5.22.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๕๓ (96 พรรษา พระสังฆราช)


hhhh
hhh
วันที่ 3 ตุลาคม 2552 ถือเป็นวาระมงคล เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวฑฺฒน มหาเถระ เจริญ คชวัตร ทรงเจริญพระชนมายุครบ 96 พรรษา (8 รอบ)
สมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงได้รับสถาปนาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2532 ถึงบัดนี้เป็นเวลา 20 ปี
hhhh
ในด้านปริยัติทรงเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค อันเป็นชั้นสูงสุดทางการศึกษาของคณะสงฆ์ ทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สันสกฤต ทรงมีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการพัฒนากิจการของพระศาสนาและคณะสงฆ์ให้ทันสมัย เอื้อประโยชน์ให้ทรงปฏิบัติศาสนกิจทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศด้านการสั่งสอนและเผยแผ่อย่างเป็นรูปธรรม เช่น กิจการด้านพระธรรมทูตในต่างประเทศ(อังกฤษ) การสร้างวัดไทยในต่างประเทศ(ออสเตรเลีย) การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์เถรวาทในต่างประเทศ(อินโดนีเซีย,เนปาล)
hhhh
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ยังทรงเอาพระทัยใส่ในธรรมปฏิบัติ คือการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเปรียญ นอกจากทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว ยังทรงพระเมตตาแนะนำสั่งสอนสหธรรมิกและพุทธศาสนิกชนผู้สนใจ จนเป็นที่รู้จักกันว่าทรงเป็นพระมหาเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระที่สำคัญพระองค์หนึ่ง
hhhh
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ท่านในราชทินนามที่สมเด็จพระญาณสังวร อันเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระนิพนธ์ขึ้นสำหรับพระราชทานสถาปนาพระญาณสังวรเถร (สุก) วัดราชสิทธาราม พระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์สำคัญในครั้งนั้น เป็นสมเด็จพระราชาคณะเป็นพระองค์แรก
hhhh
ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณที่สมเด็จพระสังฆราชแล้ว ก็ไม่ได้พระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดในราชทินนามนี้อีกเป็นเวลายาวนานถึง 7 รัชกาล 150 ปี กระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ปัจจุบัน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฒมหาเถระ) ในราชทินนามนี้เป็นพระองค์ที่สอง
hhhh
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ไม่ได้เป็นพระบรมวงศ์ แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาในราชทินนามพิเศษคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งต่างไปจากสมเด็จพระสังฆราชพระองค์อื่นๆ ที่ไม่ใช่พระบรมวงศ์ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาในราชทินนามตามประเพณีคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ นับเป็นพระเกียรติยศแด่สมเด็จพระญาณสังวรเป็นพิเศษ
hhhh
พระกรณียกิจพิเศษเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ.2499 สมเด็จพระญาณสังวร ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระโศภนคณาภรณ์ ทรงได้รับเลื่อนจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชอุปัธยาจารย์ ให้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งถวายความรู้เรื่องพระธรรมวินัยตลอดเวลาแห่งการทรงผนวช
hhhh
พ.ศ.2521 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ก็ทรงเป็นพระราชกรรมวาจารย์ และทรงทำหน้าที่ถวายความรู้เรื่องพระธรรมวินัยตลอดเวลาแห่งการทรงผนวชเช่นกัน
jjj
สมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่ พ.ศ.2503
วัดแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสถาปนาขึ้นในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้าดาราวดี พระราชชายา สันนิษฐานว่าคงสถาปนาขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2369-2374 เดิมเรียกว่าวัดใหม่ คงเนื่องมาจากสร้างขึ้นใหม่ติดกับวัดรังษีสุทธาวาส ซึ่งมีมาแต่รัชกาลที่ 2
hhhh
ครั้น พ.ศ.2379 วัดนี้ว่างเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงผนวชอยู่และประทับจำพรรษา ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) ให้เสด็จฯ มาครองวัดนี้ อันเป็นเหตุให้ได้พระราชทานนามว่าวัดบวรนิเวศวิหาร หรือเรียกสั้นๆ ในครั้งนั้นว่าวัดบน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารพระองค์แรกจนถึง พ.ศ.2394 และวัดบวรนิเวศวิหารได้ชื่อว่าเป็นวัดธรรมยุตวัดแรก
hhhh
เจ้าอาวาสองค์ต่อมา ได้แก่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) พ.ศ. 2394-2435 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์มนุษยนาคมานพ) พ.ศ.2435-2464 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) พ.ศ.2464-2501 พระพรหมนุนี (ผิน สุวโจ) พ.ศ.2501-2503 สืบเนื่องมาถึง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) จนถึงปัจจุบัน
hhhhhhh
วัดบวรนิเวศวิหารเป็นจุดกำเนิดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เพราะเป็นที่เสด็จฯ สถิตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงผนวชอยู่และทรงดำริริเริ่มปรับปรุงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นพระสงฆ์คณะธรรมยุตในเวลาต่อมา
hhhh
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดมหามกุฎราชวิทยาลัย สถานศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร ซึ่งได้พัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย เป็นต้นกำเนิดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เรียกสั้นๆ ว่า “นักธรรม” อันเป็นการศึกษาขึ้นพื้นฐานของคณะสงฆ์ไทย วัดบวรนิเวศวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ได้แก่ พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ซึ่งสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไทย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยเดียวกับพระพุทธชินราช และทั้งสามองค์เคยประดิษฐานอยู่ด้วยกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทคู่บนศิลาแผ่นใหญ่สมัยสุโขทัย และพระไสยา (พระนอน) ที่งดงามสมัยสุโขทัยด้วย
jjjj
ในทางบ้านเมือง วัดบวรนิเวศวิหารเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการศึกษาหัวเมือง เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร พ.ศ.2441 ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ให้ทรงอำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมือง ถือเป็นการวางรากฐานการประถมศึกษาของไทย
hhhh
วัดบวรนิเวศวิหารยังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ เริ่มจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์
hhhh
สองทศวรรษในการดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแห่งวัดประจำราชวงศ์จักรี จึงมีความน่าสนใจในเชิงประวัติศาสตร์ที่สมควรถกแถลงอย่างยิ่ง..พี่น้องชาวหัวหิน ว่ามั๊ย...
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
huahinhub Thanks
hhhh

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น