5.22.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๕๔ (ผู้ใหญ่แนว แถวหน้า)



ยุทธนา - วงศ์ทนง แนวไปไหน?
ในที่สุด บทสัมภาษณ์ยาวเหยียดที่ได้รับการถามไถ่มามากมายจากแฟนๆ happening ชิ้นนี้ ก็ได้ฤกษ์ลงเว็บเสียที บทสนทนาระหว่าง 'พ่อเด็กแนว' สองคน ยุทธนา บุญอ้อม และ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ที่โด่งดังมาพร้อมกับคำว่า อินดี, แหกคอก, แนว ฯลฯ ที่จะว่าไปก็ผ่านมาแล้วหลายปี วันนี้พวกเขาเป็นอย่างไร ต่อไปนี้คือคำพูดในฉบับ Un-Cut จากบทสัมภาษณ์ที่เคยตีพิมพ์ใน happening ฉบับที่ 26
hhh
hhh
ผู้ชายสองคนนี้มีอะไรคล้ายกันป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม สร้างชื่อในแวดวงสื่อสารมวลชนจากการเป็นดีเจในคลื่น Hot Wave แต่เหตุการณ์ที่ทำให้เขาเป็นที่จดจำยิ่งกว่าคือการเป็นผู้บริหารและเป็นดั่งโลโก้ของคลื่น Fat Radio มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อราว 9 ปีก่อน
hhh
คลื่นวิทยุโตๆ มันๆ คลื่นนี้สร้างความแตกต่างให้วงการเพลงไทยด้วยการเลือกเปิดเพลงอินดี้เป็นหลัก ให้โอกาสกับศิลปินที่ทำดนตรีนอกกระแส กลายเป็นพื้นที่แจ้งเกิดของศิลปินรุ่นใหม่มากมาย ก่อสร้างเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่อย่าง Fat Festival และยังลามเลยไปถึงการแจกรางวัล เปิดโอกาสกับวงการหนังสั้นและอื่นๆ อีกมาก ยุทธนาเคยออกจากแฟตเรดิโอไปทำงานอื่นบ้าง ก่อนจะกลับมาอยู่ที่เดิมและเริ่มต้นทำนิตยสารดนตรีชื่อ DDT แถมยังไปมีส่วนร่วมในการก่อตั้งโรงหนังอาร์ตชื่อ House อีกด้วย
hhh
ในเวลาไล่เลี่ยกันกับที่แฟตเรดิโอกำลังเริ่มต้น โหน่ง-วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ก็เริ่มก่อตั้งนิตยสาร a day ที่สร้างปรากฏการณ์การเรียกให้ผู้อ่านมาลงขันร่วมหุ้นทำนิตยสารด้วยกัน แต่ที่สำคัญกว่าก็คืออะเดย์เป็นนิตยสารที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนหนุ่มสาวจำนวนมาก ด้วยเนื้อหามีสาระที่มาพร้อมรูปลักษณ์เท่ๆ กับภาพพจน์เด็กดื้อ แหกคอก และมีพลังครีเอทีฟล้นเหลือ อะเดย์กลายเป็นพื้นที่ที่ให้โอกาสกับความคิดใหม่ๆ ของคนรุ่นใหม่มากมาย
hhh
โดยเกี่ยวพันไปถึงวงการเพลง, หนังสั้น, การ์ตูน, กราฟิกดีไซเนอร์ และอีกมาก เช่นกันทั้งยุทธนาและวงศ์ทนง เคยถูกเรียกด้วยวลีประมาณ ‘พ่อเด็กแนว’ มาแล้ว ด้วยความที่ทั้งแฟตเรดิโอและอะเดย์ล้วนก่อกระแสและเป็นพื้นที่โชว์ของของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่ถูกสื่อเรียกว่า ‘เด็กแนว’ ซึ่งหลายปีต่อมา คำๆ นี้ก็กลายเป็นคำที่ถูกใช้จนเกร่อ ถึงขนาดที่มีคำกล่าวว่า ‘เด็กแนวตัวจริงจะไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นเด็กแนว’ ประมาณนั้นเลยทีเดียว
hhhh
กะเวลากันคร่าวๆ ก็พออนุมานได้ว่าจากวันที่กระแสเด็กแนวเริ่มก่อตัวจนวันนี้ ก็ล่วงเข้าสู่ปีที่ 9 ได้แล้ว ถึงวันนี้ชีวิตของหนุ่มใหญ่สองคนนี้มีเรื่องราวเกิดขึ้นอีกไม่น้อย
hhh
ราว 2 ปีก่อน ยุทธนาแยกตัวจากแฟตเรดิโอออกมาเป็นผู้บริหารค่ายเพลงสนามหลวงซึ่งเป็นค่ายเพลงอินดี้ภายใต้ร่มเงาของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ล่าสุดหนังสือ ดีดีที ของเขาเพิ่งจะปิดตัว และปัจจุบันเขากำลังค่อยๆ ลดหน้าที่บริหารค่ายเพลงลง
hhh
ส่วนวงศ์ทนง บริษัทเล็กๆ ของเขาเติบโตขึ้นมากมาย มีนิตยสารในเครืออย่าง HAMBURGER, Knock Knock!, a day Bulletin มีสำนักพิมพ์ a book ที่ทำพ็อกเก็ตบุ๊กขายดิบขายดี และยังคงสร้างนักเขียนใหม่มาประดับวงการเรื่อยๆ แถมอะเดย์เองก็เพิ่งมีรายการโทรทัศน์เป็นของตัวเองเสียด้วย
hhh
แต่ใช่ว่าเขาจะประสบความสำเร็จมาตลอด เพราะก้าวสำคัญของบริษัทในการทำนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ชื่อ a day weekly ไม่เป็นไปตามคาดหมายและต้องปิดตัวลงไปเมื่อราว 4 ปีก่อน จนกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของบริษัท
hhh
เข้าสู่ปีที่ 9 โลกเปลี่ยนไปไม่น้อย หนุ่มใหญ่ทั้งสองคนก็ก้าวเดินมาไกลแล้วจากจุดเริ่มต้น มีก้าวย่างที่เป็นแรงบันดาลใจให้ใครต่อใคร มีก้าวที่สะดุดไปบ้างก็มี และมีกระทั่งบางคราวที่หยุดเดินแล้วหันมาใคร่ครวญถึงหนทางที่ผ่านมาและเส้นทางที่จะเดินต่อไปนี่คือบทสนทนาล่าสุดของหนุ่มใหญ่สองคนนี้
hhhh
hhhh
อยากให้พี่ๆ เล่าถึงการงานที่ทำอยู่วันนี้ว่าทำอะไร ทั้งโดยตำแหน่งและในสิ่งที่รับผิดชอบ
ยุทธนา: ผมก็ทำอยู่ที่แกรมมี่ ในนามบัตรก็จะเป็น MD ของสนามหลวงการดนตรี ในสนามหลวงตอนนี้ก็จะแบ่งพาร์ตกันแล้วว่า ในพาร์ตดนตรีก็จะมีพี่อีกคนเข้ามาดูไป ผมก็จะทำเรื่องครีเอทีฟ เรื่องการสร้างอีเวนต์ เรื่องที่เราถนัด เหมือนกับเราเคยทำแฟตเฟส (Fat Festival).....อีกส่วนก็จะเรื่องเป็นงานส่วนกลาง แล้วแต่เขาจะโยนอะไรมา ในตอนนี้ก็ทำ MRD ที่เป็นคอนเสิร์ตของกลุ่มร็อก และกำลังจะทำเว็บไซต์ที่รวบรวมเพลงแปลง เป้าหมายคือเราอยากบรรจุนักแต่งเพลงรุ่นใหม่ แล้วแกรมมี่มีเพลงเยอะ การแปลงเพลงมันเป็นการโชว์ทักษะในเรื่องการแต่งเพลงอย่างหนึ่งที่ง่ายมาก ก็เลยจะลองทำขึ้นมา เป็นเว็บไซต์เล็กๆ เหมือนกองโจรนิดหน่อย
hhh
ยังอยากทำงานวิทยุอยู่ไหม?
ยุทธนา: วิทยุนี่เร็วๆ นี้อาจจะทำ ตอนนี้ก็อยู่ในระหว่างการพูดคุยแต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะทำอะไร คือยังอยากทำวิทยุอยู่ อ๋อ ลืมไปว่า ผมก็มีจัดรายการอยู่ เป็นรายการพิเศษทุกคืนวันเสาร์ที่ Chill FM จัดกับคุณโตน โซฟา (จักรธร ขจรไชยกุล) เป็นทอล์กโชว์สนุกๆ
hhh
วงศ์ทนง: ของผมถ้าเป็นตำแหน่งบริหารก็เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เดย์โพเอทส์ ครับ ตำแหน่งปฏิบัติการก็เป็นบรรณาธิการอำนวยการให้กับหนังสือในเครือ a day, HAMBURGER, Knock Knock!, a day Bulletin และสำนักพิมพ์ a book หน้าที่หลักเลยคือหน้าที่ติชม ให้กำลังใจ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนในบริษัท ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็งานคล้ายๆ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (หัวเราะ)
hhh
ตอนนี้ บริษัท เดย์โพเอทส์ มีพนักงานกี่คน?
วงศ์ทนง: ตอนนี้มีประมาณ 67 คนมั้ง ถ้าจำไม่ผิดนะ ล่าสุดผมเพิ่งเซ็นขึ้นเงินเดือนไป ไม่อยากจะคุยว่าในขณะที่บริษัทอื่นนี่เขาเลย์ออฟพนักงานนะ แต่บริษัทผมปีนี้ขึ้นเงินเดือน แต่ก็ขึ้นด้วยความสมเหตุสมผลกับผลงานที่เขาทำมา ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่หนังสือแต่ละเล่มในบริษัททำผลงานได้ดี ก็ต้องให้รางวัลกันหน่อย
hhh
จากวันที่เป็นเจ้าของบริษัทเล็กๆ จนถึงวันนี้ที่บริษัทโตขึ้นมาก มันเปลี่ยนแปลงความรู้สึกหรือตัวตนของพี่บ้างไหม?
วงศ์ทนง: อืม...คิดว่าไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่นะ คือตอนที่เริ่มต้นบริษัทเหมือนกับผมได้ผ่านการเป็นพนักงานของบริษัทอื่นมาแล้ว เคยนึกๆ ไว้ในใจว่าวันหนึ่งนะ ถ้าเรามีบริษัทของเราเอง เราจะออกแบบวิธีบริหาร วิธีการทำงาน รวมไปถึงออกแบบชีวิตคนทำงานในบริษัทให้เป็นบริษัทที่คนทำงานมีความสัมพันธ์แบบพี่กับน้อง ถ้าถามว่าสิ่งที่รู้สึกแฮปปี้ที่สุดก็คือนับจากวันแรกที่ก่อตั้งบริษัทจนถึงปีนี้ปีที่ 8 ขึ้นปีที่ 9 นี่ ลักษณะความสัมพันธ์อย่างนั้นยังคงอยู่
hhh
แต่สิ่งที่ต่างออกไปก็อาจจะเป็นรายละเอียดบางอย่าง ซึ่งมันก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามจำนวนธุรกิจที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจำนวนคนที่มากขึ้นด้วย เพราะว่าบริษัทขนาดหนึ่งก็คงต้องใช้วิธีบริหารจัดการแบบหนึ่ง แล้วตอนนี้เรา 67 คนมันจะไปใช้วิธีแบบตอนที่มี 7 คนเป๊ะๆ เลยมันก็ไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่คิดว่ารวมๆ แล้วน่าจะไม่มีอะไรต่างออกไปสักเท่าไหร่ แล้ววันหนึ่งข้างหน้าถ้าจะมี 100 คน ก็คงไม่ต่างไปจากนี้ ตราบใดที่ผมยังอยู่ในบริษัทนะ (หัวเราะ)
hhh
พี่เต็ดล่ะครับ ตลอดมาเหมือนพี่เป็นลูกจ้าง แต่ก็เคยมีช่วงที่จะลองทำอะไรเองเหมือนกันใช่ไหม?
ยุทธนา: ตลอดชีวิตการทำงานของผมไม่ชอบงานบริหารเอาซะเลย ถึงแม้ว่าโดยตำแหน่งแล้วผมเป็นผู้บริหาร ผมไม่สนุกกับการบริหาร ไม่สนุกในเรื่องของตัวเลข แม้กระทั่งบริหารคน คือสนุกที่จะเป็นพี่เป็นน้อง แต่ในการที่จะจัดการให้ชีวิตเขาดี ให้ทีมมันมีประสิทธิภาพนี่ ทุกที่ที่ผมไปต้องมีคนหนึ่งที่ต้องทำหน้าที่นั้นแทนผม เพราะว่าผมทำไม่เก่ง และก็ไม่สนุกที่จะทำด้วย สิ่งที่ผมสนุกมันจะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับเรื่องครีเอทีฟเป็นหลัก และการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายของเรา กับคนฟัง กับคนอ่าน
hhhh
แต่ทำงานสื่อต้องมีลูกค้า 2 คน คือคนซื้อหรือคนฟัง กับสปอนเซอร์ ผมก็ค่อนข้างเป็นคนเอาแต่ใจตัวเองมาโดยตลอด ทุกครั้งที่ทำงานแล้วมันสำเร็จก็เพราะว่าสิ่งที่เราชอบทำมันดันมีคนชอบด้วย แต่ครั้งไหนที่มันไม่สำเร็จก็แปลว่าไอ้สิ่งที่เราชอบทำบางอย่างมันมีคนชอบด้วยน้อยนั่นเอง ดังนั้นครั้งที่ลองพยายามจะเป็นเจ้าของกิจการก็พบว่า มันไม่ได้ มันต้องรับภาระหน้าที่ในการบริหารเยอะ ดังนั้นผมเลยเลือกเป็นลูกจ้างมืออาชีพไป
hhh
คือผมรู้สึกว่าผมทำได้ผมก็ทำ อันไหนที่ผมทำไม่ได้ ผมก็ไม่ทำ คุณก็ไม่ต้องให้เงินผมในส่วนนั้น อะไรทำนองนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม มันก็มีบางคืนนอนที่คิดว่า แหม มันก็คงเป็นอิสระดีถ้าเราทำงานโดยที่ไม่ต้องรายงานต่อใครเลย เราสามารถที่จะเป็นเจ้านายของเราได้เอง คือในทุกครั้งที่ทำงานสำเร็จนี่ ผมจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ต้องรายงาน ถึงแม้ว่าจะมีหัวหน้าก็ตามที เขาก็มักจะให้พื้นที่เราเล่นไปเลย อันนั้นก็เป็นธรรมชาติของธุรกิจอยู่แล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเล่นมีผลงานดี เขาก็จะไม่ยุ่งกับเรา เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเล่นแล้วไม่ดี เขาก็จะเริ่มเข้ามา ไอ้ตรงนั้นแหละที่ผมจะเป๋ จะไปไม่ถูกเลย เหมือน โรนัลโด้ น่ะ ยังไงมันต้องสับขา คือพอ ‘เฮ้ย สับขาไม่ได้ว่ะ เกมนี้ต้องอุด’ ผมเล่นไม่ออกนะ อันนี้จะรู้ตัว โชคดีที่เวลาไปทำในที่ๆ เรารู้สึกได้ว่าเราไม่เหมาะสมนี่เราจะรู้ตัวเร็ว แล้วเราก็จะรีบบอกเหมือนตอนที่ไปอยู่กับพี่นิด (อรพรรณ วัชรพล) พี่นิดก็เป็นพี่ที่มีพระคุณมาก แต่พอเราเริ่มรู้ว่า ทำให้เขาไม่ได้แน่ๆ เลย ก็รีบบอกพี่เขาเลย
hhh
‘สิ่งที่เราทำไม่ได้’ มันคือเนื้องานใช่ไหม?
ยุทธนา: มันเป็นเรื่องเนื้องาน อย่างตอนนั้นคือทำแมกกาซีนที่เป็นเรื่องของดารา ซึ่งตอนแรกเราเข้าใจว่าสิ่งที่เราจะทำประมาณ Entertainment Weekly ซึ่งเราคิดว่าถ้าประมาณนี้เราทำได้ แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่ มันน่าจะเป็นอีกแบบ ซึ่งผมก็ได้ลองพยายามดูก็ทำไม่ได้ อย่างสมมติวันนี้หน้าปกหนังสือดารา ผมนึกไม่ออกเลยว่าเอาใครขึ้นดีวะ จะเป็นเคน ธีรเดช หรือเป็น แอน ทองประสม พอเราเริ่มนึกไม่ออกก็คือมันไม่ใช่แล้ว ไปไม่เป็นแล้ว ก็เลยต้องออกมา
hhh
หรือแม้กระทั่งตอนนี้ล่าสุดที่ทำสนามหลวง ทำเรื่องค่ายเพลงที่ลองทำมาประมาณ 2 ปี ได้พยายามที่จะเรียนรู้และก็ปรับตัว ด้วยความมั่นใจมากว่ามันคงไม่ต่างอะไรกับตอนที่เราเป็นสื่อ ความจริงมันคล้ายๆ กันนะ เราเป็นแฟตหรือเป็นฮอตเวฟ เราก็เลือกเพลงที่เราชอบแล้วก็เปิดให้มันเหมาะสมกลมกลืนกัน แล้วชวนเขามาทำกิจกรรมที่มันสนุก พอเวลาเราทำค่ายเพลง เราก็เลือกที่เราชอบมาปล่อย แต่มันไม่ใช่ คือผมอยู่ที่แฟตเลือกเปิดเพลงที่ชอบ เปิดแล้วคนไม่ชอบมันก็ไม่เสียหายไง เพราะว่ามันก็ยังมีเพลงอื่นๆ อีก
hhh
แต่ว่าที่เราทำเพลงกับศิลปินสักคน พอทำไปแล้วมันผิด แต่เราดูแลชีวิตเขาอยู่น่ะ เราไม่สามารถที่จะบอกว่า ‘น้องไม่ต้องทำแล้ว ไปไหนก็ไป เดี๋ยวพี่เอาคนอื่นมาทำ’ มันก็ไม่ได้ มันเป็นเรื่องดูแลชีวิตน่ะ ดังนั้นมันทำให้ต้องคิดอีกมุม ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติของเรา คือที่ทำสนามหลวงมา มีเบอร์เดียวที่รู้สึกว่าทำถูกต้องก็คือ ลุลา
hhh
พี่เต็ดพูดเรื่องเป็นเจ้าของบริษัทแล้วมันมีอิสระ พี่โหน่งว่ามันมีอิสระจริงไหม?
วงศ์ทนง: ผมว่าในโลกนี้ไม่มีใครมีชีวิตที่อิสระอย่างแท้จริงนะ ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งมันต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ หรือมีภาระที่ต้องรับผิดชอบอยู่ การเป็นลูกจ้างก็มีภาระอย่างหนึ่ง การเป็นเจ้าของบริษัทก็มีภาระอย่างหนึ่ง แต่ว่าถ้าจะนึกถึงข้อดีสักอย่างในการเป็นเจ้าของ ก็อย่างที่พี่เต็ดบอก หลายๆ เรื่องเราตัดสินใจเองได้เลย โดยไม่ต้องไปกังวลกับคนที่ออกเงิน เพราะว่ามันเป็นเงินของเราเอง แต่ข้อแย่ก็คือถ้าเจ๊งมันก็เงินเราเอง (หัวเราะ)
hhh
ยุทธนา: นี่เจอโหน่งทีไรผมได้ข้อคิดดีๆ ทุกที (หัวเราะ) ก็จริงนะ คำว่าอิสระมันไม่มีจริง งั้นผมเปลี่ยนใหม่ ไอ้สิ่งที่ผมยังหาไม่เจอมันคงเป็นการได้ทำในสิ่งที่เราถนัดจริงๆ ในสภาพแวดล้อมที่มันเป็นพื้นที่ที่เราได้เล่นแบบอิสระ คือมันเหมือนกับโหน่งได้ทำในสิ่งที่ถนัดจริงๆ ไม่พยายามไปดื้อ ไปทำอะไรที่มันไม่ใช่ อย่างผมมันเป็นพวกที่ทำอันนี้แล้วก็รู้สึก เอ กูอยากลองทำอันนี้ดูบ้าง อยากทำโรงหนัง อยากทำหนังสือ ผมก็ทำมาเรื่อยไง มันก็เลยทำให้ได้เจอทั้งสิ่งที่มันถูกต้องและสิ่งที่ผิด บางครั้งมันเลยเข้าใจผิดไปว่า เราไม่มีอิสระในการทำงาน แต่ความจริงมันไม่ใช่ ถ้าเกิดเรารู้มันทะลุปรุโปร่ง เราจะมีความสุขกับมัน แต่ที่ผมไม่ประสบความสำเร็จ บางครั้งมันเป็นเรื่องที่งงๆ น่ะ มันล้มเหลวอย่างไรก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ
hhh
อย่างการปิดตัวของ DDT นี่งงไหม?
ยุทธนา: งงสิ (หัวเราะ) คือเรื่องทำหนังสือนี้ก็ต้องโทษโหน่ง เขาเป็นคนบอกว่าพี่เต็ดทำได้ (หัวเราะ) เปล่าหรอกๆ อย่างแรกต้องโทษตัวเองก่อน งานทุกอย่างถ้าเราทำแบบไม่ลงกับมันเต็มที่ โอกาสที่จะสำเร็จก็ยาก วันที่ผมทำ DDT นี่ตอนแรกตั้งใจจะทำกับมันเต็มที่ แต่พอกำลังจะเริ่มทำ ก็มีภาระอย่างอื่นเข้ามา ทางแฟตเขาชวนให้กลับไปทำงานใหม่ ก็เลยทำสองอย่างควบกัน แล้วด้วยความที่งานแฟตสเกลมันใหญ่กว่า ก็เลยต้องไปทุ่มทางโน้นเยอะกว่า ตรงนี้คือจุดบอดเลย น่าจะทุ่มเทกับมันมากกว่านี้ ละเอียดกับมันมากกว่านี้ ผมน่าจะมีโอกาสได้ออกเดินไปเจอลูกค้ามากกว่านี้ ผมน่าจะมีโอกาสได้คุยกับน้องๆ มากกว่านี้ เพื่อที่จะบอกว่าอันนี้ดีแล้ว อันนี้ยังไม่ดี อะไรทำนองนี้ มันก็เลยทำให้แพ้ไปแบบงงๆ
hhh
เริ่มค้นพบหรือยังว่า พื้นที่แบบไหนที่ตัวเองสบายกับมันจริงๆ ?
ยุทธนา: อย่างแรกมันคงต้องเกี่ยวข้องกับเพลงแน่ๆ เพราะเราชอบฟังเพลง และก็ต้องพูดอีกว่าชอบดูหนังและอ่านหนังสือ (หัวเราะ) มันคงต้องเกี่ยวกับเรื่องป๊อปคัลเจอร์ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสื่อบันเทิงแล้วกัน น่าจะเป็นประมาณนี้ และในมุมที่มันต้องแตะๆ กับคนรุ่นใหม่ คือถ้าให้ไปทำรายการวิทยุให้ผู้ใหญ่ฟัง ก็อาจจะไม่สนุกเท่าให้คนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพราะว่าเราโตมากับความรู้สึกที่ว่า มันไม่มีอะไรผิดอะไรถูก มันเลยต้องทำงานกับคนที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ คนเหล่านี้เขาก็จะยังไม่ชัดเจนว่าอะไรผิดอะไรถูก เขาก็อยากลองเหมือนกับที่เราอยากลอง เพียงแต่ว่าเราแก่แล้วก็ยังอยากลองอยู่ แต่พอไปทำอะไรกับคนโตๆ มันเหมือนกับว่า เขาพบทิศทางที่ชัดเจนแล้ว เราก็ยังจะไปชี้ชวนให้เขาลองโน่นลองนี่อีก มันก็ใช่ที่พี่โหน่งมีภาพเป็นคนทำหนังสือ
hhh
เคยอยากลองทำอย่างอื่นบ้างไหม?
วงศ์ทนง: แทบจะไม่เคยนะ แปลกมากเลย ยกตัวอย่างเรื่องโทรทัศน์ ก็มีคนเสนอมาตั้งแต่ปีแรกๆ ที่ a day เกิดขึ้น แต่ตอนนั้นผมก็ไปเชื่อว่า โทรทัศน์มันเป็นสื่อที่ต้องประนีประนอมเยอะ แล้วธรรมชาติเราเป็นคนไม่ค่อยยอม เพราะฉะนั้นก็อย่าทำดีกว่า แต่ที่สุดก็ทำจนได้ a day ก็มีรายการโทรทัศน์ หนึ่งวันเดียวกัน ทาง ทีวีไทย คือเงื่อนไขมันเปลี่ยนไปไง พอมันมีช่องที่เราสามารถทำโดยไม่ต้องไปขายโฆษณา ไม่ต้องไปกังวลธุรกิจมาก ทำคอนเทนต์มาดีๆ เดี๋ยวเขาออนแอร์ให้ ก็หักลบค่าผลิตแล้วเหลือกำไรนิดหน่อย ก็โอเค ก็ได้ทำจนได้
hhh
แต่นั่นก็เป็นความสนใจของพาร์ทเนอร์ผมนะ คุณนิติพัฒน์ สุขสวย เขาอยากทำทีวี ทำหนังมานานแล้วล่ะ เขาเบื่อถ่ายภาพนิ่ง เพื่อนเราอยากทำ หน้าที่เราเป็นเพื่อน เราก็สนับสนุนเพื่อนให้ทำไป แต่ถ้าถามใจผมเองจริงๆ ชีวิตนี้ผมรู้ใจตัวเองมานานแล้วว่าสิ่งที่ผมรักและอยากปักหลักอยู่กับมันมีอย่างเดียว ซึ่งก็คือหนังสือ ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย มันเหมือนกับชีวิตเราไปเจอผู้หญิงคนแรกเลย แล้วเราถูกใจเขาหมดทุกอย่าง รูปร่างหน้าตา ลักษณะนิสัย เข้ากันได้ทุกเม็ด เราก็ตกลงปลงใจอยู่กินกันไปตลอดชีวิต ไม่ต้องไปมองคนอื่นแล้ว ฟังดูดีไหม (หัวเราะ)
hhh
ยุทธนา: แล้วทำไมกับผู้หญิงถึงไม่คิดอย่างนี้บ้าง (หัวเราะทั้งวง) ฟังโหน่งพูดแล้วผมก็นึกออกอีกอัน ผมเป็นพวกปฏิเสธไม่ค่อยเก่ง มันเลยทำนู่นทำนี่เยอะไปหมด คือเวลาที่แบบว่ามีคนบอก ‘พี่มาช่วยทำอันนั้นหน่อย’ บางอย่างผมก็ไม่อยากทำเลยนะ บางอย่างก็รู้สึก ‘เอ๊ กูจะทำได้ไหมวะ’ แต่ก็ลองดูจะเป็นไรไป คือถ้ามันเป็นเรื่องการกุศลก็ว่าไปอย่าง เพราะเขาจะไม่คาดหวังกับเรามาก แต่ถ้าเป็นเรื่องงานบางครั้งมันก็ต้องปฏิเสธให้เป็น ซึ่งผมปฏิเสธคนไม่เป็นเลย
hhh
ตอนนี้เริ่มปฏิเสธเป็นมากขึ้นหรือยัง?
ยุทธนา: ก็เริ่มเรียนรู้ คือไม่ใช่เพราะว่ามีศิลปะในการปฏิเสธเก่งขึ้นนะ แต่เรารู้ว่าผลเสียของการไม่ปฏิเสธ บางครั้งมันรุนแรง จนบางครั้งเราจำเป็นต้องปฎิเสธแบบมวยวัดไปเลย ซึ่งมันอาจจะฟังดูไม่ดี มันอาจจะฟังดูใจร้าย แต่มันดีกว่าไม่ปฏิเสธแล้วผลที่ตามมามันอาจจะหนักกว่าเดิม
hhh
คำว่า ‘เด็กแนว’ มันมาพร้อมพี่ๆ สองคน มาพร้อม a day และ Fat Radio มาถึงวันนี้แล้วรู้สึกอย่างไรกับคำนี้กันบ้าง?
วงศ์ทนง: ผมว่ามาจากแฟตนี่แหละ ตัวดีเลย พูดซะติดเลย (หัวเราะ)
เgggg
ยุทธนา: ผมว่าในวันนี้ก็คงคล้ายๆ กับทุกๆ คน คือไม่รู้ว่าศัพท์ทางวิชาการเรียกว่าอะไร แต่มันก็เป็นคำที่เกิดขึ้นตามยุคสมัยที่มันมาและมันก็ไป ก็เหมือนคำว่า ‘โก๋หลังวัง’ คำว่า ‘ม็อด’ คำว่า ‘เดฟ’ คำว่า ‘เด็กฮาร์ท’ อะไรทั้งหลายแหล่ ทุกวันนี้ก็เด็กแว๊นส์ เด็กสก๊อยต์ แล้วก็คงจะมีเด็กอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ผมว่ามันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมร่วมสมัยที่พอพ้นวัยรุ่นไปแล้ว ก็เป็นวัยที่เริ่มจะไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลง อย่างผมก็จะรู้ตัวเสมอว่าเป็นเด็กยุค 80 ทุกวันนี้ก็จะหยิบเอาเพลงยุค 80 มาฟัง
hhh
ยุคนั้นก็เป็นเด็กบูติกเป็นอะไรก็ว่ากันไป ผมก็จะรู้สึกตัวว่าเป็นเด็กยุคนั้นไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าเราจะใจกว้างเปิดรับสิ่งใหม่ๆ แต่ลึกๆ เข้าไปข้างในศิลปินในดวงใจมันก็คือเพลงที่เราฟังในยุค 80 ก็ยังเป็น อัสนี-วสันต์ ก็ยังเป็น เดวิด โบวี่ ที่เราฟังมาตั้งแต่เด็ก คราวนี้เวลาที่เราเจอของใหม่หรือว่าสิ่งที่มากับวัยรุ่นวัยใหม่ๆ แล้วเราไม่รู้ว่าเราจะเรียกมันว่าอะไร มันต่างจากที่เราเคยรู้จัก มันก็เลยเกิดคำเรียกที่จะทำให้เข้าใจร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ตั้งคำเหล่านี้จะเป็นสื่อ ซึ่งผมว่าน่าจะเป็นหนังสือมากกว่าวิทยุ (หัวเราะ)....ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นนักข่าว เหมือนกับแนวเพลง ซึ่งแนวเพลงส่วนใหญ่มาจากนักวิจารณ์ แต่ว่าคำพวกนี้ส่วนใหญ่ก็มาจากหนังสือพิมพ์นี่แหละ เอาไปย้ำ แล้วก็ทำให้ติดปาก เพราะมันก็เป็นวิธีการที่ทำให้คนเข้าใจง่าย เพราะหนังสือพิมพ์เขาต้องประหยัดคำ พื้นที่มีอยู่น้อย ต้องอธิบายให้เข้าใจให้เร็วที่สุด เพราะนั้นการแบรนดิ้งมันช่วยให้เข้าใจได้รวดเร็ว
hhh
ไอ้คำว่าเด็กแนวมันก็เลยเกิดขึ้นมาเพราะแบบนี้ เพียงแต่ว่าเด็กแนวมันอาจจะผูกพันกับเรามากกว่าคำว่าเด็กฮาร์ท หรือฮิปปี้ เพราะเรามีส่วนหนึ่งอยู่ในกระบวนการที่ก่อให้เกิดคำว่าเด็กแนวขึ้นมาด้วย เราเป็นส่วนหนึ่งของป๊อปคัลเจอร์ในยุคนั้น ถ้าเป็นทหารก็เหมือนเป็นเหรียญตราที่แขวนเอาไว้ข้างผนัง ทุกวันนี้ลูกสาวผมยังแซวผมทุกครั้งเวลาที่เห็นผมในสื่อ แล้วเขาเรียกผมเป็น ‘พ่อเด็กแนว’ ลูกสาวผมก็บอกว่า แล้วหนูเป็นเด็กแนวด้วยเหรอ (หัวเราะ)
hhh
เพราะพ่อเป็นพ่อหนูแล้วรู้สึกยังไงบ้าง เบื่อ รำคาญ หรือว่าเฉยๆ ?
ยุทธนา: วันที่มันเกิดคำนี้ขึ้นมาใหม่ๆ แล้วโดนสัมภาษณ์เรื่องนี้บ่อยๆ ก็มีรำคาญเหมือนกัน เพราะว่าบางครั้งเราพยายามอธิบายที่มาคำอย่างซีเรียสเลย มันคงจะซีเรียสเกินไปสำหรับบางคนที่อาจจะไม่ต้องการคำตอบที่ซีเรียสขนาดนั้น มันก็เลยจะรู้สึกแบบ อธิบายไปแล้วก็ยังถามซ้ำ อะไรอย่างนี้ หรือบางครั้งช่วงนั้นจะมีคำว่าเด็กแนวกับอินดี้ ที่ต้องอธิบายเยอะ คำว่าเด็กแนวนี้ไม่เท่าไหร่ เพราะยังถือเป็นคำที่ไม่ค่อยมีหลักวิชาการเท่าไหร่นัก แต่คำว่าอินดี้มันเกี่ยวพันกัน สะกดผิดก็อายเขา หรือที่มามันผิดแล้วเอาไปใช้กันผิด เราจะพยายามอธิบายคำนี้มาก แล้วก็ถูกถามเรื่องนี้บ่อย แต่ตอนนี้ไม่แล้ว ตอนนี้เฉยๆ จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องสนุกที่จะอธิบายด้วยซ้ำไป
hhhh
วงศ์ทนง: ถ้าถามว่ารู้สึกยังไงกับเด็กแนว ก็คือรู้สึกเซอร์ไพรส์ ว่ามันอยู่มาได้นานเกินคิด เพราะว่าคำนี้ที่เกิดมาใหม่ๆ ตอน 7-8 ปีที่แล้ว ตอนนั้นคิดว่าปีสองปีก็หายไป เด็กแนวมันก็เหมือนกับนิยามของคนที่พยายามจะกรุ๊ปปิ้งวัยรุ่นแต่ละยุคอย่างที่พี่เต็ดบอก แต่มันผ่านมา 8-9 ปีแล้ว แต่คำว่าเด็กแนวมันยังไม่ตาย จนผมเกือบๆ จะคิดว่าต่อไปมันอาจจะเป็นคำที่ถาวรคำหนึ่งเลยก็ได้นะ เหมือนกับคำว่า ‘เชย’ หรือ ‘เจ๋ง’ ซึ่งเมื่อก่อนก็คือสแลง แต่ทุกวันนี้ก็กลายเป็นคำที่ยังไม่ตาย ยังใช้กันอยู่ ในความเห็นของผม ผมไม่รู้สึกรำคาญเด็กแนว ตรงกันข้ามผมรู้สึกว่า ถ้าดูความหมายของมัน มันคือวัยรุ่นในยุคสมัยหนึ่งที่พยายามที่จะมีแนวทางในชีวิตของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความชื่นชอบในดนตรี ภาพยนตร์ ในหนังสือ หรือในป๊อปคัลเจอร์ต่างๆ ซึ่งผมว่าไม่มากก็น้อยนะ 8-9 ปีที่แล้ว
hhh
กลุ่มเด็กแนวกลุ่มนี้เป็นตัวจุดประกายให้คนรุ่นใหม่ๆ ได้เห็นแนวทางที่หลากหลายมากกว่าเมนสตรีม เมื่อก่อนเราจะถูกครอบครองด้วยหนังฮอลลีวู้ด เพลงกระแสหลัก แต่หลังจากคำว่าเด็กแนวเกิดขึ้น พร้อมๆ กับกระแสในเมืองไทยที่ปลุกผลงานของผู้คนที่พยายามจะทำสิ่งที่เรียกว่าแนวทดลองมากมาย เรื่องนี้ผมให้ค่ามันนะ ผมรู้สึกว่าความที่ศิลปะมันจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ มันจะต้องมีผู้กล้าที่จะแหกคอก แหวกแนว โอเค ถ้าในท้ายที่สุดมันก็จะตัดทอนคนที่ไม่ใช่ตัวจริงออกไป แต่ผมว่าคุณูปการที่เกิดขึ้นพร้อมกับกระแสเด็กแนวคือ มันทำให้สังคมเรามีทางเลือกในการเสพศิลปะบันเทิงที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผมให้ค่ากับแฟตเรดิโอนะ
hhh
ยุทธนา: ผมว่าจริงๆ แล้วคนที่อยากจะทำอะไรที่มันแตกต่างจากกระแสหลักมีมาทุกยุคทุกสมัย แต่ในช่วง 7-8 ปีที่แล้วมันเป็นช่วงที่โชคดีที่คนอย่างผม คนอย่างโหน่ง ได้มาทำสื่อ ซึ่งมันก็เลยทำให้คนที่คิดแบบนี้มีที่ๆ จะเป็นกลุ่มก้อนที่ใหญ่ขึ้น ชัดเจนขึ้น เป็นช่วงที่เรื่องอินเตอร์เน็ตมันเติบโต ดังนั้นเขาก็มีที่ๆ จะแลกความเห็นกัน มันมีเครื่องมือที่ช่วยให้กลุ่มก้อนนี้มันผุดขึ้นมาได้ จริงๆ แล้วทุกวันนี้แยกไม่ออกว่า คำว่ากระแสหลักมันคืออะไร ถ้าไปเที่ยวผับวันนี้ คุณไม่ได้ยินเพลงแกรมมี่เลย โดยเฉพาะผับในกรุงเทพฯ นี่น้อยมาก อย่างมากก็มีบอดี้สแลมบ้าง แต่อย่างมากส่วนใหญ่เขาฟังเพลงหรือเล่นเพลงที่ไม่ใช่เพลงกระแสหลัก ซึ่งพอมันเป็นอย่างนั้นมันแปลว่าแล้วตกลงอะไรมันเป็นกระแสหลัก เพราะทุกคนก็เล่นเพลงที่ไม่ใช่กระแสหลักแล้วพอถึงวันนี้ที่อินดี้กลายเป็นกระแสหลักแล้ว
hhh
คิดอย่างไรกับแนวความคิดแบบ ‘แหกคอก’ หรือ ‘อินดี้’ กันบ้าง?
ยุทธนา: ผมคิดว่ามันยังเป็นแบบนี้อยู่ทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่ว่าในที่สุดแล้วมันอาจจะมีชื่อเรียกใหม่เกิดขึ้นนะ คือผมมีความเชื่อเรื่องที่ว่า สมมติว่าสังคมมันคือลูกกลมๆ อะไรอย่างหนึ่ง เมื่อฝั่งที่คนหมู่มากเขาเชื่อเรื่องแบบหนึ่งอยู่ ก็จะมีคนมีคนอีกกลุ่มหนึ่งผุดขึ้นมาเป็นสิว เหมือนกับลูกบอลที่มันเป็นสิวโผล่ขึ้นมา แล้วถ้าเกิดสิวเม็ดนั้นมีเรื่องที่น่าสนใจมากพอ ไอ้มวลฝั่งที่มันกลมๆ ก็จะไปย้ายไปอยู่ฝั่งนี้ จนในที่สุดแล้วไอ้ฝั่งที่ถูกเรียกว่ากระแสหลัก มันก็จะเหลือกลายเป็นสิว แล้วฝั่งที่ถูกเรียกว่านอกกระแสเป็นกระแสหลักแทน ซึ่งมันเหมือนฮิปฮอปในวันนี้ที่บางคนบอกโคตรเชยเลย ไม่เท่อีกต่อไปแล้ว เพราะว่ามันก็คือกระแสหลักไปเรียบร้อยแล้ว
hhh
แต่เมื่อประมาณสัก 10 ปีก่อนในบ้านเรา ตอนโจอี้บอยออกอัลบั้มชุดแรกนี่โคตรใหม่ โคตรเท่ โคตรแปลก แหวกแนว ดังนั้นสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ก็เหมือนกัน กรู๊ฟไรเดอร์ที่วันหนึ่งคือวงดนตรีที่สร้างเพลงที่แตกต่างมาก แต่วันนี้วงรุ่นใหม่ยึดซาวนด์แบบกรู๊ฟไรเดอร์เป็นหลัก และยังคงต้องเป็นอย่างนี้อีกนาน แทตทูคัลเลอร์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ผมว่าก็คือกรู๊ฟไรเดอร์ที่จิ๋กโก๋กว่า มีวิธีคิดที่เป็นคนรุ่นใหม่มากกว่า อะไรอย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นนี่ต่อไปมันก็คงมีสิวเม็ดใหม่โผล่ขึ้นมา ผมก็ยังไม่รู้ว่าคืออะไร แต่มันก็เป็นเรื่องปกติที่มันจะเกิดขึ้นพอเพลงอินดี้มันกลายเป็นกระแสหลัก
hhh
มันทำให้การทำเพลงฉีกออกมาเป็นเรื่องยากขึ้นไหม?
ยุทธนา: จริงๆแล้วไม่ครับ แต่มันเป็นหน้าที่ของคนรุ่นใหม่ที่โผล่ขึ้นมา ฝรั่งเขาเคยบอกว่า มันเป็นหลักวิชาการเลยว่าคนเราจะเริ่มรู้สึกผูกพันกับเพลงอายุประมาณ 13 โดยเฉลี่ย อายุ 13 เราจะเริ่มซื้อเทปม้วนแรก ซื้อซีดีแผ่นแรก ถ้าเป็นทุกวันนี้ก็อาจจะดาวน์โหลดเพลงเป็นครั้งแรก แล้วไอ้ช่วงวัยนี้ คนวัยนี้ก็โตมาพร้อมๆ กัน แล้วเขาก็จะผูกพันกับเพลงยุคนี้ไปตลอดชีวิตเขา ก็เหมือนกับที่ทุกวันนี้ ทำไมคนในผับถึงเล่นเพลงเบเกอรี่ซาวนด์เป็นหลัก เพราะว่าเมื่อตอนที่เขาอายุ 13 นี่เบเกอรี่กำลังโด่งดัง ก็คือยุค 90 ยุคนี้คือคนที่ทำงาน คนที่มีเงินเดือน เขาถึงเที่ยวผับได้ไง เด็กอายุต่ำกว่า 20 เข้าผับไม่ได้ มันก็เลยเป็นแบบนี้
hhh
ทำไมเมื่อ 10 ปีก่อนในผับจึงมีแต่เพลงแกรมมี่ เพราะแกรมมี่คือเจ้าพ่อวงการเพลงในยุค 80 ทุกคนโตมากับเพลงแกรมมี่หมด นันทิดา, ไมโคร, นูโว แต่ ณ วันนี้คนเหล่านั้นก็พ้นไปอีกวัยหนึ่ง เข้าไปสู่อีกช่วง เขาจะไปดูคอนเสิร์ตแพงๆ ที่เอไทม์จัด ซึ่งก็จะมีออกมาเรื่อยๆ เป็น เจนนิเฟอร์ คิ้ม, พี่แอม เสาวลักษณ์, พี่ตุ๊ก วิยะดา ขึ้นทุกคอนเสิร์ตเลย อันนั้นก็เป็นเรื่องอีกกลุ่ม แต่ว่าคนที่อยู่ในผับก็เป็นคนวัยนี้ ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าอะไรที่มันจะเป็นเพลงแนวใหม่ ไปคุยกับเด็กอายุ 13 ว่าเขาชอบอะไร แล้วอีกสัก 10 ปีข้างหน้ามันจะเป็นกระแสหลัก มันจึงทำให้เลยเกิดเป็นวัฏจักรไง ทำไมเดี๋ยวขาบานแล้วขาแคบ ทำไมเดี๋ยวดิสโก้กลับมาใหม่ เดี๋ยวซินธ์กลับมาใหม่ เดี๋ยวร็อกกลับมาใหม่ เพราะว่ามันวน พอเด็กอายุ 13 โตขึ้นมาถึงวัยที่เขาพร้อมที่จะผลิตงานเอง ไอ้ความที่เขาฝังใจอะไรไว้เมื่อตอน 10 กว่าปีก่อน มันก็จะผุดออกมา
hhh
พี่โหน่งรู้สึกว่าคอกของตัวเองเปลี่ยนไปบ้างไหม หลังจากที่บริษัทเติบโตขึ้น หรือต้องไปร่วมกับบริษัทใหญ่ๆ ?
วงศ์ทนง: คอกมันใหญ่ขึ้น แหกยากขึ้น (นิ่งคิด) คือเรื่องของเรื่องที่บริษัทผมไปจอยท์เวนเจอร์กับบริษัทอื่น มันไม่มีเหตุผลลึกลับซับซ้อนอะไรเลย นอกจากว่าในช่วงเวลานั้นเราอยากจะออกสินค้าใหม่ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องใช้ทุนมหาศาล นั่นก็คือนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ แต่ว่ามันเป็นความตั้งใจของผมเลยว่า ถึงแม้เราจะไปร่วมกับใคร หรือจะเปลี่ยนรูปแบบของคนที่มาร่วมลงทุนไป แต่สิ่งที่สำคัญที่จะไม่ให้หายไปเลยก็คือความอิสระในการทำงาน ซึ่งก็โชคดีที่จนถึงวันนี้เรายังได้มีอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง
hhh
แต่แน่นอนมันก็ไม่มีวันเหมือนวันแรกที่ก่อตั้ง a day นะครับ เพียงแต่ว่าผมรู้สึกว่า ทุกวันนี้มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ลำบากอะไร ถ้าถามว่ามันมีคอก มีกรอบอะไรหรือเปล่า ผมว่าวันที่ผมทำ a day มันต้องมีอยู่แล้ว มีตั้งแต่วันแรกเลย แต่ไอ้ที่ผมโปรยปกไป ผมอาจจะไม่ได้คิดอะไรเลยก็ได้มั้ง อย่าง ‘คู่มือเด็กดื้อฉบับปัจจุบัน’ อะไรนี้ หรือนักแหกคอก อะไรอย่างนี้ ผมอาจจะพูดเพราะรู้สึกว่ามันเท่ดีก็ได้ อยู่ดีๆ มันกลับกลายเป็นโลโก้ไปซะงั้น ช่วยไม่ได้ ถ้าตอบคำถามก็คือ ผมไม่รู้สึกว่าผมมีความทุกข์ในการอยู่ในคอกหรืออยู่ในกรอบหรืออะไรเลย ผมรู้สึกว่าผมแฮปปี้กับมัน ผมยังสามารถยืนยันตัวตนของผมได้ ก็คิดว่ามันคงจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป คือเรื่องบางเรื่องผมโคตรดื้อเลย แต่บางเรื่องผมก็พยายามเข้าอกเข้าใจกับมันนะ โดยเฉพาะในแง่ของเรื่องธุรกิจ เพราะฉะนั้นเรื่องนั้นผมเข้าใจว่าต้องประนีประนอม แต่อย่างหนึ่งผมคิดว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ผมไม่ยอมก็คือ อย่าบังคับ อย่ามาล่ามโซ่
hhh
เป็นเรื่องที่ไม่ยอมบังคับนี่บังคับในเรื่องไหนบ้าง ที่พี่ไม่ยอมแน่ๆ ?
วงศ์ทนง: การที่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองไปทำในสิ่งที่ตัวเองไม่เชื่ออย่างแท้จริง ผมว่าเป็นเรื่องที่ผมไม่ยอม เพราะนั้นทุกสิ่งที่ผมทำไป หรือว่าอนุมัติ หรือว่าปล่อยมันออกไป ขอให้วางใจเถอะว่าผมเห็นดี เห็นว่ามันใช่ มันถูกต้อง มันยอมได้ แต่สิ่งที่มันขัดกับอุดมการณ์อย่างรุนแรง อย่างเช่น ผมจะไม่ให้ค่ากับคนบางกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น อย่าเอาพวกหมอดูมาลงหนังสือผมน่ะ ใครจะบอกว่า หมอดูคนนี้ดังมากเลยนะ เอามาสัมภาษณ์ใหญ่ดีกว่า แต่ผมจะบอกคนทำงานผมว่าอย่าเป็นอย่างนั้นเลย อะไรประมาณนี้ หลักๆ ผมอยากให้หนังสือของบริษัทผมมันเอดูเคต (Educate) ผู้คนนะครับ เพราะฉะนั้นอะไรที่มันออกไปแล้วฉุดให้คนอ่านให้คิดไปทางต่ำ หรือโง่งมงาย ผมไม่ทำเด็ดขาด ถึงแม้ว่ามันจะขายดี หลักผมมีง่ายๆ ครับ เมื่อวันก่อน บ.ก.สำนักพิมพ์ a book เพิ่งมาถามผมว่า พี่โหน่งมีโพลีซีอะไรของสำนักพิมพ์ a book เปล่า ผมก็นั่งนึกเดี๋ยวนั้นเลย ‘เออ มีๆ คือหนึ่ง ทำหนังสือดีๆ ที่ขายได้ สอง ทำหนังสือขายได้ที่ดีๆ
hhh
ยุทธนา: โพลีซีเดียวกันกับที่แฟตเลย เพลงป๊อปที่ดี เพลงดีที่ป๊อป
hhh
วงศ์ทนง: ผมไม่ได้พูดเล่นนะ ความหมายของผมก็คืออย่างนั้นจริงๆ เพราะสิ่งที่ผมทำอยู่ ธุรกิจหนังสือมันเป็นธุรกิจจริงๆ เพราะฉะนั้นเราอยากอยู่นานๆ พูดแบบไม่อายเลยว่า เราอยากอยู่ยั้งยืนยงไปนานๆ อย่างนิตยสารรุ่นพ่อรุ่นลุงรุ่นแม่เรา อย่าง สารคดี, ขวัญเรือน, แพรว หรือ GM อย่างหนึ่งที่เราละเลยไม่ได้คือเราต้องดูแลธุรกิจให้ดี ในขณะเดียวกันเรามีพื้นฐานจากการเป็นคนทำหนังสือ อ่านหนังสือ เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่าเราจะทำหนังสือที่ดี อ่านแล้วได้แรงบันดาลใจ ได้ข้อคิด ให้ความรู้ ผมว่า 7-8 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่ผมพยายามทำมากๆ เลยก็คือ การบาลานซ์เรื่องคุณภาพ กับเรื่องของการค้าให้มันสมดุลกัน ซึ่งก็ทำสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา
hhh
พี่เต็ดคิดยังไงในเรื่องการเอดูเคตคนฟัง?
ยุทธนา: ความจริงคิดคล้ายกันมากครับ ในฐานะที่เราเป็นคนทำสื่อ เราเองอยากให้สิ่งที่ดีกับคนที่ติดตามฟังเรา คือถ้าบอกว่าโพลิซีของแฟตนี้อันเดียวกันเด๊ะเลย คือตอนเลือกเพลงเปิดยังไงกันดีวะ ก็เปิดเพลงป๊อปที่ดี ในขณะที่เอาเพลงดีมาเปิดก็เอาที่ป๊อปติดหูหน่อยแล้วกัน คือถ้าเกิดสมมติว่าเราทำในสิ่งที่ดีแต่ไม่มีคนฟังเลย มันไม่มีประโยชน์เลย หรือเรามีคนฟังเยอะแยะไปหมด แต่เราไม่ได้ให้เรื่องที่ดีเขาเลย มันก็ไม่มีประโยชน์เหมือนกัน มันก็เป็นเรื่องการเดินสายกลาง ไอ้เรื่องการเอดูเคตมันเป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่ไอ้กุศโลบาย ไอ้วิธีการที่จะให้เขามาฟังในเรื่องที่เราอยากให้เขาฟัง ดูจะเป็นเรื่องที่จะต้องหาให้เจอ แล้วถ้าเจอปุ๊บมันก็จะลงตัว มันก็จะได้รายการดีๆ มันก็จะได้หนังสือดีๆ มันก็จะได้สื่อดีๆพอคุยเรื่องสื่อ
hhh
ก็อยากถามความเห็นว่าสื่อที่ดีในความหมายของพวกพี่ๆ ต้องเป็นอย่างไรบ้าง?
ยุทธนา: ผมว่าผมจะนึกถึงคำตอบของเจ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐ์กุล) เวลาเขาพูดถึงเรื่องหนัง เขาจะตอบว่า เขาชอบคนทำหนังที่ไม่พยายามเป็นอย่างอื่นที่ตัวเองไม่เป็น สื่อที่ดีก็เหมือนกันน่ะ คือผมเห็นด้วยกับโหน่งเรื่องหมอดูเป็นเรื่องงมงาย ผมเห็นด้วย แต่ถามว่าถ้าเกิดมีคนที่เขาเชื่อเรื่องนั้นจริงๆ แล้วเขาทำหนังสือหมอดูออกมา แล้วเขาทำอย่างเต็มที่ แล้วมันออกมาดีในแบบของเขา นั่นก็อาจจัดเป็นสื่อที่ดีก็ได้
hhh
หรือสมมติผมไม่ชอบเรื่องข่าว กอสสิปเลย ผมเกลียดมากเลย แต่บางครั้งมันก็อดปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าคนที่เขาเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ แล้วเขารักในสิ่งนี้ เชื่อในสิ่งนี้จริงๆ คือบังเอิญเขาเชื่อไม่เหมือนเรา มันก็ไม่ผิดนะ มันก็มีหนังสือกอสสิปที่ดีได้เหมือนกัน แต่บังเอิญเราไม่ได้ซื้ออ่าน แล้วถ้าเป็นเราก็คงไม่ทำ มันเลยตอบคำถามนี้ยาก มันคงไม่มีว่า หนังสือที่ดีต้องให้ประโยชน์ 5 ข้อดังต่อไปนี้ อะไรอย่างนี้ มันก็เลยทำให้นึกถึงคำตอบของเจ้ยว่า เจ้ยเขาชอบหนังเรื่อง บ้านผีปอบ มาก เพราะว่าหนังเรื่องนี้คนสร้างไม่ได้พยายามจะเป็น Ju-on ไม่ได้พยายามจะเป็นอะไรทั้งสิ้นเลย เขามีความเชื่อเรื่องหนังผีไทยคือวิ่งลงโอ่ง แล้วเขาก็ยังคงทำวิ่งลงโอ่งอย่างนั้นตลอดไป แล้วมันก็ออกมาตอบสนองรสนิยมคนที่อยากจะดูหนังแบบนี้ ผมว่ามันน่าจะเป็นแบบนี้มั้ง มันคือสื่อที่ดีหรือเปล่าวะ (หัวเราะ)
hhh
พี่โหน่งล่ะครับ?
วงศ์ทนง: ก็อาจจะเป็นคำตอบที่เชยนะครับ แต่ว่าสำหรับผม ผมคิดว่าสื่อที่ดีก็ต้องมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่คุณผลิตออกไป แต่ผมเข้าใจนะ คือคนทำงานสื่อในประเทศเรามีหลากหลาย แต่ละสื่อมีเงื่อนไข มีความกดดันแตกต่างกันไป แต่ผมว่าเรื่องนี้มันพูดลำบาก นึกออกไหม มันเหมือนกับเราจะไปบังคับทุกคนหรือออกกฎหมายว่าสื่อทุกอย่างต้องมีคุณภาพ มีคุณธรรม อย่างสิ่งที่กบว.พยายามทำอยู่ตอนนี้ผมว่ามันเป็นเรื่องที่มันก็ยังลักลั่นอยู่ พยายามไปบังอะไรที่ไม่น่าจะบังคับ มุมมองของคนทำงานศิลปะหรือคนเสพศิลปะก็จะหงุดหงิด คงเคยเห็นรายการทีวีบางช่องที่พยายามไปบังรูปภาพนู้ดบนผนัง บังเหล้า บังบุหรี่ ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ผมก็เลยคิดว่าผมตอบแทนคนทำสื่อทุกคนไม่ได้ ว่าสื่อที่ดีควรจะเป็นยังไง แต่ถ้าถามผมเอง สื่อที่ดีต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำออกไป และอย่างน้อยผมว่า คนทำสื่อที่ดีจะไม่อายในสิ่งที่ตัวเองเผยแพร่ออกไป จะไม่หลบซ่อนปิดบังว่าอันนี้ผมเป็นคนทำ ฉันเป็นคนทำ ทางตรงกันข้ามนะ คนที่ทำสื่อที่ไม่ดีออกไป ผมว่าเขาไม่ภูมิใจหรอก ไม่สามารถยืดอกบอกได้ว่าฉันเป็นคนทำ
hhh
ยุทธนา: ขอเสริมโหน่งเรื่องคุณธรรมหน่อยนะ เรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องตัดสินยาก เพราะบรรทัดฐานมันเปลี่ยนไปเรื่อย มันเลยยากที่จะไปกำหนดว่าสื่อต้องมีคุณธรรม คุณธรรมในวันนี้กับเมื่อ 40 ปีก่อนก็ไม่เหมือนกัน แต่ผมชอบคำตอบของโหน่งนะ ใช่ มันคงจะต้องภูมิใจ และยืดอกรับได้ ว่าฉันเป็นบ.ก.หนังสือเล่มนี้ หรือฉันเป็นผู้บริหารรายการโทรทัศน์รายการนี้ ถ้าต้องหลบๆ ซ่อนๆ ไม่กล้าใช้ชื่อ มันคงมีอะไรบางอย่าง
hhh
วงศ์ทนง: แต่บางอันผมก็เชื่อว่า เขาก็ไม่รู้นะว่าสิ่งที่เขาทำมันเป็นยังไง ผมยกตัวอย่างสักอันได้ไหม วันที่ผมดูรายการทีวีรายการหนึ่งที่เอาหมอดูกระดองเต่ามาออก ผมรู้สึกว่ามันแย่มากเลย คือแม้ว่าจะมีตัวหนังสือขึ้นอยู่ตลอดเวลาว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการชมเนี่ย แต่ผมรู้เลยว่าคนเป็นล้านๆ คนในประเทศนี้ไม่ได้ใช้วิจารณญาณ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เพราะว่าหมอดูกระดองเต่าเคยมาออกอีกเทป แล้วบอกว่าตอนนี้คิวเขายาวทั้งปี ซึ่งผมขัดใจมากเลย ผมไม่ได้ขัดใจหมอดูกระดองเต่า แต่ผมขัดใจเจ้าของรายการที่ยอมให้เทปนี้ออนแอร์ คือมันไม่ได้เอดูเคตผู้คนอย่างสิ้นเชิง อันนี้เป็นเรื่องที่ผมขัดใจ และผมไม่รีรอที่จะแสดงความเห็นอย่างนี้
hhh
คือผมก็ไม่ได้อยากจะบอกว่า เขารู้ว่ามันไม่ดีแต่ปล่อยออกไป เพราะไปมองว่า เรื่องนี้มันฮิตแน่ๆ มันป๊อปปูล่าร์แน่ๆ เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ เรตติ้งดีอย่างงี้ ผมไม่รู้นะ แต่ถ้าถามผม ต่อให้เรตติ้งดีขนาดไหนถ้ามันทำร้ายคน มันไปโน้มนำผู้คนให้ไม่ได้เอดูเคต ผมว่าไม่ควรทำปัจจุบันด้วยการบูมของ Web 2.0 อย่างการเขียนบล็อก, วิกิพีเดีย, ยูทูป และสื่ออย่างทีวีเสรีและวิทยุชุมชน ทำให้มีสื่อภาคประชาชนเกิดขึ้นเยอะมาก
hhh
คิดอย่างไรกับการที่คนทั่วไปมีบทบาทกลายเป็นสื่อมากขึ้น?
ยุทธนา: มันก็เป็นดาบสองคม มันก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย อย่างแรกก็คือข้อมูล ก็ไม่ใช่ว่าประชาชนทุกคนจะเป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งอันนี้ก็ไม่ได้หมายความว่านักเขียนมืออาชีพทุกคนจะเป็นผู้รู้เรื่องนั้นๆ เพราะนักเขียนที่ให้ข้อมูลผิดก็มีเหมือนกัน เพียงแต่ว่าโอกาสที่สื่อภาคประชาชนหรือว่าบางคนก็ไม่รู้ตัวว่าเขาเป็นสื่อหรอก เขาก็แค่เขียนบล็อกไปวันๆ เพราะว่าเขาอยากเขียนไดอารี่ อยากเล่าเรื่องที่เขาไปเจอมา แต่ว่ามันก็ทำให้มีโอกาสที่จะมีข้อมูลที่บิดเบือนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เกิดขึ้นค่อนข้างเยอะ
hhh
เหมือนกับที่ทุกวันนี้เวลาที่อยากหาข้อมูล ทุกคนเสิร์ชกูเกิ้ล เสิร์ชวิกิพีเดีย ซึ่งบางทีมันก็อันตราย คือถ้าเกิดคนที่เขาเสิร์ชเป็นหรือคนที่เขารอบคอบ เขาก็จะไม่เชื่อถือแหล่งข้อมูลเดียว เขาเสิร์ชกูเกิ้ลก็จริง แต่ว่าเขาเข้าไปหลายๆ ไซต์ แล้วเขาก็เช็กหลายๆ แหล่งข้อมูล แต่ก็บางคนอาจจะไม่ใช่ ทุกวันนี้ผมดูจากลูกสาวผมนะ เวลาครูให้การบ้านมา เขาก็เลือกลิงค์ในกูเกิ้ลที่อยู่อันบนสุดเลย หรือไม่ก็เข้าวิกิพีเดีย วิกิพีเดียว่ายังไงก็ถูกต้องหมด ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ ดังนั้นในกรณีที่เป็นเรื่องของเด็กๆ ผู้ปกครองต้องคอยบอกว่า มันเชื่อถือไม่ได้ทั้งหมดนะ หรือคุณครูก็เหมือนกัน เพราะบางครั้งผมก็ไม่แน่ใจว่าคุณครูให้การบ้านแล้วก็อาจจะอยากให้เด็กๆ ได้ทดลองใช้ระบบการเสิร์ชนี่ได้บอกด้วยหรือเปล่าว่ามันต้องเข้าไปหลายๆ ที่ หรือบางทีเขาอาจจะบอก แต่เด็กขี้เกียจก็ตามที อันนี้เป็นส่วนที่ต้องระมัดระวัง ในส่วนที่ดีก็มีอยู่เยอะ มันทำให้
hhh
อย่างแรกคือเราได้รับความเห็นที่หลากหลายมาก จากคนที่ปกติแล้วเราไม่เคยได้ยินความเห็นเขามาก่อน แต่ก่อนนี้สมมติมีข่าวฉาวขึ้นมาข่าวหนึ่ง เราก็ได้แต่ฟังความเห็นของนักข่าวหนังสือพิมพ์ แล้วก็เพื่อนๆ เราที่ทำงาน หรือที่โรงเรียนเท่านั้นเอง เราไม่เคยรู้เลยว่าแล้วเพื่อนบ้านเราอีกจังหวัดหนึ่ง คนอีกวัยหนึ่ง คนอีกประเทศหนึ่ง เขารู้สึกยังไง อย่างวันก่อนที่มีข่าวสไปเดอร์แมนช่วยเด็กตกตึก ซึ่งผมชอบข่าวนี้มากเลย พี่คนนี้น่ารักมากเลยใส่ชุดสไปเดอร์แมนถือน้ำส้มมาให้เด็กนะ
hhh
แล้วผมจะชอบเข้าไปเว็บไซต์ digg.com เป็นโซเชียลบุ๊กมาร์ก (Social Bookmark) คือเวลาที่ใครเข้าไปอ่านข่าวหรืออ่านบล็อกที่ไหนแล้วเขาชอบ เขาก็จะกด digg แล้วถ้าเกิดมีคน digg เยอะๆ มันก็จะขึ้นมาหน้าท้อปๆ แปลว่ามันเป็นข่าวที่มีคนสนใจ ผมก็เลยได้มีโอกาสเข้าไปอ่านคอมเมนต์ของคนทั้งโลกที่เขามีต่อข่าวนี้ ซึ่งมันก็ทำให้เราได้เจอมุมมองที่เรานึกไม่ถึง คือผมยังชื่นชมพี่คนนั้นอยู่นะ แต่มันก็มีความคิดของฝรั่งบางคนที่บอกว่า แล้วเด็กเขาจะรู้สึกยังไง เมื่อรู้ว่านี่ไม่ใช่สไปเดอร์แมนจริงๆ โอเคมันอาจจะเป็นมุมคิดที่มองโลกในแง่ร้ายมาก แต่เราไม่เคยคิดมุมนี้มาก่อนเหมือนกัน
hhh
บางคนก็ถามว่าแล้วคุณครูปล่อยให้เด็กขึ้นไปอยู่ตรงนั้นได้ยังไงตั้งแต่ต้น อะไรเหล่านี้ คือมันเป็นมุมองที่หลากหลาย ซึ่งอันนี้มันเป็นสิ่งที่ผมไม่รู้ว่ารวมแล้วเรียกสื่อภาคประชาชนหรือเปล่า แต่ไอ้เว็บ 2.0 นี่มันให้สิ่งเหล่านี้ไว้ค่อนข้างเยอะ และก็อย่างที่บอกคือมันมาพร้อมกับดาบสองคม คือคนที่ปกติแล้วไม่ควรจะได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นก็เลยได้ไปด้วย มันก็เลยทำให้เวลามีข่าวฉาวต่างๆ เราจะรู้สึกหนักใจ โห สังคมไทยมีคนนิสัยเสียเยอะมากเลยนะ มีคนชอบซ้ำเติมเยอะมาก
hhh
มีคนที่สนุกกับการด่าคนไปวันๆ เยอะนะ ยิ่งปกติคนเหล่านี้ไม่เคยได้ออกสิทธิออกเสียง เราก็จะมาเจอในเว็บบอร์ดเยอะ แต่ด้วยหน้าที่การงานเราไม่เข้าก็ไม่ได้ ต้องเข้าไปดู แล้วเข้าไปดูทุกครั้งก็จะห่อเหี่ยวเวลาเจอคนแบบนี้ ก็พูดให้มันดูมีมารยาทหน่อยก็ว่า เป็นส่วนน้อยแล้วกัน แต่ในใจก็ไม่แน่ใจจริงๆ ว่าเป็นส่วนน้อยหรือเปล่า เพราะมันเยอะจริงๆ เยอะขึ้นเรื่อยๆ
hhh
วงศ์ทนง: เหมื่อนพี่เต็ดเลยครับ ในแง่หนึ่งมันก็ขยายวงกว้างออกไป แล้วอีกแง่หนึ่งเราก็ได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งทัศนะต่างๆ มากขึ้น ผลดีก็มีอยู่แล้ว ส่วนผลเสียก็อย่างที่บอกในทางตรงกันข้าม ฃมูลข่าวสารที่มันบิดเบือนได้ง่าย แล้วก็ทัศนะที่รุนแรง แล้วก็ดูเหมือนว่าจะต่ำลงทุกวัน (หัวเราะ) ผมว่าผู้คนก็จะต้องปรับตัวไปตามสื่อที่มันขยายวงกว้างไปมากขึ้น มันก็อาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้ที่ทำให้คนลุกขึ้นมาใช้วิจารณญานมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องตัวใครตัวมัน (หัวเราะ) แต่ข้อดีคือทำให้เราได้รับความหลากหลายมากขึ้น ผมชอบเรื่องความหลากหลายมากเลย ยิ่งมีสื่อมากเท่าไรมันก็ยิ่งซอร์สที่ดีให้กับเรา ก็ดีนะ ผมชอบ ก็อยู่ที่ว่าสื่อมันไปอยู่ที่มือใคร ถ้าคนที่มีทัศนคติในเชิงลบหรือว่าต้องการ Propaganda ความเชื่อผิดๆ มันสามารถโน้มน้าวคนได้ง่าย
hhh
ยุทธนา: อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ถ้ารัฐบาลจะทำวิทยุชุมชน รัฐบาลจะต้องจัดระบบระเบียบให้เรียบร้อยก่อน ว่าใครจะสามารถเป็นเจ้าของวิทยุชุมชนได้ แล้วมันมีข้อจำกัดอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ผมได้เขียนไว้ใน พ็อกเก็ตบุ๊กชื่อว่า ป๋าไม่กลัวน้ำร้อน วางแผนในสำนักพิมพ์ a book แล้ววันนี้ (หัวเราะ) ว่าเมื่อสัก 2 ปีก่อนผมไปที่ออสเตรเลีย แล้วก็ไปดูงานวิทยุ ผมไปเจอวิทยุชุมชนออสเตรเลียแล้วมันน่าอิจฉา ซึ่งผมเชื่อว่าคงไม่ใช่ที่ออสเตรเลียที่เดียว ที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายที่คงมีเหมือนกัน แต่ผมเห็นที่ออสเตรเลีย หลักการเขาง่ายมากเลย คือเขาแบ่งวิทยุชุมชนและวิทยุแบบธุรกิจออกจากกันโดยสิ้นเชิง แบบธุรกิจเขาใช้คำว่าก็ไปประมูลเอา วิทยุชุมชนนี่เขาใช้คำว่า Acquire คือการไปยื่นคำร้องขอเอามา
hhh
ในส่วนวิทยุธุรกิจเขาไม่มีข้อจำกัดอะไรเลย แค่เอาเงินมาเยอะๆ แล้วก็เอาไปทำ แต่ว่าเขาไม่ได้ปล่อยสัมปทานบ่อยนะ ตอนที่ผมไปที่ออสเตรเลียมีคลื่นวิทยุที่ดังๆ อยู่แค่ 4 -5 คลื่นเท่านั้นเอง ไม่ได้เยอะเท่าที่บ้านเราด้วย แต่ละคลื่นก็ประมูลกันเป็นพันๆ ล้าน ดังนั้นเขาใช้ความแพงเป็นกำแพง แล้วคุณก็ไปทำเอง คุณได้ไปพันล้านๆ คุณต้องไปขายโฆษณาแพงๆ หรือคุณจะมีโฆษณาทั้งคลื่นแล้วไม่มีคนฟังโฆษณาคุณก็ขายไม่ได้คุณก็เจ๊งไปเอง คุณต้องไปบาลานซ์เอง แต่ว่าสิ่งที่คุณได้ไปจากการประมูลเป็นพันๆ ล้านคุณได้สัมปทานไปเลยแทบจะตลอดชีวิต ซึ่งมันจะไม่เหมือนวิทยุไทยที่ต่อสัญญาทุกปี จะลงทุนอะไร จะซื้อเครื่องส่งใหม่ โอ้โหแล้วปีหน้าสัญญาหลุดหรือเปล่าก็ไม่รู้
hhh
แต่ว่าอันนี้เขาจะลงทุนเต็มที่ เขาจะแคร์ทั้งคนฟัง แล้วก็จะแคร์ทั้งเอเจนซี่มาก แต่วิทยุชุมชนที่ต้อง Acquire ก็คือว่า เขาจะมีกฎระเบียบชัดเจนว่ามีโฆษณาได้ไม่เกิน ชั่วโมงละ 5 นาที แล้วต้องมีสมาชิกที่รับรองเป็นคนฟังจริงๆ ของเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ว่าไป เสร็จแล้วก็ไม่ต้องเสียตังค์นะ เอาคลื่นไปฟรีๆ เลย แต่ไอ้กฎระเบียบซึ่งจริงๆ มันคงมีกฎระเบียบอะไรมากมายไปหมด เช่น ห้ามโฆษณาเกินหรือสิ่งอื่นๆ ที่มันคงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายบ้านเมืองเขาอยู่แล้ว คือถ้าทำผิดกฎระเบียบเหล่านี้ก็ยึดคืนทันทีเลยนะ แล้วเขามีคนตรวจสอบดูแลชัดเจน
hhh
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าคนที่เขาจะทำวิทยุชุมชนเขาได้มาฟรี เขาทำอะไรกับมันก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าเขาจะต้องอยู่ได้โดยมีโฆษณาแค่ชั่วโมงละ 5 นาทีซึ่งมันไม่พอใช้หรอก มันน้อยมาก แต่เขาเก็บค่าสมาชิกจากคนฟัง แล้วผมก็ถามเขาว่า แล้วเก็บค่าสมาชิกนี่จะรู้ได้ไงว่าใครมาฟังวิทยุ เขาก็บอกว่าไม่รู้ ผมก็บอกออกไปถ้างั้นผมฟังฟรีก็ได้สิ เขาบอกว่าก็ได้ อ้าว แล้วใครเป็นคนมาเสียตังค์ให้พี่อะ ก็คนที่เจาอยากให้รายการผมอยู่ไง คือคนที่เขาชอบรายการจริงๆ
hhh
วงศ์ทนง: คืออันนี้ดูเป็นผู้คนอีกระดับหนึ่งเลย (หัวเราะ)
hhh
ยุทธนา: ใช่ แล้วก็บอกว่า มันมีอะไรอย่างนี้อยู่ทั้งประเทศเลย เช่น สมมุติว่า วิทยุชุมชนที่เปิดแต่เพลงแจ็ซ คนฟังก็จะเป็นคนรวย ก็จะมีสมาชิกไม่เยอะ เป็นหลักไม่กี่พันคน แต่ทุกคนจ่ายแพงหมด คุณอย่าเปิดเพลงแบบอื่น ถ้าแจ็ซไม่จริงเมื่อไหร่ หรือเริ่มเปลี่ยนนโยบาย ผมก็ไม่เป็นสมาชิก คุณก็อยู่ไม่ได้ อีกคลื่นหนึ่งเปิดเพลงร็อก ก็ต้องร็อกจริงๆ อันนี้ค่าสมาชิกก็จะถูกหน่อย แต่มีคนฟังเยอะหน่อย อันนี้คือข้อดีอย่างหนึ่งคือเขาอยู่ได้ด้วยความเป็นชุมชนจริงๆ แล้วเขาทำวิทยุเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนจริงๆ
hhh
...ฟังแล้วมีอะไรแปลกๆ อยู่ในนี้ไหม นั้นก็คือ ถ้าเป็นเมืองไทยถ้าทำวิทยุชุมชนเพลงป็อปเขาจะให้ไหม มันก็จะต้องเป็นวิทยุเพื่อการศึกษา วิทยุเพื่อการเกษตร ซึ่งไม่ใช่ว่ามันไม่ดี แต่อ้าว แล้วเพลงป็อปมันผิดตรงไหน มันจึงมีเรื่องหลายๆ เรื่องที่อยากให้เกิดขึ้นในบ้านเรา แต่ทำไมสื่อภาคประชาชนมันต้องพูดเรื่องการเมือง เรื่องการศึกษาอย่างเดียว ทำไมเรื่องบันเทิงมันจึงเป็นเรื่องที่มันแย่ไปเสียทุกครั้ง นี่คือสิ่งที่ทำให้โอกาสที่เราจะมีสื่อภาคประชาชนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่แท้จริงและทั่วถึงทุกกลุ่มมันยากมาก แถมมีแล้วก็โดนพวกบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆ ก็เข้าไปซื้อ มันก็ไม่ต่างอะไรกับรายการปกติที่มีอยู่นั่นแหละในวันนี้ วัยนี้
hhh
พี่ๆ ตื่นเต้นกับเรื่องอื่นๆ มากขึ้นไหม เช่นเรื่องการเมือง เรื่องธรรมะ?
ยุทธนา: ผมสนใจการเมืองมากขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว มันถึงวัยของมัน แล้วก็ทำให้รู้ว่า โอ้ ประเทศไทยบ้าการเมืองมากๆ เพราะว่าเวลาที่เราเข้าไปอ่านเว็บไซต์หนังสือพิมพ์หรือข่าวสารของต่างประเทศ ก็ไม่เห็นมีข่าวการเมืองเยอะขนาดนี้ คือสมมุติเขาจะพูดเรื่องบ้านเมือง เขาจะพูดเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องการเมืองเพราะว่ามันดูจะเป็นประโยชน์จริงๆ ต่อประชาชนมากกว่า แต่ว่าของเรามันสนุกน่ะ ผมมองว่า ผมติดตามข่าวสารการเมืองเหมือนดูละคร เหมือนดูรายการทอล์กโชว์มากกว่า คือมันเป็นเรื่องสนุก แต่ฟังแล้วมันห่อเหี่ยวไหม คือดูเอาสนุกเฉยๆ น่ะ ส่วนเรื่องธรรมมะ ก็เริ่มนิดๆ ยังไม่มาก ยังไม่ค่อยเข้าใจเขา อาจจะยังไม่มีเวลาศึกษา แต่ตอนนี้จะตื่นเต้นกับเรื่องนี้มากกว่า ด้วยความที่เราเป็นคนมีลูก ก็จะตื่นเต้นกับลูกเรานี้แหละ ตื่นเต้นกับการที่แบบว่าเขาโตมาในแต่ละวันแล้วเขามีเรื่องใหม่ๆ มาให้เราตื่นเต้น วันนี้เขาเริ่มมาเล่าแล้วว่าเพื่อนเขาเริ่มจีบกันแล้ว เราก็เอาโว้ย เริ่มเข้าอีกสเตจหนึ่งแล้ว (หัวเราะ)
hhh
สิบขวบเริ่มจีบกันแล้ว เริ่มคุยเอ็มเอสเอ็นกันแล้ว ก็พยายามดูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา แต่ผมเป็นคนตื่นเต้นง่าย ผมตื่นเต้นกับเรื่องที่ดูไม่ใช่ภาพพจน์ของผมด้วย คือผมชอบอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ พวกสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม หรือ ไมเคิล ไรท์ ผมจะชอบมาก เป็นแฟนหนังสือพวกนี้ แล้วก็ชอบอ่านเรื่องบางเรื่องที่มันยังไม่ได้แปล ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องนอนฟิกชั่นทั้งหลาย ประวัติศาสตร์บ้าง เป็นเรื่องสารคดีบ้าง อันนี้ตื่นเต้นมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้เอามาเล่าให้ใครฟัง
hhh
วงศ์ทนง: ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวนี่ คือหลังๆ ผมหลงใหลอะไรอะไรบางอย่างที่เมื่อก่อนไม่คิดว่าจะชอบ ยกตัวอย่างเช่น ผมรู้สึกว่า ผมชอบการแต่งบ้าน แล้วผมคิดว่าผมทำใช้ได้นะ (หัวเราะ) แล้วผมก็เริ่มคิดว่าผมน่าจะสร้างบ้านได้ (หัวเราะ) ทุกวันนี้ผมมีงานอดิเรกทำ คือการพยายามทำโคมไฟเก้าอี้เอง ผมเห็นพี่มอ (ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์) ทำ รู้สึกว่า เราก็น่าจะทำได้ (หัวเราะ) อีกอย่างหนึ่งที่ผมหลงใหลมาก คือผมชอบขับรถทางไกล ผมเลี้ยงหมาอยู่ตัวหนึ่ง ผมก็ขับรถไปเรื่อย เมืองไทยนี่ผมไปมาทุกจังหวัดแล้ว การขับรถทางไกลเหมือนการบำบัดสำหรับผมอย่างหนึ่งนะ
hhh
คือมันเป็นการพาเราไปเจอประสบการณ์แปลกใหม่ประเภทครั้งเดียวในชีวิต ผมคิดว่าบางอำเภอบางตำบลที่ผมไป ในชีวิตนี้ผมคิดว่าไม่สามารถขับไปซ้ำได้อีกเลย รวมๆ กันแล้วคือความตื่นเต้นในการผจญภัย ยิ่งถ้าผมพาหมาแล้วเดินทางไป ต้องไปพักในโรงแรมต่างจังหวัดแล้วนี่ มันจะยากขึ้นอีกระดับหนึ่ง (หัวเราะ) เพราะหลายโรงแรมเขาไม่ให้หมาเข้าพัก ก็สนุกดี คือผมเคยให้สัมภาษณ์ไว้ แล้วผมพูดไปโดยไม่รู้ตัวเหมือนกันนะ เค้าก็มาโคว์ทว่าผมพูดว่า ‘ไม่อยากให้ในชีวิตแต่ละวันเหมือนกันเลย’ ผมชอบนะ ผมพูดไปโดยไม่รู้ตัว ผมอยากให้เป็นอย่างนั้นในด้านชีวิตส่วนตัว
hhh
แต่ในด้านการงาน แน่นอน ผมก็คงมุ่งไปทางสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะงานหนังสือที่ผมหลงใหลอยู่แล้ว ทุกวันนี้ก็พยายามเขียนหนังสืออยู่นะฮะ นี้กำลังออก พ็อกเก็ตบุ๊กมาเล่มหนึ่งหลังจากไม่ได้ออกมานานมาก พ็อกเก็ตบุ๊กเล่มสุดท้ายของผม 3 ปีแล้วนะ ก็ตื่นเต้นนะที่จะมีหนังสือออกมา คือมีอยู่ช่วงหนึ่ง สัก 2-3 ปีที่แล้วผมรู้สึกว่าผมไม่อยากทำอะไรแล้ว พอแล้ว ผมรู้สึกว่า ทำมาเยอะแล้ว ให้คนอื่นทำมั่งดีกว่า ให้น้องที่บริษัททำมั่ง ปรากฏว่าผมตื่นเช้ามา ชงกาแฟแล้วก็นั่งอยู่ที่โต๊ะ 2 ชั่วโมง ก็งง (หัวเราะ) พอผ่านไปหลายเดือนเข้า ผมก็เพิ่งรู้ตัวเองว่า เฮ้ย เราไม่จำเป็นต้องหยุดก็ได้ เราสามารถทำงานได้ตลอด เพราะว่าสิ่งที่เราแฮปปี้จากงาน ก็คือเราได้สร้างผลงาน ได้มีความชื่นใจกับงานที่เราทำ จนสำเร็จลุล่วงลงไป อย่างเช่น ที่ผมกำลังจะมีพ็อกเก็คบุ๊กออกนี่ผมตื่นเต้นมากเลยนะ นับวันรอเลย คิดว่าเมื่อไหร่มันจะออก คิดว่าพี่เต็ดคงตื่นเต้นเล่มแรกในชีวิต
hhh
ยุทธนา: ใช่ๆ
hhh
วงศ์ทนง: คือผมมีมา 6 เล่ม พี่เต็ดยังเล่มแรก เข้าใจได้ แต่ผมแบบ ปรู๊ฟอ่านแล้วอ่านอีก ดูดีไซน์ทุกขั้นตอน ผมก็รู้สึกดีกับมัน ที่ผมรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่ผมทำ แสดงว่าผมยังมีความรักในงานที่ผมปักหลักอยู่ นี่ก็เป็นเรื่องในชีวิตนะครับ แต่ช่วง 2 ปีให้หลัง ผมมีความตั้งใจอยู่อย่างหนึ่งว่า หนึ่งปีผ่านไปนี่ผมน่าจะได้ทำอะไรใหญ่ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปสักอย่างสองอย่าง ซึ่งผมก็เริ่มคือเมื่อปีที่แล้วผมจะทำ a day Bulletin ให้มันเกิด แล้วก็ทำ a day Idol ก็พยายามผลักดันมันจนออกมาได้ ก็แฮปปี้มาก ส่วนปีหน้าผมก็ตั้งไว้อย่างหนึ่ง ว่าปีหน้า a day มันขึ้นสิบปี เร็วนะพี่เต็ด ปีหน้าผมอยากทำฟาวน์เดชั่น ตั้งใจว่าจะทำเป็นองค์กรการกุศล ปีหน้าอย่างเดียวพอแล้ว ถ้าเมื่อก่อนตอนที่เรายังเด็กๆ อยากทำเยอะแยะไปหมด ปีหนึ่งทำไป 7 อย่าง แต่หลังๆ ผมรู้สึกว่า ผมไปในทางแบบน้อยๆ แต่เน้นๆ Less is More (หัวเราะ) เนี่ยฮะ ความสนใจในชีวิตของผมวันนี้รู้สึกว่าตัวเองเชื่อมโยงกับวัยรุ่นปัจจุปันได้ดีแค่ไหน
hhh
แล้วมันจำเป็นแค่ใหนที่ต้องต่อให้ติดกับวัยรุ่น?
วงศ์ทนง: อืม พอดีไอ้ a day ที่ผมทำอยู่ มีกลุ่มเป้าหมายคือวัยรุ่นอยู่แล้ว ก็คือคนรุ่นใหม่ ผมก็คิดว่าทุกวันนี้คนที่อ่าน a day อยู่ก็ไม่ใช่เป็นคนที่สมัยผมเป็นบรรณาธิการหรอกฮะ คนวัยนั้นเขาอาจจะข้ามไปอีกระดับ ไปอ่านมติชนสุดสัปดาห์ อ่านสารคดี หรืออ่านจีเอ็มแล้ว แต่ a day ก็มีคนรุ่นใหม่ตอบรับมาอย่างดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนตัวผมเองผมไม่แนใจเหมือนกันนะ ถ้าพูดกันตามตรง เด็กรุ่นนี้หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าผมเคยเป็น บ.ก.อะเดย์มาก่อนนะ อาจจะนึกว่าบ.ก.อะเดย์ก็พี่ก้อง (ทรงกลด บางยี่ขัน) นึกออกไหมฮะ เรื่องนี้ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ก็มีเด็กๆ มาขอลายเซ็นนะ (หัวเราะ) วันก่อนมีเด็ก ม.5 มาขอลายเซ็น ผมก็งง เข้าใจว่าผมเป็นทรงกลดหรือนิ้วกลมหรือเปล่า (หัวเราะ) แต่ผมก็คิดว่าผมยังเข้าใจเด็กรุ่นใหม่ๆ อยู่นะครับ เข้าใจมากกว่าผู้ใหญ่รุ่นเก่าๆ ผมคิดว่านะ (หัวเราะ) ยังพอจะเข้าใจว่า ทำไมเขาชอบ Arctic Monkeys หรือว่าผมเห็นเด็กใส่ขาเดฟแล้วผมไม่ไปว่าน่าเกลียด เพราะผมก็ใส่ได้ นึกออกไหม (หัวเราะ)
hhh
ยุทธนา: คือผมคงไม่นับเป็นวัย เพราะว่าบางคนอายุเขาอาจจะเยอะ แต่เขายังมีวิธีคิดที่ยังเด็กอยู่ แต่โดยหลักๆแล้วผมสนุกกับการที่จะทำงานหรือสุงสิงกับคนที่เขายังสนุกกับการที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าเขาจะเป็นคนวัยไหนก็ตาม ผู้ใหญ่บางคนก็มีวิธีคิดที่เปิดกว้างมาก เราก็สนุกที่จะทำงานกับเขา แต่ผมจะรับไม่ได้เวลาที่ทำงานกับคนที่เขาคิดไว้ครบหมดทุกอย่าง จะไม่สนุกเลย คือโดยธรรมชาติเราเป็นที่ชอบอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง รับสื่อ แล้วก็เราไม่ค่อยเลือกประเภทของสื่อที่จะรับ คือผมก็อ่านสารคดีบ้าง มติชนสุดสัปดาห์บ้าง อ่าน a day อ่าน Knock Konck! ได้หมด ยิ่งฉบับรวมเล่มดาวโรงเรียนผมจะชอบมาก (หัวเราะ) ผมว่าผมคุยกับน้องๆ รู้เรื่องอยู่ แล้วก็ไอ้งานที่ทำกับคนเหล่านี้มันเปิดโอกาสให้เราได้ทำอะไรที่มันสนุกได้เยอะกว่า
hhh
วงศ์ทนง: ใช่ สิ่งที่พี่เต็ดพูดมาเป็นเหตุผลว่า คือทำงานกับคนรุ่นใหม่นี่ สิ่งที่ดีที่สุดคือเขาเปิดใจ เปิดกว้างพร้อมจะรับ ตรงกันข้ามเลย ถ้าคุณทำงานกับผู้ใหญ่ ยิ่งผู้ใหญ่มากๆ มีอำนาจด้วยนะ ขนาดหัวใจของเขาจะแคบมาก ผมอยากเรียกร้องเลยอยากให้ผู้ใหญ่ยิ่งแก่ควรจะยิ่งใจกว้างนะ
hhh
ยุทธนา: มันเป็นเรื่องอย่างนะ ถ้าใครทำได้เราจะชื่นชมมาก เพราะว่าคนเราพอโตขึ้น ความรู้มันยิ่งมากขึ้น มันมีอุปกรณ์ส่งเสริมให้เรามั่นใจในตัวเอง และเชื่อคนอื่นน้อยลง แล้วถ้าเกิดใครยังสามารถรักษาระดับความเปิดกว้างของจิตใจได้ ผมถือว่าแจ๋วเลย แล้วผมเองยังต้องระวังตัวเลย นี้ก็ 40 กว่าแล้วด้วย ไม่บอกว่าเท่าไหร่ (หัวเราะ) ต้องระวังตัวไม่ให้เป็นอย่างคนที่เราไม่ชอบ (หัวเราะ)
hhh
วงศ์ทนง: ผมเคยคิดนะว่า พวกผู้ใหญ่ชอบติ นึกออกไหม คือหลังๆ นี่น้องที่บริษัทมันขำผม ว่าถ้าอยากได้คำชมให้มาคุยกับพี่โหน่ง (หัวเราะ) ผมไม่รู้เป็นไรนะ แต่ผมรู้สึกว่า คำชมนี่สำคัญมาก สำหรับผม สำหรับคนทำงานแบบเราๆ ด้วย
hhh
ยุทธนา: คือเราทำงานสื่อ ความสุขของเราคือสมมุติถ้าเป็นโหน่งอาจหมายถึงว่า การเอาเรื่องมาเล่า แล้วคนตื่นเต้นไปกับเรื่องที่เราเล่า อย่างผมนี้อาจเอาเพลงมาให้ฟัง หรือจัดคอนเสิร์ตให้ดูแล้วคนก็ตื่นเต้นกับงานเรา แล้วถ้าไปเจอกับคนที่เราเอาเพลงให้ฟังแล้ว ‘เฮ้ย นี้ต้องฟังนี่สิ’ มันจะไม่สนุกเลยนะ (หัวเราะ) คือช่วยฟังไอ้ที่เอามาให้ฟังก่อนสิ (หัวเราะ)
hhh
วงศ์ทนง: สกัดดาวรุ่ง
hhh
ยุทธนา: สกัดดาวรุ่ง ไม่สนุกแล้ว เป็นบรรยากาศที่ไม่ชวนทำงานแล้ว
hhh
วงศ์ทนง: มีอยู่ทุกที่นะ (หัวเราะ)
hhh
ไหนๆ วันนี้พี่สองคนได้มาเจอกัน อยากรู้ว่ามีคำอะไรที่อยากถามอีกฝ่ายบ้างไหม?
ยุทธนา: ว่าแล้วว่ามันต้องมีอะไรประมาณนี้ แต่เราไม่ได้นึกไว้เลย (หัวเราะ)
hhh
วงศ์ทนง: ผมนึกว่าจะให้พูดถึงอีกฝ่าย (หัวเราะ) ก็ขอพูดถึงพี่เต็ดหน่อย คือพี่เต็ดอาจจะไม่รู้ตัวว่า พี่เต็ดนะเป็นหนึ่งในคนโปรดของผม (หัวเราะ) ผมชื่นชมพี่เต็ดมากครับ คือพี่เต็ดอาจจะลืมเหตุการณ์หนึ่งไปแล้ว ตอนที่ผมเริ่ททำ a day ใหม่ๆ ซึ่งมันเกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก ผมไปขายโฆษณาเอง ไม่มีใครซื้อโฆษณาผมเลย มีวันหนึ่งผมต้องไปขายกับพี่เต็ด (หัวเราะ) พี่เต็ดอาจจะจำไม่ได้ แต่พี่เต็ดซื้อโฆษณาหนังสือเล็กๆ เล่มหนึ่งด้วย มันคือการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมมากเลย
hhh
ยุทธนา: พอดีตอนนั้นฟลุ๊ก มีงบ (หัวเราะ) เป็นแอดตัวแรกของแฟตด้วย
hhh
วงศ์ทนง: วันนั้นผมรู้สึกว่า โห พี่คนนี้ใจดีกับเราจังเลย ผมคิดในใจไว้ตอนนั้นนะ ถ้าพี่เต็ดเรียกใช้อะไรผมทำเต็มที่เลย แล้วในเวลาต่อมาพี่เต็ดก็แสดงให้เห็นเลยว่า สิ่งที่พี่เต็ดทำออกมา มันคือสิ่งที่เรียกว่าสร้างสรรค์อย่างแท้จริง ผมว่าไม่มากก็น้อย พี่เต็ดมีคุณูปการต่อวงการ ไม่เฉพาะที่เป็นวงการดนตรี แต่เป็นวงการที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ศิลปะบันเทิงทั้งหลายก็เกิดขึ้นจากพี่เต็ด
hhh
ผมว่าพี่เต็ดเป็นครีเอทีฟแบบธรรมชาติ แต่อย่างหนึ่งที่ผมชอบมากนะ คือพี่เต็ดมีความเป็นโปรดิวเซอร์อยู่ด้วย คือผมมีความคิดว่าหลายปีที่ผ่านมา จนกระทั่งปัจจุปันนี้ ประเทศเรามีครีเอทีฟเยอะมาก โดยเฉพาะถ้าเดินไปที่สีลม ไปที่สยาม ไปงานปล่อยแสง หรืองานเพชะคูชะ แล้วปาหินเข้าไปก้อนหนึ่ง รับรองมีครีเอทีฟร้องโอ้ย คนที่คิดอะไรเก่งๆ มีเยอะมากตอนนี้ แต่คนที่จะสร้างมันให้เป็นจริงขึ้นมาได้มันน้อยมาก เพราะฉะนั้นผมคิดว่าประเทศเราอาจจะไม่ต้องการครีเอทีฟอีกแล้วก็ได้นะ คนที่เราต้องการคือโปรดิวเซอร์ แล้วพี่เต็ดก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นโปรดิวเซอร์ตัวจริง
hhh
ยุทธนา: เอาแบบเดียวกันแล้วกัน ไม่รู้จะถามอะไร เอ่อ คือว่าโหน่งเป็นเช่นเดียวกันนะ เป็นคนที่ผมชื่นชอบ หัวเราะ โหน่งเป็นสื่ออย่างที่ผมบอกนะ ไม่พยายามเป็นในสิ่งที่ตัวเองไม่ใช่ เป็นคนทำหนังบ้านผีปอบ (หัวเราะ) คือเชื่อว่าบ้านผีปอบคือหนังที่ฉันอยากทำแล้วก็ทำสิ่งนั้น กับอีกอย่างหนึ่งคือทุกครั้งที่เจอโหน่งแล้วได้คุยกันนี่มันจะมีข้อคิดอะไรบ้างอย่างที่เกิดจากการคุยเสมอ แล้วโหน่งนะอาจจะไม่รู้ แต่ผมกลับเอาไปคิดจริงจัง (หัวเราะ) อย่างเรื่องทำหนังสือ DDT ก็เป็นโหน่งเลยนะที่จุดประกาย หรือว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งที่เจอโหน่ง แล้วบอกว่า ‘พี่เต็ดทำงานเยอะไปแล้ว ทำน้อยๆ หน่อย’ สงสัยเป็นวันที่เขาลุกขึ้นมานั่งชงกาแฟ 2 ชั่วโมงนั่นแน่เลย (หัวเราะ)
hhh
อันนั้นกลับไปคิดเลยนะ เออ เราทำงานเยอะไปจริงๆ ว่ะ คือเราจะเป็นประเภทลุยไปเรื่อย แล้วมันไม่ค่อยได้หยุดคิดนะ ลุกขึ้นมานี่สิ่งเดียวที่เราจะคิดคือวันนี้มีไรหนุกๆ ทำบ้าง แล้วเริ่มออกจากบ้านไปทำสิ่งเหล่านั้น มันไม่ได้นั่งคิดนะ คือคาเร็กเตอร์โหน่ง เขาจะนิ่ง เขาจะมีเวลา เหมือนคนทำหนังสือจะคิดนานกว่าจะเขียนไปแต่ละตัว คนวิทยุคิดปุ๊บพูดปั๊บ ดังนั้นมันเป็นสิ่งที่แบบผมก็จะศึกษาสิ่งที่โหน่งทำอยู่ตลอดเวลา คอยเรียนรู้ เวลาเขาพลาดเขาทำยังไงกับมัน ตอนนั้นจำได้ว่าอยากทำหนังสือพิมพ์มาก ผมก็รออ่านเลยนะ พอ a day weekly มันไม่ประสบความสำเร็จ เขาก็ยังมั่นคงไม่หวั่นไหว เพียงแต่ว่าเขาก็มีวิธีการไปทำอย่างอื่นที่มันจะประสบความสำเร็จ แต่ว่ามันยังอยู่ในทิศทางแบบที่เขาเป็นอยู่ คือถ้าจะถามอะไรเขาตอนนี้ผมคงอยากถามโหน่งว่า มันควรจะทำงานเยอะหรือทำงานน้อยวะ (หัวเราะ) หรือจะถามโหน่งว่า ชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุด อืม...ชกกันเลยดีกว่าถ้าถามเรื่องนี้ (หัวเราะ)
hhh
วงศ์ทนง: แต่เรื่องล่าสุดผมไปดู The Song of Sparrows หนังอิหร่าน ผมอ่านเรื่องย่อจาก happening 3-4 บรรทัดแล้วผมไปดูเลย มันตอกย้ำยืนยันกับผมว่าอิหร่านเป็นชาติที่ทำหนังมีอัตลักษณ์ที่สุดในโลก คนทำหนังเขามีศิลปะอย่างแท้จริง ซึ่งความดีคงต้องยกให้กับรัฐบาลเลยนะ รัฐบาลที่สนับสนุนคนทำหนัง หรือว่าคนที่ให้ทุนกับผู้กำกับยอดฝีมือทำหนังที่เขาอยากทำจริงๆ คุณคิดดูสิ เรื่องย่อของเรื่องนี้เท่าที่อ่านจาก happening บอกว่า ผู้ชายคนหนึ่งทำงานอยู่ในฟาร์มนกกระจอกเทศ แล้วนกกระจอกเทศตัวหนึ่งหลุดออกไป ทำให้เขาต้องไปขี่มอเตอร์ไซต์ในเมืองแล้วมันก็เปลี่ยนชีวิตเขาอย่างสิ้นเชิง พล็อตอย่างนี้มันไม่มีทางที่จะเห็นได้ในประเทศเรา แต่อิหร่านมันใจกว้าง เขาทรีตหนังเป็นงานศิลปะอย่างแท้จริง ผมดูหนังอิหร่านทีไร ไม่ว่าเรื่องไหน ผมรู้สึกว่ามันยกระดับจิตใจของผมให้เติบโตทุกครั้งไป
hhh
ยุทธนา: ซึ่งบางครั้งมันสะท้อนกลับมาที่บ้านเรานะ ผมเชื่อว่าสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะทางด้านการเมืองของอิหร่านไม่นานจะมีอิสระอย่างประเทศเรา แปลกมาก อันนี้ก็ไม่ได้ว่าบรรดาผู้กำกับทั้งหลาย คือเขาคงเจอปัญหาอะไรของเขา แต่ว่ามันก็เป็นอะไรบ้างอย่างที่ทำให้เราฮึดสู้ อิหร่านทำหนังแบบนี้ได้เยอะแยะเลย แล้วมีมาเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย
hhh
วงศ์ทนง: ผมนึกคำถามออกแล้วครับพี่เต็ด คือผมอยากรู้ว่า ชีวิตที่ผ่านมา สิ่งที่พี่รู้สึกดีที่สุดสำหรับตัวเองคือเรื่องอะไร?
hhh
ยุทธนา: น่าจะเป็นเวลาที่เราได้ให้โอกาสคนนะ เพราะว่าผมจะคิดเสมอว่า ที่ผมได้มาทำงานเพราะว่าผมได้โอกาสที่ไม่ควรจะได้ คือวันที่ไปสมัครงาน ผมเรียนไม่จบไง เรียนแล้วก็รีไทร์ แต่ว่าอาศัยว่าเราเคยฝึกงานที่แกรมมี่ ก็เดินมาสมัครกับ พี่เจือ (สันติสุข จงมั่นคง) เขาก็รับเลยโดยที่เราไม่มีปริญญาอะไรทั้งสิ้น แล้วก็ไม่ได้มั่นใจว่าเราทำได้หรอก แต่ว่าคุ้นๆ ว่าเราเคยมาฝึกงาน แล้วแบบให้โอกาสมึงไปแล้ว มึงไปดูแลตัวเองนะว่าจะเอาตัวรอดไหม
hhh
วันที่จะเริ่มทำวิทยุก็เหมือนกัน ก็ไปทำเทป พี่ฉอด (สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา) ก็ให้โอกาสเราจัดรายการ ซึ่งผมมั่นใจว่าเทปมันไม่ได้ดีขนาดนั้น แต่ว่าสิ่งที่พี่ฉอดเขาบอกว่า เขาเห็นอะไรบางอย่างที่คิดว่าเราจะเติบโตไปเป็นสิ่งนั้นได้ แต่ว่ามันคงไม่ใช่วันนี้ ก็โยนลงน้ำไปก่อน แล้วเดี่ยวให้เราว่ายน้ำเป็นเอง ดังนั้นการให้โอกาสคนมันไม่ได้เป็นเรื่องที่เราต้องลงทุนลงแรงเลยนะ แต่มันมีผลต่อชีวิตของคนทำงานมาก มันมีมูลค่าสูงมาก เงินซื้อไม่ได้ ดังนั้นถ้ามีโอกาสที่ผมให้ใครแล้วมันก่อให้เกิดสิ่งดีๆ ผมก็จะมีความสุขมาก
hh
อยากรู้ของพี่โหน่งบ้าง?
วงศ์ทนง: เป็นเรื่องเดียวกันเลยนะ ไม่น่าเชื่อ (หัวเราะ) จริงๆ เป็นเรื่องเดียวกันเลย คือมันรู้สึกดีมากเลย เพราะว่าเราเป็นคนที่แสวงหาโอกาสอยู่เสมอ ทุกวันนี้ยังคงนึกถึงคนที่ให้โอกาสกับเราในแต่ละช่วงวัยของชีวิตเสมอ แล้วก็เป็นโดยธรรมชาติมั้ง ไม่ได้เป็นความตั้งใจอะไรนะ ก็ถ้ามีโอกาสที่จะให้โอกาสใครได้ก็จะไม่รีรอไม่ลังเล ทุกวันนี้ก็ชื่นใจเวลามีเด็กที่เคยมาฝึกงานกับเรา หรือว่าคนที่เราได้ให้โอกาสได้ออกหนังสือ แล้วเติบโตกลายเป็นคนทำหนังสือดีๆ อย่าง happening หรือไปอยู่บริษัททำโทรทัศน์ดีๆ อย่างทีวีบูรพา หรือว่ากลายเป็นนักเขียนเบสเซลเลอร์ ผมก็แฮปปี้มากเลย เป็นความสุขที่อธิบายไม่ถูก แต่รู้สึกว่าอันนี้คือสิ่งที่มันหล่อเลี้ยงคนอย่างเรา
hhh
ยุทธนา: มันอาจจะเป็นข้ออ้างได้ ถ้าไปถึงวันที่เขาตัดสินว่าจะให้เราขึ้นสวรรค์หรือลงนรก ถึงผมจะไม่เคยไปวัดทำบุญ แต่ผมก็ทำความดีมาพอสมควรกับเรื่องพวกนี้นะ (หัวเราะ)
kkk
วงศ์ทนง: ผมเคยเห็นพี่เต็ดไปงาน ไม่รู้พี่สังเกตไหม ว่าพวกนักดนตรี หรือแม้กระทั่งป๊อด (ธนชัย อุชชิน) วันนั้นเขาเจอผมเขาเฉยๆ นะ (หัวเราะ) ‘พี่โหน่งครับ หวัดดีครับ’ แต่เจอพี่เต็ดเขาแบบว่า (ทำท่าห่อไหล่) เพราะนี่คือคนที่ให้โอกาสเขา คนให้โอกาสน่ะมันเป็นสิ่งที่เราจะซึ้งมากเลย
hhh
อันนี้จะแถมท้ายถามพี่เต็ดโดยส่วนตัว อยากรู้ว่าการเป็นพ่อคนมันรู้สึกไงบ้าง?
ยุทธนา: มันเปลี่ยนชีวิตไปเลย มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งไปเลย คือมันไม่มีตรงกลางเลย ผมมั่นใจอย่างนั้น คือคุณจะมีแต่รับได้กับรับไม่ได้ คือถ้าคุณมีความสุขกับมันคุณก็จะมีความสุขกับมันมาก แต่ถ้าคุณรับมันไม่ได้ มันถึงมีข่าวพ่อขี้เมาเตะลูกตาย ผมว่าพวกนั้นมันรับไม่ได้ไง คือเขาไม่ได้พร้อมจะเป็นพ่อคน เพราะมันยิ่งกว่ามีแฟนอีกนะ (หัวเราะ) มีแฟนนี่คุยกันรู้เรื่องได้บ้าง หรือทะเลาะกันเรายังมั่นใจได้ว่าเขาดูแลตัวเองได้ เดี๋ยวกลับมาก็ง้อ
hhh
แต่ลูกนี่เราไม่รู้เลยว่าถ้าเราทำอะไรที่มันฝังลงไปในความคิดของเขา แล้วมันส่งผลกลายเป็นอะไรไม่รู้ในวันที่เขาโตขึ้น ซึ่งเราต้องค่อยๆ ระมัดระวัง ประคับประคอง ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี เปลี่ยนพฤติกรรม คือเรารู้ว่า ตอนเด็กๆ ใครมาสอนเรา เราจะไม่เชื่อคนที่เขาเองก็ทำไม่ได้ ‘พี่บอกให้ผมทำ แต่พี่เองก็ไม่เห็นจะดีกว่าผมเลย’ (หัวเราะ) เราเลยต้องดูแลตัวเองตลอดเวลา มันถึงบอกว่ามันไม่มีตรงกลาง คนอื่นอาจจะมี แต่ผมว่าไม่มี
hhh
วงศ์ทนง: หมายถึงเป็นพ่อที่ดีมากๆ กับพ่อที่แย่มากๆ ไปเลย
kkk
ยุทธนา: ใช่ พ่อกลางๆ ไม่มี เพราะว่า พ่อกลางๆ ก็คือพ่อที่แย่นะ มันไม่มีพ่อที่ดีบ้างเป็นบางวัน ผมว่าใช้ไม่ได้แล้ว (หัวเราะ) พ่อต้องดีทุกวัน ใส่ทุกเม็ด เต็มเม็ดทุกหน่วย ไม่มีผ่อนเลยวงศ์ทนง: คำถามนี้อย่าถามผมนะ เพราะผมเชื่อว่าผมเป็นพ่อที่เตะลูกแน่ๆ (หัวเราะ)


สิ่งที่ idol มีให้ไดก็ แรงบันดาล น่ะ...เพื่อนๆชาวหัวหิน คิดอย่างนั้นมั๊ย...สู้ต่อไป ในแนวทางของเรา กันนะ...สวัสดี
เรื่อง: วิภว์ บูรพาเดชะ
ภาพ: ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ
ขอบคุณ+ขอบคุณ+ขอบคุณ ข้อมูล ภาพ เรื่อง จาก happening ขอบคุณ+ขอบคุณ...
huahinhub Thanks

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น