3.16.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๔ (อีสาน กันดาร คือสินทรัพย์)


แม้จะขัดสน และอับจนโอกาส ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของตนสักเพียงใด ในทากลับกัน คนอีสานจำนวนไม่น้อยกลับสามารถ สร้างชีวิตและความสำเร็จบนรากฐานวัฒนธรรมของความเป็นอีสาน ทั้งทักษะในการดำเนินชีวิตและคุณสมบัติที่ซึมซับอยู่ในสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นน้ำอดน้ำทน อารมณ์ขัน ความเอื้ออาทรและหัวใจนักสู้ ได้อย่างน่าทึ่ง และชื่มชม

โอกาสนี้ huahinhub ขอหยิบยก เอา spirit แห่ง อีสาน ที่แม้จะกันดาร แต่กลับกลายเป็นสินทรัพย์ มาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง เพื่อผู้คนชาวเมืองหัวหิน จะได้ร่วมซึมซับและเห็นถึงความสู้ชีวิตของพี่น้องภาคอีสาน ไว้เป็นแบบอย่างในการสู้ชีวิตของเราๆ ต่อไป
________________________________________


แน่ไม่แน่ก็ดูกันเอาเองเด้อ...ซาวหัวหิน เบิ่งซ้าล่า ...
คนอีสานส่งเงินกลับบ้านวันละ US$ 4,800,000
ภาพยนตร์เรื่ององค์บากทำรายได้ 1,000 ล้านบาททั่วโลก
รจนา เพชรกัณหา นางแบบจากอุบลราชธานีเคยเดินแบบครึ่งวันได้ 1,400,000 บาท
รายได้พ่อครัวอีสานในร้านอาหารญี่ปุ่นแถบถนนสุขุมวิท 10,000-30,000 บาทต่อเดือน

อีสารเดอะฮีโร่...
๐ พนม ยีรัมย์ “พลังเตะสะเทือนโลกา” บ้านเกิด: สุรินทร์ อาชีพ: นักบู๊โลกเซลลูลอยด์
๐ บานเย็น รากแก่น บ้านเกิด: อุบลราชธานี ราชินีผู้ปลุกวงการหมอลำ
๐ ครูสลา คุณวุฒิ บ้านเกิด: อำนาจเจริญนักแต่งเพลงลูกทุ่งมือหนึ่งเมืองไทย
๐ ไมค์ ภิรมย์พร บ้านเกิด: อุดรธานี ขวัญใจผู้ใช้แรงงาน
๐ ใฮ ขันจันทา บ้านเกิด: อุบลราชธานีนักสู้มังกรมือเปล่าแห่งห้วยละห้า
๐ นายดาบตำรวจวิชัย สุริยุทธบ้านเกิด: ศรีสะเกษ ผู้พลิกผืนดินแล้งด้วยต้นไม้ 2 ล้านต้น
๐ สมรักษ์ คำสิงห์บ้านเกิด: ขอนแก่นเหรียญทองโอลิมปิกเหรียญแรกของเมืองไทย
๐ วุฒิชัย แสงม่วงบ้านเกิด: บุรีรัมย์ สานฝันศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาค ชัย ราชวัตรบ้านเกิด: อุบลราชธานี นักรบการเมืองผู้มีลายเส้นเป็นอาวุธ

ในฟ้าบ่มีน้ำ ในดินซ้ำมีแต่ทราย...ISAN’S LAND OF OPPORTUNITYDeprivation and creativity
ภูมิศาสตร์ของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 105.5 ล้านไร่ ในจำนวนนี้ 59.5 ล้านไร่เป็นดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม และดินทราย นอกจากนี้การประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้คนอีสานต้องหาหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร มีการคิดค้นเทคโนโลยีการยังชีพที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม

แหล่งกำเนิดความคิดสร้างสรรค์...THE HOUSE OF PLENTY Isan’s creative resources
สภาพแวดล้อมอันอยากลำบากกดดันให้ชาวอีสานต้องคิดหาทางอยู่รอด จนกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ อันนำไปสู่การคิดค้นประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เรียนรู้ทักษะในการดำรงชีวิต ซึ่งเปรียบเหมือนแหล่งข้อมูลและแรงบันดาลใจที่รอให้นักออกแบบรุ่นหลังไปค้นหา และต่อยอดจากสิ่งที่คนอีสานได้คิดค้นมาหลายร้อยปีแล้ว


“ข้าวน้ำลายเทวดา”
Organic rice from Isan
๐ คนอีสานปลูกข้าวต้องรอเทวดาโปรด แต่ข้าวที่ได้กลับแพงกว่าข้าวชลประทานถึง 3 เท่า ข้าวที่ได้น้ำฝนบวกกับการเกษตรแบบดั้งเดิมของอีสาน ทำให้ได้ข้าวปลอดสารพิษ หรือออร์แกนนิคไรส์ (Organic rice) คุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
๐ จากครัวกันดารในบ้านแห่งความรันทด พ่อครัวแม่ครัวอีสานพกพาทักษะฝีมือและอาหารพื้นๆ อย่างส้มตำข้ามน้ำข้ามทะเลไปสร้างชื่อทั่วโลก
๐ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อร้านเพชรบูลการีกำลังเปิดตัวสปา 6 ดาวในมิลาน เป็นอาบอบนวดสไตล์คนอีสาน
๐ ข้าวไทยเอาไปทำสาเกอย่างดีได้ บ้านคุณยายทำสาเกแต่เรียกว่า ‘อุ’ แต่ไฉนสาเกญี่ปุ่นที่ทำจากข้าวไทย กลับมีราคาแพงกว่าข้าวไทยถึง 3,000 เท่า
๐ ดีไซเนอร์ไทยไอเดียเก๋ได้แรงบันดาลใจจากลายตุ๊กแกทำเป็นผ้าทอหรูส่งขายต่างประเทศ
๐ ถ่านบ้านยายกระสอบละ 280 บาท แต่พอรู้จักพลิกแพลงทำให้ดูดีส่งไปขายที่โตเกียวได้แพงกว่า 10 เท่า
๐ ปลูกมันสำปะหลัง 16 ล้านไร่มีรายได้ 540 ล้านเหรียญ แต่พอเอาสมุนไพรจากหลังบ้านในกระจาดนี้ไปผสมน้ำมันมะพร้าวกลายเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ก็ส่งออกได้ 500 ล้าน


พ่อครัวของทั่วโลก..
กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น ตั้งโรงเรียนสอนคนอีสานเป็นเชฟประจำสถานทูตญี่ปุ่นทั่วโลกมานาน 12 ปีแล้ว (ข้อมูลปี 2007) แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผย ทั้งๆ ที่รู้กันดีในหมู่นักธุรกิจญี่ปุ่น จากจำนวน นักเรียนไทย 70 คนที่ได้เข้าฝึกอบรมที่โรงเรียนสอนทำอาหารแห่งนี้ เป็นคนอีสานถึง 56 คน

ความกันดารทำให้คนอีสานสรรหาวิธีทำกับข้าว จากปลาเล็กปลาน้อย และสมุนไพรหลังบ้านให้กลายเป็นอาหารโอชะที่เรียกว่า “ลาบปลา” ได้ และจากทักษะการทำอาหารแบบตามมีตามเกิดนี้เอง กลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นเชฟทำอาหารญี่ปุ่นชั้นสูงที่ผ่านการฝึกฝนอย่างหนักจากอาจารย์เป็นเวลา 3 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปประจำสถานฑูตญี่ปุ่นในต่างแดน


ต่อยอดจากสินทรัพย์วัฒนธรรมอีสาน...Isan Design Interpretations Reinterpreting Culture
ความท้าทายสำคัญประการหนึ่งของนักออกแบบไทย คือการก้าวพ้นกรอบความคิดเดิมๆ ด้วยการต่อยอดจากมรดกทางวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งไม่จำกัดอยู่แค่เพียงการใช้ประโยชน์จากวัสดุและรูปทรงเดิมๆ ความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรมของอีสานที่หล่อหลอมจากวิถีชีวิต ทักษะโลกทัศน์และความเชื่อ ตลอดจนคุณลักษณะทางวัฒนธรรมอื่นๆ คือแหล่งรวมของแรงบันดาลใจที่รอให้นักออกแบบรุ่นใหม่หันกลับมาค้นหา ตีความ และพัฒนาเป็นงานออกแบบ ที่สร้างสรรค์มูลค่าได้

‘ไฮเปอร์เออเบิ้ล’ ภัทรศรันย์ ศรีเลื่อนสร้อย แฟชั่นดีไซน์เนอร์ ชาตรี เท่งฮะ แฟชั่นดีไซน์เนอร์
‘Hyper Urban’ Patsarun Srilaunsoi menswear designerChatree Theng-ha women’s street wear & accessories designer
สองนักออกแบบประยุกต์วิถีชีวิตการแต่งกายของชนบทอีสานกับชีวิต ในเมืองได้อย่างลงตัว ด้วยผลงานออกแบบที่เนรมิตผ้าขาวม้าอเนกประสงค์ให้กลายเป็นกระโปรงและสร้อยแนวสตรีทแฟชั่น


‘ผ้าลายตุ๊กแก’ เพลินจันทร์ วิญญรัตน์ เจ้าของบริษัทและนักออกแบบบริษัท Beyond Living 'Wall Piece’ Ploenchan Vinyaratn Co-founder/Designer, Beyond Living Co.,Ltd
จากชีวิตความเป็นอยู่ของอีสานที่มีความคุ้นเคยกับสัตว์รอบๆตัว อย่างกะปอม, กิ้งก่า และอึ่งอ่าง กลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลายผ้า ลายและสีสันบนตัวของตุ๊กแกเป็นจุดเริ่มต้นของงานออกแบบผลงานชิ้นนี้ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างดีไซน์เนอร์และช่างทอตั้งแต่การออกแบบลวดลาย การเลือกใช้วัสดุไปจนถึงการทอผ้า


อีสานกูตูร์’ วีรศักดิ์ วงศ์สถาพรสกุล แฟชั่นดีไซน์เนอร์ ‘Isan Couture’Weerasak Wongsathapornsakun fashion designer
ผสมผสานแรงบันดาลใจจากกลวิธีถักทอของผ้าอีสานเข้ากับเสื้อผ้าแนวแฟนตาซีของหางเครื่อง เพื่อสะท้อนความฝันและความหวังในชีวิตที่ดีขึ้นของชาวอีสาน ผสานความชอบส่วนตัวที่อยากสร้างโลกอันแตกต่างจากการใช้ชีวิตปกติแต่ยังรักษาไว้ซึ่งรูปแบบของศิลปหัตถกรรมดั้งเดิม

ส้มตำวอลล์เปเปอร์ และ ทูเกเตอร์เพลท’“กู๊ดซิติเซน”กราฟฟิกดีไซน์เนอร์และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ภาคภูมิ ลมูลพันธ์, ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์, ปิติ อัมระรงค์,จุทามาส บูรณะรักษ์ธรรม และ พยูณ วรชนะนันท์
‘Somtam Wallpaper & Together plate’ Good Citizen graphic and product design group Pharkphoom Lamulphant, Thirawat Thienkhaprasit, Piti Amrarong, Juthamas Buranaraktham and Payoon Vorachananant


‘ส้มตำ’ เป็นผลผลิตของวัฒนธรรมอีสานที่เกิดจากความขาดแคลน แต่กลับประสบความสำเร็จจนกลายเป็นอาหารที่คนรู้จักทั่วโลก ซึ่งอาจมาจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ความเรียบง่าย รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ และประยุกต์พลิกแพลงได้หลายรูปแบบ ‘ส้มตำ’ วอลล์เปเปอร์ ดึงเอาลักษณะเด่นของสีและฟอร์มของส้มตำมาสร้างเป็นลวดลาย ขั้นตอนเกิดจากการตีความซื่อๆ แบบคนอีสานว่า ส้มตำประกอบด้วยส่วนผสมอะไรบ้าง แล้วจึงนำ ‘วัตถุดิบ’ ต่างๆ เหล่านี้มาผสมผสานกันอย่างลงตัวงานเซรามิก ‘ทูเกเตอร์เพลท’ วัฒนธรรมการกินแบบอีสาน โดยเฉพาะอาหารคู่ซี้อย่างส้มตำกับข้าวเหนียวกลายเป็นความคุ้นเคยและเอร็ดอร่อยของคนไทย ‘ทูเกเตอร์เพลท’ จึงเป็นการออกแบบสิ่งที่ทำหน้าที่คู่กัน ซึ่งได้แก่ ภาชนะใส่ข้าวเหนียวและส้มตำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ลักษณะจานเป็นรูปวงกลมมีที่ใส่ข้าวเหนียวอยู่ตรงกลาง ทิศทางของจานสื่อถึงการล้อมวงรับประทานด้วยกัน

‘เดย์เบด’ไพเวช วังบอน ศิลปิน ‘Amulet Daybed’Paiwate Wangbon Artist
คนอีสานมีวิธีจัดการกับความกลัวได้อย่างแยบคายและมีประสิทธิภาพในเชิงจิตวิทยา เช่น ปรากฏการณ์ “ใหลตาย” ที่ชาวอีสานเชื่อว่าเป็นการกระทำของผีแม่ม่ายที่ต้องการเอาชีวิตของผู้ชายในหมู่บ้าน ชาวอีสานจัดการกับความกลัวนี้ด้วยกลวิธีอันชาญฉลาดและแฝงอารมณ์ขัน เช่น ติดป้ายว่า “บ้านนี้ไม่มีผู้ชาย” ทาเล็บสีแดง ตั้งปลัดขิกไว้ที่หน้าบ้าน เป็นต้น ความเชื่อในเรื่องดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลงานเฟอร์นิเจอร์เดย์เบดชิ้นนี้

“น้ำใจ”...
คำนี้อธิบายเป็นภาษาอังกฤษยาก มันต้องมาจากชีวิตที่รันทดร่วมกันจนเคยชิน แล้วมันก็ปริ่มจนกลายเป็นสันดาน สันดานนี้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยปีละ 450,000 ล้านบาท เทียบเท่าการส่งข้าวออก 3 ปี คนอีสานนอกจากจะเป็นญาติทางสายเลือดกันเกือบทั้งหมู่บ้านแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ทั้งคนในหมู่บ้าน และคนต่างถิ่นมาร่วมกันได้ตลอดทั้ง 12 เดือน อีกทั้งยังมีคู่มือการอยู่ร่วมกันที่เรียกว่า “คอง 14” ทำให้คนอีสานคุ้นเคยกับการให้ และเลี้ยงดูปูเสื่อในหมู่พี่น้องและแขกผู้มาเยือน ที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมบริการได้สบาย

อีสานอินเดอะซิตี้...
สุขุมวิท 1-65 ไม่ใช่กรุงเทพฯ อีสานบุกยึดทำเลเด็ดย่านสุขุมวิท ทั้งไทยและเทศตั้งแต่ซอย 1 ถึง 65 เปิดอก “ชีวิตประจำวันอยู่ได้ก็พึ่งคนอีสานนี่แหละ”
กินฝรั่งเศส ก็อีสาน กินอังกฤษ ก็อีสาน กินอิตาลี่ ก็อีสาน กินญี่ปุ่น ก็อีสาน กินเครปสวิส ก็อีสาน กินอีสาน ก็อีสาน กินจั๋งใด๋ๆก็อีสาน...

อาชีพยอดนิยมของคนอีสานบนถนนสุขุมวิท คือการเป็นเชฟ สำหรับกิจการของตนเองไปจนถึงร้านอาหารนานาชาติ จากการสำรวจ 768 ตัวอย่าง อาชีพบนถนนสุขุมวิทตั้งแต่ซอย 1-65 พบว่า พ่อครัวร้านอาหารญี่ปุ่นมีจำนวนสูงที่สุด ถึง 192 คน

หม้อเอ๋ย หม้อไฟ หม้อใคร หม้อมัน....
Lifestyle as Design Value
แต่ละประเทศต่างมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้จักใช้ประโยชน์ หรือบริหารสินทรัพย์เหล่านั้นให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ และกระบวนการสร้างรายได้แบบใด


หลังหักเกือบตายสู้ความรันทดไม่ได้...Household Sensibilities
“สันดานบริการ” บ่ต้องสอน บ่ต้องอบรม สปาที่ไหนในโลกก็เหมือนกัน มีผลิตภัณฑ์เสริมความงาม มีคนมาบีบนวด แต่สปาไทยไม่เหมือนใครตรง “สันดานบริการ” ที่ฝรั่งเองก็อธิบายไม่ได้ว่าทำไมแค่เดินเข้ามายังไม่ทันได้นวดก็รู้สึกดีแล้ว

ปี 2546 มีนักท่องเที่ยว 2.6 ล้านคนมาให้คนไทยจับซ้ายจับขวา สร้างรายได้ให้ประเทศ 4,000 ล้านบาท จากพนักงาน 4,000 คนในสปา 230 แห่งทั่วประเทศ ในจำนวนนี้เป็นคนอีสานถึง 40%

แนวคึดย่าน...ANIMIST CULTUREManaging fear and uncertainty
เชื่อผีแล้วรวย เชื่อผีแล้วดัง วิถีชีวิตดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ นำมาซึ่ง “ความกลัว” ในสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาและกำหนดกะเกณฑ์ เช่น ฟ้าฝน และโรคภัยไข้เจ็บ คนอีสานพบทางออกในการจัดการกับความกลัวด้วยวัฒนธรรมถือผีที่สามารถสอดประสานกับศรัทธาในพุทธศาสนา วิธีหนึ่งคือการสร้างสิ่งสมมติให้เป็นตัวแทนของอำนาจเร้นลับในธรรมชาติ ที่สามารถสื่อสารและต่อรองได้โดยผ่านพิธีกรรม และงานบุญต่างๆ ซึ่งช่วยปลดปล่อยความหวาดหวั่นและสร้างความมั่นใจในการดำรงชีวิต

เชื่อผีแล้วมีเงินหมุนร้อยล้าน... COLLECTIVE CATHARSISAnxiety and hope in the Phi Ta-Khon
จากพิธีกรรมเรื่องของผี กลายเป็นงานเทศกาลท่องเที่ยว “ผีตาโขน” ประจำเดือนกรกฎาคมของจังหวัดเลย ลองคำนวณดูว่า ปี2547 มีคนไปเที่ยวเลย 780,000 คน ใช้เงินเฉลี่ยวันละ 900 บาทต่อวัน จังหวัดมีรายได้เจ็ดร้อยกว่าล้านบาท

“สักขาลาย” กินบ่ได้แต่เท่... STRESS TACTICS Tattoos as psychological armour
วิธีจัดการกับความกลัวของคนอีสานทำได้หลายอย่าง นอกจากจุดบั้งไฟ และแห่ผีตาโขนแล้ว ก็ยังมีการสักขา สักตัว นัยว่าช่วยเพิ่มความมั่นใจ และถ้าเชื่อก็แถมพกความขลังให้ด้วย พอการสักกลายเป็นแฟชั่น ความขลังต้องหลีกทางให้ความสวยงาม แต่พอดาราหนังบั้นท้ายเซ็กซี่จากฮอลลีวู้ดมาสักที่เมืองไทยและเธอบอกว่า “ใช่” ก็เลย “ขลัง”

บ่ลืมบ้านเกิด...
PLACE AND MEMORYMaintaining a sense of self
ความจำเป็นเพื่อปากท้องทำให้คนอีสานเป็นนักเดินทางตัวยงและมีการย้ายถิ่นฐานมากกว่าภาคอื่นๆ แต่ไม่ว่าคนอีสานจะย้ายไปอยู่ที่ไหน ก็มีแนวทางที่บริหารจัดการเอกลักษณ์ท้องถิ่นของตนเอง ทำให้คนอีสานยังคงไว้ซึ่งบุคลิกดั้งเดิม และรักษาความเชื่อมโยงกับท้องถิ่นไว้อย่างเหนียวแน่น


ผ้าอีสาน...
EMBLEMS OF PLACE Village identity in textile design
ก่อนจะมีกฎหมายเทศบาลว่าด้วยเบอร์บ้าน คนอีสานมีวิธีการจัดการเบอร์บ้านตัวเองอย่างไร? เบอร์บ้านอันไหนถูกต้องกว่ากัน (ใครทายถูกไม่มีรางวัลเพราะง่าย) ผ้าทอที่คนอีสานใส่เปรียบเหมือนกระบอกเสียงที่บอกให้รู้ว่าพวกเขาเป็นชนกลุ่มใด และอาศัยอยู่บริเวณไหนของภาคอีสาน “ผ้าฝ้ายมัดหมี่” สีสันสดใส เป็นผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นของชาวไทลาวที่อาศัยทางตอนเหนือ ขณะที่ผ้าขิดไหมสีดำแดงเป็นของชาวผู้ไทที่อาศัยอยู่ทางตอนกลาง และ “ผ้าไหมแพรวา”โทนสีน้ำตาลเป็นของชาวอีสานใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากเขมร


ศาลผีปู่ตา...COMMUNAL MEMORY Spirit shrines of the ancestors
แม้ว่าทางการจะแบ่งหมู่บ้านเป็นเขตเทศบาล มีทะเบียนบ้านบอกจำนวนสมาชิกแต่ ถ้าหากคนอีสานบอกว่า คนจากฟากโน้นของตำบล หรือจังหวัด ว่าเป็นคนที่มี “ผีปู่ตา” เดียวกัน เท่านี้หมู่เฮาก็เป็นคนบ้านเดียวกันเด้อ“ศาลผีปู่ตา” ประจำแต่ละหมู่บ้านนอกจากจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนในหมู่บ้านนับถือและเชื่อว่าจะดูแลรักษาหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข แต่ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า คนที่มีผีปู่ตาเดียวกันคือคนที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน


บ่ลืมบ้านเกิด...
“ข้อยบ่ได้แก้ปัญหาความรู้สึกผิด โดยส่งเงินกลับบ้านข้อยเอาจิตวิญญาณและตัวกลับบ้านด้วย”
รถบัสแดง สื่อโทรคมนาคมแห่งชีวิต THE BUS OF OPPORTUNITY – ONE-WAY TICKET, OR TWO-WAY TRANSFER? ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนสู่ประชาชนข้ามชาติ [ทำนโยบายดัดจริตของประชาชาติให้เป็นจริง] นำเงินตรามาพร้อมกับความอบอุ่น เป็นยาแก้ความรู้สึกผิดที่จากบ้าน และ นำองค์ความรู้สู่หมู่บ้าน

อีสานมักม่วน...
เทคโนโลยีลดเครียด กูเหนื่อยแน่ และจะเหนื่อยต่อไป ช่างเถอะเพราะชาวอีสานมี “เทคโนโลยีลดเครียด”
แม้ว่าจะมีแรงกดดันในการหาเลี้ยงปากท้อง แต่คนอีสานกลับมีวิธีการมองโลกอย่างสนุกสนาน และมีกิจกรรมที่สร้างความรื่นรมย์ให้กับชีวิตได้ทุกโอกาส จนเป็นที่รู้กันว่า คนอีสานกับความสนุกเป็นของคู่กัน


องค์บาก...

ให้ความหมายใหม่กับคำว่า สตั๊นแมน องค์บากจะทำให้อาชีพยิ่งใหญ่ของฮอลลีวู๊ด “สตั๊นแมน” ล่มสลาย องค์บากก่อนดูต้องรู้ว่าไม่ได้ใช้สตั๊นแมน องค์บากจึงเป็นหนังที่ฝรั่งดูแล้วสนุกที่สุด..... ไอ้หนุ่มหมัดเมาหลบไปเลย จากพระเอกหน้าคม กล้ามใหญ่ในยุค 70 เรื่อยมาเป็นพระเอกหน้าตี๋ ที่มีกลิ่นอายกุ๊กกิ๊ก จนถึงยุคนี้ พระเอก“หน้าแป้น กรามใหญ่ ขำกลิ้ง” พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นขวัญใจคอหนังได้เหมือนกันหนังไทยสมัยก่อนคนที่ “ตัวดำ เด๋อด๋า พูดสำเนียงอีสาน” เป็นแค่คนใช้ ปัจจุบันบุคลิกของคนอีสานได้กลายเป็นหนังไทยได้รางวัล และทำเงิน ที่สร้างจากมุมมองของคนอีสานเอง “ แหยมยโสธร” หรือมุมมองของผู้กำกับรุ่นใหม่ที่นำเอาวิถีชีวิตของคนอีสานให้กลายเป็นหนังชีวิต หรือสารคดีอย่าง “ สัตว์ประหลาด “ “ 15 ค่ำ เดือน 11” และ “ เสือร้องไห้”หมอลำ...SOCIAL HUMOUR Fun and commentary in the ‘mohlam’
หมอลำพื้น เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงเริงใจหลักของคนอีสาน ในอดีตเป็นการเล่าเรื่องนิทานที่สอดแทรกคติพจน์ที่ผู้ใหญ่ไว้ร้องสอนเด็ก ได้มีการพัฒนาให้มีความสนุกสนานมากขึ้น จนเป็น หมอลำกลอน ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องพื้นบ้าน หรือเรื่องวรรณคดีประกอบดนตรี และท่าลำ ต่างๆ ต่อมาได้พัฒนาให้กลายเป็นหมอลำคู่ ที่เป็นการโต้ตอบระหว่างชายหญิง ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการชิงรักหักสวาท ที่คนดูชอบอกชอบใจ จนในปัจจุบันได้พัฒนาให้กลายเป็นหมอลำซิ่งและเพลงลูกทุ่งหมอลำ


เชื่อหรือไม่ มีบริษัทอเมริกันมาแอบถ่ายหมอลำซิ่งส่งยี่ปั๊วทั่วโลก
PERSONAL FANTASIESCabaret glamour of the ‘hang-khreung’
ถ้าเคยไปชานเมืองลอนดอน สิ่งที่ท่านเห็นก็คือ ความตายของสิ่งซึ่งกำลังรุ่งเรืองในอีสาน ท่านจะเห็นโรงดนตรีที่มีแต่หยากไย่ เพราะคนอังกฤษเลิกดูมหรสพสด และยังเลิกดูหนังตามโรง แต่โรงมหสพเคลื่อนที่ในอีสานกำลังรุ่งเรืองสุดๆ จากการผสมผสานของวัฒนธรรมดนตรีของอีสาน กับความเฉิ่มของตะวันตก


ก๊อปฝรั่งเกือบตาย วงการโฆษณาไทยเพิ่งรู้ว่า กันดารคือสินทรัพย์...พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย มุขพื้นๆ แบบชาวบ้านอีสานได้สร้างสีสันให้กับหนังโฆษณาไทย จากทุนสร้าง 100 เรื่อง บวกค่าเช่าเวลาออกอากาศแล้ว เพียง 2,000 ล้านบาท ก็ทำให้โฆษณาไทยมีเอกลักษณ์จดจำง่าย และยังสร้างความฮือฮาในต่างประเทศด้วยการบุกไปกวาดรางวัลเมืองคานส์มาแล้ว

เว้าแบบแปนแปน...
PLAIN THINKING Adaptive innovation
การพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก หล่อหลอมลักษณะของคนอีสานให้กลายเป็นผู้มองโลกอย่างตรงไปตรงมาไร้การปรุงแต่ง ที่ไม่เพียงแต่กลมกลืนได้ในทุกกระแสสังคม แต่ยังสามารถยืนหยัดโดยไม่เสียความเป็นตัวของตัวเอง

The plain thinking, common sense approach to life characterises the Isan way
“เกิดมาชีวิดนี้บ่เคยอาย บ่ย่านความอาย ย่านอย่างเดียวคืออดตาย”


ฝรั่งมี Carmina Burana อีสานมี “คำสอย” Open ValuesSexual lyrics of the ‘phleng soi’
Dirty Joke ใครก็ฮา แต่มุข “คำสอย” ของคนอีสานไม่ใช่แค่สรีระหญิงชายเท่านั้น แต่ยังมีคติสอนใจทำให้คนได้คิด และถ้าจะดูเนื้อคำสอย กรุณาปลด”จริต” ก่อนดู ‘เพลงสอย’ เปรียบเหมือน วรรณกรรมมุขปาฐะพื้นบ้านอีสาน คำร้องของ เพลงสอย เป็นคำพูดหยอกล้อปนทะลึ่ง เกี่ยวกับร่างกาย และกิจกรรมทางเพศ หรืออวัยวะเพศอย่างตรงไปตรงมา แต่เนื้อหากลับแทรกเรื่องคติธรรมประจำใจ


ใครบอกว่าคนอีสานไม่มีความคิดที่พลิกแพลง พระรับบิณฑบาต พลิกบาปให้เป็นบุญได้ก็ถือว่าไม่เสียเปล่า ...สาธุ PARADOX OF VICE AND VIRTUEThe temple of beer
ที่วัดล้านขวด จังหวัดศรีษะเกษ พระภิกษุที่นี่ไม่เพียงแต่บิณฑบาตข้าวปลาอาหารแต่ยังรับ “ขวดเบียร์” เป็นของถวายวัด คนอีสานที่ยอมทุ่มเทเพื่องานบุญจึงช่วยกันกินเบียร์ เพื่อให้วัดแห่งนี้ก็มีวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น


บทส่งท้าย...
Value Creation = Social Pricing Value
(Value Beyond Economic Pricing)
ทักษะ + เทคโนโลยี = Value Addedทักษะ + คุณค่าวัฒนธรรม + เทคโนโลยี = Value Creationเพราะ วัฒนธรรมเป็น สิ่ง Copy กันไม่ได้ แต่มีคุณค่า มุมหนึ่งของ Value Creationจึงเป็นการนำเอาวัฒนธรรมสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ


ขอบคุณข้อมูลจาก TCDC : huahinhub

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น