6.08.2552

| สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสังคมเมือง ๘๗ (ปัตตานี มีอดีต)




k
k
k
k
k
k
k
k
k
o
o
o
ok
ปัตตานี มีอดีต
จาก 'เหตุร้ายรายวัน' ทำให้ปัตตานีอยู่ในความสนใจของผู้คนในฐานะ 'พื้นที่สีแดง' ที่ไม่น่าจะไปข้องแวะด้วยมากกว่าจะเป็นดินแดนแห่ง 'พหุวัฒนธรรม' อันน่าค้นหาอีกแหล่งหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะฝั่งขวา ของแม่น้ำปัตตานี (หันหน้าออกทะเล) ในเขตอำเภอเมืองปัตตานีซึ่งถือเป็นแหล่งชุมชนเก่าแก่ตั้งรกรากสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน อาทิ ย่านสะบารัง อาเนาะรู และจะบังติกอ
ooo
นภดล ทิพยรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) อธิบายถึงการขยายตัวของเมืองปัตตานีว่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 40 - 50 ปีก่อน จากการเปลี่ยนระบอบการปกครองและการขยายตัวของเมืองใหม่ "การขยายตัวของเมืองนั้นจะมีอยู่ 2 โซนคือ ฝั่งที่ตั้งของมอ. จะอยู่โซนเดียวกับโรงพยาบาล ศาลากลางจังหวัด เป็นเมืองที่ขยายมาใหม่ ขณะที่เมืองเก่าจะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง โดยย่านเมืองเก่าจะมีถนนที่มีความสำคัญ 2 เส้นคือ ถนนฤดีและถนนอาเนาะรู อันเป็นย่านชุมชนเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีต เป็นแหล่งรวมของธุรกิจสินค้าของย่านปัตตานีมาตั้งแต่โบราณ เพราะส่วนหนึ่งจุดได้เปรียบของทำเลจะมีปากทางของถนนอยู่ติดแม่น้ำปัตตานีทั้ง 2 แห่ง ซึ่งแต่ก่อนเป็นที่ตั้งของท่าเรือขนถ่ายสินค้า ท่าเรือประมง ถือเป็นย่านการค้าที่สำคัญมาก"
ooooo
ความสำคัญของถนนฤดีนั้นจะอยู่ตรงลักษณะอาคารพาณิชย์แบบชีโนโปรตุกีสที่เรียงทอดยาวไปจนสุดถนน โดยเจ้าของบ้านแต่ละหลังพยายามรักษาสภาพบ้านเรือนของตัวเองให้คงสภาพเดิมเอาไว้มากที่สุด "ศิลปะชิโนโปรตุกีส ในความเป็นจริงปัตตานีก็มีงานตรงนี้ที่ค่อนข้างจะโดดเด่นไม่แพ้สงขลาหรือภูเก็ต หรือปากพนังที่นครศรีธรรมราช จะเห็นว่าลักษณะความโดดเด่นของชีโนจะอยู่ที่ลวดลาย และการใช้กระจกสีมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างงานสถาปัตยกรรม ซึ่งในเส้นนั้นจะมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่เป็นตึกแถว และส่วนที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ปัจจุบันได้ปรับเป็นอพาร์ตเมนต์ เรียกกันว่าไวท์เฮ้าส์ ซึ่งในอดีตตรงนั้นจะเป็นบ้านของคหบดีท่านหนึ่งของปัตตานี ปัจจุบันแม้จะปรับเปลี่ยนไปทำธุรกิจอย่างอื่นก็ยังคงรักษาศิลปะแนวนี้ไว้เป็นอย่างดี" นภดล กล่าว
ooooooo
ขณะที่ถนนอาเนาะรูปัจจุบันก็ยังมี 'บ้านเลขที่ 1' ของปัตตานีรวมทั้งบ้านทรงจีนโบราณให้คนต่างถิ่นได้เรียนรู้ ซึมซับวิถีชีวิตชาวจีนในปัตตานี และยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวซึ่งมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวคริสต์ที่กระจายตัวอยู่อีก 2-3 ชุมชนด้วยกัน สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับความเป็นพหุวัฒนธรรมของย่านนี้เป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีหน่วยงานไหนออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจังก็ตาม
ooo
"ปัจจุบันนี้คนในปัตตานีเองถึงแม้จะมีการพูดถึงพหุวัฒนธรรมค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่เราจะเน้นเรื่องวัฒนธรรมอิสลาม พุทธ และจีน แต่เราจะไม่พูดถึงสิ่งที่เป็นตะวันตกอย่างอาคารเหล่านี้ เพราะรากเหง้าที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมค่อนข้างน้อย แต่ที่เกี่ยวก็จะเป็นเรื่องของศาสนาเสียส่วนใหญ่ อย่างคริสต์นี่อาจจะมีคนปัตตานีนับถืออยู่ก็จริง แต่บทบาทความเป็นศิลปะตรงนี้มันอาจจะยังไม่เด่นชัดหรือเป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก อาคารหลายอาคารทรุดโทรมลงไปเพราะไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร แต่คุณค่าของมันก็คือการสืบทอดเชื้อสายของคนจากหลายชนชาติที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยนั้นก็ยังคงอยู่" นภดลแบ่งปันปัญหา
oooo
สายน้ำตานีไหลเอื่อยขณะความมืดค่อยๆ โรยตัวห่มคลุมทั้งเมืองเอาไว้อีกครั้ง ความขลังขรึมของเสียงประกาศบอกเวลาละหมาด ขณะที่เงาของผู้คนค่อยๆ เยื้องย่างจากร้านน้ำชาสู่มัสยิด
oooo
ตามสายตาของนักท่องเที่ยว ภาพการใช้ชีวิตของชาวปัตตานี บนพื้นที่พักผ่อนกลางเมืองเก่า ตอนนี้ถือเป็นประสบการณ์ระหว่างทางที่งดงาม ไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เลยแม้แต่น้อยโดย
o
ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ โดย : ลาเกอปอ
huahinhub Thanks
o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น