![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgB9EJEYvVDY4N4OU_VEdgd6Y27XK1-mDSOVWKRvDQB32hfkDCJUWLpD8y88Ej9M20XKrtVBoYAN2jiCMPsz2ydW9-N-7LEqXljnxhbutbkyNODHEo8dgNkb4jHvdYhxV2wsez-1GvDMWO1/s400/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B31.jpg)
k
k
k
k
k
k
k
k
k
ไทยทำ ฝรั่งใช้
เสน่ห์แห่งหัตถกรรมของชนเผ่า ที่ได้สัมผัสเมื่อครั้งทำงานในค่ายผู้อพยพ สุวดี แซล์มอน ตั้ง สมาคมไทยคราฟท์ เป็นสื่อกลาง ชาวบ้าน-ผู้ซื้อต่างแดน
เสน่ห์แห่งหัตถกรรมของชนเผ่า ที่ได้สัมผัสเมื่อครั้งทำงานในค่ายผู้อพยพ สุวดี แซล์มอน ตั้ง สมาคมไทยคราฟท์ เป็นสื่อกลาง ชาวบ้าน-ผู้ซื้อต่างแดน
kkkkk
หัตถกรรมจากฝีมือคนไทย นอกจากช่วยให้คนในชุมชนพึ่งพาตัวเองได้แล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และที่น่าสนใจคือ ไทยคราฟท์เป็นตัวกลาง ขายสินค้าหัตถกรรมมีดีไซน์จากชาวบ้านมานานกว่า 16 ปีโดยไม่เอากำไรเป็นตัวตั้ง งานหัตถกรรมพื้นบ้านกลุ่มนี้มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร และเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ เนื่องจากผู้ริเริ่มโครงการต้องการขายสินค้าจากชุมชน โดยไม่ได้เอากำไรเป็นตัวตั้ง เธอทำในนาม สมาคมไทยคราฟท์ และที่น่าสนใจคือ วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ สิ่งที่ต้องลงทุนคือ ฝีมือและดีไซน์อันละเอียดประณีตในการปัก ถัก ทอ และสาน
หัตถกรรมจากฝีมือคนไทย นอกจากช่วยให้คนในชุมชนพึ่งพาตัวเองได้แล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติ และที่น่าสนใจคือ ไทยคราฟท์เป็นตัวกลาง ขายสินค้าหัตถกรรมมีดีไซน์จากชาวบ้านมานานกว่า 16 ปีโดยไม่เอากำไรเป็นตัวตั้ง งานหัตถกรรมพื้นบ้านกลุ่มนี้มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร และเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ เนื่องจากผู้ริเริ่มโครงการต้องการขายสินค้าจากชุมชน โดยไม่ได้เอากำไรเป็นตัวตั้ง เธอทำในนาม สมาคมไทยคราฟท์ และที่น่าสนใจคือ วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ สิ่งที่ต้องลงทุนคือ ฝีมือและดีไซน์อันละเอียดประณีตในการปัก ถัก ทอ และสาน
kkkkk
ก่อนหน้าที่ สุวดี แซล์มอน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสามีจะมาตั้งสมาคมไทยคราฟท์ เธอเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่เชียงใหม่ เมื่อแต่งงานกับชาวต่างชาติ จึงย้ายไปอยู่อังกฤษนานกว่า 5 ปี เธอรู้สึกคิดถึงบ้านและอยากกลับมาอยู่เมืองไทย จนได้งานที่ The Ockenden Venture และถูกส่งตัวมาที่ศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยชาวเขมร จังหวัดจันทบุรี "ตอนนั้นไม่อยากทำงานมีเจ้านาย อยากทำงานที่เราคิดเอง ทำเอง ทางศูนย์จ้างสามีแต่ได้สองแรง ที่นี่มีคนหลายชาติทำงานในหลายๆ ด้าน แต่ไม่มีคนทำด้านสันทนาการให้ผู้อพยพ เราก็ไปสอนหนังสือให้ชาวเขมร ชอบงานที่ช่วยเหลือมนุษย์ อยากใช้ชีวิตเป็นประโยชน์กับคนอื่น"
ก่อนหน้าที่ สุวดี แซล์มอน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสามีจะมาตั้งสมาคมไทยคราฟท์ เธอเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่เชียงใหม่ เมื่อแต่งงานกับชาวต่างชาติ จึงย้ายไปอยู่อังกฤษนานกว่า 5 ปี เธอรู้สึกคิดถึงบ้านและอยากกลับมาอยู่เมืองไทย จนได้งานที่ The Ockenden Venture และถูกส่งตัวมาที่ศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยชาวเขมร จังหวัดจันทบุรี "ตอนนั้นไม่อยากทำงานมีเจ้านาย อยากทำงานที่เราคิดเอง ทำเอง ทางศูนย์จ้างสามีแต่ได้สองแรง ที่นี่มีคนหลายชาติทำงานในหลายๆ ด้าน แต่ไม่มีคนทำด้านสันทนาการให้ผู้อพยพ เราก็ไปสอนหนังสือให้ชาวเขมร ชอบงานที่ช่วยเหลือมนุษย์ อยากใช้ชีวิตเป็นประโยชน์กับคนอื่น"
kkkkk
เธอเริ่มจากงานที่ตัวเองรักและมีความชื่นชอบงานด้านอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นทุนเดิม เธอเห็นว่า ชาวเขมรฟ้อนรำได้งดงาม แต่เด็กเขมรเกิดใหม่ในค่ายอพยพกลับไม่รู้จักวัฒนธรรมของตัวเอง เธอจึงรวบรวมครูชาวเขมรที่มีความรู้ด้านการฟ้อนรำมาสอนชาวเขมรด้วยกัน "เขาต้องการสร้างฉาก หรือโรงละครเราก็จัดหาให้ ตอนหลังเราก็สร้างโรงละครจากไม้ไผ่ล้วนๆ ให้พวกเขา จนกลายเป็นสถานที่แสดง ซึ่งทั้งหมดเป็นความคิดของเขา เราช่วยเหลือด้านการจัดการ เด็กเล็กๆ เขมรจึงได้เรียนฟ้อนรำ แม้พวกเขาจะไม่ค่อยมีกิน เราก็เห็นว่าพวกเขามีความสุข เมื่อเปรียบเทียบกับเรา เราน่าจะพอใจชีวิตของเรา" สุวดีเล่าถึงความรักในศิลปวัฒนธรรมต่างถิ่น
เธอเริ่มจากงานที่ตัวเองรักและมีความชื่นชอบงานด้านอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นทุนเดิม เธอเห็นว่า ชาวเขมรฟ้อนรำได้งดงาม แต่เด็กเขมรเกิดใหม่ในค่ายอพยพกลับไม่รู้จักวัฒนธรรมของตัวเอง เธอจึงรวบรวมครูชาวเขมรที่มีความรู้ด้านการฟ้อนรำมาสอนชาวเขมรด้วยกัน "เขาต้องการสร้างฉาก หรือโรงละครเราก็จัดหาให้ ตอนหลังเราก็สร้างโรงละครจากไม้ไผ่ล้วนๆ ให้พวกเขา จนกลายเป็นสถานที่แสดง ซึ่งทั้งหมดเป็นความคิดของเขา เราช่วยเหลือด้านการจัดการ เด็กเล็กๆ เขมรจึงได้เรียนฟ้อนรำ แม้พวกเขาจะไม่ค่อยมีกิน เราก็เห็นว่าพวกเขามีความสุข เมื่อเปรียบเทียบกับเรา เราน่าจะพอใจชีวิตของเรา" สุวดีเล่าถึงความรักในศิลปวัฒนธรรมต่างถิ่น
kkkkk
หลังจากศูนย์อพยพที่จังหวัดจันทบุรีปิดตัวลง เธอและสามีจึงเดินทางมาทำงานที่ศูนย์อพยพอีกแห่งในจังหวัดน่าน "ในศูนย์อพยพจังหวัดน่าน พวกเขาชอบทำงานหัตถกรรม ผู้หญิงก็นั่งปักผ้า คนลื้อนั่งทอผ้า ชนกลุ่มน้อยชาวคิ่นจะเก่งเรื่องจักสานทำกระบุงตะกร้า พวกนี้ทำงานประณีตมาก เราก็คิดว่าน่าจะช่วยให้พวกเขามีรายได้ ตอนนั้นอยากทำเป็นการกุศล ก็แค่หักค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงาน และส่งไปขายให้คนรู้จักในต่างประเทศ ทำไปเรื่อยๆ จนขยายเป็น 13 ประเทศ แต่ตอนนั้นมีกฎว่า ห้ามขายสินค้าจากผู้อพยพในประเทศไทย"
หลังจากศูนย์อพยพที่จังหวัดจันทบุรีปิดตัวลง เธอและสามีจึงเดินทางมาทำงานที่ศูนย์อพยพอีกแห่งในจังหวัดน่าน "ในศูนย์อพยพจังหวัดน่าน พวกเขาชอบทำงานหัตถกรรม ผู้หญิงก็นั่งปักผ้า คนลื้อนั่งทอผ้า ชนกลุ่มน้อยชาวคิ่นจะเก่งเรื่องจักสานทำกระบุงตะกร้า พวกนี้ทำงานประณีตมาก เราก็คิดว่าน่าจะช่วยให้พวกเขามีรายได้ ตอนนั้นอยากทำเป็นการกุศล ก็แค่หักค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงาน และส่งไปขายให้คนรู้จักในต่างประเทศ ทำไปเรื่อยๆ จนขยายเป็น 13 ประเทศ แต่ตอนนั้นมีกฎว่า ห้ามขายสินค้าจากผู้อพยพในประเทศไทย"
kkkkk
กระทั่งผู้อพยพต่างด้าวถูกส่งไปประเทศที่สาม เธอจึงติดต่อประสานงานกับชาวเขาไทยที่มีฝีมือด้านหัตถกรรม เพื่อนำสินค้าพื้นบ้านมาจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม ตอนนั้นสุวดีติดต่อหน่วยงานที่เป็นมิชชั่นนารี ซึ่งรับสินค้าจากชาวเขามาจำหน่ายที่โรงเรียนนานาชาติให้กับผู้ปกครองนักเรียน โดยมีอาสาสมัครช่วยเหลืองานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย วิธีการขายแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของสมาคมไทยคราฟท์ในเวลาต่อมา เธอสร้างมูลค่าสินค้าหัตถกรรมด้วยดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์ เน้นคุณภาพและความประณีต จนเป็นชื่นชอบของคนญี่ปุ่นและตะวันตก เมื่อทำไปสักระยะ หน่วยงานที่ขายสินค้าให้ชาวเขาปิดตัวลง ทั้งๆ ที่ตั้งมานานกว่า 20 ปี
กระทั่งผู้อพยพต่างด้าวถูกส่งไปประเทศที่สาม เธอจึงติดต่อประสานงานกับชาวเขาไทยที่มีฝีมือด้านหัตถกรรม เพื่อนำสินค้าพื้นบ้านมาจำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม ตอนนั้นสุวดีติดต่อหน่วยงานที่เป็นมิชชั่นนารี ซึ่งรับสินค้าจากชาวเขามาจำหน่ายที่โรงเรียนนานาชาติให้กับผู้ปกครองนักเรียน โดยมีอาสาสมัครช่วยเหลืองานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย วิธีการขายแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของสมาคมไทยคราฟท์ในเวลาต่อมา เธอสร้างมูลค่าสินค้าหัตถกรรมด้วยดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์ เน้นคุณภาพและความประณีต จนเป็นชื่นชอบของคนญี่ปุ่นและตะวันตก เมื่อทำไปสักระยะ หน่วยงานที่ขายสินค้าให้ชาวเขาปิดตัวลง ทั้งๆ ที่ตั้งมานานกว่า 20 ปี
kkkkk
16 ปีที่แล้วสุวดีและสามีจึงเริ่มบุกเบิกตั้งสมาคมไทยคราฟท์ เพื่อเป็นศูนย์กลางขายสินค้าหัตถกรรมให้ชาวเขา เริ่มแรกมีสมาชิก 22 กลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 70 กลุ่ม "ตอนเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศ ไปถึงถิ่นที่เขาทำ ไปอยู่กับเขา อธิบายให้เขาฟัง ใช้เวลาจนเขาเชื่อใจ เพราะเคยมีหน่วยงานราชการไปสั่งให้ชาวบ้านทำงานหัตถกรรม เมื่อเอาสินค้าไปแล้ว กว่าจะจ่ายเงินให้เป็นปีๆ และบางครั้งก็ไม่ได้เงิน"
16 ปีที่แล้วสุวดีและสามีจึงเริ่มบุกเบิกตั้งสมาคมไทยคราฟท์ เพื่อเป็นศูนย์กลางขายสินค้าหัตถกรรมให้ชาวเขา เริ่มแรกมีสมาชิก 22 กลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 70 กลุ่ม "ตอนเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศ ไปถึงถิ่นที่เขาทำ ไปอยู่กับเขา อธิบายให้เขาฟัง ใช้เวลาจนเขาเชื่อใจ เพราะเคยมีหน่วยงานราชการไปสั่งให้ชาวบ้านทำงานหัตถกรรม เมื่อเอาสินค้าไปแล้ว กว่าจะจ่ายเงินให้เป็นปีๆ และบางครั้งก็ไม่ได้เงิน"
kkkkk
สุวดีบอกว่า ก่อนอื่นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ก่อนว่า เราเป็นใคร ทำเพื่ออะไร เมื่อทำงานไปสักระยะก็มีกลุ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะความเชื่อใจ จึงไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่ไปหาชาวบ้านแล้ว พวกเขามาหาเธอที่สมาคมฯ "ข้อสำคัญงานต้องมีคุณภาพดี และราคาไม่สูงเกินไป เราบวกค่าจัดการบริหารประสานงานแค่ 35 -40 เปอร์เซ็นต์" แม้จะเริ่มต้นในลักษณะการกุศล แต่ในที่สุดสุวดีเห็นว่า ต้องบริหารจัดการให้เป็นระบบ จึงมีการแยกระหว่างงานสมาคมไทยคราฟท์และตั้งบริษัทไทยคราฟท์ แฟร์เทรด จำกัด เนื่องจากมีการจ้างพนักงานกว่า 20 คน
สุวดีบอกว่า ก่อนอื่นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ก่อนว่า เราเป็นใคร ทำเพื่ออะไร เมื่อทำงานไปสักระยะก็มีกลุ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะความเชื่อใจ จึงไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่ไปหาชาวบ้านแล้ว พวกเขามาหาเธอที่สมาคมฯ "ข้อสำคัญงานต้องมีคุณภาพดี และราคาไม่สูงเกินไป เราบวกค่าจัดการบริหารประสานงานแค่ 35 -40 เปอร์เซ็นต์" แม้จะเริ่มต้นในลักษณะการกุศล แต่ในที่สุดสุวดีเห็นว่า ต้องบริหารจัดการให้เป็นระบบ จึงมีการแยกระหว่างงานสมาคมไทยคราฟท์และตั้งบริษัทไทยคราฟท์ แฟร์เทรด จำกัด เนื่องจากมีการจ้างพนักงานกว่า 20 คน
kkkkk
ในส่วนของงานสมาคมไทยคราฟท์ สุวดีวางไว้ว่า ต้องเป็นงานพัฒนาหัตถกรรมให้กับผู้ผลิตสินค้า จัดการฝึกอบรมให้ชาวบ้าน และก่อนที่จะนำมาขายในกลุ่มสมาคม ชาวบ้านต้องเอาผลงานหัตถกรรมที่ทำแล้วมาให้ดู เพื่อไม่ให้สินค้าซ้ำกันหรือแข่งขันกันเอง "ถ้าเป็นกลุ่มที่ใหญ่โตมีลูกค้าเยอะอยู่แล้ว เราก็ไม่ช่วย เราจะรับงานของคนที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ต้องมีคุณภาพ"
ในส่วนของงานสมาคมไทยคราฟท์ สุวดีวางไว้ว่า ต้องเป็นงานพัฒนาหัตถกรรมให้กับผู้ผลิตสินค้า จัดการฝึกอบรมให้ชาวบ้าน และก่อนที่จะนำมาขายในกลุ่มสมาคม ชาวบ้านต้องเอาผลงานหัตถกรรมที่ทำแล้วมาให้ดู เพื่อไม่ให้สินค้าซ้ำกันหรือแข่งขันกันเอง "ถ้าเป็นกลุ่มที่ใหญ่โตมีลูกค้าเยอะอยู่แล้ว เราก็ไม่ช่วย เราจะรับงานของคนที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ต้องมีคุณภาพ"
kkkk
สุวดีมองว่า งานหัตถกรรมไทยไม่ได้ด้อยกว่าชาติอื่นเลย เพราะลูกค้าญี่ปุ่นจะชอบมาก เวลาซื้อสินค้าจะดูอย่างละเอียด ตั้งแต่การใช้สี ความประณีตและความทนทาน "คนญี่ปุ่นเวลาดูงานหัตถกรรมจะให้ความสำคัญมาก ถ้าเขาซื้อสินค้าจากเราแสดงว่า สินค้าเราดีจริง จึงมีการบอกต่อ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ เนื่องจากสินค้าไทยคราฟท์จะมีราคาสูงกว่าจตุจักรเล็กน้อย แต่ถูกกว่าห้างสรรพสินค้า ข้อสำคัญคือ มีดีไซน์ และไทยคราฟท์ก็เข้าแฟร์เทรด ซึ่งเป็นระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อชุมชนและขายสินค้าในราคาที่เป็นธรรม" การผลิตสินค้าหัตถกรรม ต้องดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย อย่างการย้อมสีผ้า ถ้ามีการใช้สีเคมีราคาถูกเป็นพิษกับคนผลิตและผู้บริโภคจะขายในยุโรปไม่ได้ ต้องใช้สีปลอดสารพิษ และมีใบรับประกันคุณภาพ
"ถ้าจะใช้สีเคมีก็ต้องดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งกลุ่มใหม่ๆ ที่เริ่มทำ เราจะให้คำแนะนำ"
สุวดีมองว่า งานหัตถกรรมไทยไม่ได้ด้อยกว่าชาติอื่นเลย เพราะลูกค้าญี่ปุ่นจะชอบมาก เวลาซื้อสินค้าจะดูอย่างละเอียด ตั้งแต่การใช้สี ความประณีตและความทนทาน "คนญี่ปุ่นเวลาดูงานหัตถกรรมจะให้ความสำคัญมาก ถ้าเขาซื้อสินค้าจากเราแสดงว่า สินค้าเราดีจริง จึงมีการบอกต่อ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ เนื่องจากสินค้าไทยคราฟท์จะมีราคาสูงกว่าจตุจักรเล็กน้อย แต่ถูกกว่าห้างสรรพสินค้า ข้อสำคัญคือ มีดีไซน์ และไทยคราฟท์ก็เข้าแฟร์เทรด ซึ่งเป็นระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อชุมชนและขายสินค้าในราคาที่เป็นธรรม" การผลิตสินค้าหัตถกรรม ต้องดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย อย่างการย้อมสีผ้า ถ้ามีการใช้สีเคมีราคาถูกเป็นพิษกับคนผลิตและผู้บริโภคจะขายในยุโรปไม่ได้ ต้องใช้สีปลอดสารพิษ และมีใบรับประกันคุณภาพ
"ถ้าจะใช้สีเคมีก็ต้องดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งกลุ่มใหม่ๆ ที่เริ่มทำ เราจะให้คำแนะนำ"
kkkkk
โดยส่วนตัวแล้ว สุวดีเป็นคนที่ชอบงานหัตถกรรมพื้นบ้านอย่างมาก เธอสะสมทั้งผ้าทอเก่าๆ ตะกร้า และกระบุง เพราะในอนาคตอยากทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้คนมาเรียนรู้ “ตอนเริ่มทำงานด้านหัตถกรรม เราไม่มีความรู้พวกนี้เลย อาศัยว่าสนใจ และเห็นว่า ชาวบ้านไม่ค่อยมีตัวอย่างผ้าทอลายเก่าๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งเราเข้าไปในหมู่บ้านบนเขา เจอคนลื้อเห็นผ้าเช็ดเท้าของเขาสวยมาก เราก็ถามว่า ทำไมเอาผ้าทอแบบนี้มาเช็ดเท้า”
โดยส่วนตัวแล้ว สุวดีเป็นคนที่ชอบงานหัตถกรรมพื้นบ้านอย่างมาก เธอสะสมทั้งผ้าทอเก่าๆ ตะกร้า และกระบุง เพราะในอนาคตอยากทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้คนมาเรียนรู้ “ตอนเริ่มทำงานด้านหัตถกรรม เราไม่มีความรู้พวกนี้เลย อาศัยว่าสนใจ และเห็นว่า ชาวบ้านไม่ค่อยมีตัวอย่างผ้าทอลายเก่าๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งเราเข้าไปในหมู่บ้านบนเขา เจอคนลื้อเห็นผ้าเช็ดเท้าของเขาสวยมาก เราก็ถามว่า ทำไมเอาผ้าทอแบบนี้มาเช็ดเท้า”
kkkkk
ชาวบ้านคนนั้นเล่าถึงประเพณีการทอผ้าว่า พวกเขาจะทอผ้าที่สวยที่สุดไว้ผืนหนึ่ง ถ้าคนในครอบครัวเสียชีวิต ก็จะเอาผ้าทอผืนนั้นห่อหุ้มร่างกายเผาไปด้วย "เราก็เลยขอซื้อผ้าที่เขาทอ ผืนที่สวยๆ ไว้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้พวกเขาหัดทอ เรามีลายผ้าหลายแบบ เพราะต่อไปจะไม่มีใครได้เห็นผ้าเก่าๆ ลวดลายแบบนี้อีก ผ้าบางชิ้นคนทอตายไปแล้ว เราสะสมผ้าเก่าไว้เป็นตัวอย่าง เคยมีคนขอยืมตุงและผ้าเก่าไปจัดนิทรรศการที่อเมริกา"
ชาวบ้านคนนั้นเล่าถึงประเพณีการทอผ้าว่า พวกเขาจะทอผ้าที่สวยที่สุดไว้ผืนหนึ่ง ถ้าคนในครอบครัวเสียชีวิต ก็จะเอาผ้าทอผืนนั้นห่อหุ้มร่างกายเผาไปด้วย "เราก็เลยขอซื้อผ้าที่เขาทอ ผืนที่สวยๆ ไว้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้พวกเขาหัดทอ เรามีลายผ้าหลายแบบ เพราะต่อไปจะไม่มีใครได้เห็นผ้าเก่าๆ ลวดลายแบบนี้อีก ผ้าบางชิ้นคนทอตายไปแล้ว เราสะสมผ้าเก่าไว้เป็นตัวอย่าง เคยมีคนขอยืมตุงและผ้าเก่าไปจัดนิทรรศการที่อเมริกา"
kkkk
นอกจากสะสมผ้าไทยและหัตถกรรมจักสานแล้ว สุวดียังให้การสนับสนุนเรื่องดีไซน์และแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างงาน บางแห่งปรับเป็นหลักสูตรท้องถิ่นสอนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นกฎอีกข้อของไทยคราฟท์คือ ต้องช่วยกันส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย "ดีไซน์ที่เราคิด เราบอกคนในกลุ่มว่า ขายให้ลูกค้ารายอื่นไม่ได้ เพราะเราไม่ได้คิดคนเดียว บางครั้งจ้างดีไซเนอร์ เราทำงานตรงนี้ก็ได้ความสุข และได้เรียนรู้จากชาวบ้าน ได้เรียนอะไรใหม่ๆ ทุกวัน บางทีเรานึกว่าเรารู้เยอะ แล้วไปดูถูกชาวบ้าน จริงๆ เขารู้มากกว่าเรา”
นอกจากสะสมผ้าไทยและหัตถกรรมจักสานแล้ว สุวดียังให้การสนับสนุนเรื่องดีไซน์และแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างงาน บางแห่งปรับเป็นหลักสูตรท้องถิ่นสอนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นกฎอีกข้อของไทยคราฟท์คือ ต้องช่วยกันส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย "ดีไซน์ที่เราคิด เราบอกคนในกลุ่มว่า ขายให้ลูกค้ารายอื่นไม่ได้ เพราะเราไม่ได้คิดคนเดียว บางครั้งจ้างดีไซเนอร์ เราทำงานตรงนี้ก็ได้ความสุข และได้เรียนรู้จากชาวบ้าน ได้เรียนอะไรใหม่ๆ ทุกวัน บางทีเรานึกว่าเรารู้เยอะ แล้วไปดูถูกชาวบ้าน จริงๆ เขารู้มากกว่าเรา”
kkkkk
หัตถกรรมชาวบ้านของไทยคราฟท์จัดจำหน่ายเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านไป เปิดจำหน่ายที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับบริษัทภูเพียง จำกัดที่เธอตั้งขึ้นเพื่อจัดทัวร์ไปดูงานหัตถกรรม "ถ้าอยากให้อาสาสมัครรู้ที่มาที่ไป ก็ต้องพาไปดูงานในพื้นที่ ลูกค้าจากต่างประเทศบางกลุ่มสนใจอยากดูงานทอผ้า เราก็พาไปดูกลุ่มทอผ้าแต่ละชนเผ่า วิธีการทอผ้าจะไม่เหมือนกัน"
หัตถกรรมชาวบ้านของไทยคราฟท์จัดจำหน่ายเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านไป เปิดจำหน่ายที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับบริษัทภูเพียง จำกัดที่เธอตั้งขึ้นเพื่อจัดทัวร์ไปดูงานหัตถกรรม "ถ้าอยากให้อาสาสมัครรู้ที่มาที่ไป ก็ต้องพาไปดูงานในพื้นที่ ลูกค้าจากต่างประเทศบางกลุ่มสนใจอยากดูงานทอผ้า เราก็พาไปดูกลุ่มทอผ้าแต่ละชนเผ่า วิธีการทอผ้าจะไม่เหมือนกัน"
kkkk
ทั้งหมดนี่คือ วิธีคิดของผู้ริเริ่มไทยคราฟท์ที่ไม่เน้นว่า ต้องขายสินค้าได้กำไรมากๆ แต่ต้องเป็นการค้าที่เป็นธรรมและเป็นมิตรกับธรรมชาติ...ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีคิด ที่สามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจ ที่ตั้งหวังไว้ได้ หรือชาวหัวหิน ว่าไง...สวัสดี
ทั้งหมดนี่คือ วิธีคิดของผู้ริเริ่มไทยคราฟท์ที่ไม่เน้นว่า ต้องขายสินค้าได้กำไรมากๆ แต่ต้องเป็นการค้าที่เป็นธรรมและเป็นมิตรกับธรรมชาติ...ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีคิด ที่สามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจ ที่ตั้งหวังไว้ได้ หรือชาวหัวหิน ว่าไง...สวัสดี
hhhh
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ โดย : เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ / ภาพ : วันชัย ไกรศรขจิต
huahinhub Thanks
kkkkk
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น