6.04.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๙๒ (รับกาแฟ กับอะไรดี?)



รับกาแฟกับอะไรดี ?
ร้านกาแฟกับร้านหนังสือ ดูเหมือนจะเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร ระยะหลัง เริ่มตามมีร้านกาแฟกับแกเลอรี่ ร้านกาแฟกับคาร์แคร์ ร้านกาแฟกับร้านนวด...ก็ยังมีมาแล้ว
kkk
แต่ถ้าจะพูดถึงเทรนด์ตอนนี้ ร้านกาแฟกับออฟฟิสขนาดเล็ก กำลังจะตามมาเป็นแถว ด้วยผลประโยชน์แบบที่เรียกว่าวิน-วินทุกฝ่าย
hhhhh
มองภายนอกทาวเฮ้าส์ย่านทาวน์อินทาวน์หลังนี้ ก็ไม่ต่างจากเพื่อนบ้านละแวกเดียวกัน ที่ล้วนแต่ปรับแต่งเป็นออฟฟิศพร้อมกับอยู่อาศัยไปด้วยในบางหลัง แต่ ต๋อม คาเฟ่ หรือ Tom Cafe แห่งนี้ เป็นทั้งร้านกาแฟด้านล่างและสตูดิโอสำหรับแคสติ้งชั้นบน
hhhhh
เจ้าของร้านสามี-ภรรยา อดุลศักดิ์ และพึ่งจิตร วจนเสถียร เป็นเจ้าของไอเดียการใช้พื้นที่ได้อย่างเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ของตึกหลังนี้ อดุลศักดิ์เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ทำงานในแวดวงโฆษณามาตลอดเป็น 10 ปี รู้สึกว่าเหนื่อยและอยากมีกิจการของตัวเองจนได้ไอเดียในการพัฒนาตึกนี้ ซึ่งแต่เดิมชั้นบนทำเป็นสตูดิโออยู่แล้วแต่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
hhhhh
เมื่อเขาและภรรยาตัดสินใจทำสตูดิโอสำหรับแคสติ้งจำนวน 3 ห้องด้านบน พื้นที่ด้านล่างจึงถูกทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับอย่างน่าเสียดาย ทั้งคู่เลยได้ความคิดว่ามาเปิดร้านกาแฟกันดีกว่า ด้วยความที่เป็นคอกาแฟอยู่แล้ว "เปิดสตูดิโออย่างเดียวก็เบื่อ เพราะมันเปิดเสร็จแล้วก็ไม่มีอะไรทำ แต่ก็ไปไหนก็ไม่ได้ เพราะเราก็ต้องอยู่ดูว่าลูกค้าต้องการอะไรเพิ่มอีก เราก็เลยเปิดร้านกาแฟจะได้มีอะไรทำ ลูกค้าที่มาแคสติ้งก็ให้เพื่อน ให้ญาติเขามานั่งรอได้ด้วย"
hhhhh
หลังจากเตรียมตัวเสาะหาข้อมูลอยู่หลายเดือน รวมถึงไปเข้าคอร์สเรียนทำกาแฟ ร้านต๋อมคาเฟ่จึงได้เริ่มเปิดทำการเมื่อ 7 เดือนที่แล้ว โดยดูแลกันเอง 2 คน มีแม่บ้านที่ช่วยทำความสะอาดทั้งสตูดิโอและร้านกาแฟอีก 1 คน ในด้านขนมของหวานในร้านนั้นก็มีน้องสาวของเจ้าของร้านคอยจัดส่งเค้กหลากรสมาให้บริการลูกค้า แต่ในด้านของว่างเล็กๆ น้อยๆ อย่างแซนดวิชและวัฟเฟิลนั้นเจ้าของร้านแสดงฝีมือเองทุกชิ้น ในแง่ของการตกแต่งเจ้าของร้านก็ช่วยกันออกแบบและนำของสะสมที่มีอยู่แล้วมาตกแต่งสร้างบรรยากาศสบายๆ เป็นกันเอง ด้วยโต๊ะเก้าอี้ที่ไม่เหมือนกัน แต่กลับช่วยให้สถานที่ดูโปร่งสบาย ลงตัว ไม่ดูเนี๊ยบจนเกินไป ภายในร้านยังแบ่งเป็นห้องประชุมให้เช่าสำหรับคนทำงานฟรีแลนซ์ที่ไม่มีออฟฟิศประจำ โดยเฉพาะคนในแวดวงโฆษณาที่มาติดต่องานย่านนี้ประจำ และจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการพรีเซนต์งานก็สามารถมาใช้บริการห้องประชุมที่นี่ในราคากันเอง รู้จักกันก็ใช้ฟรีบ้างตามสะดวก แต่ถ้าพูดถึงรายได้หลักจริงๆ นั้น อดุลศักดิ์บอกว่า มาจากสตูดิโอมากกว่า ร้านกาแฟเป็นเพียงรายได้เสริม ซึ่งถ้าวันไหนไม่มีคนจองสตูดิโอ ร้านกาแฟก็อาจจะไม่เปิด แต่ส่วนใหญ่ก็มีคนจองแทบทุกวัน
hhhhh
ส่วนกลุ่มลูกค้าของที่ร้านนั้นมีทั้งกลุ่มคนที่มาแคสติ้ง ที่ก่อนหน้านี้ถ้าไม่มีร้านกาแฟก็ต้องไปหาร้านอื่นนั่งเพื่อรอเวลา ไปจนถึงคนแถวนี้ที่วอล์ค อินเข้ามาซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นพนังงานบริษัทตัดต่อหนัง หรือห้องซาวด์ สตูดิโอ ซึ่งก็ดูเหมือนจะรู้จักเจ้าของร้านเป็นอย่างดี สังเกตได้จากการทักทายกันระหว่างเจ้าของร้านกับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา มีบ้างเหมือนกันที่ลูกค้าบางคนบังเอิญผ่านมาชิมแล้วติดใจถึงขั้นให้มอร์เตอร์ไซค์รับจ้างขี่รถมาซื้อหลังจากวันนั้น
hhhh
แม้จะไม่ได้หวังเอาไว้แต่แรกว่าลูกค้าจะเยอะเท่านี้ แต่ก็คงบอกไม่ยากว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นของต๋อมคาเฟ่นี้ มาจากหลายปัจจัยที่ผสมกันอย่างลงตัวทั้งทำเลที่ตั้ง บรรยากาศการตกแต่งร้าน ตลอดจนความสุขของคนทำงาน 2 คนที่ได้ทำงานที่ตัวเองรัก และได้แบ่งปันความสุขเล็กๆ ผ่านกลิ่นหอมอวลของกาแฟรสดีและขนมเค้กรสเยี่ยม
hhhhh
Craft Café คาเฟ่เล็กๆ ดีไซน์อบอุ่น
ถัดไปในซอยเดียวกันนั้นเองก็มีร้านกาแฟเล็กๆ แต่ดูดีของ 3 พี่น้อง โยทัศ-จิโรจน์-ณัฐพร อิทธิเวชชัย ร้านกาแฟแห่งนี้มีชื่อว่า Craft Café จิโรจน์ อิทธิเวชชัย เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของร้านกาแฟที่เปิดบริการมาเกือบครึ่งปีแห่งนี้ว่า มีต้นสายปลายเหตุมาจากการที่ 3 พี่น้อง ซึ่งทำงานในสายงานด้านการออกแบบ สถาปัตย์ และโฆษณา ตั้งใจจะเปิดเป็นออฟฟิศ แต่เสียดายทำเลค้าขายชั้นล่าง อีกทั้งโจทย์ของตึกคือการมีบันไดอยู่กลางห้อง จะให้คนอื่นแบ่งเช่า ก็กลัวจะไม่สะดวกเวลาต้องเดินขึ้นไปทำงานชั้นบน ว่าแล้วก็เลยเกิดไอเดียทำร้านกาแฟเล็กๆ โดยชั้นบน นอกจากจะเป็นออฟฟิศแล้ว แล้วจัดเป็นสตูดิโอให้เช่าสำหรับงานแคสติ้ง และถ่ายภาพ
hhhhh
เมื่อเป็นสถาปนิกมาเปิดร้านกาแฟ เรื่องการตกแต่งสถานที่จึงไม่ต้องไปจ้างวานใครที่ไหน Craft Café และ Craft Studio จึงแล้วเสร็จสวยงามด้วยการออกแบบของจิโรจน์ “ตั้งใจให้เข้ามาแล้วรู้สึกสบาย ภายในร้านจะไม่มีอะไรให้เครียด ธรรมดาถ้าเข้ามาแล้วทุกอย่างเรียบร้อยลงตัว คนนุ่งกางเกงเลเข้ามาก็จะเริ่มกังวล เราจึงอยากเป็นร้านที่เข้ามาแล้วสบายใจไม่ว่าจะใส่สูท หรือนุ่งกางเกงขาสั้น”
hhhh
สีและแสงภายในร้านถือเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศโดยรวมของสถานที่ เพราะ “คนกินกาแฟต้องการความเป็นส่วนตัวพอสมควร ฉะนั้น แสงไม่ควรสว่างโร่ แต่ใช้โฟกัสเป็นจุดๆ ส่วนสีก็ให้น้ำหนักที่แตกต่างกัน เพื่อให้ดูมีความลึก” ส่วนผนังถูกเว้นว่างไว้ด้านหนึ่งเพื่อให้แขกที่มาใช้บริการสามารถเขียนข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขีดเขียนเล่น แสดงความยินดี ติชม ตามใจชอบ ซึ่งเป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้ร้านดูเป็นกันเองกับแขกที่มาเยือน
hhhh
นอกจากนี้ ภายในร้านยังทำหน้าที่เป็นแกลลอรีซึ่งมีการนำภาพมาจัดแสดงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการหมุนเวียนทุก 2-3 เดือน บริเวณด้านหน้าร้านยังจัดเป็นที่นั่งให้คนที่อยากจิบกาแฟในสไตล์เอ้าท์ดอร์ “เพราะผมกับพี่น้องเป็นดีไซเนอร์กันทุกคน พอช่วยกันออกแบบร้านมันก็ดูดีได้ไม่ยาก แต่กลายเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะไม่อยากให้ดูดีเกินไป เราอยากให้มีความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ ซึ่งเมื่อวางคอนเซ็ปต์แบบนี้ก็เอื้อต่อการใช้งบประมาณอย่างจำกัด และสามารถนำข้าวของที่มีอยู่มาใช้ในการตกแต่งร้านได้อย่างเหมาะสมด้วย” จิโรจน์ ให้แนวทาง ซึ่งน่าจะเป็นการจุดประกายสำหรับคนที่กำลังคิดจะแต่งบ้านหรือร้านกาแฟเล็กๆ สักร้านได้เป็นอย่างดี
hhhh
และ 2 ตัวอย่างร้านกาแฟเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จนี้ คงช่วยปลุกความฝัน ของเพื่อนพี่น้องชาวหัวหิน ที่อยากมีร้านกาแฟไม่ให้หลับไหลไปเสียก่อน โดยเฉพาะร้านกาแฟที่เข้าคู่กับประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ น่าจะเป็นทางเลือกที่แตกต่างและช่วยเสริมสร้างจุดขายไม่เหมือนใครให้กับร้านอีกด้วย.....จริงมั๊ย...สวัสดี
kkkk
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพะรกิจ โดย : วิภานี กาญจนาภิญโญกุล และรัชดา ธราภาค
huahinhub Thanks
kkkkk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น