6.03.2552

| กระตุ้นความคิด ด้วยไอเดีย ๘๗ (แบรนดิ้ง สู่บิซิเนส อนันดา)

h
h
h
h
h

แบรนดิ้ง สู่ บิซิเนส "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม"
สูตรผสมของผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ “อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม” ไม่เพียงเป็นนักแสดงสุดฮอตแห่งปี แต่ยังมีศักยภาพรอบด้าน นอกเวทีนักแสดง เขากำลังเริ่มบทบาทในสนามธุรกิจ กับความพยายามครั้งสำคัญ ที่จะสร้างมูลค่า "ดารา" ให้มากกว่าแค่ "พรีเซ็นเตอร์" ด้วยโมเดลธุรกิจ 360 องศา ที่ไม่น่าพลาด
hhhhh
ต้องยกให้เป็นนักแสดงเจ้าบทบาทที่มีผลงานภาพยนตร์มากที่สุดในปีนี้ไปแล้ว สำหรับ “
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม” พระเอกลูกครึ่ง ออสเตรเลีย-ลาว กับผลงานภาพยนตร์ระหว่างปี 2550 - 2551 ที่มีมากถึง 11 เรื่อง
hhhhhh
บทบาทในสนามธุรกิจ อนันดา ได้ร่วมกับเพื่อน ตั้ง บริษัท เฮโล โปรดักชั่น รับจัดงานอีเวนท์เกี่ยวกับงานศิลปะ แต่ยังไม่ถึงกับรุ่ง เคยชิมลางเปิดธุรกิจร้านอาหารกึ่งผับกึ่งรีสอร์ตที่เกาะเสม็ด แต่กิจการได้พับเสื่อไปเรียบร้อยแล้ว

hhhhh
แม้จะยืนอยู่ในตำแหน่งที่ใครหลายคนอิจฉา แต่ อนันดา ยอมรับว่า งานภาพยนตร์ไม่ได้ทำให้เขาร่ำรวย หลายเรื่องที่เขายอมแสดงโดยไม่รับค่าตัว บางเรื่องแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ของหนัง ...ภาพยนตร์จึงไม่ใช่แหล่งรายได้ที่แน่นอนสำหรับเขา โดยเฉพาะเมื่อวางเป้าหมายการแสดงคือผลิต “โปรดักท์” ที่ดี ไม่ได้เอา "รายได้" เป็นตัวตั้ง

hhhhh
คาดหวัง "รายได้" ที่แน่นอนจากงานแสดงไม่ได้ แต่ยังมีฝันอีกหลายอย่างที่ต้องไขว่คว้ามาด้วย "เงิน" จึงถึงเวลาพลิกมุมคิด ด้วยการแตกหน่อโมเดลธุรกิจฉบับ "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม"
“ดาราหลายคนที่ทำรายได้มหาศาลเพราะเขาขายแบรนด์ตัวเอง สิ่งที่เขาสร้างคือแบรนด์ อย่างแบรนด์ของโดม แบรนด์ของพอลล่า
hhhhh
ผมจึงมาคิดว่าเอาอย่างนี้ดีไหม ผมยอมให้ผู้คนรับรู้ชีวิตส่วนตัวของผม แล้วไปทำเป็น
แบรนด์ของผมขึ้นมาบ้าง ตัวผมก็แค่เปิดตัวเองมากขึ้น แต่ก็ต้องเป็นชีวิตของผมจริงๆ นะ เช่น ผมเป็นคนชอบเดินทาง สนุกสนาน ชอบขี่มอเตอร์ไซค์ ชอบอะไรที่ออกไปในแนวเอ็กซ์ตรีมหน่อย ซึ่งเมื่อภาพลักษณ์แบบนี้ออกไป ก็สามารถไปคู่กับสินค้าบางอย่างได้”
hhhhh
แม้จะเป็นหนุ่มฮอตเข้าขั้น แต่น่าแปลกใจที่อนันดากลับไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม "เจ้าพ่อ
พรีเซนเตอร์" เหมือนนักแสดงหลายคน เขาให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีสินค้าวิ่งเข้าหา ส่วนหนึ่งเพราะเขาไม่เคยสร้างอิมเมจของตัวเอง เรียกว่าเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีความชัดเจน เจ้าของสินค้าจึงยังสับสนว่า "ความเป็นอนันดา" กำลังสนองตลาดนิช หรือตลาดแมสกันแน่
hhhh
การปรับตัวครั้งสำคัญจึงเริ่มขึ้น อนันดาเริ่มค้นหาความแตกต่างของตนเอง และสร้างความชัดเจนในบุคลิกมากขึ้น สะท้อนความเป็นตัวตนที่แตกต่าง จนกลายเป็น
แบรนด์ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ในที่สุด สิ่งที่ตามมาหลังการปรับตัว คือเริ่มมีงานโฆษณาสินค้า และงานอีเวนท์ต่างๆ เข้ามาหา ที่คุ้นตาหลายคนดีก็ต้อง การเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับรถจักรยานยนต์ ซูซูกิ และเป๊ปซี่ แม็กซ์
hhhhh
ถ้าเป็นนักแสดงคนอื่น บทบาทแค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับคำว่า "พรีเซ็นเตอร์" แต่กับอนันดา เขาถนัดสร้างมูลค่าตัวเองให้มากกว่านั้น ทำอย่างไรที่ดารา-นักแสดง ไม่ต้องติดอยู่กับแค่การเป็นทูตให้สินค้า หรือร่วมกิจกรรมของเจ้าของสินค้าตามเงื่อนไขสัญญา แต่จะดีกว่าไหมถ้าจะเข้าไปมีบทบาทในการคิดคอนเซปต์ ออกแบบกิจกรรม มีส่วนร่วมในแคมเปญการตลาดของสินค้านั้นๆ ได้ด้วย

hhhh
"Bussiness Model ของผม คือการทำธุรกิจกันในระยะยาว ไม่ใช่แค่การไปเป็น
พรีเซนเตอร์ให้แล้วจบ แต่ผมจะขยายแคมเปญให้ด้วย เช่นทำรายการทีวี คิดกิจกรรมต่างๆ ออกมา แล้วนำสินค้านั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วม โดยผมจะรับผิดชอบการทำกิจกรรมการตลาดให้ทั้งหมด พร้อมกับเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ไปด้วยในตัว" แนวคิดนี้ไม่ใช่แค่คิด แต่เขาได้ชิมลางไปแล้วกับ แบรนด์ ซูซูกิ ซึ่งแนวคิดการสร้าง “คุณค่า” ให้กับสินค้าด้วยวิธีการนี้ อนันดา มองว่า มัน “วิน-วิน” ที่สุดแล้ว แม้คอนเซปต์น่าสนใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของสินค้าจะเห็นดีเห็นงามไปกับความคิดฟุ้งๆ ของเขา อนันดา เริ่มวางหมากใหม่ ทำอย่างไรให้แนวคิดนี้มีความเป็นไปได้ และเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น นั่นเองที่มาของโจทย์ใหม่ กับการเปิดเว็บไซต์คอมมูนิตี้ ช่องทางประสานธุรกิจ 360 องศา
hhhh
"นี่เป็น Business Plan ใหม่ของผมที่จะหาช่องทางเอางานทุกอย่างที่มีอยู่ตอนนี้มารวมไว้ในก้อนเดียวกัน ส่วนหนึ่งมาจากความตั้งใจของผมเอง ที่อยากจะหาช่องทางนำเสนอผลงานภาพยนตร์ของเด็กมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนคนที่มีความสามารถ เพราะผมเชื่อว่าวงการภาพยนตร์ไทย หน้าที่ของเจเนอเรชั่นผมที่จะต้องรับผิดชอบต่อไป นี่จะเป็นช่องทางที่จะพัฒนาคนเก่งๆ ในบ้านเราได้

hhhhh
จากนั้นผมมีสินค้าที่ติดอยู่กับตัวผมจำนวนหนึ่ง ก็จะเริ่มวางแผนทำกิจกรรมต่างๆ ออกมา แล้วก็เข้าไปติดต่อกับทางมหาวิทยาลัย ให้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วย โดยยอมยื่นข้อเสนอว่าเด็กต้องการอะไรบ้าง ถ้าต้องการนักแสดงผมจะเล่นให้ ต้องการคนมาช่วยเลคเชอร์ผมช่วยให้ได้ ทำให้ทุกอย่าง แต่มีข้อแม้แค่ว่าพวกคุณต้องมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเท่านั้น สร้างให้ตรงนี้กลายเป็นชุมชนขึ้นมาจริงๆ”

hhhh
การวางแผนที่เป็นระบบ ก็ย่อมมีช่องทางให้เกิด "รายได้"
“ผมว่าที่ผ่านมามีหลายโครงการที่เจ้าของสินค้าทำขึ้นมาแล้วจบไป แต่ไอเดียนี้มันจะทำให้ทุกอย่างไม่จบ เพราะเราจะทำกิจกรรมต่อเนื่องตลอดทั้งปี เริ่มจากเราต้องสร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ก่อน โดยผมจะพยายามดึงคนเข้ามา เมื่อสร้างชุมชนออนไลน์ให้เกิดขึ้น รายได้ช่องทางหนึ่งที่จะเข้ามาคือจากการโฆษณา รวมถึงการต่อยอดไปยังการจัดอีเวนท์ต่างๆ ซึ่งมีมูลค่าของมันอยู่แล้ว

hhhhh
ผมขายอีเวนท์ได้ ขายโฆษณาในเว็บไซต์ได้ หรือจะขยายเป็นรายการทีวีหรืออะไรก็ตามมันทำได้หมด ที่เราต้องทำให้มันมีรายได้เข้ามา เพราะผมต้องมีอะไรตอบแทนให้คนที่จะมาร่วมกับผม เอาเงินส่วนหนึ่งไปให้คนเก่งได้ทำงาน เพื่อสร้างโอกาสสำหรับคนรุ่นใหม่ต่อไป”

hhhh
จากที่ยังเป็นไอเดียลอยฟุ้ง ตอนนี้เขาเริ่มทำฝันของตัวเองแล้ว ซึ่งจะเริ่มลอนช์โปรเจคได้ประมาณสิ้นปีนี้ สิ่งที่อนันดากำลังทำอยู่เวลานี้ คือการพัฒนารูปแบบที่ต้องนำเสนอบนเว็บไซต์ โดยมีคอนเทนท์หลักอยู่ 3 แนวทาง คือคอนเทนต์ของตัวเว็บไซต์ที่จะดึงคนเข้ามา คอนเทนต์ของพาร์ทเนอร์ต่างๆ และคอนเทนท์สำหรับบล็อก

hhhhh
“นี่เป็นการทดลองในอุตสาหกรรมนี้ ผมไม่รู้ว่ามันจะทำได้ดีแค่ไหน แต่ทำไมจะไม่ลองดูล่ะ ผมเชื่อใน Talent และ Hard work ที่ผ่านมา ผมทำผิดพลาดมาหลายอย่าง ผมพบว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะประสบความสำเร็จไปเสียทุกอย่าง และเราไม่ได้เกิดมาจากพรสวรรค์ เราเกิดมาจากการทำงานหนัก ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่ก็ได้เรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ผมไม่กลัวถ้ามันจะล้มเหลว ทำไว้ก่อน แล้วค่อยมาว่ากัน”
hh
วันนี้เขาจึงเริ่มฝันใหม่ แม้จะไปไม่ถึง แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือ การได้เริ่มต้นแล้ว บนความกล้า....พวกเราล่ะ...สวัสดี
hhh
ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ โดย : จีราวัฒน์ คงแก้ว
huahinhub Thanks
hhhh

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น