5.27.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๖๐ (ไม่ใช่ใครก็อยากเป็นเหมือนปาย)





k
k
k
k
k
ชาวเชียงคานร่วมใจ สร้างภูมิคุ้มกันอนุรักษ์วัฒนธรรม ไม่อยากเป็น"ปาย-2"
hhh
"อำเภอเชียงคาน" ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ที่ขณะนี้กำลัง "บูม" ทางด้านการท่องเที่ยวอย่างมากมายเพราะเชียงคาน มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรม ใกล้เคียงกับอำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่เดี๋ยวนี้ถูกระบบทุนนิยมเข้าไปทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมจนหมดสิ้น
แม้กระทั่งอาหารการกินภายในอำเภอปายเอง ยังขาดแคลนถึงขั้นต้องสั่งซื้อผักผลไม้จาก จ.เชียงใหม่ คนที่ชื่นชอบธรรมชาติและวัฒนธรรมดั้งเดิมจึงกลัวนักหนาว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นปายที่เชียงคานเพราะเวลานี้ทั้งคนทั่วไปทั้งนักท่องเที่ยวกำลังแห่แหนมุ่งหน้าเดินทางเข้าไปถล่มอำเภอเชียงคานกัน!!
hhhh
อำเภอเชียงคาน มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว มาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ราวปี พ.ศ.2320 ได้อพยพชาวบ้านจากเวียงจันทน์มาอยู่ที่เมืองปากเหือง พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อพยพผู้คนจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาอยู่ในเขตไทย ต่อมาเกิดสงคราม กระทั่งปี พ.ศ.2484 ผู้คนได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองเชียงคาน
ดดดด
ในปัจจุบันเชียงคานเปรียบเสมือน "น้องใหม่" ที่กำลังเติบโตในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งในปี 2518 เชียงคานเป็นสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติศูนย์บ้านวินัยหรือบ้านแม้ว ต.ปากชม สัญชาติฝรั่งเศสและญี่ปุ่นเดินทางมาพักผ่อนแต่เมื่อศูนย์บ้านวินัยปิดตัวลง ชาวต่างชาติที่เคยมาก็หายไป ปัจจุบันเมืองเชียงคานกำลังพัฒนา ขณะเดียวกันระบบทุนนิยมที่มากับการพัฒนาก็เริ่มเข้ามาครอบงำเป็นเงาตามตัว
kkkk
เพื่อให้เชียงคานห่างไกลจากสภาพของ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงนำสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคาน เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งดีงามไว้ภายในตัวอำเภอมีถนนเลาะเลียบไปตามริมแม่น้ำโขง เรียกว่า "ถนนชายโขง" ระยะทาง 2 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ วัดท่าครก ใกล้ๆ โรงเรียนสวนสุขภาพ ยาวไปทางทิศตะวันตกถึง วัดศรีคุณเมือง เป็นถนนที่เงียบสงบ เช้าๆ จะเห็นผู้สูงอายุออกมาตักบาตรข้าวเหนียวเรียงรายไปตามถนน-ถนนชายโขง เป็นที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอเชียงคาน ถูกมองว่าจะเป็นแหล่ง "ขุดทอง" แห่งใหม่ของพ่อค้าแม่ค้าต่างถิ่นชาวบ้านแถบถนนชายโขงยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรปลูกข้าว ปลูกผัก และค้าขายกับฝั่งลาว
hhhh
สภาพบ้านเรือนบริเวณนี้หนาแน่นกว่าถนนสายอื่น ส่วนมากเป็นบ้านไม้สมัยเก่า แต่ก็มีบางส่วนเป็นตึกแถวสร้างใหม่ ซึ่งทางเทศบาลไม่อนุญาตให้ปลูกสร้าง จึงอยู่ระหว่างการทำความตกลงกัน เพราะทางเทศบาลต้องการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมบริเวณถนนสายนี้ให้เป็นบ้านไม้ทั้งหมด เป็นการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคาน
hhhh
ดังนั้น เมื่อเดินทางเข้าไปในย่านนี้จึงเป็นเสน่ห์ของเชียงคานที่ให้บรรยากาศแบบสมัยก่อน นักท่องเที่ยวนิยมขี่จักรยานเลียบริมโขง ก็ได้ยินเสียงเพลงลาวดังมาแว่วๆ เป็นความสุข สงบ ชนิดหาที่ไหนได้ยากมาก"ป้าก้อย-อุไรรัตน์ มั่งมีศรี" เจ้าของร้านเฮือนคำแว่น เป็นร้านนวดแผนไทย ตั้งอยู่ถนนชายโขง เล่าว่า แต่ก่อนสักห้าสิบปีมาแล้ว เธอเองค้าขายกับลาว สมัยก่อนคนฝั่งลาวแจวเรือมาซื้อข้าวของจากแถบนี้ มีคนไทยเดินทางไปฝั่งลาวเหมือนกัน แต่ก็ไม่เอิกเกริกอะไรนัก ไม่ต้องมีใบผ่านแดนอะไรทั้งสิ้น ผิดกับเดี๋ยวนี้ อาจเป็นเพราะจำนวนคนมากขึ้น
hhhhh
"บ้านเรือนบนถนนชายโขงก็เป็นแบบเดิมๆ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ป้าเห็นแบบนี้มาตั้งแต่เกิดเพราะเขารักษาไว้ ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง แล้วชาวบ้านแถวนี้ก็ปลูกข้าว จะเห็นยุ้งข้าวอยู่ข้างๆ บ้าน คนแถวนี้มีทั้งคนเชียงคานดั้งเดิม คนเวียดนาม คนจีน เขามาอยู่ตั้งแต่สมัยเหมา เจ๋อ ตุง แล้ว หนีมาเข้ามาทางลาวแล้วก็ต่อมาในไทย"สิ่งที่ป้าก้อยต้องการก็คือการรักษาวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของชาวเชียงคานไว้ อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ดีแล้วสำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนถนนชายโขง คือ วัดมหาธาตุ วัดศรีคุณเมือง และ วัดท่าครก ซึ่งวัดทั้งสามแห่งนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 200 ปี
hhhh
ป้าบอกว่าแต่ก่อนคนญี่ปุ่น คนฝรั่งเศสมาเที่ยวที่นี่มาก แต่เดี๋ยวนี้คนไทยมาเที่ยวมากกว่า เพราะความเงียบสงบ และผู้คนชาวบ้านมีน้ำใจ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย"อยากให้วัฒนธรรมประเพณีแบบนี้อยู่นานๆ ไม่อยากให้เอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา" เสียงป้าก้อยร้องบอก
gggg
ขณะที่ กมล คงปิ่น นายกเทศมนตรีอำเภอเชียงคาน เล่าถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเชียงคานก็คือ ชาวบ้านเกือบทุกหลังจะลุกขึ้นมาตักบาตรข้าวเหนียวแต่เช้าตรู่"อันนี้มีมานานแล้ว ไม่ใช่เฉพาะที่หลวงพระบาง ประเทศลาว เพราะพระท่านฉันข้าวเหนียว มีคนเคยถามว่าใส่แต่ข้าวเหนียวแล้วพระจะฉันอะไร พระท่านมีอาหารฉันแน่นอน เพราะชาวบ้านบางส่วนเขานำกับข้าวไปถวายที่วัด แล้วการแต่งตัวไปวัดจะคล้ายๆ กับที่หลวงพระบาง ผู้หญิงนุ่งซิ่นพาดสไบ ผู้ชายที่ขาก็มีลายสักดำเต็มไปหมด เป็นวัฒนธรรมของเรา"นายกเทศมนตรีแสดงถึงความกังวลว่าสิ่งดีๆ เหล่านี้จะหายไป"
hhh
เราได้ขอความร่วมมือคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นพระ ครูบาอาจารย์ ผู้เฒ่าผู้แก่ ให้ทำแบบอย่างให้ลูกหลานเห็น ว่าปู่ย่าตายายในอดีตมีวัฒนธรรมอย่างนี้นะ หรืออย่างเรื่องของการรักษาเวลาใครเจ็บป่วย ไปหาหมอไม่หายก็จะมีพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ พิธีกรรมมีอะไรก็จะบอกไว้ มาทำพิธีให้เห็น อย่างในช่วงเทศกาลออกพรรษา จะมีพิธีสะเดาะเคราะห์ผาสัตว์ผึ้งลอยน้ำ จะให้นักเรียนในโรงเรียนทำผาสัตว์ผึ้งลอยน้ำมา หรือให้โรงเรียนทำขาย เป็นการถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นหลัง ซึ่งแบบนี้เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ หากไม่ช่วยกันความเป็นเชียงคานก็จะหายไป กลายเป็นอย่างปายที่เวลานี้เลอะเทอะหมดแล้ว"
hhh
อันที่จริง "การท่องเที่ยว" ก็คือดาบสองคม สำคัญที่ว่านักท่องเที่ยวเป็นนักท่องเที่ยวที่ดีหรือไม่ หากนักท่องเที่ยว-เที่ยวแบบไม่รู้ไม่เข้าใจพื้นที่ ไม่รู้จักผู้คน ของแถบ ถิ่น นั้นๆ เรียกร้องแต่สิ่งที่ตัวเองต้องการคือ ความสะดวกสบายต่างๆ สถานที่แห่งนั้นคงไม่เหลืออะไรให้เป็นเสน่ห์ขณะที่คนในท้องถิ่นเองหากไม่ร่วมมือกันรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม มุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์ ค่าที่ได้ออกมาก็คงไม่ต่างกันคือหมดเสน่ห์ หมดความสวยงาม ที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดอีกต่อไป...ชาวหัวหินคิดอย่างนี้เหมือนกันบ้างมั๊ย....สวัสดี
ggg
ขอบคุณข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ โดย ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ
huahinhub Thnaks
hhhh

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น