6.14.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๑๒ (Carbon credits)


o
o
ซื้อ-ขาย ก๊าซเรือนกระจก

ถ้าว่ากันตามสนธิสัญญาเกียวโต หรือข้อตกลงที่หลายๆ ประเทศต้องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็จะมีด้วยกัน 6 ชนิด ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์
o
ในพิธีสารเกียวโตนั้น ได้กำหนดกลไกเพื่อความยืดหยุ่น ปูทางสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศภาคีสมาชิกในการแก้ไขปัญหาให้บรรลุเป้าหมาย โดยเปิดช่องให้มีทางเลือก 3 ทาง คือ

1.การดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation : JI)
กำหนดให้ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 หรือประเทศอุตสาหกรรม สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันได้ ซึ่งปริมาณก๊าซที่ลดได้เรียกว่า Emission Reduction Unit (ERUs)
o
2.กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM)
กำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 โครงการลักษณะนี้ต้องขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองก่อนจึงเรียกว่า Certified Emission Reduction (CERs) ตัวอย่างเช่น ประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถลงทุนปลูกป่า หรือลงทุนในโครงการผลิตพลังงานสะอาดในประเทศกำลังพัฒนา แล้วใช้เป็นเครดิตสำหรับปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศตนได้ กลไกในลักษณะนี้ช่วยให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถลดการปล่อยก๊าซได้ตามพันธกรณี ขณะเดียวกันยังช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการซีดีเอ็มนับว่าได้รับความนิยมในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
o
3.การซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading)
สำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่ไม่สามารถดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศของตนได้ตามพันธกรณี สามารถซื้อสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิตจากประเทศอื่นๆ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ทำให้ประเทศเหล่านี้มีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต
o
ปัจจุบัน ผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตมี 3 ประเภท คือ
1.รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐของประเทศที่พัฒนาแล้ว (ประเทศในภาคผนวกที่ 1) ซึ่งมีพันธกรณีที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะเป็นผู้จัดหาคาร์บอนเครดิต โดยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาให้ เช่นประเทศเดนมาร์กมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ เป็นต้น
o
2.Carbon Funds เป็นผู้บริหารกองทุนที่รวบรวมทุนมาจากรัฐบาล หรือกลุ่มบริษัทเอกชนที่ต้องการปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เช่น ธนาคารโลก จัดตั้งหน่วยงานที่ชื่อ Carbon Finance Unit (CFU) เป็นผู้บริหาร 11 กองทุน ซึ่งจะซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลงทุนพัฒนาพลังงานทดแทนและปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
o
3.Carbon Brokers เป็นนายหน้ารับซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อนำไปขายให้กับบริษัทเอกชนหรือรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้ว โดยทำงานในลักษณะเดียวกับโบรกเกอร์ของตลาดหุ้น เช่น Asia Carbon Exchange ในสิงคโปร์ที่ทำหน้าที่เปิดประมูล CERs คิดค่านายหน้าเป็นเงิน 2% ของรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต
การทำโครงการซีดีเอ็มแล้วขายคาร์บอนเครดิต นับเป็นผลพลอยได้จากระบบก๊าซชีวภาพ เพียงแต่การตัดสินใจทำซีดีเอ็มก็ต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเริ่มก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ แต่หากสร้างระบบก๊าซชีวภาพเสร็จแล้ว เจ้าของโรงงานต้องการขายคาร์บอนเครดิตขึ้นมาทีหลังก็ทำไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่าโรงงานขยายกำลังการผลิตแล้วมีน้ำเสียหลังการบำบัดเพิ่มขึ้น จนติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพเพิ่มอีกโครงการ
o
ปัจจุบันในประเทศไทยบรรดาโรงงานผลิตเอทานอล โรงงานผลิตแป้งมัน โรงสกัดปาล์มน้ำมัน ต่างหันมาผลิตก๊าซชีวภาพใช้ภายในโรงงานของตัวเอง เพราะมีส่วนช่วยประหยัดเงินค่าพลังงานได้ปีละมหาศาล ขณะเดียวกันยังมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตด้วย
o
ขอบคุณข้อมูลจากโพสท์ทูเดย์ โดย มณีวรรณ
huahinhub Thanks
o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น