6.08.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๑๐๗ (กระดาษใยกล้วย)







o
o
o
o
o
o
o
“กระดาษใยกล้วย” ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดย Re-Leaf Studio
สเริงรงค์ วงษ์สวรรค์ (จ่อย) บัณฑิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และพาณุ งากุญชร (ต้อม) ศิลปบัณฑิตจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือเพื่อนต่างคณะที่มีมุมมองการทำงานและวิถีชีวิตตรงกัน สเริงรงค์และพาณุชอบชีวิตที่เชียงใหม่ และต้องการทำงานด้านการออกแบบ/ศิลปะร่วมกับคนในท้องที่ โดยพึ่งพาความรู้และความเชี่ยวชาญของชุมชมนั้นเอง หลังจากเรียนจบ สเริงรงค์และพาณุแยกย้ายกันไปใช้ชีวิตคนละแบบอยู่พักหนึ่ง แต่ในที่สุดก็ได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง และนำความฝันที่เคยคุยกันไว้มาปัดฝุ่นทำให้เป็นจริงขึ้นมา
o
แรกทีเดียวสเริงรงค์และพาณุไม่ได้มองมาที่ต้นกล้วย พวกเขาตั้งเป้าหมายหลักอยู่กับการทำงานออกแบบ ที่ดึงช่างฝีมือและองค์ความรู้ในท้องถิ่นมาใช้ แต่เมื่อวันหนึ่งที่ทั้งสองได้คุยกันเกี่ยวกับต้นกล้วยในบ้านของสเริงรงค์ เห็นว่ากล้วยเป็นพืชที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ แถมใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน จะเหลือก็แต่ลำต้นที่ยังไม่ค่อยมีใครนำมาใช้ประโยชน์นัก พวกเขาจึงตัดสินใจศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง “ลำต้นกล้วยสามารถทำอะไรได้บ้าง”
o
ต้นกล้วย + วิธีทำกระดาษสา = กระดาษใยกล้วยเมื่อตัดสินใจเลือกทำงานกับต้นกล้วย ทั้งสองก็มองหาที่ปรึกษา พบว่าที่เชียงใหม่มีหลายหมู่บ้านทำงานผลิตกระดาษสา จึงเข้าไปคลุกคลีเพื่อขอเรียนรู้ และนำวิธีการมาประยุกต์ใช้กับใยกล้วย
o
ทั้งคู่ได้เรียนรู้ถึงอุปกรณ์และวิธีทำกระดาษจากแหล่งทำกระดาษสาเล็กๆ ในหมู่บ้านต้นเตา พร้อมกับหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต จากนั้นก็เริ่มจัดซื้ออุปกรณ์ สั่งทำเครื่องปั่นใย และลงมือวิจัยความเป็นไปได้ในการทำกระดาษจากใยกล้วยด้วยตนเอง การวิจัยตัววัสดุใช้เวลาอยู่ราว 1 ปี เพื่อทดลองคุณสมบัติให้คงที่ และค้นหาเอกลักษณ์ในตัวกระดาษ หลังจากนั้นก็ใช้เวลาอีก 6 เดือนทดลองออกแบบกระดาษให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่น อาทิ สมุดโน้ตกระดาษใยกล้วย
0
สร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้กระดาษ Re-Leafนอกจากคุณสมบัติของเนื้อกระดาษที่เน้นความแข็งแรงคงทนแล้ว กระดาษ re-leaf ยังเพิ่มรูปแบบเฉพาะตัวด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย ใช้คอนเซ็ปท์ “น้อยได้มาก” ไม่เติมรายละเอียดยุบยิบ เน้นพื้นผิวที่สื่อถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ลายเสื่อกกหรือลายจักสาน โดยใช้วิธีพิมพ์ปั๊มลวดลายเหล่านั้นลงบนกระดาษ ทำให้งานที่ออกมามีความร่วมสมัย พร้อมแสดงเอกลักษณ์ไทยได้อย่างแนบเนียน
o
อาศัย “เครือข่ายและงานรื่นเริง” ประชาสัมพันธ์สินค้าพวกเขายอมรับว่า แรกเริ่มนั้นไม่ได้พัฒนาสินค้าขึ้นจากความต้องการของตลาด แต่สร้างจากความชอบเป็นหลัก เมื่อถึงเวลาต้องวางจำหน่ายจริง จึงอยากจะทำตลาดในรูปแบบเฉพาะตัวที่สวนกระแส แน่นอนว่าไม่ใช่การขายที่แข่งปริมาณ แต่แข่งด้วยการออกแบบและการใช้ทรัพยากรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
o
สเริงรงค์และพาณุเริ่มประชาสัมพันธ์สินค้าในกลุ่มคนรู้จัก และค่อยๆ ขยายวงออกไป โชคดีว่าสังคมในเชียงใหม่ไม่กว้างมาก ผู้คนรู้จักกันเกือบหมด โดยเฉพาะสังคมของผู้นิยมงานสร้างสรรค์ งานของพวกเขาจึงเป็นที่รู้จักในวงที่กว้างขึ้นได้ง่าย ประกอบกับการนำผลิตภัณฑ์ไปออกงานเทศกาลดนตรี และเทศกาลศิลปะ/งานออกแบบที่ถนนนิมมานเหมินทร์ เปิดช่องให้สื่อมวลชนที่สนใจนำเรื่องของ Re-Leaf Studio ไปเผยแพร่ ซึ่งก็ได้การตอบรับที่ดีทั้งในแง่ยอดขายและภาพลักษณ์
o
ต่อยอดผลิตภัณฑ์และโอกาสในวันหน้ากระดาษใยกล้วยที่เราเห็น ณ ตอนนี้ ยังไม่หยุดกระบวนการพัฒนา สเริงรงค์และพาณุยังคงทำการวิจัยทดลองอยู่เรื่อยๆ โดยมุ่งหวังให้กระดาษของพวกเขาเป็นได้ “มากกว่าสมุด” เขาคิดไปถึง ฝ้าเพดาน ผนังเบา วัสดุกันกระแทก หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จะมาทดแทนการใช้พลาสติกได้
o
ส่วนอนาคตของ Re-Leaf Studio นั้น ทั้งคู่กลับไม่ได้มุ่งเน้นที่จะขยายบริษัทหรือโรงงานให้ใหญ่โต แต่ต้องการคงไว้ซึ่งความเป็นสตูดิโอขนาดย่อม ที่มีคนทำงานไม่เกิน 20 คน เป็นส่วนผสมของคนรุ่นใหม่และช่างฝีมือในชุมชน รวมทั้งอยากเปิดโอกาสให้คนพิการได้เข้ามาร่วมงานด้วย เป็นอุดมคติของการทำงานที่มีจิตสำนึก เคารพธรรมชาติ เคารพท้องถิ่น และเคารพคน ในแบบที่เคยเป็นมาแต่ดั้งเดิม
o
เจาะประเด็นเด่น
๐ เครือข่ายหรือที่เรามักเรียกกันว่า “คอนเน็กชั่น” คือสิ่งสำคัญมากในโลกธุรกิจวันนี้ โดยนอกจากจะช่วยเรื่องยอดขายได้แล้ว ยังเป็นช่องทางให้เราได้รู้เสียงตอบรับ และได้คำแนะนำกลับมาง่ายๆ ด้วย
๐ เสียงตอบรับจากกลุ่มเยาวชนที่แม้ยังไม่ได้ซื้อสินค้า ณ วันนี้ แต่ได้พูดคุยทำความรู้จักและสร้างเครือข่ายกัน ก็ถือเป็นการทำตลาดระยะยาวอย่างหนึ่ง ทำให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นแรงบันดาลใจแก่เยาวชน ในเรื่องการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคมได้
o
ขอบคุณข้อมูลจาก www.tcdcconnect.com
, http://www.releafstudio.com
huahinhub Thanks
o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น