6.14.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๑๓ (Begreen Betrend 2)

รวมพลคนรักษ์โลก 5 ฮีโร่หัวใจเขียวๆ

โครงการ Betrend@พารากอน ดิ เอ็มโพเรียม และเดอะมอลล์ทุกสาขา ร่วมกับ นิตยสารอะเดย์ และกลุ่มยูธเวนเจอร์ ประเทศไทย (Youth Venture Thailand) ได้จัดกิจกรรมรักษ์โลกเป็นปีที่ 2 ภายใต้ชื่อ “Begreen Betrend 2” ชวนกลุ่มคนรุ่นใหม่ร่วมรวมพลังสีเขียวสร้างปรากฏการณ์รักษ์โลกครั้งยิ่งใหญ่ ผ่านหลากหลายกิจกรรมลดโลกร้อนสุดสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Green it Forward ส่งต่อแนวคิดเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อโลก ให้ทุกคนได้ช่วยโลกใบนี้ให้น่าอยู่ต่อไป
o
ในงาน Begreen Betrend 2 ได้เชิญ 5 กรีนฮีโร่คนไทย เจ้าของไอเดียด้านสิ่งแวดล้อมที่มาร่วมเผยไอเดียกรีนดีๆ ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำสิ่งดีๆ เพื่อโลกได้ไม่ยากอย่างที่คิด อาทิ ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว และผู้ริเริ่มโครงการนักสืบสิ่งแวดล้อม ดร.จิรพล สินธุนาวา นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ริเริ่มและขับเคลื่อนโครงการดีๆ มากมาย บรรจง ขยันกิจ สุดยอดคนไทยคนแรกที่ผลิตกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จ ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม CASE สถาปนิกชุมชนที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก และดีเจวราฤทธิ์ มังคลานนท์ ผู้ก่อตั้ง www.coolswop.com เว็บไซต์แลกของเว็บแรกของไทย

o
นี่คือเรื่องราวดีๆ ของ 5 ฮีโร่ไอเดียสุดกรีนที่จะมาสร้างแรงบันดาลใจในการทำเพื่อโลกใบนี้ที่คุณหรือใครๆ ก็ทำเพื่อโลกใบนี้ได้โครงการนักสืบสิ่งแวดล้อม
o
o
o
ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือที่ทุกคนรู้จักดีในชื่อ ดร.อ้อย เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว ผู้ริเริ่มโครงการนักสืบสิ่งแวดล้อม โครงการง่ายๆ ในการช่วยกันสำรวจสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ที่แสดงให้เห็นว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ธรรมชาติได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
o
เธอเล่าว่าโครงการนักสืบสิ่งแวดล้อมคือคนที่สังเกตและบันทึกความเป็นไปในสิ่งแวดล้อม และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ดูแลสิ่งแวดล้อม ทางมูลนิธิฯ จึงมุ่งพัฒนาทักษะให้สามารถอ่านสิ่งแวดล้อมได้เหมือนอ่านหนังสือ เป็นต้นว่า ถ้ารู้จักสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ รู้ว่าเป็นตัวอะไร แล้วรู้ว่ามันมีชีวิตอย่างไร ก็จะรู้คุณภาพน้ำและสภาพสายน้ำตรงนั้นได้ ซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาและดูแลสิ่งแวดล้อมได้ถูกจุดบนพื้นฐานของข้อมูลจริง
o
“จุดเริ่มต้นของโครงการนักสืบสิ่งแวดล้อม เพราะอยากให้คนเราอ่านธรรมชาติได้เหมือนกับการอ่านหนังสือ การที่เราเห็นธรรมชาติและได้รู้จักความเป็นไปก็เหมือนเราได้รู้จักไวยากรณ์ของภาษา ถ้าเรารู้และเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดรอบๆ ตัว จะทำให้เราเห็นปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลาก่อนจะสายเกินไป โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นคนรุ่นใหม่ ทุกคนสามารถพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมของเราให้ดีได้เอง ด้วยการรู้จักสังเกตสภาพแวดล้อมที่เป็นไปรอบๆ ตัวเรา ล่าสุดกำลังศึกษาเรื่องไลเคนที่อยู่บนต้นไม้ ซึ่งพบว่ามันมีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปอดของคน สถานที่ที่มีไลเคนมาก คนจะเป็นมะเร็งปอดน้อย ซึ่งกำลังจะเริ่มทำเร็วๆ นี้ ก็อยากเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมตรวจสภาพอากาศกันค่ะ เพราะสภาพแวดล้อมที่ดีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ก็ชอบเหมือนกัน เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน”
o
o
o
๐ ชายผู้อยู่เบื้องหลังโครงการสีเขียว
ดร.จิตรพลดร.จิรพล สินธุนาวา นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมผู้อยู่เบื้องหลังโครงการมากมาย อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ริเริ่มโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาแล้วมากมาย อาทิ โครงการ “รวมพลังหาร 2” สร้างมาตรฐานการรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงแรมไทยภายใต้ชื่อ “มาตรฐานใบไม้เขียว” และก่อตั้งสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างทีมงานและอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยสานต่อสิ่งดีๆ ขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ สนใจดูได้ที่ www.adeq.or.th
o
ดร.จิรพล บอกวิธีการที่ดีที่สุดในการช่วยลดโลกร้อนว่า ควรปรับชีวิตให้เดินทางน้อยลง และกลับมาใช้ชีวิตให้เรียบง่ายที่สุด “ขณะที่โลกร้อนขึ้นทุกวัน แต่คนไทยยังใจเย็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มีแต่การรณรงค์ แต่ไม่มีใครทำอะไร เพราะรัฐบาลยังไม่ได้สั่งการอะไรอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังเข้าใจว่าประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ ที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อย ดังนั้นยังไม่ต้องทำอะไรก็ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลา ความคิดนี้น่ากลัวมาก เพราะประเทศที่ไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับเรื่องนี้เลยจะได้รับผลกระทบมากและยาวนานที่สุด” ดร.จิรพล กล่าว
o
“จุดเริ่มต้นของโครงการต่างๆ เพื่อสังคมนั้น เกิดจากการที่ได้เห็นการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองของมนุษย์ ดังนั้นคนรุ่นใหม่จึงไม่ควรละเลยและตระหนักใส่ใจในการสร้างพฤติกรรมดีๆ ต้องมาพิทักษ์รักษาสิทธิของตัวเอง อย่ามองสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้เข้าไปทำอะไรเลย และที่สำคัญเราไม่รู้ว่าเราสามารถอยู่บนโลกนี้ได้โดยใช้พลังงานน้อยกว่านี้ก็ได้ เพราะคนเราเดี๋ยวนี้รับรู้ แต่ขาดความเข้าใจ พอขาดความเข้าใจก็ไม่สามารถตระหนักได้ จึงทำให้ขาดแรงจูงใจในการสร้างพฤติกรรมดีๆ ตรงนี้จึงเป็นที่มาของโครงการก่อตั้งสมาคมพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องมาจากเราอยากสร้างทีมงานและอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยสืบทอดและสานต่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคม”
o
o
o
๐ เว็บไซต์แลกเปลี่ยนสิ่งของลดโลกร้อน
วราฤทธิ์วราฤทธิ์ มังคลานนท์ ดีเจหนุ่มแห่งคลื่น Fat Radio ผู้ริเริ่มเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนของกันโดยตรง www.coolswop.com เป็นเรื่องของการใช้ชีวิตแบบมีสีสัน สนุกสนาน แต่ไม่ฟุ่มเฟือย เขาสร้างเว็บนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางให้ทุกคนได้นำของมาแลกกัน เพื่อชักชวนให้ทุกคนลดการใช้เงินในวิธีง่ายๆ และสนุกสนาน ในรูปแบบที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้
o
“จุดเริ่มต้นของไอเดียการสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนของกันโดยตรงนี้ เริ่มมาจากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผมเข้าไปดูสารคดีของคนในสมัยก่อน พวกเขาไม่ได้ค้าขายเหมือนปัจจุบัน แต่ใช้การแลกเปลี่ยนของซึ่งกันและกันแทน อย่างเช่นชาวนาเอาข้าวไปแลกปลากับชาวประมง ผมมองว่ามันน่าจะเข้าท่าดีกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่คนต้องหันมาช่วยเหลือตัวเอง ประหยัดกันมากขึ้น และสร้างสังคมด้วยการลดปริมาณขยะ ที่สำคัญคือ สร้างความพึงพอใจของคนซื้อ เพราะเวลาซื้อของเดี๋ยวนี้เราเห็นเพียงมุมมองของคนขายว่าต้องเอาเงินไปแลกของ
o
ถ้าคิดกลับกันลองมาพิจารณาในมุมมองของคนซื้อบ้าง พวกเขาก็อยากได้ของที่สร้างความพึงพอใจทั้งสองฝ่ายโดยที่ไม่เสียเงิน ขยะของเราอาจมีคุณค่าสำหรับคนอื่นก็ได้ ซึ่งผมได้ไปปรึกษากับเพื่อนๆ และเห็นว่าเราน่าจะทำได้ จนกระทั่งตอนนี้เปิดเว็บไซต์มาได้ปีกว่า แต่มีสมาชิกตอบรับมากถึง 5,000 คนแล้ว และสำหรับเยาวชนถ้าอยากเริ่มที่จะสร้างไอเดียดีๆ เพื่อสังคมบ้าง ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติก่อน เพราะคนสมัยนี้รับรู้ข้อมูลมามาก แต่ยังเอามาปรับใช้ไม่ได้ ซึ่งหลังจากที่เราปรับเปลี่ยนทัศนคติแล้วจะทำให้เรารู้ว่าจะสามารถนำมาปรับใช้กับวิวัฒนาการในสังคมได้อย่างไร”
o
o
o
CASE สถาปนิกชุมชน สถาปนิกเพื่อสังคม
ปฐมาปฐมา หรุ่นรักวิทย์ สถาปนิกสาวที่เรียนจบด้านสถาปัตยกรรมจากประเทศอังกฤษ ด้วยความมุ่งมั่นและปณิธานในการช่วยเหลือสังคมภายใต้กลุ่ม “CASE สถาปนิกชุมชน” ทำงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมให้กับชุมชนและกลุ่มคนด้อยโอกาส ผ่านการทำงานแบบเรียนรู้ร่วมกัน โดยเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ
o
“จุดเริ่มต้น คือ เริ่มทำงานกับชุมชนยากจนตั้งแต่ปี 1996 พอทำแล้ว ได้สอนให้เราเห็นว่าสิ่งที่เราเรียนมาเป็นทฤษฎี มันตอบคำถามเบื้องต้นได้หลายคำถาม เลยกลับมาทำงานต่อด้วยความที่เราทำงานบนขีดจำกัด ต้องใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วเอามาทำให้เป็นประโยชน์ได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อม บางส่วนเป็นกระแส เป็นแฟชั่น
o
วัยรุ่นหลายคนอิงกระแส อยากให้มองลึกกว่านี้ อย่าให้ผิวเผินถึงขนาดว่าใช้ถุงผ้า แต่ก็ยังยัดถุงพลาสติกไว้เต็มไปหมด แต่ถ้าแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามันขาดนะ มันจะทำให้เกิดอะไร อย่างต้นไม้ปลูกไปทำไม ไม่ใช่ปลูกตามกระแส เมื่อใดก็ตามที่เราตัดต้นไม้ มันร้อนขึ้นมาทันที พอรู้แล้วว่ามันมีผลกระทบอย่างไร อยากให้เด็กไทยหันมามองว่าเรามีอะไรดี ไม่ต้องถึงขั้นสมองดี มองว่าเรามีดีอะไรในตัว คนทุกคนมีดีอยู่แล้ว ต้องดึงจุดนั้นออกมาให้ได้ แล้วทำจากจุดนั้น”
o
o
o
กังหันลมผลิตไฟฟ้ารายแรกของไทย
บรรจงบรรยง ขยันกิจ สุดยอดคนไทยคนแรกที่ผลิตกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจ จากอดีตนายช่างเทคนิคประจำมหาวิทยาลัยบูรพา อาศัยวิชาช่างที่ตนเองถนัดบวกกับประสบการณ์และภูมิปัญญาช่างชาวบ้าน ด้วยความเพียรพยายามและสนใจจนประดิษฐ์กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าได้สำเร็จเป็นคนแรกของไทย พร้อมเผยแพร่เพื่อสอนและรวบรวมวิธีทำกังหันลมพร้อมจัดเวิร์กช็อปให้กับผู้ที่สนใจผ่านเว็บไซต์ www.thaiwindmill.com
o
“กระแสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่วนตัวแล้วผมรู้สึกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้นมักจะฟุ่มเฟือย ซึ่งความฟุ่มเฟือยในที่นี้นั้นหมายถึงความฟุ่มเฟือยทางพลังงาน ผมเองเป็นคนต่างจังหวัด โดยชีวิตส่วนใหญ่ก็อาศัยอยู่ต่างจังหวัด จึงทำให้เห็นถึงความแตกต่างในการใช้พลังงานของคนในเมืองใหญ่และคนชนบท เพราะคนต่างจังหวัดใช้พลังงานน้อยกว่าคนในเมืองมากถึงหลายเท่าตัว ทำให้เมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ เป็นอีกเมืองหนึ่งที่ใช้พลังงานเยอะมาก รวมถึงมลภาวะในอากาศก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
o
น่าเป็นห่วงโลกเราในทุกวันนี้ที่มีแหล่งพลังงานลดน้อยลง พลังงานทดแทนที่เกิดขึ้นใหม่ก็คงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงอยากให้ทุกคนได้ตระหนักและให้ความสนใจในเรื่องภาวะโลกร้อนมากขึ้น ร่วมสร้างความตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลงโลกของเราในทางที่ดีขึ้น”
o
“สำหรับโครงการ Begreen Betrend 2 นี้ ผมว่าเป็นบันไดขั้นต้นๆ ในการกระตุ้นเตือนความจำให้ทุกคนตระหนักถึงภาวะของโลกเราที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แล้วยังช่วยปลูกจิตสำนึกให้เราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดผลประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะในปัจจุบันนี้ มนุษย์เรามีการใช้ทรัพยากรอย่างทวีคูณ ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เหมือนกับแผงโซลาร์เซลล์ที่เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่เราอยู่ใกล้ธรรมชาติ ทำไมเราไม่ใช้พลังงานจากธรรมชาติที่มีอยู่ อย่างเช่น พลังงานน้ำ ที่เราก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดพลังงานโดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากต่างประเทศ ซึ่งกังหันลมที่ผมประดิษฐ์ ศึกษา และค้นคว้าขึ้นมานั้น ก็เพื่ออยากถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ผมมีอยู่โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใดๆ อย่างน้อยสิ่งที่ผมคิดค้นนั้นคงเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานภายในโลกได้อีกวิธีหนึ่ง”
o
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร Betrend ขอชวนคุณเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้น และส่งต่อไอเดียรักษ์โลกด้วยการรวมพลังคนละไม้ละมือรักษาโลกของเราให้น่าอยู่ต่อไปกับกิจกรรมต่างๆ ที่จะมีขึ้นตลอดทั้งปี
...เพราะโลกใบนี้กว้างใหญ่และไม่ใช่ของเราเพียงคนเดียว
o
ขอบคุณข้อมูลจาก โพสท์ทูเดย์ : เรื่อง อินทรชัย พาณิชกุล / วรธาร ทัดแก้ว
huahinhub Thanks
o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น