6.06.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๘๕ (พิพิธภัณฑ์ภาพยนต์ไทย)




k
k
k
k
k
k
k
k
k
k
k
"หากเปรียบภาพยนตร์เป็นศาสนา ที่ให้สติปัญญาแก่ผู้ชม หอภาพยนตร์ก็เปรียบเสมือนวัด โดยมีกล้องเป็นพระประธาน ตึกที่เก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์เปรียบได้กับหอไตร สำนักงานหลังเล็กที่ให้บริการค้นคว้าแก่ผู้สนใจเป็นศาลาการเปรียญ อาคารพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยเปรียบเสมือนวิหาร และโรงภาพยนตร์เปรียบเสมือนโบสถ์"
kkkkk
คุณโดม สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ได้กล่าวกับพวกเราในขณะเข้าสักการะวิหารแห่งภาพยนตร์ไทย
kkkkk
ในบ่ายแก่ ๆ วันหนึ่งของเดือนตุลาคมอาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สร้างเลียนแบบโรงถ่ายหนังศรีกรุง ซึ่งเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ได้มาตรฐานแห่งแรกของไทย แต่ถูกรื้อทิ้งไปเมื่อปี 2508 ไม้ตะขาบ หรือเสลท รูปแบบต่าง ๆ ทั้งเสลทที่ใหญ่ที่สุด เสลทกระดานชนวน รวมถึงเสลททรงกลมหนึ่งเดียวในโลกของโรงถ่ายหนังศรีกรุง ได้จัดแสดงไว้บริเวณทางเข้าด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์
jjjjjj
แฟนพันธุ์แท้หนังไทยต้องร้องอ๋อ เมื่อเดินเข้ามาบริเวณโถงชั้นล่าง ที่จำลองฉากหนังไทยที่มีชื่อเสียง อาทิ ฉากใต้ถุนที่แม่นาคเอามือล้วงเก็บลูกมะนาว ฉากป้ายรถเมล์จากภาพยนตร์เรื่องกล่อง ฉากห้องพักนางเอกในเรื่องตลก 69 ฉากเคาน์เตอร์โรงแรมเรื่องโรงแรมนรก เป็นต้น รวมไปถึงของใช้ประกอบฉากต่าง ๆ อาทิ กล้องจากเรื่องชัตเตอร์ เสื้อผ้าจากเรื่องสุดเสน่หา ระฆังโรงเรียนจากเรื่องครูบ้านนอก ประตูแท็กซี่จากเรื่องทองพูน โคกโพ หุ่นมิตร ชัยบัญชา ในขณะโหนบันไดในฉากเรื่องอินทรีทอง
kkkkk
เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ในหนังที่ผู้ชมจำได้ และเมื่อนำมาจัดแสดงจึงมีพลังอย่างน่าประหลาด นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายของรัตน์ เปสตันยี นักสร้างภาพยนตร์ไทยมือรางวัลรุ่นแรก ๆ คู่กับอัลเฟรด ฮิตช์คอร์ก บรมครูผู้กำกับและนักสร้างภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด
kkkkk
เมื่อเดินขึ้นสู่ชั้นสอง บริเวณบันไดทางขึ้นประดับไปด้วย แผ่นเสียงจากภาพยนตร์ไทยเรื่องต่าง ๆ กีตาร์จากเรื่องวัยระเริง และรางวัลต่าง ๆ ของคนบันเทิง ชั้นบนของอาคารจัดแสดงนิทรรศการหนึ่งศตวรรษประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย โดยนำเสนอเรื่องราวตั้งแต่การเล่นภาพเงาของไทย คือ หนังตะลุง หนังใหญ่ เครื่องเล่นภาพจากต่างประเทศที่เข้ามาในไทย อาทิ Thaumatrope ตู้ภาพยนตร์ที่หยอดเหรียญดูทีละคน มุมจัดแสดงเรื่องย่อหนังยุคอดีตเล่มละ 5-10 สตางค์ ที่ครั้งหนึ่งเป็นสนามบ่มเพาะศรีบูรพาและยาขอบ นักเขียนชื่อดังของไทยในเวลาต่อมา
kkkkk
ผู้ชมยังได้ชมกล้องถ่ายหนังรุ่นต่าง ๆ เครื่องบันทึกเสียงหนังเร่ ภาคเหนือ เครื่องฉายหนังจากฝรั่งเศส เครื่องถ่ายแอมิเมชั่น และเครื่องตัดต่อ กว่าจะเป็นภาพยนตร์ให้เราได้ดูสักเรื่องหนึ่ง ภาพยนตร์ต้องผ่านขั้นตอนมากมายอย่างที่เราคาดไม่ถึง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงให้เห็นวิธีการผลิตภาพยนตร์เริ่มตั้งแต่ขั้นก่อนถ่ายทำ เราได้เห็นโต๊ะทำงานของคุณาวุฒิ ตารางนัดคิวนักแสดง เครื่องแต่งตัวจากเรื่องข้างหลังภาพ
kkkkk
เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการถ่ายทำ มีการจำลองการถ่ายทำเรื่องสวรรค์มืด แท่นถ่ายทำหนังการ์ตูนเรื่องสุดสาครของปยุต เงากระจ่าง กล้องถ่ายของปยุต เงากระจ่างเรื่องเหตุมหัศจรรย์ กล้องตัวแรกของเปี๊ยก โปสเตอร์ รวมถึงมุมแต่งหน้านักแสดง เป็นต้น
kkk
ขั้นตอนหลังการถ่ายทำ เป็นขั้นสุดท้าย มีการจัดแสดงทั้งเครื่องล้างฟิล์ม เครื่องมิกซ์เสียง เครื่องตอกซับไตเติ้ล กระเป๋าหนังใส่ม้วนภาพยนตร์แบบต่าง ๆ พร้อมจำลองหน้าร้านของสายหนังต่างจังหวัด ตัวกลางส่งหนังออกฉายสู่สายตาผู้ชมตามต่างจังหวัดต่อไป
gggggg
เมื่อมาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้ว ผู้ชมต้องได้ชมภาพยนตร์อย่างแน่นอน เริ่มด้วยการเข้าแถวซื้อตั๋ว(แบบหลอก ๆ) ที่หน้าโรงหนังอลังการ ในระหว่างรอฉาย เพลิดเพลินไปกับการเดินชมรอยพิมพ์ลายนิ้วมือของบรรดาดาวค้างฟ้าที่ลานดารา ชมตู้ใส่ใบปิดโปสเตอร์ของโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย เมื่อได้เวลาหนังฉาย ก็เตรียมจับจองที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้ไม้พับแถวยาวที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้มาจากโรงหนังเก่าที่ระยอง ด้านในมีอุปกรณ์พากษ์เสียง ทั้งกะลามะพร้าว เม็ดทรายกับสังกะสี บรรยากาศหวนให้นึกถึงโรงหนังต่างจังหวัดเมื่อหลายสิบปีก่อน ครั้งนี้พิเศษกว่าการดูหนังที่ผ่านมา
gggggggggg
เมื่อหนังจบเรามีโอกาสเข้าไปดูในห้องฉาย แถมยังได้เข้าชมห้องผู้จัดการโรงหนัง ได้เห็นสมุดบัญชียอดรายได้ของโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง พวกเราออกจาก "โรงหนังอลังการ" ด้วยความเบิกบานใจพร้อมความรู้เกี่ยวกับหนังไทยอีกมากมาย.....แล้วคุณล่ะดูหนังไทยครั้งสุดท้ายเมื่อไร
hhhhh
สำหรับทุกท่าน และชาวหัวหิน ที่ต้องการไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์นั้น ให้ไปที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ ตั้งอยู่ที่พุทธมณฑลสาย 5 ศาลายา นครปฐม การเดินทางค่อนข้างสะดวก
hhhhhhhhh
๐ ผู้ที่ขับรถมา ให้มาทาง ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เมื่อผ่านพุทธมณฑลแล้ว ให้มองทางขวามือ จนเห็นโชว์รูม Toyota ให้ขับต่อไป จนเจอสะพานกลับรถ เมื่อมาถึงปากทางโชว์รูปโตโยต้าแล้ว ให้ขับต่อไป จนเห็นอู่รถแอร์ และสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม หอภาพยนตร์อยู่ในบริเวณนี้
ggggg
๐ สำหรับท่านที่ไม่มีรถ ให้นั่งรถแอร์สาย 515 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จนถึงอู่หมดระยะที่ศาลายา ซึ่งจะอยู่ติดกับสำนักงานช่างสิบหมู่ หรือไม่ก็นั่งรถแอร์ 547 ซึ่งจะวิ่งมาทางสีลม ผ่านเจริญกรุง แต่เส้นทางนี้ค่อนข้างจะอ้อม และหาแผนการเดินรถไม่ได้ เพราะเป็นรถร่วมบริการ กรุณาสอบถาม ขสมก ได้ที่ 184
hhhhhhh
๐ สำหรับท่านที่จะเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ควรสอบถามรายละเอียดกับ หอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้ที่นี่ 02 4410263-4
kkkk
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaicinema.org และ http://www4.sac.or.th
huahinhub Thanks
kkkkk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น