6.29.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๑๒๘ (พลังชุมชนโคกไม้เดน)





ชาวบ้านโคกไม้เดน จ.นครสวรรค์ ร่วมใจจัดประชาพิจารณ์การสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สืบสานความรู้และภาคภูมิใจเมืองโบราณทวาราวดีอายุกว่า 1,000 ปี

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่อมตอบสนอง การดำรงอยู่ของคนร่วมสมัย อย่างน้อยก็ในการสร้างจิตสำนึก ของความเป็นคนถิ่นเดียวกัน ในงานประชาพิจารณ์การจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนโคกไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ของชาวชุมชนบ้านโคกไม้เดน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา นำโดย พระอธิการธีรศักดิ์ ธีระธัมโม เจ้าอาวาสวัดเขาไม้เดน
ooo
เป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชมสำหรับการสร้างแหล่งเรียนรู้ของตนเอง
ท่านเจ้าอาวาสเล่าว่าชาวชุมชนรับรู้ว่าพื้นที่ที่ตนอยู่อาศัยนั้นเป็นเมืองโบราณอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี ด้วยกรมศิลปากรเคยทำการสำรวจและขุดแต่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 พบซากโบราณสถานสมัยทวารวดีหลายแห่ง
ครั้นปี พ.ศ.2540 ท่านเจ้าอาวาสได้เข้าร่วมอบรมเรื่องการอนุรักษ์โบราณสถาน ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ จึงประกาศแนวคิดนี้ออกไป ชาวบ้านรวมถึงนายกเทศมนตรีตำบลท่าน้ำอ้อย ต่างเห็นดีด้วย
ทุกวันนี้ พิพิธภัณฑ์วัดเขาไม้เดนได้เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมแล้ว เป็นอาคารไม้สองชั้น ชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทต่างๆ เช่น โครงกระดูกมนุษย์
oo
ภาชนะดินเผาแบบต่างๆ อุปกรณ์ขึ้นรูปภาชนะดินเผา ลูกปัด และชิ้นสำคัญคือประติมากรรมสำริดรูปมนุษย์ผู้ชายเปลือยกายชูมือสองข้างเหนือศีรษะ กล่าวกันว่าไม่เคยพบในแหล่งโบราณคดีใดๆ มาก่อน เรียกว่า "มนุษย์ปั้นเมฆ" สำหรับใช้ในพิธีกรรมขอฝน ส่วนชั้นล่างเตรียมพัฒนาเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร
00
"เราเริ่มเก็บสมบัติแผ่นดินรวมไว้ที่วัดมา 8 ปี มีของมากกว่า 200 ชิ้น ใครไปทำไร่นาแล้วพบก็นำมาถวายวัด ลูกปัดเอย กระดูกมนุษย์โบราณเอย อาตมาก็อยากได้ความเห็นจากพวกเราว่า จะร่วมกันทำอย่างไรให้พิพิธภัณฑ์ของเราเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นหลังต่อๆ ไป" นัทธี พุคยาภรณ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เสนอว่าควรดึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาร่วมสนับสนุนงบประมาณ จัดทำภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม เตรียมป้ายบอกทาง และเตรียมทำเส้นทางเยี่ยมชมโบราณสถานจุดต่างๆ โดยจัดอบรมมัคคุเทศก์น้อยเพื่อนำการบรรยาย ทั้งนี้อาจขอให้กรมศิลปากรจัดส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยฝึกอบรมให้
oo
มคิดว่าที่นี่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้ อย่างบทเพลงที่อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กรุณาแต่งให้หลายเพลง เราก็จะให้ครูไปคิดท่ารำสอนเด็กต่อไป" ชาวบ้านบางคนเสนอว่าการดำเนินการใดๆ ต้องให้ภาคประชาชนทำเป็นหลัก ภาครัฐควรเป็นแค่พี่เลี้ยง และควรมีการประเมินผลโครงการตลอดเวลา บางคนเสนอให้นำข้อมูลความรู้ด้านประวัติศาสตร์-โบราณคดีของโคกไม้เดน บรรจุในหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนในพื้นที่ 3 แห่งด้วย โดยเนื้อหาหลักสูตรอาจแบ่งเป็นด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างศาสนสถานเมื่อ 1,000 ปีก่อน วิทยาการการทำคูน้ำคันดินโบราณ อาชีพในอดีต สาเหตุของความเสื่อมโทรมของชุมชนโบราณ ตลอดจนร่องรอยวิถีชีวิตของคนในอดีต
oo
โสภณ ปานพรม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาไม้เดน ในฐานะผู้ดำเนินการประชุม ขมวดประเด็นเชิงรุกว่าจะพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยทำผังกำหนดจุดเยี่ยมชมจำนวน 13 จุด เริ่มต้นด้วยการเดินขึ้นเขาปกล้น ชมโบราณสถานสมัยทวารวดีบนยอดเขาและจินตนาการถึงทิวทัศน์ชุมชนโบราณ จากนั้นลอดอุโมงค์ในหมู่บ้านผ่านคูเมือง ไปยังวัดพระปรางค์เหลือง จุดที่รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นมณฑลนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ.2449 (ก่อนเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง 1 ปี) ระหว่างทางจะมีชาวบ้านตั้งเพิงขายขนมท้องถิ่น เช่น ข้าวเกรียบว่าว มีบริการอบไอน้ำด้วยสมุนไพร รวมถึงบริการนวดแผนโบราณ
ส่วนในแง่ประวัติศาสตร์นั้น อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ เล่าว่าเมืองบนเริ่มเป็นบ้านเมืองราว พ.ศ.1000
io
มัยที่เจดีย์ทวารวดีที่โคกไม้เดนมีชีวิตชีวาอยู่นั้น แม่น้ำเจ้าพระยาที่ข้ามท่าน้ำอ้อยไม่ได้เป็นแบบนี้ สมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่าแม่น้ำพระประแดง บริเวณนี้เป็นเมืองบนกับโคกไม้เดน ไม่แยกส่วนกับเมืองล่างที่อยู่ในเขตอำเภอมโนรมย์ ชัยนาท เมืองบนกับเมืองล่างนี้ไม่พบซากสถูปเจดีย์ มีพบเล็กๆ น้อยก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสถูปเจดีย์ ซึ่งผิดสังเกต ต่างจากบ้านเมืองทั่วไปที่พบสถูปเจดีย์ร่วมด้วย แต่สถูปเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่บริเวณโคกไม้เดนกับยอดเขาทั้งยอด แปลว่าผู้คนสมัยทวารวดีที่เมืองบนกับเมืองล่างยกย่องเขตนี้ว่าเป็นเขตศาสนสถาน บริเวณโคกไม้เดนเป็นเนินสูงกว่าที่ลุ่มโดยรอบ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ น่าเชื่อว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของคนสมัยก่อนทวารวดี"
oo
สุจิตต์ อธิบายเหตุของการเกิดชุมชนเมืองบนและเมืองล่างในสมัยก่อน เพราะเป็นชุมชนที่อยู่บนเส้นทางขนส่งทางน้ำตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ "เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสงฆ์มาเผยแผ่ศาสนาประมาณ พ.ศ.300 พระสงฆ์คณะนั้นโดยสารเรือสินค้ามา มีพราหมณ์โดยสารมาด้วย มาเริ่มปักหลักที่อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี ลำน้ำมะขามเฒ่าที่อู่ทอง ใกล้กับมโนรมย์ เป็นต้นน้ำนครไชยศรี หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี เมืองบนกับเมืองล่างเป็นที่คุมเส้นทางการค้าเส้นนี้ แถวเจ้าพระยา สะแกกรัง มะขามเฒ่า ไปออกแม่น้ำน้อย สิงห์บุรี ถ้าจะส่งสินค้าไปทางอีสานหรือเหนือก็ต้องผ่านสถานีการค้านี้"
oo
นการล่มสลายของเมืองบนนั้น สันนิษฐานว่าเป็นเพราะเส้นทางปลง ทำให้ต้องเปลี่ยนเส้นทางการค้า "ตอนนั้นราษฎรจำนวนไม่น้อยยังอยู่ที่เดิม เป็นชาวป่านาไร่ ทีนี้เมืองนครสวรรค์มาเกิดทีหลังเมืองบนประมาณ พ.ศ.1800 พอสมัยรัชกาลที่ 2 คนมาปลูกอ้อยที่เมืองบนกันมาก ถึงเป็นที่มาชื่อท่าน้ำอ้อย ในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 4 ยังบอกถึงตอนตั้งเมืองพยุหคีรี ชื่อเมืองสะกดแบบไม่มีสระอะเพราะเป็นคำสมาส"
เรื่องราวของชุมชนโคกไม้เดนหรือเนินที่เต็มไปด้วยไม้เหลือเลือก (ที่มาของสำนวน "เหลือเดน" ไม้เดนเหมาะสำหรับทำฟืน เผาถ่าน) ยังมีประเด็นให้ขบคิดและเรียนรู้มากมาย โดยเฉพาะการร่วมแรงร่วมใจของชาวชุมชนในการอนุรักษ์สมบัติแผ่นดินไว้ให้ลูกหลาน
oo
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ โดยยุวดี วัชรางกูร
huahinhub Thanks
oo

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น