5.28.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๖๗ (การออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ)





เมื่อจำนวนปี พ.ศ. เพิ่มขึ้น ใช่ว่าจะมีแต่ตัวเลขอายุเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นตาม ความยาวของสายตาก็เป็นอีกอย่างที่มักจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัยหลายๆ ชนิดจึงได้รับการออกแบบพิเศษ เพื่อให้ตอบสนองต่อข้อจำกัดหรือความจำเป็นด้านการใช้งานตรงนี้
hhh
อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือที่แม้ทุกยี่ห้อจะพัฒนาเทคโนโลยีกันได้เร็วจนตามไม่ทัน แต่หลายๆ รุ่นก็ยังได้รับการออกแบบ “มาเผื่อ” หรือ “มาจับ” ตลาดกลุ่มผู้สูงวัยโดยเฉพาะ ซึ่งรุ่นยอดนิยมที่ได้รับการจัดอันดับในเว็บ thaimobilecenter.com ว่า ออกแบบมาด้วยความ “เข้าใจผู้ใช้” สูงสุดนั้น มีอยู่ 3 รุ่นด้วยกัน
hhh
เริ่มจากรุ่นแรก LG KF300
ที่หน้าจอด้านนอกฝาพับมีตัวเลขเวลาและวันที่ขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนหน้าจอแสดงผลด้านในมีขนาดใหญ่ 2.2 นิ้ว ปุ่มกดและตัวอักษรบนปุ่มมีขนาดใหญ่พิเศษ และสามารถปรับขนาดของตัวอักษรได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นเสริมด้านความบันเทิง และการเชื่อมต่อต่างๆ อาทิ กล้อง บลูทูธ จีพีอาร์เอส ฯลฯ นัยว่าออกแบบมาเผื่อกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ หรือไม่ก็เผื่อผู้สูงวัยที่ยังคงสนุกกับเทคโนโลยีอยู่ (แถมอาจช่วยกลบเกลื่อนภาพลักษณ์ที่ว่า “เพราะสูงวัยจึงต้องใช้มือถือที่ตัวเลขใหญ่” ด้วย)
h
ส่วนอีกรุ่นคือ Samsung B200
เป็นรุ่นที่เน้นการใช้งานพื้นฐาน ถูกออกแบบให้ตัวเลขและตัวอักษรใหญ่ยักษ์เป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นเสริมที่น่าสนใจ อาทิ วิทยุ FM และ Mobile tracker ซึ่งใช้ติดตามเครื่องโทรศัพท์ได้ในกรณีสูญหาย
และรุ่นสุดท้ายคือ
hh
Nokia 1650
ซึ่งมีตัวเลขและตัวอักษรขนาดใหญ่เช่นกัน รุ่นนี้มีฟังก์ชั่นการใช้งานไม่ซับซ้อน มีวิทยุ FM พร้อมไฟฉาย มีเสียงเรียกเข้าที่รองรับไฟล์ MP3 และที่สำคัญราคาไม่แพง
hhh
จะเห็นว่าเมื่อความ “อจีรัง” อันเป็นกฎของธรรมชาติเป็นตัวสร้างปัญหาให้คนเรา “การออกแบบอย่างเข้าใจผู้ใช้” ก็เป็นสิ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหานั้นได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากมองให้ไกล แนวคิดการออกแบบอันนี้ไม่ได้แก้ไขแต่ปัญหาในชีวิตประจำวันเท่านั้น หลายครั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาทางการตลาด และสร้างโอกาส
ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้ด้วย
ขอบคุณ เรื่อง, ภาพและข้อมูลเพิ่มเติม : www.tccdcconnect
.com
huahinhub Thnaks

gggg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น