3.20.2552

| หัวหิน Retro ๓ (หัวหินถิ่นมนต์ขลัง)


หัวหินถิ่นมนต์ขลัง...
วลีนี้ ผู้หลักผู้ใหญ่รุ้นเก่าก่อนได้ กล่าวขานเอาไว้..และดูท่าจะเป็นจริงอย่างที่ท่านว่าเอาไว้ กันเสียด้วย..
hhh
นับตั้งแต่ 'หัวหิน' ถูกค้นพบ ตามที่คุณสรศัลย์ แพ่งสภาเล่าเอาไว้ในหนังสือ 'ราตรีประดับดาว' ของท่าน ความว่า
hhh
ระหว่างปี พ.ศ. 2452-2460 เมื่อนายช่างชาวอังกฤษ มิสเตอร์ เฮนรี่ กิตตินส์ เจ้ากรมรถไฟหลวงสายใต้ ได้ทำการสำรวจ
เส้นทางจากเพชรบุรีมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย ลัดเลาะพื้นที่แห้งแล้ง กันดาร มาพบกับพื้นที่โล่ง ท้องทะเลและหาดทรายขาว เป็นแนวยาว จากกลุ่มแนวโขดหินใหญ่ จรดเขาตะเกียบ (ต่อมาเรียกว่า หัวหิน) จึงนำความกราบบังคมทูล กรมสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ที่ปรึกษากรมรถไฟหลวง ในเวลานั้น ให้ทรงทราบ
hhh
นับแต่นั้นมา 'หัวหิน' ก็ค่อยกลายเป็นสถานที่ตากอากาศ ที่ผู้คนหลากยุคหลายสมัย โหยหาเดินทางมาพักผ่อน อาศัย ดั่งต้องมนต์ ให้ผ่อนกายคลายใจ มาเป็นเวายาวนานกว่า 100 ปี ดังจะสามารถแบ่งช่วงเวลาแห่งมนต์เสน่ห์ ของหัวหิน ไว้ได้เป็น 3 ยุค กล่าวคือ
hhh
1) พ.ศ.2452-2475 ยุคแห่งการสำราญพระอริยาบถ
หัวหินยุคนั้น เป็นที่พักตากอากาศเฉพาะ ของเจ้านาย พระราชวงศ์ และเสนาบดีผู้ใหญ่ (โดยเฉพาะการจัดสร้าง พระราชวังสวนไกลกังวล) เพื่อการเปลี่ยน/ตากอากาศ เพื่อผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ตามกระแสนิยมของยุคสมัย ประกอบกับในยุคนั้นการเดินทาง ก็ไม่เป็นที่สะดวกนัก ในแต่ละครั้งของการเสด็จฯ ของเจ้านายท่านก็ทรงเดินทางกันด้วยรถไฟและม้า มิได้มีการขนรถยนต์ลงไป เนื่องจากถนนยังสร้างไปไม่ถึง
hhh
ในช่วงแรกเริ่ม หัวหิน ยังมีที่พักไม่มากนัก มีเพียงตำหนักเจ้านายและเรือนของเสนาบดี และบ้านพักคหบดีไม่กี่ท่าน รวมถึงโรงแรมเพียงแห่งเดียวที่จำนวนห้องพักก็ไม่ได้มากมายนัก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เจ้านายแต่ละท่านต้องแบ่งเรือน ให้กับผู้ใกล้ชิด ได้ยืมหรือเช่า อาศัยในฤดูตากอากาศ เสมอไป
หัวหินได้รับความนิยมอย่างมากจากชาวพระนคร ที่ต่างพากันหลบร้อน มาพักตากอากาศความนิยมของเจ้านาย เห็นได้จากบันทึกของทางราชการในรัชสมัยรัชการที่ 7 ที่พบว่า ในปี
hhh
๐ พ.ศ.2471 ชาวพระนครและชาวต่างชาติ มาเที่ยวหัวหินถึงราว 10,000 คน และ
๐ พ.ศ.2472 ชาวพระนครและชาวต่างชาติ มาเที่ยวหัวหินเพิ่มขึ้นถึงราว 30,000 คน
hhh
บรรยากาศของหัวหิน ในยุคแห่งการสำราญพระอริยาบทนั้น สงบ สวยงาม และมีระเบียบ ก็ด้วยความเป็นบ้านใหม่ของเหล่าเจ้านายและพระราชวงศ์ อย่างปฏิเสธไม่ได้ กระทั่งในหวงรัชการที่ 7 พระองค์ท่านก็ได้ทรงสร้างพระราชวังสวนไกลกังวลขึ้น แลเสด็จมาประทับบ่อยครั้งราวกับเป็นบ้านหลังที่ 2 ทีเดียว
กระนั้นภายหลัง เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีพ.ศ. 2475 หัวหิน พลันก็หมดบทบาทของเมืองตากอากาศชั้นสูง ลงไปด้วยในคราวเดียวกัน

hhh
2) พ.ศ.2475-2510 ยุคปริศนาพาฝัน
ช่วงนี้ เป็นช่วงเวลานับแต่ เหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยคณะราษฏร เรื่อยมาจนเข้าสู่ยุคเกือยเป็นประชาธิปไตย ยุคเผด็จการทหาร พ.ศ.2480-2510 เป็นช่วงเวลาของผู้มีอันจะกินและผู้คนในวงสังคมชั้นสูง ต่างพากันหนีร้อนในกรุงเทพฯ มาพักผ่อนตามชายทะเล ตามค่านิยมของยุคสมัย ที่เชื่อกันว่า 'ชายทะเลจะทำให้สมองปลอดโปร่ง เส้นประสาทไม่ตึง และมีความสุขขึ้นได้'
hhh
ประกอบกับเวลานั้น หัวหิน เป็นสถานตากอากาศเพียงแห่งเดียวของเมืองไทย ที่ใครๆก็ต่างพากันไป หัวหิน ซึ่งสภาพสังคมในยุคนี้สามารถมองผ่าน เรื่องราวในนิยายรักอมตะชื่อดัง 'ปริศนา' ของ ว.ณ. ประมวลมาร์ค ซึ่งสามารถสะท้อนสภาพสังคมเมืองหัวหินในเวลานั้นได้เป็นอย่างดี ดังเช่น..
hhh
เจ้านายอย่าง มจ.พจน์ปรีชา พระเอกในเรื่องก็ทรงมีตำหนัก มโนรมณ์ ที่หัวหิน เฉกเช่นเดียวกันกับเจ้านายอื่นในช่วงเวลานั้น ส่วนครอบครัวสามัฐชนเช่นปริศนาก็ต้องไปพักแรมที่บางกะโล ของกรมรถไฟหลวง ทั้งคู่ตกหลุมรักกันท่ามกลางฟองคลื่นและหาดทรายขาวของหัวหิน โดยมีเสียงเพลง 'หัวหินสิ้นมนต์รัก' ดังกังวาลก้องไปทั่วห้องเต้นรำของโรงแรมรถไฟ โดยครูไสล ไกรเลิศ ซึ่งมีเนื้อความดังนี้
hhh
เพลง หัวหินสิ้นมนต์รัก....
หัวหิน เป็นถิ่นสัญญา จากไปกลับมาผิดหวัง ความหลังยังเวียนวน คลื่นสวาทมันแรง มันแกล้งมาดล ร้อนจนใจสั่น เคยชื่นชู้สู่สวรรค์ รักกันมั่น ใจฉันยังปลื้ม มันซาบมันซึม มันปลื้มไม่นาน วิมานทลาย
hhhh
หัวหิน เป็นถิ่นสัมพันธ์ ขาดเธอกลับพลันเงียบเหงา มองแสงดาวเรียงราย คลื่นยังคร่ำยังครวญ จันทร์แจ่มยังนวล เย้ายวนไม่วาย คอยชื่นชู้อยู่แลหาย เห็นรอยทรายใจฉันหวิวหวั่น เคยนั่งชมคลื่น เคยชื่นใจกัน ฉันยังไม่ลืม...
hhh
ต้องยอมรับว่า ผ้คนที่ไปเที่ยวหัวหินในยุคนั้น เกือบทั้งหมดล้วนเป็นบุคคลในชนชั้นสูงของประเทศ ทั้งกลุ่มเจ้านาย เสนาบดีและเศรษฐีมีระดับ เนื่องเพราะยุคนี้ยังไม่มีโรแรมตึกแถวราคาเยา ใครไปหัวหินต้องพักโรงแรมรถไฟ ราคาก็ไม่ถูก แถมยังต้องนั่งรถไฟเดินทางไป สิริรวมค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหารต้องถึงวันละ 30 บาท ขณะที่ข้าราชการระดับผู้น้อยขณะนั้นเงินเดือนตกเดินละ 50 บาท และระดับเจ้าพระยา ยังมีเงินเดือนแค่เพียง 2,000 บาทเท่านั้น
hhh
หัวหินในยุคนี้ต้องเรียกว่า ปริศนาพาฝัน จริงๆ เพราะหนุ่มสาวที่มาเที่ยวหัวหินในช่วงนี้ ต่างแต่งตัวกันเฉิดฉาย กางเกงขาสั้น ชุดว่ายน้ำ แต่งหน้าทาปาก ทารูจสีแดงชาดที่แก้ม ทำผมหยิกเป็นลอนสลวย ตามอิทธิพลแบบอเมริกัน มื่อสาวๆพากันสวยคมเข้มขนาดนี้ ย่อมเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มมากหน้าหลายตา ให้ต้องเกี้ยวพาราสีและตกหลุ่มรัก อยู่เนืองๆ ยุคนี้เองที่เราเริ่มได้ยินคำถามทำนองที่ว่า ลูกเต้าเหล่าใคร-สกุลรุนชาติ-หัวนอนปลายเท้า เพราะหนุ่มสาวที่มาเดินเล่นที่ชายหาดหัวหินได้ ย่อมไม่ใช่ลูกชาวบ้านธรรมดา มีเหล่ามีสกุลกันทั้งนั้น
hhh
เหตุผลอีกประการหนึ่ง ของหัวหินยุคสวยงามนี้พาฝัน เนื่องเพราะ ตรงกับสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนานกรัฐมนตรี (พ.ศ.2481-2487) เป็นยุคสมัยแห่งการปรับปรุงสังคมให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ อันมีเป้าหมายปลูกฝังให้ชาวไทยเป็นผู้มี 'วัธนธัมดี มีศิลธัมดี มีอนามัยดี มีการแต่งกายเรียบร้อย มีที่พักอาศัยดี และมีที่ทำมาหากินดี' รวมถึง รัฐนิยมฉบับที่ 10 ที่มีการกำหนดการแต่งกายและทรงผมแบบใหม่ เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ สุภาพสตรีผู้ทันสมัย ต่างสนุกสนานกับการแต่งกายด้วยกระโปรงกับเสื้อเข้าชุดกัน ถอดโจงกระเบนกับผ้าคาดอก สวมมาลางดงามเสริมเสน่ห์ สุภาพบุรุษเองก็มีแฟชั่นให้แต่งตัวได้ไม่แพ้กัน ใส่เสื้อนอกเสื้อในกันครบชุด สวมมาลา และเปิดหมวกโค้งคำนับผู้หักผู้ใหญ่ ให้เห็นกันชินตาที่โรงแรมรถไฟ
h
พ.ศ.2485-2488 ในช่วงนี้หัวหินก็มีอันซบเซาเป็นช่วงสั้นๆ ไม่มีนักท่องเที่ยวมาหัวหินเลย จากภาวะสงครามในเมืองหลวง กระนั้นเจ้านายและคหบดีซึ่งมีที่พักถาวรที่หัวหินต่างพากันมาหลบพักอยู่เป็นแรมปี
พ.ศ.2490-2492 หัวหินก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง ชาวพระนครผู้มีฐานะดี อยู่ในวงสังคมและทันสมัย ต่างพากันมาพักที่บ้านตากอากาศของครอบครัวและโรงแรมรถไฟ ช่วงนี้เองหัวหินเริ่มมีการก่อสร้างโรงแรมตึกแถวไว้รองรับนักท่องเที่ยวกันมากขึ้น เช่นโรงแรมคนจีนแถวหน้าตลาดฉัตรไชย ดังภาพบรรยายใน 'หัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน' ในตอนมนต์รักที่หัวหิน ได้กล่าวถึงสภาพสังคมหัวหินในช่วงนี้ให้เห็นภาพไว้ ดังนี้
hhh
"...ส่วนประเภทมีสตางค์หน่อย พอนึกจะไปตากอากาศ ก็ก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเดินทาง แล้วขึ้นรถไฟตรงไปหัวหินที่เดียวไปถึงที่นั่น หาโรงแรมถูกๆ พักเล่นข้างแกงตามตลาด เดินย่ำต๊อกวางมาดชายทะเลทุกเช้าเย็น แต่งตัวให้ภูมิฐานหน่อย อยู่ที่หัวหินสักหนึ่งอาทิตย์ พอผิงเนื้อถูกแดดดำคล้ำก็กลับกรุงเทพฯ พบหน้าใครๆ ก็คุยอวดว่า ไปตากอากาศที่หัวหินกลับมา โรงแรมรถไฟที่นั่นสบายมาก สนามกอล์ฟงดงาม อาหารแพงหน่อย เพื่อฟูงไม่รู้ความจริงก็เลยนับถือ เรื่องมันเป็นอย่างนี้จริงๆครับ ไม่ใชผมมดเท็จพูด ในวงสังคม ถ้าหากใครคนใดคนหนึ่งพูดว่า เขาไปหัวหินกลับมา ก็รู้สึกว่าเป็นของโก้เก๋เหลือเกิน.."
hhh
พ.ศ.2493 ผู้คนที่มีรถนยต์ก็สามารถไปเที่ยวหัวหินได้ง่ายและมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เนื่องเพราะทางหลวงหมายเลข4 ถนนเพชรเกษม สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็นั่นแหละรถยนต์ยังคงเป็นของแพง (ปัจจุบันก็ยังแพงอยู่นะ : huahinhub) คนที่มีสตางค์จริงๆ ก็ยังคงเป็นผู้นำในการมาท่องเที่ยวหัวหินอยู่เช่นเคย และยังได้นำวัฒนธรรม มอร์นิ่ง วอล์ค หรือการเดินเล่นยามเช้า ที่เริ่มขึ้นและฮิตในพระนครในยุคนั้น ได้แก่การมีถนนตัดใหม่หลายสาย เช่น เพชรบุรัตัดใหม-วิทยุ-ราชดำริ ซึ่งมีความร่มรื่นด้วยแมกไม้ ชาวกรุงนิยมตื่นเช้า เดินชมเมืองไปตามถนนยามเช้า จากประตูน้ำไปราชดำริ เพลินจิต หาจิบกาแฟ ปาท่องโก๋ โจ๊กไก่ ต้มเลือดหมู อิ้วจาก้วย กัยตามแหลางอร่อย...ซึ่งติดตามวิถีอย่างนี้ มาใช้กันในหัวหินด้วย
hhh
เช้าตรู่ ผู้คนที่ไปที่ยวหัวหิน ต้องเดิน มอร์นิ่ง วอล์ค ทักทายเพื่อนฝูงที่รู้จักตามชายหาด จากนั้นเดินตามละแวกตลาด ซึ่งเดอินถึงกันไดไม่ทันเหนื่อย เพื่อหาอาหารเช้า อย่างโจ๊ก กาแฟ ไข่ลวก รับประทาน กระทั่งกลายเป็นกิจกรรมยอดนิยมที่ต้องทำกันสำหรับนักตามกอากาศที่นี่ 'ร้านกาแฟเจ๊กเปี๊ยะ' จึงขายดิบขายดีจากยุคนั้นกระทั่งปัจจุบัน
hhh
hhhhhh
3) พ.ศ.2510-ปัจจุบัน
หัวหินยุคกลาง-ยุคปริศนาพาฝันนี้ สามารถสร้างสุขใจแก่ผู้มาเยือนได้แบบลืมไม่ลง เนื่องเพราะยังมีธรรมชาติที่สวยงาม สังคมดี ชุมชนเป็นมิตร ผู้มาเยือนเป็นสุข เคล้าบทเพลงไพเราะแสนประทับใจ ท่ามกลงฉากรักแสนหวานซึ้งจากนวนิยายหลายสิบเรื่อง ในช่วงเวลานั้น คือหลักฐานอันประจักษ์ ที่ยอกให้คนรุ่นลูกรุ่นหลังได้รับรู้ สืบมา
hh
เมื่อก้าวเข้าสู่ปี พ.ศ.2500 หัวหินก็เริ่มมีคู่แข่ง เมืองไทยเริ่มเกิดเมืองตากอากาศแห่งใหม่ เช่น บางปู บางแสน พัทยา ถนนสุขุมวิทจากกรุงเทพฯถึงจังหวัดตราดสร้างเสร็จ ผู้คนพากันหลั่งไหลไปสัมผัสเมืองตากอากาศใหม่ๆ เป็นเหตุให้หัวหินต้องเงียบเหงาลง กระทั่งโรงแรมรถไฟ ที่เคยอู้ฟู่ รุ่งเรือง เฉิดฉาย กลับกลายต้องประสบกับภาวะขาดทุน และต้องเปลี่ยนมือให้เอกชน เข้ารับช่วงบริหารกิจการไปแทน (huahinhub จะได้สรรหา พามาเล่า ให้ทราบเรื่องราวของโรงแรมรถไฟ กันในโอกาสต่อไป)
hhh
มาถึงพศ.นี้ หัวหินกำลังก้าวเข้าสู่ เมือง 100 ปี ที่ไม่ต่างอะไรกับหญิงชรา ที่ต้องหวนหลับไปมองอดีตอันยิ่งใหญ่ รุ่งโรจน์ ยาวนานของตัวเอง บางช่วงแม้จะแอบมีรอยยิ้มเล็กๆที่เปี่ยมสุข ที่สุดอาจต้องถอนหายใจออกมาเฮือกใหญ่ เพราะหัวหินวันนี้ ยังต้องต่อสู้ดิ้นรน กับอนาคตที่จะมาถึงอย่างเหน็ดเหนื่อย
hhh
ในคราวปี พ.ศ.2530 เมื่อรัฐบาลในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกาศให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย การพัฒนารูปแบบใหม่ๆ เพื่อรับทัวร์ริสต์จากทั่วประเทศและทั่วโลก ทำให้หัวหินกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่มีความเคลื่อนไหวใหม่ทุกวี่วัน มีร้านค้าเพิ่มมากขึ้น ตลาดฉัตรไชยก็ขยายขนาดใหญ่ขึ้น ร้านค้าสมัยใหม่ อย่าง 7 ELEVEN , สตาร์บัค, คอฟฟี่เวิลด์ ผุดขึ้นแทบทุกหัวถนน ราวดอกเห็ด รีสอร์ตชั้นหนึ่งของโลกอย้งชีวาศรม โรงแรมห้าดาวอย่าง โซฟิเทล-แมริออต-ไฮเอท-ฮิลตัน-บูติครีสอร์ตชั้นเยี่ยม นับกันไม่หวาดไม่ไหว ต่างพากันเกิดขึ้น เพื่อแย่งกันให้บริการแก่นักตากอากาศที่ หัวหินกันอย่างครบครัน...
hhh
100 ปีที่ผ่านมา หัวหิน เปลียนแปลงไปมาก จนติดอันดับเมืองตากอากาศระดับโลก ถึงเวลาแล้วที่คนรุ่นหลัง ต้องหาคำตอบให้กับหัวหินและตัวเอง ถึงแนวทางในการอนุรักษ์เมืองตากอากาศนาม 'หัวหิน' เอาไว้ให้สมเกียรติ ควรแก่การเก็บรักษา ให้สมกับการคงอยู่เป็นเมืองตากอากาศแห่งสยามประเทศมายาวนาน ถึงกว่า 100 ปี....

ขอบคุณข้อมูลจาก 'เที่ยวหัวหินถิ่นผู้ดี 100 ปีเมืองตากอากาศสยาม' โดยคุณสุกัญญา ไชยภาษี huahunhub : Thanks

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น