6.15.2552

| เชื่อมโยงธุรกิจ ๒๑ (กาบกล้วย โกอินเตอร์)




o
o
o
o
o
o
o
o
o
o
o
แปรรูปวัสดุกาบกล้วย สร้างของแต่งบ้านโกอินเตอร์

กล้วยเป็นพืชที่สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้ และกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดังนั้น จะเห็นกล้วยมีปลูกอยู่ทุกพื้นที่ในประเทศไทย การนำกล้วยมาแปรรูปเป็นผลผลิตจึงมีให้เห็นกันทั่วไปตามท้องตลาด และใครจะเชื่อว่า กาบกล้วยที่เรามองดูไร้ค่า เมื่อนำมาแปรรูปเป็นภาชนะสามารถเป็นสินค้าส่งออกระดับประเทศได้ และที่เรากำลังจะพูดถึงในครั้งนี้ คือ ผลงานการออกแบบภาชนะของแต่งบ้านจากกาบกล้วยของ "นางสาวปิยะนุช ชัยธีระยานนท์" ภายใต้แบรนด์ C-SENSE ซึ่งเป็นการนำแนวคิดของการทำงานเปเปอร์มาเช่มาใช้ และตกแต่งภายนอกด้วยการติดกาบกล้วยทับลงไป ความแข็งแรงจึงเทียบเท่าได้กับงานเปเปอร์มาเช่ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ

นางสาวปิยะนุช เล่าว่า จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้านจากกาบกล้วย มาจากแต่เดิมทางโรงงานของผลิตสินค้าประเภทเซรามิกแนวดีไซน์ และต้องการของตกแต่งที่เป็นถาดมาใส่ชุดถ้วยกาแฟดูเป็นธรรมชาติ และเนื่องจากบ้านอยู่ที่จังหวัดพะเยาว์ มีกล้วยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ทดลองทำถาดที่ทำจากกาบกล้วย ด้วยเทคนิคการทำเปเปอร์มาเช่ ซึ่งในปีแรกที่มีการทำถาดกาบกล้วยใส่ถ้วยกาแฟ มาวางโชว์ในงานแสดงสินค้าเพื่อการส่งออก ก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าต่างประเทศ

ดังนั้น ในงานแสดงสินค้า BANGKOK INTERNATIONAL GIFT FAIR 2008 AND BANGKOK INTERNATIONAL HOUSEWARE FAIR 2008 จึงได้นำผลิตภัณฑ์กาบกล้วย C-SENSE ออกมาจำหน่ายเป็นปีที่แรก ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดีมาก มีออร์เดอร์เข้ามามากในระดับที่น่าพอใจ ส่วนหนึ่งมาจากความแปลกใหม่ และเทรนด์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในการรณรงค์ลดโลกร้อนที่มาแรงในช่วงที่ผ่านมา สินค้าของเราก็ตรงคอนเซ็ปต์ดังกล่าว ส่งผลให้ยอดการสั่งซื้ออยู่ในระดับที่น่าพอใจ

ในช่วงหลังงานเซรามิกของเราจะผลิตน้อยลง เพราะมีคู่แข่งในตลาดหลายราย เนื่องจากเราเป็นงานฝีมือที่มีดีไซน์ ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ได้ จึงหันมาผลิตงานกาบกล้วยอย่างเต็มตัว เพราะไม่ต้องแข่งขันกับใคร และเป็นงานที่มาจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ง่าย ซึ่งต้นทุนไม่สูง ในส่วนของโรงงานเราก็มีแรงงานฝีมือที่สามารถทำลักษณะนี้ได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนจากการทำงานเซรามิกมาทำงานเปเปอร์มาเช่ ที่ต้องใช้ทักษะการปั้นขึ้นรูปที่ละชิ้นเหมือนกัน

เนื่องจากเป็นสินค้าทำมือ จึงไม่สามารถรับออร์เดอร์ครั้งละมากในเวลาที่จำกัดได้ ทำให้ต้องยกเลิกออร์เดอร์หลายๆ รายไป ซึ่งต่อมาลูกค้าค่อนข้างเข้าใจว่า เป็นงานทำมือ ลูกค้าจะให้เวลาในระดับที่เราสามารถรับได้ ทำให้เราแก้ปัญหาเรื่องเวลาในการทำงานกับการรับออร์เดอร์จำนวนมากได้ ส่วนหนึ่งที่ได้ออร์เดอร์ค่อนข้างเยอะ และยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นเพราะสินค้าของเราราคาไม่แพง ราคาเริ่มต้นแค่ 50 บาท ราคาเฉลี่ยหลักร้อยบาท

“แม้ว่าสินค้าของเราจะราคาไม่แพง แต่เราก็ให้ความสำคัญเรื่องของงานดีไซน์ โดยมีแบบให้ลูกค้าได้เลือกหลายสิบแบบ และในแต่ละปีจะมีแบบใหม่มาให้ลูกค้าได้เลือกตลอดทั้งของแต่งบ้าน และภาชนะ และในปีนี้ มีดีไซน์ใหม่ เป็นการนำทองคำเปลวมาติดลงบนภาชนะ จะเลือกใช้ทองคำเปลวเทียม เพื่อให้สามารถขายได้ในราคาที่ไม่แพง”

รูปแบบงานของ C-SENSE ประกอบด้วย ภาชนะในรูปทรงต่างๆ ลูกค้านำไปใช้ในงานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่ปัญหาคือ งานเปเปอร์มาเช่ไม่สามารถแช่น้ำหรือ นำไปล้างได้ แต่โดนน้ำได้ นอกจากภาชนะใส่ของ ยังมีโคมไฟ สีของแสงไฟเมื่อกระทบกับสีของกาบกล้วยจะได้แสงไฟที่สบายตา สร้างบรรยากาศที่เหมาะแก่การพักผ่อน โดยเฉพาะเมื่อแสงกระทบกับสีเหลืองของทองคำเปลว ยิ่งทำให้ได้แสงไฟจากโคมไฟดูสวยงาม

ในส่วนของขั้นตอนการผลิต แม้ว่าจะเป็นงานเปเปอร์มาเช่ แต่ก็แตกต่างจากเปเปอร์มาเช่ที่ทำกันทั่วไป เพราะของเราเลือกใช้เส้นใยกระดาษที่ผลิตจากกาบกล้วย และนำกาบกล้วยที่ตากแห้งเพื่อให้ได้กาบกล้วยสีนวลตามธรรมชาติ และนำติดทับบนงานเปอร์มาเช่ ซึ่งติดโชว์ส่วนที่เห็นเทคเจอร์ลายของกาบกล้วย โดยเลือกใช้กล้วยป่า เพราะจะให้สีเข้ม และเหนียวกว่ากล้วยที่ปลูกกันทั่วไป โดยชาวบ้านจะเข้าไปตัดกล้วยป่ามาส่งให้ ปัจจุบันกล้วยป่าเริ่มหายากขึ้นได้มีการปลูกขึ้นมาในพื้นที่ทั่วไปใกล้โรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปก็สามารถตัดกล้วยจากพื้นที่ที่เราปลูกมาใช้ได้ แทนการเข้าไปตัดกล้วยป่า ยิ่งทำให้เราประหยัดต้นทุนเรื่องวัตถุดิบลงไปได้อีก ส่วนของสี ที่ผ่านมาไม่ได้มีการย้อมสี เนื่องจากลูกค้าชื่นชอบสีที่เป็นธรรมชาติ

กลุ่มลูกค้าเป็นการส่งออก 100% โดยได้ลูกค้ากลุ่มยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย บางประเทศ อย่างประเทศญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ ส่วนลูกค้าคนไทยอาจจะมองไม่เห็นคุณค่า เพราะเป็นกาบกล้วยธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นกันทั่วไป ไม่ได้มีราคาอะไร สนใจติดต่อธุรกิจโทร. 053-222-081

ขอบคุณข้อมูลจากผู้จัดการออนไลน์
huhinhub Thanks
o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น