5.27.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๖๔ (ยิ้มละไมไปกับดนตรี)



ถ้าจะให้เด็กเรียนรู้ดนตรี ไม่ใช่เรื่องยาก ลองมารู้จักจังหวะดนตรีง่ายๆ เครื่องดนตรีทำเองจากวัสดุเหลือใช้ ถ้าคุณได้ยินเสียงดนตรีจากพวกเขา คุณจะรู้เลยว่า จังหวะเคาะง่ายๆ ก็ทำให้คนมีความสุขแล้ว อยากรู้จังเลย...เครื่องดนตรีทำเอง จะเล่นได้จริงไหม...
hhhh
จึงต้องแวะเวียนไปที่แหล่งต้นตอเจ้าของไอเดียที่สอนเด็กๆ ทำเครื่องดนตรีเคาะจังหวะเล่นเอง สองสาวกับหนึ่งหนุ่มต่างชาติ สาธิตการเล่นเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด ครกตำส้มตำถูกดัดแปลงเป็นเสียงเมโลดี้ เล่นเข้าจังหวะกับการเขย่าเมล็ดพืชจากขวดพลาสติกเหลือใช้เพนท์สี เครื่องดนตรีอีกชิ้นทำจากท่อพีวีซี แต่งแต้มสีสันให้น่าดู เสียงคล้ายฝนกำลังตก ชิ้นนี้เลียนแบบจากเครื่องดนตรีชนเผ่าอินเดียนแดง บรรเลงผสานกับกลองแอฟริกัน ชวนให้นึกถึงวัฒนธรรมต่างเผ่าพันธุ์
hhhh
แค่ได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงร่วมกันไม่กี่นาที ก็รู้สึกหัวใจพองโต ทำให้นึกไปถึงเด็กๆ ที่มีโอกาสทำเครื่องดนตรีเล่นเอง คงจะสนุกไม่ใช่น้อย...
แล้วใครกัน...ชวนให้เด็กๆ ทำเครื่องดนตรีเล่นเองมานานกว่า 7-8 ปี พวกเขาคงรักเด็ก รักเสียงเพลง รักธรรมชาติ และที่สำคัญ...สอนให้ลงมือทำ...พวกเขายืนยิ้มอยู่ข้างๆ เครื่องดนตรีจากขวดกระป๋องพลาสติกที่หลายคนทิ้งขว้าง แต่ถูกชุบชีวิตด้วยการแต่งแต้มสีสันให้น่าดู

นี่คือสมาชิกยิ้มละไม ของ กลุ่มโลกทัศน์สโมสร
"การรู้จักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็เหมือนการได้รู้จักตัวเอง ลำพังเราคนเดียวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ เด็กเป็นวัยที่เริ่มต้นได้ดี มีพลัง เราอยากให้พวกเขาเห็นความงามบางอย่างของธรรมชาติและชีวิต อย่างเราอยู่ในเมืองไม่มีต้นไม้เยอะๆ ให้เห็น เราอยากเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตดีๆ" จอม-อัจฉริยา สิทธิกิตติศรี ผู้ริเริ่มดนตรียิ้มละไม หนึ่งในโครงการกลุ่มโลกทัศน์สโมสร บอกเล่า ปัจจุบันเธอเป็นผู้จัดการกลุ่ม และกำลังเรียนปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยมหิดล
รอยยิ้มในดนตรี
hhhh
อัจฉริยา ทำงานด้านเด็กมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย จัดกระบวนการศึกษาและการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ค่ายเด็กและการฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตร รวมถึงเคยทำงานกับกลุ่มดนตรีสองวัย และอบรมทำเครื่องดนตรีรีไซเคิล ฯลฯ เธอเชื่อว่า คนเราสามารถเรียนรู้จังหวะง่ายๆ ของดนตรี ถ้าอยากเล่นดนตรี ไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องดนตรีราคาแพง สามารถทำเองได้
hhhh
"เคยเห็นเด็กบราซิลข้างถนนหรือเด็กชนเผ่าเล่นดนตรีง่ายๆ เด็กบางคนเอาสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาทำเครื่องดนตรี ปัจจุบันเด็กรวยๆ เท่านั้นที่มีโอกาสเล่นดนตรี ก็เลยคิดว่าเด็กทั่วไปน่าจะมีโอกาส เราไม่ได้ต้องการให้เด็กเป็นศิลปินดัง แต่อยากให้เด็กเรียนรู้ ทำให้เราคิดเรื่องจังหวะชีวิต จังหวะธรรมชาติ และจังหวะดนตรี" อัจฉริยา เล่าถึงความคิดริเริ่มการทำดนตรี
ยิ้มละไมเพื่อสื่อสารกับเด็กๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ หากจะให้เด็กเข้าใจจังหวะดนตรี ก็ต้องเข้าใจคุณค่าของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นด้วย แม้เธอจะไม่ได้เรียนดนตรี แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียนรู้ความงดงามของเสียงเพลง เพราะคนสมัยก่อนก็สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง และดนตรีเป็นเรื่องของความรู้สึก
hhhhh
“มีโอกาสฝึกพื้นฐานเรื่องจังหวะกลองมาบ้าง และไปเรียนเต้นแบบอินเดียที่ใช้กระดิ่งผูกข้อเท้าจากเพื่อนชาวอินเดีย การเต้นแบบนี้สอนให้เรานับจังหวะเป็น และชวนเพื่อนนักดนตรีมาเล่นดนตรีร่วมกัน เราก็ได้เรียนรู้ เวลาทำกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กในค่าย เราก็ได้เรียนรู้พร้อมๆ กับเด็ก”
hhhh
อัจฉริยาและเพื่อนๆ ได้เรียนรู้จังหวะดนตรีพร้อมๆ กับการเรียนรู้ชีวิต ดังนั้นการทำเรื่องดีๆ ไม่ต้องรอทุนจากที่ไหน เธอเริ่มง่ายๆ ใช้หัวใจนำทาง ดัดแปลงเศษวัสดุเหลือใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี "เคยเห็นเครื่องดนตรีจากชนเผ่าอินเดียนแดง ชอบเสียงของดนตรีชิ้นนี้ จึงหาไม้ไผ่มาหัดทำ ตอนไปแคนาดาได้เห็นคนอินเดียนแดงเล่นดนตรีรู้สึกว่า ดนตรีชนเผ่ามีพลังมาก ไปออสเตรเลียก็เห็นชนเผ่าอะบอริจินเล่นดนตรี ดนตรีชนเผ่าจะสัมพันธ์กับเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"
hhhhh
เธอได้เรียนรู้ดนตรีชนเผ่าในช่วงทำงานอาสาสมัครในแคนาดา และอเมริกา ตอนนั้นเธอไปทำงานเกี่ยวกับเด็กและสอนเรื่องวัฒนธรรมไทยในโรงเรียนต่างๆ พร้อมๆ กับเรียนรู้บางอย่างที่ตัวเองสนใจ“อยู่เมืองไทยก็ทำงานด้านฝึกอบรมครูเรื่องการสอนแบบบูรณาการ ตอนที่นำดนตรีเข้าไป คนรู้จักดนตรี
ยิ้มละไมมากกว่างานที่เราเข้าไปทำในชุมชน เราอยากสร้างเครือข่ายพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กทำกิจกรรมมากขึ้น” ที่ผ่านมา อัจฉริยา เคยจัดงานเวิลด์ มิวสิค ที่เขาหลัก จ.พังงา และนำเด็กด้อยโอกาสและเพื่อนนักดนตรีวงยิ้มละไมไปร่วมแสดงด้วย
hhhhh
สร้างสัมพันธ์ด้วยดนตรี
กระบวนที่ทำให้เด็กๆ เข้าใจชีวิตและธรรมชาติเป็นงานหลักที่เธอสนใจ เธอนำดนตรีแต่ละรูปแบบมาจัดอบรมให้เด็กในค่าย เธอบอกว่า ไม่ต้องการสร้างให้เด็กเป็นนักดนตรี แต่อยากให้เด็กเข้าใจจังหวะดนตรีและชีวิต “เชื่อว่า ถ้าทุกคนพูดได้ ก็ต้องร้องเพลงได้ เราเปิดให้เด็กเข้ามาเรียนรู้ดนตรี เริ่มจากการตบมือและประสานเสียงร่วมกัน พอเด็กคุ้นเคยกับจังหวะก็จะเข้าใจมากขึ้น”
hhhh
ถ้าจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องดนตรี ก็ต้องรู้จักที่มาของดนตรี วิธีการของเธอก็คือ ลงมือทำเครื่องดนตรีด้วยตัวเอง
"เด็กภาคใต้ใช้กะลาทำเครื่องดนตรี เมื่อเด็กเข้าใจจังหวะก็จะเล่นร่วมกับวงได้ เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เน้นให้จังหวะ แต่ละคนเล่นไม่เหมือนกัน เมื่อรวมกันเป็นวงจะไพเราะมาก
ยิ้มละไมจะใช้เพลงเด็กๆ มาเล่น เป็นดนตรีผสมผสานทั้งดนตรีไทยและดนตรีชนเผ่า"
hhhh
เธอนำเครื่องดนตรีที่ทำเองหลายชิ้นมาให้ดู บางชิ้นทำจากเครื่องปั้นดินเผา บางชิ้นทำจากท่อพีวีซี บางชิ้นทำจากไม้ไผ่ ขวดน้ำและเมล็ดพืช "เราอยากให้เด็กเรียนรู้เรื่องดิน น้ำ ลม ไฟ กลองแทนเสียงดิน เครื่องดนตรีที่ใช้เขย่าแทนไฟ และอีกหลายชิ้นแสดงถึงความสัมพันธ์กับธรรมชาติ เวลาเด็กเล่นจะมีพี่ๆ เล่นกีตาร์และไวโอลินประกอบ เราสอนให้เด็กเรียนรู้ว่า ทุกวัฒนธรรมมีคุณค่าเหมือนกัน อย่างรองเง็ง แรกๆ เด็กไม่สนใจ พอเอาไปเล่นให้ดู เด็กรู้สึกถึงพลัง เราฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะ สมาธิ และความอดทน เพื่อให้เขาอยู่กับตัวเอง แต่ต้องเล่นสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย ถ้าอยากสนุกกับการเล่นดนตรีต้องเคารพกัน และเคารพเครื่องดนตรีด้วย"
hhhh
ดนตรีจากธรรมชาติ
อัจฉริยาย้ำอีกว่า ไม่ได้ต้องการสอนให้เด็กเล่นดนตรีเพื่อแข่งขัน อยากให้พวกเขาเรียนรู้ความสุขในตัวเอง
"ถ้าอยากเป็นชนเผ่า
ยิ้มละไม ก็ต้องสร้างรอยยิ้มให้กับผู้คน ต้องเติมพลังที่ดี เราจะย้ำเสมอว่า ทุกคนต่างมีทักษะและคุณค่าในตัวเอง ให้เห็นความต่างเพื่ออยู่ร่วมกัน เคยนำเด็กมอแกน ซึ่งครูบอกว่าเด็กไทยไม่ยอมรับมาอยู่ร่วมกับเด็กมุสลิมและเด็กทั่วไปในค่ายเดียวกัน ในที่สุดเด็กไทยผิวขาวและมอแกนผิวดำแสดงร่วมกันได้ นั่นหมายถึง ดนตรีทลายกำแพงวัฒนธรรมออกไปได้"
hhhh
กระบวนการเรียนรู้ที่เธอจัดให้เด็กๆ ทำให้เด็กเปิดใจยอมรับความต่างทางวัฒนธรรม แม้ทีม
ยิ้มละไมจะมีแค่ 4 คน แต่มีพันธมิตรหลายกลุ่มทำงานร่วมกัน นอกจากเวิร์คชอปสอนและเล่นดนตรีรีไซเคิลแบบง่ายๆ แล้ว กลุ่มโลกทัศน์สโมสรยังมีการฝึกอบรมครูพัฒนาหลักสูตรและจัดค่ายให้เด็ก อัจฉริยา บอกว่า อยากให้เด็กเห็นคุณค่าของดนตรีในพื้นที่ตัวเอง
hhhh
"เด็กมีพลังในการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างในโลก เด็กบางคนทำสิ่งเล็กๆ และเปลี่ยนแปลงตัวเอง เขามีความสุข แล้วเขาจะทำเรื่องยิ่งใหญ่ให้คนอื่นต่อไป เด็กบางคนร้องเพลงเก่ง บางคนกระโดดยางเก่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาเก่งกว่าคนอื่น เราจะไม่เปรียบเทียบกัน เพราะที่ผ่านมาสังคมจะสอนว่า เก่งที่สุดต้องเป็นแบบนี้ เป็นหมอเก่งกว่าคนเรียนด้านสังคม เราคิดว่าไม่ใช่ มนุษย์มีความหลากหลาย เพื่อให้เห็นคุณค่าตัวเองและผู้อื่น เด็กต้องเรียนรู้มากกว่านี้ ไม่อยากให้เขารีบตัดสินคุณค่าของคนอื่น ไม่อยากให้ดูถูกและคิดว่าคนมุสลิมหัวรุนแรง คนชนเผ่าด้อยคุณค่า"
hhhh
กระป๋องดนตรี จิตรา หิรัญพฤกษ์ ฝ่ายกิจกรรม
กลุ่มโลกทัศน์สโมสร
"ถ้าจะพูดถึงมุมดนตรี ได้ไปเรียนรู้จังหวะกลองกับลุงบิวที่สอนตีกลอง เราไม่เคยเล่นดนตรีจริงจัง เป็นแค่หัวหน้าแก๊งชวนเด็กเล่น เวลามองเด็กก็เหมือนมองตัวเอง เด็กทั่วไปจะไม่ค่อยกล้าแสดงออก เราเชื่อว่าเด็กมีจังหวะและศิลปะในตัวเอง เราจะเน้นเรื่องการออกแบบเครื่องดนตรี ชวนให้เด็กคิดว่า กระป๋องจะทำอะไรได้บ้าง จะทำให้มีสีสันทำอย่างไร เน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า หลีกเลี่ยงสารเคมี ก็ลองใช้สีผสมอาหาร ดังนั้นการทำเครื่องดนตรีเอง ไม่ใช่ทำเครื่องดนตรีเสร็จแล้วกลับบ้าน ต้องเรียนรู้ร่วมกันและเข้าใจวัสดุที่ใช้ ลดการบริโภคเพื่อสิ่งแวดล้อม
hhhhh
จากที่ทำกิจกรรมมาพบว่า เด็กเปิดตัวมากขึ้น เห็นคุณค่าตัวเองมากขึ้น เด็กได้ลงมือทำ งานศิลปะที่ละเอียดอ่อน แต่เด็กสมัยนี้สมาธิสั้น อยากได้อะไรเร็วๆ ก็ไปซื้อมา ต่างจากการทำเครื่องดนตรีเอง ต้องใช้ทั้งเวลาและสมาธิ เราใช้ดนตรีเชื่อมไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและโลก เป็นกิจกรรมที่เข้าถึงใจเด็กได้เร็ว"
hhh
อ่านเรื่องนี้แล้ว คุณๆว่าหัวหินเรามีผู้ใหญ่ใจดี ที่เปิดพื้นที่ เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างนี้ ให้กับน้องๆหนูๆชาวหัวหิน กันบ้างหรือไม่ ถ้ามี..บอก huahinhub มาบ้างก็ดีนะ...จะได้ตามไปเก็บเรื่องนี้ มาขยายต่อให้ได้ทราบโดยทั่วกันนะ...สวัสดี
hhh
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
huahinhub Thnaks
hhhh

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น