ตื่นตาตื่นใจไม่พอ สำหรับบทความที่นำมาฝากกันครั้งนี้ huahinhub ต้องเรียนกับพี่น้องชาวหัวหิน ไว้ด้วยว่าเป็นอีกเรื่องที่ทำให้ 'สมองตื่น' ขึ้นได้จริงๆ กับไอเดียสร้างสรรค์งาน ของศิลปินไทย ที่สามารถกระตุ้นต่อมความคิด ในการประกอบวิชาชีพ ที่ดีเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ที่huahinhubชื่นชมมานักหนา เป้นมาอย่างไร ไปติดตามกัน...
เกิดอะไรขึ้น
๐ ทำไมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงเต็มไปด้วยตะไคร่น้ำ หญ้าเฟิร์น และต้นไม้ปกคลุมร่มครึ้ม
๐ ทำเนียบรัฐบาลถูกต้นไม้นานาพันธุ์จับจองแทบทุกตารางนิ้ว
๐ ทำเนียบรัฐบาลถูกต้นไม้นานาพันธุ์จับจองแทบทุกตารางนิ้ว
๐ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำกลายเป็นบ้านของไม้ป่าดิบชื้น
h
h
นี่คือกรุงเทพฯ ในอนาคต หรือ คือสภาพสะท้อนแท้จริงของกรุงเทพฯ วันนี้
หลังจากทำให้ผู้ที่ได้ชมผลงานเกิดความคิดกระเจิดกระเจิงทางความคิด และจินตนาการกันไปไกลตามความสนใจของแต่ละคน เจ้าตัวทราบแล้วเอาแต่ยิ้มตาหยีสลับกับเสียงหัวเราะ "ผมไม่ได้คิดเรื่องการเมืองเลยแม้แต่นิดเดียวนะครับพี่"
หลังจากทำให้ผู้ที่ได้ชมผลงานเกิดความคิดกระเจิดกระเจิงทางความคิด และจินตนาการกันไปไกลตามความสนใจของแต่ละคน เจ้าตัวทราบแล้วเอาแต่ยิ้มตาหยีสลับกับเสียงหัวเราะ "ผมไม่ได้คิดเรื่องการเมืองเลยแม้แต่นิดเดียวนะครับพี่"
ตติยะ อุดมสวัสดิ์ ศิลปินหนุ่มวัย 28 เจ้าของผลงานพิมพ์ดิจิทัลบนกระดาษ ที่นำเอาบรรดาต้นไม้ในไพรพฤกษ์มาตกแต่งลงบนภาพถ่ายสถานที่สำคัญระดับแลนด์มาร์คของกรุงเทพมหานคร
เมืองสวยเมื่อคนสาบสูญ
ตติยะ ย้ำว่าผลงานศิลปะชุดนี้ไม่ได้มีแนวคิดเรื่องการเมืองใดๆ เลย ทั้งยังเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ ขณะเป็นนักศึกษา คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี 2549
"บ้านผมอยู่ชลบุรีเป็นสวน ตอนเด็กๆ ที่บ้านขายต้นไม้ด้วย เติบโตกับต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก บ้านเช่าที่กรุงเทพฯ ตอนแรกก็เป็นตึกธรรมดา 2 ชั้น แถววังหลัง ผมปลูกต้นไม้คลุมทั้งตึกเลย คลุมจนข้างบ้านต้องตัดทิ้ง ต้นไม้ผมก็เอามาจากบ้านนั่งรถทัวร์ทยอยมา มีม่านบาหลีบ้าง ปลูกคลุมจนถึงชั้นสองเจ้าของบ้านโกรธผมมาก ผมบอกว่าเดี๋ยวตอนย้ายออกผมตัดให้ ตอนย้ายออกผมก็ตัดให้เขาจนโดนงูเขียวกัด ไปศิริราชเลือดกำเดาไหลเลย "เจ้าตัวเล่ายิ้มๆ
ตติยะ ย้ำว่าผลงานศิลปะชุดนี้ไม่ได้มีแนวคิดเรื่องการเมืองใดๆ เลย ทั้งยังเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ ขณะเป็นนักศึกษา คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี 2549
"บ้านผมอยู่ชลบุรีเป็นสวน ตอนเด็กๆ ที่บ้านขายต้นไม้ด้วย เติบโตกับต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก บ้านเช่าที่กรุงเทพฯ ตอนแรกก็เป็นตึกธรรมดา 2 ชั้น แถววังหลัง ผมปลูกต้นไม้คลุมทั้งตึกเลย คลุมจนข้างบ้านต้องตัดทิ้ง ต้นไม้ผมก็เอามาจากบ้านนั่งรถทัวร์ทยอยมา มีม่านบาหลีบ้าง ปลูกคลุมจนถึงชั้นสองเจ้าของบ้านโกรธผมมาก ผมบอกว่าเดี๋ยวตอนย้ายออกผมตัดให้ ตอนย้ายออกผมก็ตัดให้เขาจนโดนงูเขียวกัด ไปศิริราชเลือดกำเดาไหลเลย "เจ้าตัวเล่ายิ้มๆ
เรื่องของเรื่องคือ
พอมาอยู่กรุงเทพฯ น่ะ ตื่นเต้นมาอยู่ในเมือง ชอบมาก อยู่ไปชักเฉยๆ เหม็นก็เหม็นควันพิษก็เยอะ ตอนทำวิทยานิพนธ์ใจอยากทำเรื่องต้นไม้อยู่แล้ว ดาบวิชัย สุริยุทธ นี่ผมชอบมาก ชอบแนวคิดเขา บอกตรงๆ เลยว่างานผมได้แรงบันดาลใจมาจากเขาเลยส่วนนึง ด้วยภูมิหลังของเราด้วยส่วนหนึ่ง ทำให้เราเริ่มสังเกตว่าในเมืองนี่มันแปลกๆ นะที่รกร้าง บริเวณตึกพังนี่ต้นไม้พยายามขึ้นมากเลย เราก็มาคิดว่าตกลงตรงนี้มันเป็นที่ของมันไม่ใช่ที่ของเรา คนต่างหากที่สร้างสิ่งปลูกสร้างทับที่ของต้นไม้ แต่ทำไมพอเอาสิ่งปลูกสร้างออกไปนิดเดียวต้นไม้มันก็กลับมาขึ้นเร็วนักทั้งๆ ที่สร้างตึกใช้เวลาตั้งนาน แต่แค่วันสองวันที่ทิ้งไว้ต้นไม้ มอส ตะไคร่ก็เริ่มมาแล้ว"
ตติยะ นำแนวคิดนี้ไปเสนอกับ อาจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง อาจารย์ที่ปรึกษาประจำภาควิชาภาพพิมพ์
"อาจารย์บอกว่าให้พัฒนาให้มันเยอะขึ้นกว่านี้อีก ตอนทำผมนำเสนอในแง่ลบนะครับ แน่นอนมนุษย์เราหายไปหมดไม่เหลือเลย ธรรมชาติอยู่ได้เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่มีมาก่อน สิ่งที่เราบอกว่าเจริญ อารยธรรมกำลังฆ่าตัวเราลงไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่คงอยู่คือธรรมชาติๆ สามารถฟื้นคืนกลับด้วยตัวของมันเอง ไม่มีเรามันก็ไม่เดือดร้อน แต่พอเริ่มทำไปผลตอบรับกลับไม่ใช่ คนเริ่มชอบ ไม่ได้มองในแง่ลบ คิดว่ามันสวย ถ้าเมืองเป็นอย่างนี้ก็ดีนะ ทำไมการสาบสูญของคนจึงสวยในสายตาของเขา"
ตติยะ นำแนวคิดนี้ไปเสนอกับ อาจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง อาจารย์ที่ปรึกษาประจำภาควิชาภาพพิมพ์
"อาจารย์บอกว่าให้พัฒนาให้มันเยอะขึ้นกว่านี้อีก ตอนทำผมนำเสนอในแง่ลบนะครับ แน่นอนมนุษย์เราหายไปหมดไม่เหลือเลย ธรรมชาติอยู่ได้เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่มีมาก่อน สิ่งที่เราบอกว่าเจริญ อารยธรรมกำลังฆ่าตัวเราลงไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่คงอยู่คือธรรมชาติๆ สามารถฟื้นคืนกลับด้วยตัวของมันเอง ไม่มีเรามันก็ไม่เดือดร้อน แต่พอเริ่มทำไปผลตอบรับกลับไม่ใช่ คนเริ่มชอบ ไม่ได้มองในแง่ลบ คิดว่ามันสวย ถ้าเมืองเป็นอย่างนี้ก็ดีนะ ทำไมการสาบสูญของคนจึงสวยในสายตาของเขา"
เริ่มต้นที่ตึกช้าง
แนวคิดชัดเจน ลบคนออกจากภาพ คืนสถานที่ให้กับต้นไม้ใบหญ้า ผลลัพธ์กลับเป็นความงามของผู้พบเห็นทั้งที่เจ้าของงานมีแนวคิดด้านลบ ตึกแรกที่เขาเริ่มลงมือทำงานตามความคิด นั่นก็คือ ตึกช้าง
"ตอนแรกคิดไปไกล หอไอเฟล โอเวอร์มากๆ อาจารย์ถามคุณเคยไปเหรอ คุณจะรู้สึกได้ยังไงในเมื่อคุณไม่เคยไป ลองไปหาสถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คุณสิ งั้นก็ต้องเป็นในเมือง ต้องเป็นกรุงเทพฯเพราะกรุงเทพฯ ทำให้ผมรู้สึกแรกๆ ก็ชอบ ต่อมาคนเอย สิ่งแวดล้อมเอย การจัดการเรื่องขยะ อยู่แล้วมันอึดอัด มันไม่เหมือนอยู่บ้าน กลับไปบ้านที่หายใจยาวเป็นฟุตเลย อยู่ในกรุงเทพฯไม่กล้าหายใจเลยจริงๆ ขณะอยู่ในซอยที่ไม่มีรถแล้วนะ ผมเลือกอยู่ในซอยที่รถวิ่งไม่ได้เพราะผมเหม็นควันรถ
ที่แรกที่ผมเลือกคือ ตึกช้าง เพราะเป็นตึกที่มีรูปร่างเหมือนสัตว์ป่า มันแปลกที่ตัวสัตว์ป่าเองอยู่ในเมืองไม่ได้ ช้างในเมืองโดนไล่ออก ช้างไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่กิน ผมมองว่าทำไมกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของตึก ทั้งที่เราเองเป็นฝ่ายไล่ล่าฆ่าเขา
แนวคิดชัดเจน ลบคนออกจากภาพ คืนสถานที่ให้กับต้นไม้ใบหญ้า ผลลัพธ์กลับเป็นความงามของผู้พบเห็นทั้งที่เจ้าของงานมีแนวคิดด้านลบ ตึกแรกที่เขาเริ่มลงมือทำงานตามความคิด นั่นก็คือ ตึกช้าง
"ตอนแรกคิดไปไกล หอไอเฟล โอเวอร์มากๆ อาจารย์ถามคุณเคยไปเหรอ คุณจะรู้สึกได้ยังไงในเมื่อคุณไม่เคยไป ลองไปหาสถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คุณสิ งั้นก็ต้องเป็นในเมือง ต้องเป็นกรุงเทพฯเพราะกรุงเทพฯ ทำให้ผมรู้สึกแรกๆ ก็ชอบ ต่อมาคนเอย สิ่งแวดล้อมเอย การจัดการเรื่องขยะ อยู่แล้วมันอึดอัด มันไม่เหมือนอยู่บ้าน กลับไปบ้านที่หายใจยาวเป็นฟุตเลย อยู่ในกรุงเทพฯไม่กล้าหายใจเลยจริงๆ ขณะอยู่ในซอยที่ไม่มีรถแล้วนะ ผมเลือกอยู่ในซอยที่รถวิ่งไม่ได้เพราะผมเหม็นควันรถ
ที่แรกที่ผมเลือกคือ ตึกช้าง เพราะเป็นตึกที่มีรูปร่างเหมือนสัตว์ป่า มันแปลกที่ตัวสัตว์ป่าเองอยู่ในเมืองไม่ได้ ช้างในเมืองโดนไล่ออก ช้างไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่กิน ผมมองว่าทำไมกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของตึก ทั้งที่เราเองเป็นฝ่ายไล่ล่าฆ่าเขา
วิธีการทำงานคือ
ถ่ายรูปมาก่อนทีแรกทำเป็นซิลค์สกรีน คณาจารย์ก็บอกว่าคุณทำสเก็ตช์นานไหม ผมก็ไปทำใหม่ใช้โฟโต้ช็อปตั้งใจทำมาก อาจารย์บอกว่าคุณก็ทำอย่างนี้เลยไม่ต้องทำซิลค์สกรีน ผมบอกว่าผมเรียนภาพพิมพ์ อาจารย์บอกว่าไม่จำเป็นคุณทำงานดิจิทัล พริ้นต์ ก็ถือเป็นภาพพิมพ์
คือผมรู้จักต้นไม้ทุกอย่างเพราะที่บ้านขายต้นไม้ คุณพ่อเรียนเกษตรแม่โจ้ เป็นข้าราชการประมง เสาร์อาทิตย์ขายต้นไม้ แล้วชอบเที่ยวป่า พ่อสอนให้รู้จักต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก ผมทำงานถ่ายรูปเมืองมาก่อน แล้วไปเข้าป่าเลยอยู่เป็นอาทิตย์ ถ่ายรูปต้นไม้ เขาใหญ่ เขาเขียว สถานที่พอนั่งรถทัวร์ไปได้เพราะผมไม่มีรถ พอไปอยู่กับมันก็นั่งคิดแล้ว ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเราตอนนี้ จะทำอย่างไรให้เมืองที่เราถ่ายมารู้สึกเหมือนอยู่ในป่า"
คือผมรู้จักต้นไม้ทุกอย่างเพราะที่บ้านขายต้นไม้ คุณพ่อเรียนเกษตรแม่โจ้ เป็นข้าราชการประมง เสาร์อาทิตย์ขายต้นไม้ แล้วชอบเที่ยวป่า พ่อสอนให้รู้จักต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก ผมทำงานถ่ายรูปเมืองมาก่อน แล้วไปเข้าป่าเลยอยู่เป็นอาทิตย์ ถ่ายรูปต้นไม้ เขาใหญ่ เขาเขียว สถานที่พอนั่งรถทัวร์ไปได้เพราะผมไม่มีรถ พอไปอยู่กับมันก็นั่งคิดแล้ว ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเราตอนนี้ จะทำอย่างไรให้เมืองที่เราถ่ายมารู้สึกเหมือนอยู่ในป่า"
ต้นไม้ครองเมือง
สำหรับภาพที่หลายคนบอกว่า "แรง" กระทบใจผู้ชมมากที่สุด คงจะเป็นภาพอื่นไปไม่ได้นอกจากภาพ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถูกต้นไม่ปกคลุมไปทั่วบริเวณ ตติยะ เล่าถึงเบื้องหลังการทำงานชิ้นนี้ว่าเริ่มต้นจากการถ่ายแลนด์สเคป เลือกมุมที่ถูกใจ บันทึกภาพเรียบร้อยก็เข้าป่าอีกรอบโดยมีการสเก็ตช์ไว้ในใจแล้วว่าจะใช้ต้นไม้ประเภทไหนมาเป็นองค์ประกอบ
"พอไปป่าผมมองว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองต่ำ ถ้าไม่มีการระบายน้ำก็จะท่วมเฉอะแฉะ ผมไปถ่ายภาพทุ่งหญ้ามา พอมีทุ่งหญ้าแบบนี้ เรารู้แล้วว่าไม้เถามันจะขึ้นมา ด้านที่สูงกว่ามันจะยิ่งขึ้น ยิ่งไม่มีใครไปยุ่งด้วยก็จะสูงขึ้นๆ ถ้ามีความชื้นตะไคร่ก็จะขึ้น แต่ไม่ได้อยากให้ผุพังนะ อยากให้คงสภาพว่ามันเคยเป็นอะไร ผมคิดว่าถ้าลองทิ้งไว้ 10-15 ปี ต้นไม้ก็จะขึ้นอย่างนี้ถ้าไม่มีคนไปทำอะไร" จากความคิดที่อยากลบภาพคนออกให้หมด เหลือไว้แต่เพียงต้นไม้ หลังจากสร้างสรรค์ผลงานได้ดั่งใจ ตติยะก็เริ่มมองผลงานตัวเองในด้านบวกขึ้นมาแล้ว
"ตอนนี้มองภาพนี้แล้วสวย ชอบถ้าได้เดินท่อมๆ อยู่ในป่าเหมือนในภาพคงได้เก็บอะไรกินสนุกดี เคยคิดว่าถ้าแลกกับการที่อยู่ในยุคปัจจุบันแล้วกลับไปใช้ชีวิตอย่างนี้ผมเอานะ มันก็คงดีเหมือนกัน ได้กลับไปอยู่ในที่ๆ บรรพบุรุษเคยอยู่ ตอนทำภาพนี้ผมไม่คิดเรื่องเสียดสีอะไรเลย แต่พอมาอยู่ ณ เวลานี้กลับเป็นการเสียดสีในตัวของมันเอง ถึงแม้ตอนนั้นมันเริ่มๆ มีเหตุการณ์ก็เถอะ แต่ผมไม่ได้มีแนวโน้มในเรื่องนี้เลย ตอนนี้กลับกลายเป็นทำให้คนคิดว่าสัญลักษณ์ประชาธิปไตยของเราทำไมถึงได้มีลักษณะเช่นนี้ เป็นเพราะสภาพการเมืองบ้านเราหรือเปล่า
รูปทำเนียบ
ทำในขณะที่เกิดความรู้สึกทางการเมืองแล้ว วันที่ไปถ่ายคือวันที่มีระเบิดกลางเวที แต่ผมออกมาก่อน ภาพนี้ทางภัณฑารักษ์ของนิทรรศการกรุงเทพฯ 226 ให้ทำเพื่อนำมาร่วมแสดง เขาบอกว่าถ้าจะทำงานที่มีเนื้อหาการเมืองแล้วจะเลือกภาพไหนที่ให้ผลกระทบต่อเนื่องจากภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้
ก็ต้องเป็นทำเนียบรัฐบาล คนไปชุมนุมอยู่ที่นั่นเป็นร้อยๆ วัน ตอนไปถ่ายไม่มีมุมเลยนะเป็นภาพที่นำมาต่อกันจนได้ เพราะมีเต็นท์มีเวที ความรู้สึกเรื่องธรรมชาติกลับแรงในเรื่องเราทำร้ายสิ่งแวดล้อม ตอนนี้กลับรู้สึกว่ามันเป็นตัวแทนของสิ่งที่สำคัญที่เราควรนำกลับมามากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือ การทะเลาะ เบาะแว้ง ช่วงชิงอำนาจของแต่ละฝ่าย ที่น่าสนใจกว่าคือสภาวะโลกมีปัญหามาก ฝรั่งตื่นตัวมากเช่นภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกละลาย บ้านเรายังคิดเรื่องปากท้องอยู่เลย ผมมองว่าสภาวะแวดล้อมโลกเรื่องใหญ่นะพี่ เราใช้ชีวิตวันๆ อาจไม่รู้สึก แต่วันนี้ต้องมาถึงแน่นอนเพราะเราอยู่ในโลกใบเดียวกัน เรื่องธรรมชาติใหญ่กว่าการเมืองนะ ถ้าไม่มีธรรมชาติแล้วปากท้องก็ไม่สำคัญอีกต่อไป" ตติยะทิ้งท้ายถึงเรื่องสำคัญที่อยู่ในใจเขาตลอดเวลา
หมายเหตุ : ผลงานของตติยะ อุดมสวัสดิ์ เป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการกรุงเทพฯ 226 ศิลปะจากยุคสร้างบ้านแปงเมือง สู่กรุงเทพฯ ในฝัน เปิดแสดงให้ชม(แล้ว)ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ก็ต้องเป็นทำเนียบรัฐบาล คนไปชุมนุมอยู่ที่นั่นเป็นร้อยๆ วัน ตอนไปถ่ายไม่มีมุมเลยนะเป็นภาพที่นำมาต่อกันจนได้ เพราะมีเต็นท์มีเวที ความรู้สึกเรื่องธรรมชาติกลับแรงในเรื่องเราทำร้ายสิ่งแวดล้อม ตอนนี้กลับรู้สึกว่ามันเป็นตัวแทนของสิ่งที่สำคัญที่เราควรนำกลับมามากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือ การทะเลาะ เบาะแว้ง ช่วงชิงอำนาจของแต่ละฝ่าย ที่น่าสนใจกว่าคือสภาวะโลกมีปัญหามาก ฝรั่งตื่นตัวมากเช่นภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกละลาย บ้านเรายังคิดเรื่องปากท้องอยู่เลย ผมมองว่าสภาวะแวดล้อมโลกเรื่องใหญ่นะพี่ เราใช้ชีวิตวันๆ อาจไม่รู้สึก แต่วันนี้ต้องมาถึงแน่นอนเพราะเราอยู่ในโลกใบเดียวกัน เรื่องธรรมชาติใหญ่กว่าการเมืองนะ ถ้าไม่มีธรรมชาติแล้วปากท้องก็ไม่สำคัญอีกต่อไป" ตติยะทิ้งท้ายถึงเรื่องสำคัญที่อยู่ในใจเขาตลอดเวลา
หมายเหตุ : ผลงานของตติยะ อุดมสวัสดิ์ เป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการกรุงเทพฯ 226 ศิลปะจากยุคสร้างบ้านแปงเมือง สู่กรุงเทพฯ ในฝัน เปิดแสดงให้ชม(แล้ว)ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ และ ปิ่นอนงค์ ปานชื่น - ภาพ/เอกรัตน์ ศักดิ์เพชร
huahinhub Thanks
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น