5.23.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๕๖ (การอ่าน กับ 'จอ')


วชิรา
นักเขียนหนุ่มอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร a day ประเดิมเซ็กชั่น รู้หนังสือ ใน happening ด้วยบทความที่เขาแสดงความเห็นเรื่องการอ่านของคนไทยไว้อย่างน่าสนใจ เขาตั้งชื่อเรื่องนี้ว่า 'จอ' ...การอ่านหนังสือไปเกี่ยวอะไรกับ 'จอ' ขอเชิญติดตามอ่านกันได้จาก 'จอ' คอมพิวเตอร์ ณ บัดนี้
------------------------------------------------------------------
hhh
หลายเดือนก่อนผมได้ยินข่าวเล่าในวงข้าวว่ากำลังจะมีการติดตั้งจอโทรทัศน์บนรถไฟฟ้าที่วิ่งฉวัดเฉวียนไปมาบนท้องฟ้ากรุงเทพมหานคร แหล่งข่าวไม่ได้เปิดเผยว่าจอขนาดเล็กๆ จะบรรจุเนื้อหาแบบไหนไว้ข้างใน แต่กลับเล่าเข้าประเด็นว่ามีบางฝ่ายพยายามออกเสียงคัดค้าน โดยให้เหตุผลกำกับว่าอาจเป็นองค์ประกอบที่ช่วยปิดโอกาสให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น
hhh
หมายความกว้างๆ ว่าแทนที่จะฉวยโอกาสอันดี (ที่ผู้ใหญ่ในประเทศของเราเพิ่งรู้สึกได้ว่าประชาชนของท่านลำบากยากเข็ญกับระบบขนส่งมวลชนพื้นฐานมาช้านาน-รู้สึกช้ากว่าชาวอังกฤษเป็นร้อยปี!) ไปกับการอ่านหนังสือในขณะเดินทาง ก็อาจส่งเสริมให้มองและดูสิ่งที่จะปรากฏในจอเล็กๆ นั้นแทน
hhh
ผมอนุมานเอาเองว่าเป็นสงครามขนาดย่อมของพฤติกรรมการอ่านกับการดู บนสมมติฐานที่ว่า ถ้ามีอะไรให้ดู คนจะไม่รู้สึกอยากอ่านผู้ที่มีโอกาสใช้บริการรถไฟฟ้าหรือใต้ดินในนานาอารยะประเทศ อาจเคยสังเกตว่าในกรณีที่ไม่เบียดเสียดยัดเยียดจนเกินไปนัก ผู้โดยสารส่วนใหญ่เมื่อลงหลักปักที่เป็นอันเรียบร้อย ก็มักจะงัดอุปกรณ์ฆ่าเวลาส่วนตัวออกมา ถ้าไม่เล่นเกมส์ในโทรศัพท์ (ส่วนใหญ่เขาไม่พูดโทรศัพท์กันในรถโดยสารสาธารณะ) ก็ฟังเพลงจากอุปกรณ์ขนาดเล็ก (ที่นับวันจะหน้าตาดีขึ้นเรื่อยๆ ) หรือไม่ก็เล่นเกมส์จำพวกครอสเวิร์ด
hhhh
นอกเหนือจากนั้น ส่วนใหญ่ของส่วนใหญ่ก็มักหยิบหนังสือออกมาพลิกอ่านสังเกตว่ามีบ้างบางจำนวนที่จดจ้องอยู่กับโฆษณาในจอสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ตั้งแต่จำความได้ ผมได้ยินมาตลอดว่าชนชาติของเราเป็นชนชาติที่ไม่ค่อยจดบันทึก องค์ความรู้ส่วนมากส่งถ่ายจากรุ่นสู่รุ่นด้วยปากและการสนทนา (ดังตัวอย่างเมื่อย่อหน้าแรกที่ผมเองก็ ‘ฟัง’ มา เช่นกัน)
hhhh
นัยว่าเป็นเมืองเขตร้อน อากาศเย็นสบาย วิถีชีวิตความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ในหมู่บ้านมีศาลาให้พักผ่อนหย่อนใจ นอกบ้านมีชานกว้างใหญ่ ไม่ต้องมีภัยพิบัติใดๆ ให้วิตกกังวล จึงนิยมการพบปะสังสรรค์ ถามไถ่สารทุกสุขดิบ มากกว่าการหมกตัวหลบลี้หนีอากาศหนาวเย็นอยู่แต่ในห้องในหับนิสัยการแยกตัวเองออกจากผู้อื่นเพื่อนั่งอ่านหนังสือเงียบๆ จึงอาจทำให้กลายเป็นคนประหลาดตามสายตาเพื่อนบ้าน
hhhh
ขณะที่พวกเขาออกมาพบปะสังสรรค์นั่นหมายความว่า ถ้าผมเกิดและเติบโตในประเทศอังกฤษหรือญี่ปุ่น ผมจะมีแนวโน้มเป็นคนที่สนใจการอ่านมากกว่านี้ใช่หรือไม่พันปีผ่านไป ในน้ำเริ่มขาดปลา ข้าวในนาเริ่มขาดมือ ระเบียงของหลายบ้านเริ่มเล็กลง หลายครอบครัวอพยพย้ายถิ่น หวังสร้างอนาคตที่ดีกว่า พาลูกหลานเข้ามาศึกษาหาความรู้ในเมืองใหญ่
hhhh
การอ่านพลัดหลงเข้ามาเป็นพายุใหญ่ในชีวิต ก่อนเปิดเทอม ผู้ปกครองต้องเป็นธุระพาไปซื้อหนังสือนับสิบๆ แบกกระเป๋าไหล่เอียงไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนห้าวันในหนึ่งสัปดาห์ (ยังไม่นับรวมวันหยุดเสาร์อาทิตย์ที่ต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม) คุณครูใจดีทุกท่านต่างพากันร่วมมือร่วมใจเคี่ยวเข็ญให้เราอ่านเขียนท่องและจำ เพียงเพื่อสอบให้ผ่านขณะที่บรรยากาศในบ้าน พ่อ แม่ ลูก กินข้าวพร้อมๆ กันกับจอโทรทัศน์จนถึงเวลาเข้านอน และเปิดโทรทัศน์ทันทีที่ตื่นนอนเมื่อพายุสงบ
hhhh
เราจึงพร้อมใจกันทิ้งการอ่านไว้กับระบบการศึกษา เข็ดขยาด และพร้อมจะส่งผ่านพฤติกรรมอันแสนทุกทรมานนี้ไว้ให้ประสบแก่คนรุ่นต่อๆ ไปสถาปนา ‘การอ่าน’ ให้กลายเป็นเพียงเครื่องมือของการสอบแข่งขันเท่านั้น
hhhh
หลายปีผ่านไป ขนาดของบ้านยังคงเล็กลงอย่างต่อเนื่อง หลายบ้านกลายสภาพเป็นห้องสี่เหลี่ยมๆ คับแคบ ระเบียงขนาดพอดีกลายสภาพเป็นที่ตากผ้า หลายครอบครัวจำต้องพลัดพรากจากถิ่นฐานยาวนานกว่าเดิม เพื่ออนาคตที่ดีกว่าอนาคตที่เคยคิดว่าจะดีนี่น่าจะเป็นนิมิตหมายอันประเสริฐ เพราะเมื่อเราแยกตัวจากกันมากขึ้น พื้นที่สำหรับการปะทะสังสรรค์น้อยลง ก็หมายความว่าเราน่าจะโน้มเอียงไปมีนิสัยรักการอ่าน โดยไม่ต้องกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นชาวอังกฤษหรือชาวญี่ปุ่นเกือบไปแล้วเชียว
hhhh
เสียดายที่โทรศัพท์มือถือถลำเข้ามารุกล้ำในชีวิตเราเสียก่อน เวลาที่เคยต้องแยกตัวออกจากคนอื่นก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องมือเชื่อมต่อกิจกรรมสังสรรค์สนทนา ช่วยคลายความเหงาเศร้า วิเวก ว้าเหว่ และวังเวงถัดมาไม่นาน โลกไซเบอร์ก็ขยายจนกว้างใหญ่ ตอบรับวิถีชีวิตโดดเดี่ยวให้โดดเดี่ยวยิ่งขึ้น เพิ่มช่องทางสำหรับ ’การอ่าน’ในหมวดหมู่ใหม่-อันเป็นผลมาจากจากการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ ’การเขียน’ เป็นอิสระจากเพียงที่ผูกขาดอยู่กับระบบการพิมพ์บนกระดาษ
hhh
กลายเป็นวงจรทับซ้อนที่ยากจะคาดเดาอนาคตเป็นอย่างยิ่งหลายฝ่ายเริ่มแสดงความกังวล ถึงปริมาณ ‘ช่องทาง’ สำหรับการสื่อสาร ที่เริ่มจะมีมากจนเกินกำลังและเวลาที่จะใส่ใจอันนำมาซึ่งความกังวลต่อ ‘เนื้อสาร’ ในลำดับต่อมาโดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ‘ช่องทาง’ ต่างๆ ของการส่งเนื้อสารนั้น
hhhh
อย่างไรเสียก็ไม่น่ากังวลนัก เหมือนที่ผมไม่คิดว่าการมีจอเหลี่ยมๆ บนรถไฟฟ้าจะน่าเป็นห่วงเท่ากับว่าในจอเหลี่ยมๆ นั้นบรรจุอะไรไว้และเข้าใจไปเองว่าน่าจะเป็นความกังวลเดียวกันกับฝ่ายที่พยายามส่งเสียงคัดค้านคงดีไม่น้อย ถ้าในจอเหล่านั้นสามารถบรรจุบทกวีสั้นๆ หรือข้อความดีๆ ไว้ให้อ่านเป็นระยะๆ ก่อให้เกิดเป็นช่องทางใหม่ๆ สำหรับการเผยแพร่บทกวี ที่ว่ากันว่าตายสนิทไปแล้ว
hhhh
ขณะเดียวกันผมก็ไม่กังวลว่ารูปแบบการอ่านหนังสือเล่ม (กระดาษ) จะหายไปจากโลกใบนี้ เหมือนที่เพิ่งอ่านเรื่อง ตะลุยโลกการอ่าน ในนิตยสาร GM เมื่อฉบับเดือนพฤศจิกายน 2549 แล้วพบข้อมูลหนึ่งว่า นิวยอร์กไทม์เคยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านดีไซน์ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้ชื่อว่ามีดีไซน์สอดคล้องกับสรีระมนุษย์ที่สุดในรอบ 1,000 ปี
hhhh
ผลปรากฏว่า งานออกแบบอันดับหนึ่งก็คือ ‘หนังสือ’นอกเหนือจากความสอดคล้องทางสรีระ หนังสือยังถือเป็นวัตถุใช้งานที่เรียบง่ายที่สุดอีกด้วย ไม่ต้องชาร์จแบ็ต ต่อไฟ หรือใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ นอกจากสายตาและแสงสว่างอะไรที่สอดคล้องและเป็นไปตามกลไกพื้นฐานแล้วนั้น อย่างไรเสียก็สามารถอยู่ได้ยาวนานโดยตัวมันเอง เหมือนถ้าเรามีระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับ ‘การเรียนรู้’ มีระบบขนส่งมวลชนที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตมาตั้งแต่เมื่อร้อยปีก่อน
hhh
วันนี้ประชาชนชาวไทยอาจมีพฤติกรรมติดหนึบการอ่านโดยตัวเราเองก็เป็นได้
hhh
ขอบคุณเรื่องจาก วชิรา...และ http://www.happeningnow.net/
อนึ่ง สามารถติดตามงานอื่นๆของ วชิราได้จาก http://iamvajira.blogspot.com
huahinhub Thanks

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น