3.01.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑ (Rabbidhood)


นานับประการ กับผลผลิตเพื่อสังคม ซึ่งเราท่านทั้งหลายได้อาศัย อยู่ และทำมาหากิน ในเมืองใหญ่ ที่นับวันจะทรุดโทรม เสื่อมสลาย ผุผัง ไปกับการบริโภคที่เชี่ยวกราก และไมอาจหยุดยั้ง โดยน้ำมือของมนุษย์ "ใจหาย" เป็นอีกหนึ่งในตัวอย่างของ ไอเดียสุกบรรเจิด ของสมาชิกในสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Rabbidood ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อ "สังคมเมือง" อันเป็นที่รัก ได้อย่างน่าสนใจ

ซึ่ง HUAHINHUB ขอชื่นชม และอาสานำมาเล่า ให้พวกเรา ชาวเมืองหัวหิน ได้ฉุกคิดถึงหลายต่อหลายสิ่งที่พวกเรา อาจ "กระทำ" การอันใดซึ่งอาจหมายถึงการ ทำร้าย ทำลาย เมืองที่น่าอยู่ของเรา โดยวันหนึ่ง อาจอจถึงขั้นที่ไม่สามารถจะเยียวยา กันต่อไป

แรกเริ่มเดิมที.. "เขาเดินทางมาเชียงใหม่ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจตามสไตล์คนกรุงเทพที่แสวงหาความสงบร่มเย็น หลีกหนีความวุ่นวายของผู้คน แต่ท้ายที่สุดก็หลงมนต์เสน่ห์เมืองเชียงใหม่"
จนกระทั่งขยายเวลาลากยาวเรื่อยมาจนตอนนี้ก็ล่วงเลยเป็นเวลา 2 ปีกว่า 7 เดือน....

ห้วงเวลาดังกล่าวไม่ใช่แค่เพียงความสนุกสนานเท่านั้น หากความกังวลและเป็นห่วงเมืองเชียงใหม่ก็เริ่มก่อตัวขึ้น "เราเกิดกรุงเทพ โตที่นั่น เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จนคิดว่ากรุงเทพเกินกำลังของเราที่จะขยับตัวทำอะไรเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของเมืองโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม แต่เชียงใหม่ยังไม่ขนาดนั้น เราคิดว่าอยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโตเหมือนเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ถ้าไม่รีบควบคุม ต่อไปก็จะกลายเป็นเหมือนเมืองหลวงประเทศอื่นๆ ที่ปล่อยให้โตแล้วค่อยมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทีหลัง"

วชิราอธิบายที่มาของการริเริ่มต่อตั้ง Rabbithood เราทำ(ลาย) ไม่ใช่ใครทำRabbithood ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 เป็นองค์กรอิสระขนาดเล็ก เพื่อดูแลโครงการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่เน้นเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยมีวชิราเป็นแกนนำขับเคลื่อน และหวังอยากสร้างชุมชนทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้แข็งแรง อันจะเป็นรากฐานของการมีชีวิตที่ดีในโลก โดย '
ใจหาย' หรือ 'Breathless'

คือ โปรเจครักสิ่งแวดล้อมผลงานชิ้นล่าสุด ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสถานฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย ในการแสดงผลงาน Conceptual Project ตลอด 3 เดือนทั่วเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.51 และจะจบลงในวันที่ 31 ม.ค.52โปรเจคนี้ยังมาจากการประสานงานกับภาคีคนฮักเชียงใหม่ เอ็นจีโอ ที่เฝ้าติดตามเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมผู้ช่วยสนับสนุนข้อมูล จนกระทั่งโปรเจคเริ่มเห็นรูปร่าง

Rabbithood ก็ตามล่าหาอาสาสมัคร ด้วยการส่งอีเมลที่มีในฐานข้อมูลประมาณ 3,000 คน
โดยมีผู้ติดต่อกลับมามากพอสมควร ก่อนจะคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเพียง 20 คน และคลอดผลงานชิ้นแรกจากทั้งหมด 7 ชิ้นในชื่อเก๋ๆ ว่า...

'Mirror Installation' โครงการนี้คือ การนำวัสดุเงาหรือกระจกเงาขนาด 1.2 x 1.8 เมตร จำนวน 7 แผ่น ไปตั้งวางเรียงรายตามสถานที่ต่างๆ ทั้ง ถนนคนเดินท่าแพ ร้านเล่าและร้าน iberry ย่านนิมมานเหมินท์ รวมถึง Minimal Arts Gallery and Exibition ซอย 13 ถนนนิมมานเหมินท์ ฯลฯ

โดยสิ่งที่อยู่ข้างกายกระจกก็คือ อาสาสมัครพร้อมกับแบบสอบถามชุดเล็กๆ ชื่อ 'Yes I am.' ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นที่สอง โดยจะเป็นคำถามทั่วๆไป 14 ข้อย่อย เช่น ทานเนื้อวัวหรือไม่ บ้าช้อปปิ้งรึเปล่า นอนเปิดแอร์หรือไม่ ส่วนกระจกก็จะวางอยู่เฉยๆ ซึ่งก็มีคนให้ความสนใจมาก บ้างก็มายืนถ่ายรูป บ้างก็ยืนมองด้วยความสงสัยว่า เอ๊ะ!!! เกิดอะไรขึ้น โดยคนเชียงใหม่ ต้องเจอกับสิ่งเหล่านี้เป็นเวลากว่า 1 เดือน ได้แบบสอบถามทั้งหมด 9 พันชุด ซึ่งนำไปสู่คอนเซปท์ของทั้ง 2 ผลงาน คือ
1) การสำรวจตัวเองด้วยการตอบแบบสอบถาม แล้วให้กระจกสะท้อนพฤติกรรมออกมา
2) ตามมาด้วย 'We are the destroyers' ปาร์ตี้เปิดตัว '
ใจหาย' ในสไตล์ปาร์ตี้ดิสโก้ .ซึ่งเขามองว่ามักเป็นธรรมเนียม เมื่อเวลามีโ

โปรเจคมักจะมีปาร์ตี้เปิดตัว จัดงานแถลงข่าวซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้าหรับวิถีของคนเมือง "ในเมื่อปาร์ตี้สำหรับคนเมืองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วทำไม 'เรา' ถึงไม่คิดที่จะคำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในการจัดงานแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นและตอกย้ำว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว"ปาร์ตี้นี้ไม่ใช่แค่การสังสรรค์ แต่จะมีประเมินตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดการจัดปาร์ตี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกลุ่มจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ ในการคำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อตอกย้ำว่า 'เราทุกคนเป็นผู้ทำลาย'

เมื่อปิดปาร์ตี้การทำลายก็ถูกเปิดเผย มีผู้เข้าร่วมงาน 200 คน เดินทางโดยรถยนต์ 114 คัน รวมระยะทาง 4,104.7 กิโลเมตร รถจักรยานยนต์ 59 คัน รวมระยะทาง 1031.1 กิโลเมตร ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด 1,140.1476 กิโลกรัม ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 9,6000,000 วัตต์ ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5,145.6 กิโลกรัม ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการใช้แก้วพลาสติก 400 ใบ ขวดน้ำพลาสติก 36 ขวด ขวดเบียร์ 360 ขวด ลังกระดาษน้ำหนักมวลรวม 3 กิโลกรัมเบ็ดเสร็จรวมแล้ว ปาร์ตี้เพียงคืนเดียวที่เริ่มตั้งแต่เวลา 20.00-24.00 น.เพียง 4 ชั่วโมง ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนกว่า 6,285.7724 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ ที่ไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับได้เพียงปีละ 8 กิโลกรัมเท่านั้น แล้วในเมืองเชียงใหม่แห่งนี้จะมีไม้ยืนต้นเหลือเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่เท่าไหร่เป็นสิ่งที่ยิ่งตอกย้ำชัดเจนและชี้ให้เห็นว่าพวกเราเป็นผู้ทำลาย โดยไม่เคยรู้ตัวมาก่อน'ทำ' หรือ 'ไม่ทำ' คุณเลือกได้...

งานชิ้นต่อไปคือ การแจกกล่องไม้ขีดไฟจำนวน 10,000 กล่อง แบ่งเป็นไซส์เล็กและใหญ่อย่างละ 5,000 กล่อง ไซส์เล็กจะแจกจ่ายให้คนในเมือง ส่วนไซส์ใหญ่จะทยอยแจกให้กับอำเภอรอบนอก โดยวิธีคิดคือ 'ไม่ห้าม' เพราะการเผาคือ วิถีชีวิตและไฟก็เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต แต่อยากให้คนคิดเองว่าจะเผาหรือไม่เผาอะไร สิ่งนั้นสำคัญจากนั้นได้นำผู้ที่สนใจออกทริปพร้อมอาสาสมัครรวม 93 คนออกทริปที่บ้านหัวทุ่ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หมู่บ้านที่ได้รับรางวัลการจัดการสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยมทุกปีจะมีการทำแนวกันไฟป่า เป็นแนวหากเกิดไฟป่าจริงก็จะไม่ลุกลามอยู่ตามแนวที่ได้ทำไว้พร้อมกันนี้ยังได้เห็นการดูแลสภาพผืนป่าให้สมบูรณ์ เรียกว่าบ้านหัวทุ่งแห่งนี้เป็น 'กรีน วิลเลจ' ก็ว่าได้"หัวใจสำคัญของรออกทริปนี้เพื่อให้คนในเมืองได้ไปดูชีวิตจริงของชาวบ้านที่อยู่กับป่าได้พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนทัศนะ แม้ว่าจะเป็นแค่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตามแต่ถ้าไม่ได้มาก็จะไม่รู้เลยว่าความหวงแหนป่า การดูแลป่าของชาวบ้านนั้นเป็นอย่างไร"

สำหรับงานสุดท้ายปิดตัวโครงการมีการนำเสนอพรีเซนเทชั่นที่รวบรวมทุกผลงานตลอด 3 เดือนรูปแบบปาร์ตี้เป็น 'Let's get Funky!' ยังคงเป็นการจัดปาร์ตี้แนวเดิมกับเมื่อครั้งเปิดโปรเจคแต่ในครั้งนี้มีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อมเริ่มตั้งแต่ฟรีบาร์ลดเวลาให้เหลือเพียง 1 ชั่วโมงจากเดิม 4 ชั่วโมง ลดการใช้พลังงานและจากเดิมใช้แก้วพลาสติกก็ใช้แก้วแทน พร้อมกันนี้ยังได้นำเสนอผลงานชิ้นสุดท้าย'แผนที่ต้นไม้ใหญ่ในเชียงใหม่'เพราะการจะแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้จะต้องรักษาต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้ดังนั้น วิธีการที่จะสื่อสารและทำให้คนชาวเชียงใหม่รักษาต้นไม้ใหญ่ต้องทำให้เห็นก่อนว่ามี 'ต้นไม้ใหญ่' อยู่ที่ใดบ้าง และส่งมอบให้กับเทศบาลนครเชียงใหม่เพื่อขอให้ช่วยออกกฎกติตาสำหรับควบคุมการตัดต้นไม้ในเมือง"

สุดท้ายแล้วภาพรวมของ
ใจหาย คือ การได้สื่อสาร ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ย้อนไปตอนแรกโปรเจคนี้เป็นโปรเจคศิลปะ Conceptual Project ไม่ประเมินผลเพราะไม่รู้จะประเมินอะไร เหมือนกับการที่เราไปดูรูปปิกัสโซ่แล้วประเมินผลหน่อย ซึ่งก็ทำไม่ได้ ไม่มีมาตรในการวัด แต่โปรเจคนี้ต้องการที่จะลำเลียงเนื้อหาออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" เจ้าของโครงการกล่าวสรุปปิดท้ายโปรเจคเล็กๆ ชิ้นนี้ อาจเป็นเพียงลมหายใจหนึ่ง ของกลุ่มคนรักสิ่งแวดล้อมในเชียงใหม่แต่ก็เป็นลมหายใจที่ไม่ได้ผ่านเลยไป เพราะสิ่งใดที่มีคุณค่า ย่อมมีที่ทางยืนของตัวเองเสมอ

เปิดใจอาสาสมัคร"ความรู้สึกแรกที่ได้เข้าร่วมก็รู้สึกงงๆ ว่าทำแบบนี้จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงเหรอ นึกอยู่ในใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ แต่พอทำไปเรื่อยๆ มองโดยภาพรวมโครงการของกิจกรรม ก็เข้าใจเป้าหมายที่ต้องการดูแลสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่ในแบบของพี่โจ้ (วชิรา) หรือการส่งสารในแบบคนเมือง" ศศินันทน์ งามธุระ นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในอาสาสมัครโครงการ '
ใจหาย' เล่าความรู้สึกเธอบอกว่า สิ่งที่ได้จากโปรเจค คงหนีไม่พ้นกระบวนการคิด รวมถึงการรู้จักมองสิ่งรอบตัวมากขึ้น พร้อมกับตระหนักว่าตัวเราที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ คือ ตัวการและต้นเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมและยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอีกด้วย เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างต่างหลั่งไหลเข้ามาในเมืองทั้งการอุปโภคและบริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเมือง ซึ่งก็คือการใช้ทรัพยากรโดยทุกกระบวนการล้วนแล้วแต่สร้างและก่อให้เกิดการทำลาย


ทราบกันอย่างนี้แล้ว เราชาวเมืองหัวหิน อาจคิดทำการใดๆขึ้น เพื่อสังคมเมืองหัวหิน อันเป็นที่รักของเรา อย่างที่ ชาว Rabbidhood ได้ลงมือ ลงแรง ลงใจ ทำให้เมืองเชียงใหม่ อันเป็นที่รักของเค้า ขึ้นบ้าง..น่าจะเป็นการดี

ดีจิง HUAHINHUB
หมายเหตุ: ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีโปรเจคร่วม 'ใจหาย' อีก 2 ชิ้น คือ ภาพยนต์เชิงสารคดีที่ได้ สันติภาพ อินกองงาม ผู้กำกับหนังฝีมือดีซึ่งขณะนี้กำลังหาทุนจัดทำเพิ่ม โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมี.ค.ปีนี้ ก่อนจะวางแผนเดินสายฉายหนังตามแหล่งท่องเที่ยวทั้งกรุงเทพ หัวหิน พัทยา และปาย รวมถึงการจัดนิทรรศการภาพถ่ายโปรเจค 'ใจหาย' ทั้งหมดที่ Minimals Arts gallery and exhibition นิมมานเหมินท์ซอย 13Tags : ใจหายวชิรา รุธิรกนกงานศิลปะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น