนโตะครั้งแรกเมื่ออยู่ชั้น ป.4 ในเมืองฟูกุโอกะ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า "การได้ลงมือด้วยตัวเอง ทำให้ผมมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งผมก็เริ่มทำอาหารแบบธรรมดาๆ จนปัจจุบันแล่เนื้อปลาเป็นแล้ว ทำไข่ม้วนเองได้ด้วย"
hhh
ทั้งนี้ ความสนใจทางด้านอาหารและการควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะในเด็ก กำลังมีมากขึ้นพร้อมๆ กับความวิตกกังวลเกี่ยวกับความอ้วนและโรคที่จะเกิดขึ้นตามมา จากสถิติในปี พ.ศ. 2520 พบเด็กอายุ 12 ปีที่มีแนวโน้มเป็นเด็กอ้วนมีสัดส่วนอยู่ 6.7% ส่วนตัวเลขล่าสุดปี พ.ศ. 2548 สัดส่วนกลับเพิ่มขึ้นเป็น 10.4%
ขณะเดียวกันความวิตกกังวลในเรื่องอาหารไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนส่งผลให้ปี พ.ศ. 2548 รัฐบาลออกกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาด้านโภชนาการ เพื่อกระตุ้นให้ครอบครัว โรงเรียนและชุมชนได้รับความรู้เรื่องอาหารและวิธีการเลือกบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง เมื่อปีก่อนกระทรวงศึกษาฯ ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่โดยเน้นวิชาเกี่ยวกับอาหาร ซึ่งโรงเรียนต่างๆ จะใช้เรื่องอาหารกลางวันในโรงเรียนและวิชาเศรษฐศาสตร์ในครัวเรือน เพื่อสอนด้านโภชนาการและวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร
ว่าไปแล้ว วันเบนโตะ ก็คือ ส่วนหนึ่งที่จะร่วมขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ซึ่งซาโตะ จากมหาวิทยาลัยคิวชู บอกด้วยว่า การที่คนเราทำกับข้าวกินเองมากขึ้น ก็จะนำไปสู่ความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มอัตราความพอเพียงด้านอาหารของประเทศได้ด้วย
เห็นมั๊ยๆ พี่น้องชาวหัวหิน ที่ทราบอย่างนี้แล้ว อยากเห็นโครงการดีดีอย่างนี้เกิดขึ้น ที่เมืองไทยและหัวหินบ้านเราบ้างจัง อย่างไรก็ต้องฝากผู้ใหญ่ใจดี ของพี่น้องชาวหัวหิน ลงใจลงแรงเยาวชนเมืองหัวหิน เพื่ออนาคตดีดี ของเมืองหัวหินสืบไป จ้า !!
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ/ดิ อาซาฮี ชิมบุน
huahinhub Thanks
hhh
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น