5.07.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๒๗ (ศาสนาในสังคมสมับใหม่ ของไทย)


h
h
h
h
h
hh
h
huahinhub ขอเสนอแนวคิดของนักวิชาการแถวหน้าของวงการวิชากรเมืองไทย กับการแสดงปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 4 เมื่อปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมา โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิดอาวุโส
หัวข้อ “
ศาสนาในสังคมไทยสมัยใหม่
hhhh
ซึ่งมีแง่มุมน่าสนใจหลากหลายประเด็น มาผากกัน....
ค่อยๆ ติดตาม แล้วจะอยากรู้จัก อาจารย์ นิธิฯ มากขึ้น ไม่เชื่อลองดู..................
hh
h
h
h
๐ ที่มาพุทธศาสนาแห่งชาติสมัย ร.5
ศ.นิธิ วิเคราะห์ว่าการศึกษาเกี่ยวกับพุทธศาสนาในสังคมไทยมักเริ่มต้นที่ฐานคิดหลักคือสังคมไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับพุทธ พราหมณ์ และผี ปนกัน จากนั้นจึงแยกศึกษาไปตามประเด็นที่แต่ละคนสนใจบนฐานความคิดดังกล่าว ข้อน่าสังเกตคือแม้แต่กลุ่มคนที่ถูกอ้างว่ามีแนวปฏิบัติที่ไม่ใช่พุทธ ก็ยังยืนยันว่าตนเป็นพุทธ
h
“ผมมาคิดว่าการเริ่มต้นที่พุทธ พราหมณ์ ผี น่าจะไม่ทำให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ผมคิดว่าทั้งสามแนวนั้นเป็นพุทธศาสนาแบบไทย ไม่ต้องแยกว่าแบบไหนเป็นพุทธ แบบไหนเป็นพราหมณ์ หรือแบบไหนเป็นผี ส่วนที่เป็นความเชื่อเกี่ยวกับผีคงมีคุณสมบัติไม่ครบที่จะเป็นศาสนาตามคำนิยามของนักมานุษยวิทยาศาสนา”
h
ประเด็นสำคัญในการนำเสนอครั้งนี้ ศ.นิธิ ชี้ว่าเมื่อมีการพูดถึงพระพุทธศาสนามักมีหลักตายตัว มีพรมแดนชัดเจน เป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่งเกิดในโลกเมื่อประมาณ 200 ปี มานี้ (แต่มิได้หมายรวมถึงพระคัมภีร์ทางศาสนา) ลักษณะดังกล่าวน่าจะเกิดขึ้นในโลกตะวันตกก่อน
h
เมื่อเข้าสู่สมัยล่าอาณานิคม ประเทศตะวันตกได้นำความคิดเกี่ยวกับศาสนาที่มีพรมแดนชัดเจนมาเผยแพร่ในประเทศอาณานิคมของตนด้วย ประเทศเหล่านี้จึงทำศาสนาให้มีพรมแดนแบบตะวันตกบ้าง ทั้งที่ความเป็นจริงศาสนาเชิงปฏิบัติไม่มีพรมแดนใดๆ
k
นักคิดท่านเดิมอธิบายว่าการปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่คือการออกกฎหมายปฏิรูปคณะสงฆ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว
k
ศ.นิธิ อ้างงานวิจัยของ กมลา ปิยะวณิช ผู้ศึกษาเรื่องพระป่า พบว่าก่อนหน้าที่รัชกาลที่ 5 จะทรงออกกฎหมายดังกล่าว พุทธศาสนาในสยามมีหลายสำนัก แต่ละสำนักมีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน มีพระวินัยแตกต่างกัน และจุดเน้นของคำสอนก็แตกต่างกันด้วย แม้แต่กลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน เช่น ชาวลื้อก็ไม่ได้มีศาสนาลื้อเหมือนกันเพียงแบบเดียว “ลักษณะแบบนี้คุณกมลาเรียกว่าเป็นพุทธศาสนาแบบรวมๆ หรือแบบหลากหลาย”
h
“หลังจาก ร.5 ออกกฎหมาย ปรับหลักสูตร และขยายอำนาจของผู้ปกครองคณะสงฆ์ให้ครอบคลุมพระสงฆ์ทั่วประเทศ มีการตีความพระวินัยให้ตรงกันเป๊ะ เช่น ห้ามกินข้าวยามวิกาล ทั้งที่คำว่าวิกาลก็ยังไม่ชัดเจนว่าคืออะไร เน้นคำสอนแบบเดียวกันขยายผ่านระบบการศึกษาและการปกครองคณะสงฆ์ จนเรายึดว่านี่คือพุทธศาสนา ผิดจากนี้ไม่ใช่”
h
ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงในแวดวงพุทธศาสนา เนื่องจากพุทธศาสนาในแบบอื่นๆ ล้วนมีปัญหากับพุทธศาสนาฉบับหลวง หรือที่นักวิชาการเรียกว่า “พุทธศาสนาแห่งชาติ”
h
“นี่กระมังที่นักคิดแนว Post-Modernism บอกว่าพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผลผลิตจากตะวันตก เกิดความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาแบบราชสำนักกับพุทธศาสนาของชาวนา ประเด็นนี้พุทธศาสนาจึงถูกสร้างให้เป็นเครื่องมือของรัฐรวมศูนย์ เป็นเครื่องมือเผยแพร่นโยบายที่รัฐต้องการผ่านพระสงฆ์”
h
h
๐ สังคมเปลี่ยน บทบาทองค์กรสงฆ์ลด
นักประวัติศาสตร์อาวุโสท่านเดิมมองว่าปัจจุบันบทบาทของคณะสงฆ์ในแง่การเป็นเครื่องมือของรัฐลดลงไปมาก ด้วยมีสื่ออื่นๆ เผยแพร่ได้มีประสิทธิภาพกว่า
h
“พุทธศาสนาแห่งชาติสามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบันได้หรือไม่ ผมอยากฟันธงว่า ไม่ได้ และยังอ่อนกำลังลงด้วย นับวันรัฐเองก็มีกึ๋นที่จะหนุนพุทธศาสนาแห่งชาติได้น้อยลงด้วย” ศ.นิธิ กล่าว
h
ในแง่นี้ ศ.นิธิ เสนอว่าพุทธศาสนาน่าจะกลับไปเป็นแบบพุทธศาสนาที่หลากหลายหรือแบบรวมๆ สมัยก่อนรัชกาลที่ 5 “ปัญหาหนึ่งคือการที่บอกว่าประเทศไทยเข้าสู่ความทันสมัย แต่อะไรล่ะคือความทันสมัย พระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสรูปหนึ่งคือท่านสันติวโร ท่านเคยถามว่าเราสามารถนำความคิดเรื่องความทันสมัยมาอธิบายสังคมได้ไหม ท่านคิดว่าไม่ได้”
h
h
๐ ความเปลี่ยนแปลง 4 ประการในสังคม
ต่อคำอธิบายว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของความทันสมัยในสังคมนั้น ศ.นิธิ จำแนกไว้ 4 ประการ ได้แก่ การเข้าสู่เศรษฐกิจทุนนิยม การเกิดรัฐรวมศูนย์ที่ซับซ้อน การมีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงบทบาทด้านเพศสภาพ
h
ประการแรกการเข้าสู่เศรษฐกิจทุนนิยม แบ่งออกเป็นการเกิดศูนย์กลางตลาดที่ขยายตัวและกระทบชีวิตผู้คน สังคมเข้าสู่การแลกเปลี่ยนที่ต้องผ่านเงินตรา เกิดความจำเป็นต้องพัฒนาสู่ความเป็นเฉพาะด้าน (Specialize) มากขึ้น เกิดชีวิตเมือง (Urban) ที่ครอบงำสังคมไทย เกิดความเปลี่ยนแปลงของอาชีพกสิกรรมจากพอเลี้ยงชีพเป็นเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์แบบเข้มข้น เกิดรูปแบบชีวิตของคนชั้นกลางผ่านสื่อและระบบการศึกษา ซึ่งเป็นเครื่องมือแสวงหาการยอมรับจากคนในสังคม
h
การเกิดรัฐรวมศูนย์ที่ซับซ้อนใหญ่โตแทรกสู่ชีวิตคน ทำให้เกิดภาวะเข้าไม่ถึงรัฐ ชาวบ้านทำมาหากินลำบากเพราะการเข้าถึงรัฐเป็นเงื่อนไขสำคัญในการดำรงชีวิตในเมือง
hh
h
๐ ต่อประเด็นการมีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้นนั้น
ศ.นิธิ ขยายความว่าวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความคิดสำคัญ 3 ลักษณะ ได้แก่ การเห็นความสำคัญของชีวิตในโลกหน้า บ้างเรียกว่ามนุษยนิยมแบบไทย คนปัจจุบันมองเป้าหมายชีวิตในอนาคต หรือมีชีวิตกับโลกข้างหน้า แตกต่างจากคนในอดีตที่มองอุดมคติอยู่ข้างหลัง
h
นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังทำให้เกิดความคิดแยกส่วน ทำให้มนุษย์รู้สึกอ่อนแอด้วยตระหนักว่าความเป็นจริงกว้างใหญ่ แต่มนุษย์รู้เพียงส่วนเสี้ยวดียว
h
ลักษณะสุดท้ายที่เป็นผลจากวิทยาศาสตร์ คือเกิดกลุ่มทางสังคมที่เป็นนามธรรม ขณะที่กลุ่มสังคมของคนในอดีตเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น การถือเก๊าผีเดียวกัน,เป็นเครือญาติกัน เป็นต้น
h
h
๐ศ.นิธิ ขมวดประเด็นในช่วงนี้ว่า
“คนปัจจุบันรู้สึกขาดเสถียรภาพ ผมคิดว่านี่คือวิกฤติของความทันสมัย คำถามคือพุทธศาสนาของไทยแบบรวมๆ เข้ามาตอบปัญหาความเป็นวิกฤติเหล่านี้ได้หรือไม่อย่างไร ผมคิดว่าศาสนาพุทธแบบรวมๆ นี้มีบทบาทมาก”
h
ผู้เสนอออกตัวว่าได้ประมวลงานวิจัยของนักวิชาการหลายคน พบว่าศาสนาพุทธแบบหลากหลายมีบทบาทในแง่ที่เน้นความสำคัญของโลกนี้ ทั้งยังปรับตัวให้เข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ ทำให้ช่องว่างระหว่างความเป็นโลกุตระกับโลกียะแคบลง ดังเช่นที่ท่านพุทธทาสภิกขุเคยกล่าวไว้ว่านิพพานอยู่ตรงนี้
h
อย่างไรก็ตาม ผู้เสนอตั้งข้อสังเกตว่าความใกล้ชิดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมีอันตรายเช่นกัน หากนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาใช้ในทางอื่นๆ นอกจากศาสนา ดังนั้นพุทธศาสนาจึงไม่ต้องการเน้นมิติด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากนัก
h
“ท่านพุทธทาสยอมรับว่าความทุกข์มาจากอวิชชาหรือตัณหาภายใน แต่ปัจจัยภายนอกก็มีส่วนที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วย ดังนั้นพระอาจไม่เป็นเครื่องมือที่ดีของรัฐก็ได้ สิ่งที่ท่านพุทธทาสสอนก้าวหน้ามาก”
h
h
๐ พุทธแบบอื่นกับความหมายของชีวิต
การเปลี่ยนแปลงบทบาทของพุทธศาสนาต่อสังคมยังสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องผี ศ.นิธิ กล่าวว่าลัทธิผีเปลี่ยนแปลงมาก เกิดผีใหม่ๆ มากมาย ขณะที่ผีเก่าเพิ่มอิทธิฤทธิ์มากขึ้น ตัวหลักคำสอนของลัทธิผีจึงไม่สำคัญ เช่นเดียวกับที่จารีตนิยมของพุทธถูกแปลความหมายเหลือเพียงการยึดมั่นในวัตรปฏิบัติ
hh
“การให้ความสำคัญกับโลกนี้ชีวิตนี้ยังเป็นเรื่องความหมายต่อชีวิตซึ่งมีความหมายกว้างกว่าหลักธรรมคำสอน เช่น การจัดองค์กรของฝ่ายธรรมกาย มีกลุ่มศรัทธาวัดเรียกว่ากัลยาณมิตร ในวันอาทิตย์มีบริการรถรับส่งตรงจุดต่างๆ ไปวัด ทำให้เกิดความสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่าย เป็นลักษณะความสัมพันธ์เชิงชีวิต ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในทางธุรกิจ เป็นเครือข่ายทางการตลาด อันนี้เป็นผลมาจากการจัดการที่ดี”
h h
ศ.นิธิ มองปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นการให้คำตอบกับชีวิตที่เคยพร่องไป โดยผ่านกลไกทางศาสนา
“กรณีสันติอโศกพยายามตอบคำถามของสังคม เช่น เรื่องความเท่าเทียม เสมอภาค ที่นี่จะมีประเพณีวิจารณ์ตนเองหรือเรียกกันว่าการชี้ขุมทรัพย์ แม้แต่พ่อท่านโพธิรักษ์ก็เน้นการอยู่ง่ายกินง่าย ท่านยังสร้างระบบเศรษฐกิจแบบบุญนิยม สอนให้เป็นทั้งผู้ผลิต แลกเปลี่ยน และบริโภค ส่งเสริมการหากำไรจากสิ่งที่ไม่ใช่เงิน
h

“ทั้งหมดนี้เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยไม่ใช่ประเด็น แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงการที่ศาสนาเข้ามาตอบปัญหากับสังคมได้ ยังมีความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจคือการทรงเจ้าเข้าผี”
h
ผู้เสนอท่านเดิมอ้างถึงงานวิจัยที่พบว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการทรงเจ้าเข้าผีคือคนชั้นกลาง ทั้งยังเป็นคนในเมือง ปัญหาชีวิตส่วนใหญ่ของคนชั้นกลางล้วนเป็นปัญหาระดับปัจเจกบุคคล เช่น สามีนอกใจ ฯลฯ ในขณะที่คนต่างจังหวัดไม่พบการใช้บริการทรงเจ้าเข้าผีเพื่อตอบปัญหาส่วนตัว การทรงเจ้าเข้าผีของคนต่างจังหวัดเกี่ยวข้องกับชุมชน โดยจะทำพิธีเข้าผีปีละครั้ง
h
h
๐ “การทรงเจ้าเข้าผีก็เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาที่จะมาตอบคำถามชีวิตได้” ศ.นิธิ ระบุ
ไม่เพียงเฉพาะสังคมไทยเท่านั้น ความเคลื่อนไหวของศาสนาแบบหลากหลายในระดับโลกก็สอดคล้องกัน เช่น การใช้บริการทรงเจ้าเข้าผีและการเข้าฌานของคนเมืองหลวงในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ล้วนเป็นปัญหาระดับปัจเจกบุคคล
h
h
๐ ความเปลี่ยนแปลงบทบาทของเพศสภาพ
ประเด็นสุดท้ายอันเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัย นั่นคือบทบาทของเพศสภาพ ศ.นิธิ อธิบายว่าพุทธศาสนาแบบหลากหลายได้เข้ามาตอบคำถามพอสมควร
h
“พุทธศาสนาในวัดที่ไม่ใช่แห่งชาติได้ทำอะไรหลายอย่าง ทำให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น ผู้หญิงสามารถหลุดพ้นโดยการทำวิปัสสนาที่ลานอโศก วัดมหาธาตุ ที่นี่ผลิตนักปราชญ์หญิงออกมาหลายคน ผู้หญิงสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญพระอภิธรรมได้ หรือตัวอย่างโครงการธรรมมาตาของท่านพุทธทาสก็สนับสนุนผู้หญิง กรณีธรรมกายที่มีแม่ชีจันทร์ขนนกยูงที่มีคนศรัทธามากมายแม้ว่าท่านจะเสียไปแล้วก็ตาม กรณีสันติอโศกมีการรับผู้หญิงปฏิบัติศีลที่มากกว่าศีลสิบ” ตามแนวโน้มนี้ส่อเค้าว่าจะมีนักบวชหญิงเพิ่มขึ้น “เราจะเรียกว่าภิกษุณีหรือไม่ ไม่สำคัญ และไม่สำคัญด้วยว่าจะชอบหรือไม่ชอบ”
h
ศ.นิธิ กล่าวด้วยว่าพุทธศาสนานอกวัดก็พบบทบาทของสตรีมากขึ้น ดังเช่นคนทรง 66.67% เป็นหญิง และ 70% ของผู้ใช้บริการก็เป็นหญิง โดยอ้างถึงงานวิจัยของนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาสังคมมุสลิมพบว่าการทรงเจ้าเข้าผีของชาวมุสลิมเป็นการแสดงออกซึ่งความทุกข์ใจของผู้หญิง และเป็นการปลดแอกของผู้หญิงจากผู้ชายด้วย
h
สอดคล้องกับปรากฏการณ์ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5 ในวันอังคาร ก็ไม่ได้ปิดกั้นผู้หญิง
ทั้งหมดนี้แทนอำนาจที่สูญเสียไปของผู้หญิง ด้วยการแสวงหาคำตอบในการแก้ปัญหาชีวิตจากผู้หญิงด้วยกัน h
“ปัญหาสำหรับคนไทยสมัยใหม่คือรัฐชาติไทยและศาสนาได้เข้ามาตอบปัญหาเหล่านี้อย่างไรบ้าง เพราะเวลาคนถามเจ้าส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับรัฐ เช่น ลูกจะสอบโอเน็ต ต้องพาลูกไปหาหมอทรง หรือข้าราชการจะทำเรื่องย้ายไปก็หาคนทรง หรือถูกขโมยขึ้นบ้านเยอะ นี่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการจัดการของรัฐ ถ้าปัญหาเปลี่ยนไป มีปัญหาใหม่ๆ เข้ามา ก็แก้ด้วยการเปลี่ยนผีใหม่”
h
จากปรากฏการณ์ทางสังคมเหล่านี้สะท้อนว่าศาสนาฉับไวกว่ารัฐชาติในการแก้ปัญหา และศาสนาช่วยให้เข้าถึงรัฐในอุดมคติได้ง่าย
h
“รัฐชาติเองยังมีปัญหาที่อีก 20 ปีก็ยังตอบไม่ได้อีกเยอะ”
โดยสรุปแล้วพุทธศาสนา(แบบหลากหลายหรือรวมๆ) มีบทบาทในการตอบคำถามให้กับสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากพุทธแบบนี้มีความเข้มแข็งมากในการปรับตัวเอง มีความเคลื่อนไหวทั้งที่สืบเนื่องและไม่สืบเนื่องกับพระคัมภีร์
h
“มีแต่พุทธศาสนาแห่งชาติเท่านั้นที่แหงแก๋ ไม่สามารถปรบตัวได้อีก” ศ.นิธิ สรุปตอนท้าย
h
ก็ต้องเก็บไปคิด และหันย้อนมองตัวของตน และสังคมรอบๆด้าน ไปพร้อมกัน...huahinhub ก็หวังว่า เราชาวหัวหิน จะได้อะไรดีดี จากการติดตามบมความ นี้กัน....สวัสดี
h
ขอบคุณข้อมูลจาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 7 พ.ค. 2552
huahinhub Thanks
h

1 ความคิดเห็น: